#ดัชนีมวลกาย
Explore tagged Tumblr posts
metal4plus · 5 years ago
Text
เครื่องชั่งน้ำหนัก
Tumblr media
เครื่องชั่งน้ำหนัก
          หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ห่วงใยสุขภาพ เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดไขมันในร่างกาย จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณเพราะจะช่วยให้คุณรับรู้ว่ารูปร่างของคุณขณะนี้มีความสมดุลหรือไม่เพียงใด เมื่อคุณขึ้นเหยียบบนเครื่องชั่งจะสามารถบ่งบอกได้ถึง น้ำหนักร่างกาย มวลไขมัน มวลน้ำ มวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก ดัชนีมวลกาย และอัตราการเผาพลาญพลังงานพื้นฐานต่อวัน แสดงผลผ่านหน้าจอ LCD เป็นตัวเลขดิจิตอลส่องแสงสีฟ้ามองเห็นได้อย่างชัดเจน ตัวเครื่องถูกเคลือบด้วยวัสดุ Glass มันวัวน่าสัมผัสเหมาะสำหรับการใช้งานเป็นอย่างยิ่ง
คุณสมบัติ เครื่องชั่งน้ำหนัก
สามารถชั่งน้ำหนักแสดงผลเป็นหน่วย กิลโลกรัม (kg), ปอนด์ (lb) และสโตน (st)
ชั่งน้ำหนักได้สูงสุด 180 kg
ชั่งน้ำหนักได้ต่ำสุด 5 kg
ความละเอียด 0.1 kg
ใช้วัด น้ำหนักร่างกาย, มวลกระดูก, มวลไขมัน, มวลกล้ามเนื้อ, มวลน้ำ และดัชนีมวลกาย
แสดงผลผ่านหน้าจอ LCD ขนาด 74 x 36 mm เป็นตัวเลขมีทศนิยมอย่างละเอียด ส่องสว่างด้วย Backlight LCD แสงสีฟ้า
บันทึกข้อมูลผู้ใช้ได้ถึง 10 คน
ใช้ถ่านเบอร์ AAA จำนวน 4 ก้อน
อุณหภูมิใช้งาน 10 ~ 40 °C
ขนาด 280 x 280 x 26 mm
สินค้า 1 ชุดประกอบด้วย
เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดไขมันในร่างกาย รุ่น AS-F209
คู่มือการใช้งาน
วิธีใช้
1. แกะฝาหลังใส่ถ่าน AAA จำนวน 2 ก้อน
2. ตั้งค่า อายุ  ส่วนสูง ของผู้ใช้
3. ขึ้นเหยียบบน เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดไขมันในร่างกาย โดยต้องเช็ดฝ่าเท้าให้แห้งและสะอาด ห้ามสวมรองเท้าหรือถุงเท้าเพราะเครื่องจะปล่อยกระแสไฟฟ้าแบบอ่อนๆ เข้าสู่ร่างกายเพื่อวัดค่าต่างๆ (กระแสไฟฟ้าอ่อนจนไม่รู้สึกตัว)
4. อ่านค่า น้ำหนัก,เปอร์เซ็นไขมัน,มวลน้ำ,มวลกระดูก,มวลกล้ามเนื้อ ดัชนีมวลกาย และอัตราการเผาพลาญพลังงานพื้นฐานต่อวัน แล้วนำค่าไปเทียบกับตารางในคู่มือการใช้งานเพื่อเช็คดูค่าที่เหมาะสม
สั่งซื้อสินค้าได้ในราคา 1,310 บาท รวมภาษีแล้ว ฟรีค่าจัดส่งสินค้า EMS ทั่วประเทศ
ดูสินค้ารุ่นอื่นเพิ่มเติม >> เครื่องชั่งน้ำหนัก
youtube
0 notes
gadget4update · 6 years ago
Video
youtube
คลิปรีวิวการใช้ เครื่องวัดไขมันในร่างกาย เพียงยืนบนเครืองฯ วัดผลภายใน 2 นาที ควรปรับคุณภาพวีดีโอ 720P HD ในการรับชม
0 notes
seotoday00 · 2 years ago
Text
ภาะวะขาดสารอาหารคืออะไร
ภาะวะขาดสารอาหารคืออะไร
ภาะวะขาดสารอาหารหรือ��าวะโภชนาการต่ำ เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารหรือพลังงานในปริมาณที่ไม่เหมาะสมและน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงวัย โดยผลสำรวจในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่า มีภาวะขาดโปรตีนและพลังงานในผู้สูงวัยสูงถึงร้อยละ 15
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ในร่างกายที่เสื่อมถอยลง เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านโภชนาการได้ เช่น ภาวะสมองเสื่อม การมองเห็นและการได้ยินลดลง การรับรสที่เปลี่ยนแปลงไป ความสามารถในการแยกรสชาติ เปรี้ยว เค็ม หวานลดลง ฟันเหลือน้อยลง การเคี้ยวอาหารได้ยากขึ้นและไม่ละเอียด ระบบทางเดินอาหารและการดูดซึมสารอาหารมีประสิทธิภาพลดลง ท้องอืดหรือท้องผูกได้มากกว่าวัยอื่น มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อความอยากอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคตับและไต โรคหัวใจวาย โรคข้อสักเสบ โรคติดเชื้อต่างๆ และภาวะซึมเศร้า ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคประจำตัว เช่น ปากแห้ง คอแห้ง หรือยาที่มีผลต่อความอยากอาหารลดลง เป็นต้น
อาการที่พบในผู้สูงวัยที่ขาดสารอาหาร
ผู้สูงวัยที่อยู่ในภาวะขาดสารอาหารมักพบว่า มีน้ำหนักตัวลดลงจากเดิมประมาณ 5% หรือมากกว่าในช่วง 6 เดือน ระดับอัลบูมินในเลือดต่ำกว่า 3.5 กรัมต่อเดซิลิตร ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ต่ำกว่า 18.5 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร มีความอยากอาหารลดลง เบื่ออาหารอย่างต่อเนื่อง น้ำหนักตัวลดลง ร่างกายซูบผอมลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เวียนศีรษะและอ่อนเพลียได้ง่ายกว่าปกติ ใจสั่น ผมร่วง ชาหรือเสียวบริเวณข้อต่อ ซึ่งหากพบว่าผู้สูงวัยมีลักษณะและพฤติกรรมเช่นนี้ ควรพิจารณาปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและโภชนาการให้สอดคล้องกับการดูแล เพื่อการแก้ไขหรือป้องกันภาวะการขาดสารอาหาร
ผลกระทบต่อร่างกายเมื่อขาดสารอาหาร
ภาวะการขาดสารอาหารในผู้สูงวัยนั้นถือเป็นภัยเงียบทางสุขภาพ เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลเสียต่อสภาพร่างกาย เช่น มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย การทรงตัวไม่ค่อยดี เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อลดลง มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้มได้ง่าย สมองทำงานได้ไม่เต็มที่ ผิวพรรณแลดูไม่สดใส แผลหายช้ากว่าปกติ และ��ำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรคเรื้อรัง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ส่งผลให้การเจ็บป่วยของผู้สูงวัยรุนแรงขึ้น มีโอกาสกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง คุณภาพชีวิตลดลง และมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น
นอกจากนี้ การขาดสารอาหารยังส่งผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้ผู้สูงวัยที่ประสบปัญหานี้รู้สึกหดหู่ มีอาการซึมเศร้า และอาจส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ เช่น มีอาการหงุดหงิดง่าย หรือมีความวิตกกังวลมากเกินไป ดังนั้น ญาติหรือผู้ดูแลควรให้ความใส่ใจอย่างใกล้ชิด โดยเริ่มต้นจากโภชนาการสำหรับผู้สูงวัยให้ได้รับสารอาหาร 5 หมู่อย่างครบถ้วนและเพียงพอในแต่ละมื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของการดูแลสุขภาพ รวมถึงหมั่นสังเกตอาการความเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงวัยเป็นระยะ
เนื่องจากภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงวัยจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ดูแลจึงควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อการดูแลและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยได้อย่างถูกวิธี สามารถช่วยเหลือและให้การรักษาพยาบาลได้ทันท่วงที
Tumblr media
0 notes
soclaimon · 3 years ago
Text
Skinny Fat รูปร่างผอมไม่ได้แปลว่าแข็งแรงเสมอไป
#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ https://www.posttoday.com/life/healthy/675661 วันที่ 15 ก.พ. 2565 เวลา 08:55 น. รูปร่างเล็กใหญ่อาจไม่ใช่ปัญหา คนรักสุขภาพดูแต่ค่า BMI (Body Mass Index) ไม่ได้แปลว่าแข็งแรง ฟิตเนส เฟิรส์ท ชวนเช็คเปอร์เซ็นต์ไขมันฟรี! ก่อนสายเกินแก้ ในปัจจุบันผู้คนคงเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า “ดัชนีมวลกาย” หรือ BMI (Body Mass…
Tumblr media
View On WordPress
0 notes
thaisabuycom · 6 years ago
Photo
Tumblr media
อ้วนหรือไม่อ้วน? รู้ได้จาก..ดัชนีมวลกาย ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index / BMI) คือ การแสดงค่าความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับส่วนสูงของแต่ละบุคคล และสามารถระบุระดับความสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้ ค่าดัชนีมวลกายเป็นค่าที่นำมาวินิจฉัยว่าใครมีน้ำหนักตัวเกินหรือใครเป็นโรคอ้วนนั้นเอง การคำนวณดัชนีมวลกายโดยการนำน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) ตัวหารด้วยความสูง(หน่วยเป็นเซนติเมตร) แล้วยกกำลังสอง ดังนั้นหน่วยของดัชนีมวลกายจึงเป็น […] ... อ่านต่อที่นี่ อ้วนหรือไม่อ้วน? รู้ได้จาก..ดัชนีมวลกาย
0 notes
babycuca · 8 years ago
Text
แค่ไหนถึงเรียกว่า ' อ้วน '
แค่ไหนถึงเรียกว่า ‘ อ้วน ‘
✔️แอบมองบนเวลาเพื่อนตัวผอมบ่นว่า “อ้วนอ่ะ อยากผอม” เฮ้ย!!นี่ถ้าเธแอ้วน เราไม่โคตรอ้วนเลยหราาา??? และหลายครั้งที่ได้รับ��ำชมให้หวั่นไหว “มีแก้มยังงี้สวยขึ้น” “ขาวขึ้นนะดูมีน้ำมีนวล” “ใส่ชุดนี้ดูผอมเลย” สาบานว่านี่คือคำชมค่ะ!! ไม่ถามคนอื่นละกัน ลองมาคำนวณง่ายๆด้วยการใช้สูตรวัด BMI(ดัชนีมวลกาย) ของชาวเอเชียตามนี้ BMI คือ อัตราส่วนเปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนักต่อส่วนสูงของมนุษย์…
View On WordPress
0 notes
prapasara · 2 months ago
Text
Tumblr media
โปรแกรมคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
โปรแกรมคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
กรอกส่วนสูง
cm.น้ำหนักตัว
kg.อายุ
ปี
เพศคำนวณ BMI
Tumblr media Tumblr media
ค่า BMI คืออะไร
ค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) เป็นมาตรวัดสำคัญในการประเมินสมดุลระหว่างน้ำหนักและส่วนสูง ที่วัดด้วย��้ำหนักเป็นกิโลกรัม และส่วนสูงเป็นเซนติเมตร โดยจะประมวลผลรูปร่างตามเกณฑ์ตั้งแต่อ้วนมากไปจนถึงผอมเกินไป เพื่อให้คุณเข้าใจดัชนีมวลกายของคุณ และสามารถประเมินสถานะสุขภาพได้
ทำไมต้องคำนวณ BMI
การรู้ค่า BMI ช่วยให้เราเข้าใจสภาพร่างกายของตัวเองมากขึ้น และสามารถวางแผนดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม หากค่าดัชนีมวลกายสูงเกินไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี ซึ่งอาจรวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ การคำนวณ BMI อาจช่วยให้คุณประเมินผลลัพธ์จากการออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก และการควบคุมอาหารของคุณได้
ตารางคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
ค่า BMIอยู่ในเกณท์น้อยกว่า 18.5น้ำหนักน้อย / ผอมระหว่าง 18.5 - 22.9น้ำหนักปกติ (สุขภาพดี)ระหว่าง 23 - 24.90ท้วม / เริ่มอ้วนระหว่าง 25 - 29.90อ้วน30.0 ขึ้นไปอ้วนมาก
สูตรคำนวณ BMI ชาย หญิง
น้ำหนัก (กิโลกรัม)[ส่วนสูง (เมตร)] 2
ตัวอย่าง:ผู้���ญิง น้ำหนัก = 59 กิโลกรัม, ส่วนสูง = 165 เซนติเมตร (เท่ากับ 1.65 เมตร)
วิธีคิดดัชนีมวลกาย BMI =59(1.65 × 1.65)
ค่าดัชนีมวลกาย BMI = 21.7
เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
ค่า BMI ในเกณฑ์น้ำหนักน้อย / ผอมผู้ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อย / ผอม จะมีค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.50 หมายถึงน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อาจเกิดจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ โรคเรื้อรัง หรือภาวะทางอารมณ์บางอย่าง
ค่า BMI ในเกณฑ์ปกติผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะมีค่าดัชนีมวลกาย ระหว่าง 18.50 - 22.90 หมายถึงน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับส่วนสูง และมีสุขภาพที่ดี
ค่า BMI ในเกณฑ์ท้วมผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ท้วม จะมีค่าดัชนีมวลกาย ระหว่าง 23 - 24.90 หมายถึงน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานเล็กน้อย อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
ค่า BMI ในเกณฑ์อ้วนผู้ที่อยู่ในเกณฑ์อ้วน จะมีค่าดัชนีมวลกาย ระหว่าง 25 - 29.90 หมายถึงน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานปานกลางถึงมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
ค่า BMI ในเกณฑ์อ้วนมากผู้ที่อยู่ในเกณฑ์อ้วนมาก จะมีค่าดัชนีมวลกาย มากกว่า 30 หมายถึงน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานมาก ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ร้ายแรงหลายประการ
Tumblr media
ค่า BMI ที่คำนวณได้
น้ำหนักน้อย น้อยกว่า 18.50
ปกติ ระหว่าง 18.5 - 22.9
ท้วม ระหว่าง 23 - 24.9
อ้วน ระหว่าง 25 - 29.9
อ้วนมาก​ มากกว่า 30
เกณฑ์น้ำหนักน้อย 17.31 kg/m2
ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อย / ผอม
ค่าดัชนีมวลกายมีค่าน้อยกว่า 18.50
ข้อแนะนำ
การมีน้ำหนักน้อยเกินไป แม้จะดูผอมเพรียว แต่ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เพราะร่างกายอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนแอและทำงานได้ไม่เต็มที่ การปรับปรุงพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
คำแนะนำสำหรับผู้มีค่า BMI ในเกณฑ์น้ำหนักน้อย / ผอม
ปรึกษาแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและหาสาเหตุของน้ำหนักน้อยอย่างละเอียด
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
เพิ่มปริมาณอาหาร กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นอาหารที่มีพลังงานสูง เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว และผลไม้
กินอาหารให้บ่อยขึ้น กินอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ แทนที่จะกินมื้อใหญ่เพียงไม่กี่มื้อ
เลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เน้นอาหารที่มีโปรตีน ไขมันดี และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำก่อนอาหารจะช่วยให้อิ่มเร็วขึ้น แต่ควรดื่มน้ำหลังอาหารประมาณ 30 นาที เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร
ออกกำลังกาย เลือกชนิดและความหนักของการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสุขภาพ โดยสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายเพื่อวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสม
พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน จะช่วยให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมเซลล์
Tumblr media
ค่า BMI ที่คำนวณได้
น้ำหนักน้อย น้อยกว่า 18.50
ปกติ ระหว่าง 18.5 - 22.9
ท้วม ระหว่าง 23 - 24.9
อ้วน ระหว่าง 25 - 29.9
อ้วนมาก​ มากกว่า 30
เกณฑ์ปกติ 21.34 kg/m2
ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ค่าดัชนีมวลกายมีค่าระหว่าง 18.5 - 22.9
ข้อแนะนำ
สำหรับคนที่ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกตินั้น ถือว่า���ป็นเรื่องน่ายินดีที่คุณดูแลสุขภาพได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ดีและสุขภาพแข็งแรงนั้น ต้องอาศัยความสม่ำเสมอในการดูแลตัวเอง
คำแนะนำสำหรับผู้มีค่า BMI ในเกณฑ์ปกติ
เน้นอาหารที่มีประโยชน์: ถึงแม้จะมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้ว แต่การเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพก็ยังคงสำคัญ ควรเน้นอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ไม่ขาดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่ว และนม เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและระบบภูมิคุ้มกัน
ควบคุมปริมาณอาหาร: แม้ว่าจะทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่การทานมากเกินไปก็อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ควรกินอาหารแต่พออิ่ม ไม่กินจนอิ่มเกินไป และสังเกตสัญญาณความหิวและความอิ่มของร่างกาย
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพที่ดี และยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย เลือกกิจกรรมที่ชอบและทำได้อย่างสม่ำเสมอ เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ หรือการเต้น
พักผ่อนให้เพียงพอ: การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน ช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย
หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป: อาหารแปรรูปมักมีโซเดียมและน้ำตาลสูง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ควรลดการบริโภคอาหารประเภทนี้
ตรวจสุขภาพเป็นประจำ: การตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้คุณทราบถึงสภาวะสุขภาพของร่างกาย และสามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้
Tumblr media
ค่า BMI ที่คำนวณได้
น้ำหนักน้อย น้อยกว่า 18.50
ปกติ ระหว่าง 18.5 - 22.9
ท้วม ระหว่าง 23 - 24.9
อ้วน ระหว่าง 25 - 29.9
อ้วนมาก​ มากกว่า 30
เกณฑ์ท้วม 24.46 kg/m2
ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ท้วม
ค่าดัชนีมวลกายมีค่าระหว่าง 23 - 24.9
ข้อแนะนำ
การมีค่า BMI ในเกณฑ์ท้วมอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดน้ำหนักจึงเป็นสิ่งสำคัญ
คำแนะนำสำหรับผู้มีค่า BMI ในเกณฑ์ท้วม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน: เริ่มต้นด้วยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่ว และนม ลดการบริโภคอาหารแปรรูป อาหารทอด อาหารมัน อาหารหวาน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ควบคุมปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้พอดี อย่าอดอาหาร เพราะจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและอาจทำให้การลดน้ำหนักยากขึ้น
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญในการลดน้ำหนักและเผาผลาญไขมันส่วนเกิน เลือกกิจกรรมที่คุณชอบและทำได้อย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือเข้า���ลาสออกกำลังกายต่างๆ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์
พักผ่อนให้เพียงพอ: การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน จะช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังช่วยควบคุมฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความหิวและความอิ่มอีกด้วย
จัดการความเครียด: ความเครียดสามารถกระตุ้นให้เกิดการอยากอาหารและนำไปสู่การเพิ่มน้ำหนักได้ การหาเวลาผ่อนคลาย เช่น การฟังเพลง การทำสมาธิ หรือการใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติ จะช่วยลดความเครียดได้
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ: หากคุณมีปัญหาในการลดน้ำหนักหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ เพื่อวางแผนการลดน้ำหนักที่เหมาะสมกับคุณ
Tumblr media
ค่า BMI ที่คำนวณได้
น้ำหนักน้อย น้อยกว่า 18.50
ปกติ ระหว่าง 18.5 - 22.9
ท้วม ระหว่าง 23 - 24.9
อ้วน ระหว่าง 25 - 29.9
อ้วนมาก​ มากกว่า 30
เกณฑ์อ้วน 29.36 kg/m2
ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์อ้วน
ค่าดัชนีมวลกายมีค่าระหว่าง 25 - 29.9
ข้อแนะนำ
สำหรับผู้ที่มีค่า BMI ในเกณฑ์อ้วน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดน้ำหนักเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว การลดน้ำหนักอย่างปลอดภัยและยั่งยืน ควรเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายควบคู่กันไป
คำแนะนำสำหรับผู้มีค่า BMI ในเกณฑ์อ้วน
ลดปริมาณอาหาร: ควรกินอาหารแต่พออิ่ม ไม่กินจนอิ่มเกินไป และสังเกตสัญญาณความหิวและความอิ่มของร่างกาย
เลือกอาหารที่มีประโยชน์: เน้นอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ลดการบริโภคอาหารแปรรูป อาหารทอด อาหารมัน และอาหารหวาน
ดื่มน้ำให้เพียงพอ: การดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล: เช่น น้ำอัดลม ชานมไข่มุก เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีแคลอรี่สูง
ทานอาหารมื้อเล็กๆ หลายมื้อ: การทานอาหารมื้อเล็กๆ หลายมื้อจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอ และช่วยควบคุมความหิวได้ดีขึ้น
การออกกำลังกาย
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์
เลือกกิจกรรมที่ชอบ: การเลือกกิจกรรมที่ชอบจะช่วยให้คุณทำได้อ��่างต่อเนื่อง
เพิ่มความเข้มข้นของการออกกำลังกาย: ค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นของการออกกำลังกายไปเรื่อยๆ
ปรึกษาผู้ฝึกสอน: หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มออกกำลังกายอย่างไร ควรปรึกษาผู้ฝึกสอนเพื่อวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสม
ปรึกษาแพทย์ ก่อนเริ่มโปรแกรมลดน้ำหนัก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและขอคำแนะนำ
สิ่งที่ควรระวัง:
อย่าอดอาหาร: การอดอาหารจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
อย่าใช้ยาลดน้ำหนักโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์: ยาลดน้ำหนักบางชนิดอาจมีผลข้างเคียง
อย่าใช้วิธีการลดน้ำหนักที่รวดเร็วเกิ��ไป: การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้
Tumblr media
ค่า BMI ที่คำนวณได้
น้ำหนักน้อย น้อยกว่า 18.50
ปกติ ระหว่าง 18.5 - 22.9
ท้วม ระหว่าง 23 - 24.9
อ้วน ระหว่าง 25 - 29.9
อ้วนมาก​ มากกว่า 30
เกณฑ์อ้วนมาก ​33.50 kg/m2
ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์อ้วนมาก​
ค่าดัชนีมวลกายมีค่ามากกว่า 30
ข้อแนะนำ
สำหรับผู้ที่มีค่า BMI มากกว่า 30 ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์อ้วนมาก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดน้ำหนักเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะภาวะอ้วนอาจนำไปสู่โรคต่างๆ การลดน้ำหนักอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องอาศัยความอดทนและความพยายาม แต่ก็สามารถทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
คำแนะนำสำหรับผู้มีค่า BMI ในเกณฑ์อ้วนมาก​
ปรึกษาแพทย์: ก่อนเริ่มต้นโปรแกรมลดน้ำหนัก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะอ้วน แพทย์จะให้คำแนะนำและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคุณ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน:
ลดปริมาณแคลอรี่: ลดปริมาณอาหารที่รับประทานลง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง และแป้งขัดสี
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่: เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่ว และนม
ดื่มน้ำให้เพียงพอ: การดื่มน้ำช่วยให้รู้สึกอิ่มและช่วยในการเผาผลาญ
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล: เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน และเครื่องดื่มชูกำลัง
ทานอาหารมื้อเล็กๆ หลายมื้อ: จะช่วยให้รู้สึกอิ่มอยู่เสมอและลดความอยากอาหารมื้อใหญ่
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ:
เลือกกิจกรรมที่ชอบ: เช่น เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ
ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน: หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์
ค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นของการออกกำลังกาย: เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม:
นอนหลับให้เพียงพอ: การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยควบคุมฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความหิวและความอิ่ม
ลดความเครียด: ความเครียดอาจทำให้เกิดการกินมากเกินไป ลองหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ หรือการฟังเพลง
หลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ: ลุกขึ้นมาขยับร่างกายบ่อยๆ
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ:
นักโภชนาการ: จะช่วยวางแผนอาหารที่เหมาะสมกับคุณ
ผู้ฝึกสอนส่วนตัว: จะช่วยวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสม
สิ่งสำคัญที่สุดคือความสม่ำเสมอและอดทน การลดน้ำหนักต้องใช้เวลาและความพยายาม อย่าท้อแท้หากไม่ได้ผลลัพธ์ในทันที ควรตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้และค่อยๆ ปรับปรุงพฤติกรรมไปทีละน้อยคำเตือน:
หากคุณมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มโปรแกรมลดน้ำหนัก
ข้อแตกต่างของดัชนีมวลกายผู้หญิงและผู้ชา��
แม้ว่าสูตรการคำนวณ BMI จะเหมือนกันสำหรับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ปริมาณกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกายของทั้งสองเพศนั้นแตกต่างกัน โดยทั่วไป ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากกว่าผู้หญิง ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าไขมัน ทำให้ดัชนีมวลกายผู้ชายมีค่าสูงกว่าผู้หญิงที่มีไขมันในปริมาณเท่ากัน แม้ว่าสุขภาพโดยรวมจะดีกว่าก็ตาม
ภัยจากการมีดัชนีมวลกายที่ผิดปกติ: จากอ้วนเกินไปถึงผอมเกิน
ค่าดัชนีมวลกายอ้วนเกิน
ระบบเผาผลาญทำงานหนักร่างกายต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อนำพลังงานไปเลี้ยงส่วนที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความเมื่อยล้า อ่อนเพลีย
ข้อต่อเสื่อม น้ำหนักตัวที่มากกดดันข้อต่อ ทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น
ปัญหาทางจิตใจ อาจรู้สึกขาดความมั่นใจในตัวเอง
ค่าดัชนีมวลกายผอมเกิน
ขาดสารอาหาร ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นเพียงพอต่อการทำงาน ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
ปัญหาทางจิตใจ อาจเกิดจากความไม่พอใจในรูปร่าง หรือความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ
การมีค่า BMI ปกติเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพที่ดี การดูแลสุขภาพโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้เราสามารถควบคุมน้ำหนักตัวและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้
Note!ค่า BMI เป็นเพียงตัวชี้วัดเบื้องต้นที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูงเท่านั้น ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่สะท้อนสภาพร่างกายที่แท้จริง เนื่องจา��ไม่ได้พิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น มวลกล้ามเนื้อ ซึ่งสำคัญมากสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
โปรแกรมคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI)   ,  ดัชนีมวลกาย BMI  คืออะไร   ,  ดัชนีมวลกาย   ,  Body Mass Index   , BMI   ,  ค่า BMI คืออะไร  ,  วิธีคํานวณค่าดัชนีมวลกาย  ,  เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกาย   ,  ค่า BMI สูงเกินไป ความเสื่ยงที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง  ,  
วิธีแก้หรือช่วยควบคุมค่า BMI มีอะไรบ้าง  ,  วิธีคํานวณค่า BMI  ,  เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกาย  ,  ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คืออะไร?
CR   ::    https://www.sanook.com/health/bmi/
2 notes · View notes
metal4plus · 6 years ago
Photo
Tumblr media
ลดน้ำหนัก จากการ “กินแตงกวา”
เทรนด์ ลดน้ำหนัก ด้วย แตงกวา ส่วนปีนี้ที่มาแรงมากๆสำหรับเทรนด์การลดน้ำหนักของคนญี่ปุ่นในตอนนี้ก็คือ การกินแตงกวา จากการลงตีพิมพ์ในหลายๆบทความว่า มีบางคนกินแต่แตงกวาอย่างเดียวสามารถลดน้ำหนักลงได้ 11 กิโลกรัมภายใน 2 เดือน ทีวัดผลกันจริงจังด้วย เครื่องชั่งน้ําหนัก ลดน้ำหนักได้จริง ที่ฮิตกันขนาดนั้นก็เพราะ มีผลวิจัยเพิ่มออกมาว่า แตงกวา เป็นผักที่ มีเอนไซม์ชื่อ "phospholipase" ที่มีคุณสมบัติสลายไขมันและขจัดเซลลูไลท์อยู่ในปริมาณมากกว่าผักชนิดอื่น มีเส้นใยอาหารสูง มีแคลอรีต่ำ จึงถือว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการลดน้ำหนัก แต่ไม่แนะนำให้กินแตงกวาเพียงอย่างเดียว ควรกินอาหารชนิดอืนๆตามไปด้วยเป็นขั้นตอนจากคำแนะนำด้านล่าง....
0 notes
gadget4update · 6 years ago
Photo
Tumblr media
ลดน้ําหนัก ให้เห็นผล
เมื่อไหร่ที่เห็นน้ำหนักบนตาชั่ง เครื่องชั่งน้ําหนัก (Digital Weight Scale) เพิ่มขึ้น ก็ยิ่งหงุดหงิด แล้วจะต้องลดอย่างไรถึงจะเห็นผลจริงสักที ออกกำลังกายก็แล้ว ควบคุมอาหารแทบตายก็แล้ว น้ำหนักก็ไม่ลดลงสักที เห็นเลขน้ำหนักตัวบนตราชั่งแล้วอยากจะร้องไห้! อยากผอม อยากหุ่นดี หลายคนใจร้อนอยากเห็นผลไวๆ จึงใช้วิธีออกกำลังกายเยอะๆ กินอาหารน้อยๆ หรือไม่กินมันซะเลย แย่สุดคือหันไปพึ่งยาลดความอ้วน เพื่อที่จะได้มีน้ำหนักตัวที่ลดลงเห็นผลทันตา
ยาลดความอ้วน แน่นอนว่าวิธีพึ่งยาลดความอ้วนเหล่านั้นช่วยให้น้ำหนักตัวลดลงได้จริง แต่ผลลัพธ์มันไม่ได้การันตีว่าร่างกายจะออกมาดูดีอย่างที่คิดไว้ ถึงน้ำหนักตัวจะลดลงแต่ร่างกายกลับดูไม่สมส่วน หน้าตาไม่สดใส ดูเหมือนคนป่วย สาเหตุที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่า ร่างกายได้สูญเสียกล้ามเนื้อที่เป็นระบบเผาผลาญหลักของร่างกายไหนจะรวมไปถึงน้ำและของเสียในร่างกาย แต่ส่วนที่ลดลงไปน้อยที่สุดคือ ไขมัน การที่ระบบเผาผลาญในร่างกายพังจะส่งผลให้เกิดโยโย่เอฟเฟคต์แทนที่น้ำหนักตัวจะลด กลับทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นไปอีก
อาหาร ลดความอ้วน ที่มาแรงมากๆสำหรับเทรนด์ลดน้ําหนัก ให้เห็นผล และปลอดภัยของคนญี่ปุ่นในตอนนี้ก็คือ การกินแตงกวา จากการลงตีพิมพ์ในหลายๆบทความว่า มีบางคนกินแต่แตงกวาอย่างเดียวสามารถลดน้ำหนักลงได้ 11 กก.ภายใน 2 เดือนจาก เครื่องวัดไขมันในร่างกาย (Digital Weight Scale) ที่ฮิตกันขนาดนั้นก็เพราะ มีผลวิจัยเพิ่มออกมาว่า แตงกวา เป็นผักที่ มีเอนไซม์ชื่อ "phospholipase" ที่มีคุณสมบัติสลายไขมันและขจัดเซลลูไลต์อยู่ในปริมาณมากกว่าผักชนิดอื่น มีเส้นใยอาหารสูง มีแคลอรีต่ำ จึงถือว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการลดน้ำหนักจากส่วนที่เป็นมวลไขมัน
มวลน้ำ มวลกล้ามเนื้อ มวลไขมัน และมวลกระดูก การลดน้ําหนัก ให้เห็นผล คือ การลดน้ำหนักของร่างกายโดยรวมทั้งหมดให้เบาลง ในร่างกายประกอบไปด้วย มวลน้ำ มวลกล้ามเนื้อ มวลไขมัน อวัยวะและมวลกระดูก มวลน้ำในร่างกายคือสิ่งที่ลดและเพิ่มได้ง่ายมากที่สุด แค่ออกไปวิ่ง ขับถ่ายของเสีย แค่นี้น้ำหนักตัวก็ลดแล้ว ต่อมาคือมวลกล้ามเนื้อก็ลดง่าย แต่ถ้าต้องการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อส่วนนี้ก็จะยากหน่อย แล้วสุดท้ายคือมวลไขมัน เพิ่มได้ง่ายแต่ลดมวลไขมันยากสุด ๆ เพราะฉะนั้นตัวเลขบนตาชั่งเครื่องวัดไขมันในร่างกาย (Digital Weight Scale) เป็นเพียงแค่ตัวช่วยเสริมเพื่อให้เราทราบถึงน้ำหนักมวลรวมที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น
เครื่องชั่งน้ําหนัก มวลน้ำ มวลกล้ามเนื้อ มวลไขมัน การลดมวลไขมัน คือ การกำจัดเอาส่วนของมวลไขมันออกไป แล้วสร้างมวลกล้ามเนื้อขึ้นมาแทนที่ มวลกล้ามเนื้อเมื่อเทียบกับมวลไขมันจะมีขนาดเล็กและกระชับมากกว่า แม้จะเทียบในสัดส่วนน้ำหนักที่เท่ากัน เมื่อคุณขึ้นเหยียบบน เครื่องชั่งน้ําหนัก จะสามารถบ่งบอกได้ถึง น้ำหนักร่างกาย มวลน้ำ มวลไขมัน มวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก และดัชนีมวลกาย ดังนั้นเมื่อลดมวลไขมันอาจจะมีน้ำหนักตัวเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม เป็นเพราะร่างกายมีมวลกล้ามเนื้อมากขึ้นแต่จะได้หุ่นที่ดีมีสัดส่วนกระชับ
วิธีออกกำลังกายสลายมวลไขมันแบบง่ายๆ ไม่เชื่อลองดู เพื่อให้ได้หุ่นกระชับ สร้างซิกซ์แพ็ค เน้นการออกกำลังโดยการคาร์ดิโอ กับ 3 ท่าบริหาร��ดมวลไขมัน แรงกระแทกน้อยแต่มีการทำงานของกล้ามเนื้อ
1. Squat and Shoulder Press
Tumblr media
บริหารมวลกล้ามเนื้อแกนลำตัว สะโพก ไหล่ รวม 30 นาทีขึ้นไป
2. Knee Up and Hip Rotation
Tumblr media
บริหารมวลกล้ามเนื้อแกนลำตัว ขา รวม 30 นาทีขึ้นไป
3. High Kick
Tumblr media
บริหารมวลกล้ามเนื้อแกนลำตัว สะโพก รวม 30 นาทีขึ้นไป
ลดมวลไขมัน ลดน้ําหนัก ให้เห็นผล
สรุปแล้ว การลดน้ำหนักของร่างกายโดยรวมทั้งหมดเพื่อให้น้ำหนักลดลง โดยไม่สนว่าน้ำหนักที่หายไปนั้นคืออะไรบ้าง ขอแค่เลขบนตราชั่งเครื่องวัดไขมันในร่างกาย (Digital Weight Scale) ลดลงเท่านั้น ส่วนลดน้ําหนัก ให้เห็นผล ควรเน้นลดมวลไขมันคือการลดแค่ไขมัน มวลกล้ามเนื้อจะเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น ขอยกตัวอย่างเช่น นักมวยจะลดน้ำหนักเพื่อให้ได้น้ำหนักตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนขึ้นชก นักเพาะกายจะลดไขมันเพื่อโชว์กล้ามเนื้อ หรือ ผู้หญิงจะอยากมีหุ่นที่ผอมเพรียวก็ใช้วิธีลดทั้งไขมันและกล้ามเนื้อ ส่วนผู้ชายจะชอบโชว์กล้ามโชว์ซิกซ์แพ็คจึงใช้วิธีการลดมวลไขมันแล้วเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ โดยวัดการเปลี่ยนแปลงจาก เครื่องชั่งน้ําหนัก
Cr.Timeout,Sanook
0 notes
seotoday00 · 2 years ago
Text
การรับมือกับการเบื่ออาหารในผู้ใหญ่ และผู้สูงวัย (หรือผู้สูงอายุ)
ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุคืออาการไม่อยากอาหาร ไม่รู้สึกหิว หรือรับประทานอาหารได้ลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเบื่ออาหารและภาวะขาดสารอาหาร มาเรียนรู้วิธีสังเกตลักษณะของผู้ที่มีอาการเบื่ออาหารหรือทุพโภชนาการในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดสารอาหารโดยรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารสูตรครบถ้วนเพื่อให้ได้สารอาหารที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
อาการที่บ่งบอกถึงภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ
เคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมผู้สูงวัยจึงมักมีอาการเบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อยลง หรือทานยากขึ้น คนส่วนใหญ่อาจจะเข้าใจว่าเป็นพฤติกรรมปกติของผู้สูงวัย ทำให้ไม่ได้ใส่ใจดูแลเรื่องโภชนาการให้ดีเท่าที่ควร เมื่อเวลาผ่านไปอาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร ทำให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยแย่ลงได้
ภาะวะขาดสารอาหารคืออะไร
ภาะวะขาดสารอาหารหรือภาวะโภชนาการต่ำ เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารหรือพลังงานในปริมาณที่ไม่เหมาะสมและน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงวัย โดยผลสำรวจในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่า มีภาวะขาดโปรตีนและพลังงานในผู้สูงวัยสูงถึงร้อยละ 15
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ในร่างกายที่เสื่อมถอยลง เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านโภชนาการได้ เช่น ภาวะสมองเสื่อม การมองเห็นและการได้ยินลดลง การรับรสที่เปลี่ยนแปลงไป ความสามารถในการแยกรสชาติ เปรี้ยว เค็ม หวานลดลง ฟันเหลือน้อยลง การเคี้ยวอาหารได้ยากขึ้นและไม่ละเอียด ระบบทางเดินอาหารและการดูดซึมสารอาหารมีประสิทธิภาพลดลง ท้องอืดหรือท้องผูกได้มากกว่าวัยอื่น มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อความอยากอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคตับและไต โรคหัวใจวาย โรคข้อสักเสบ โรคติดเชื้อต่างๆ และภาวะซึมเศร้า ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคประจำตัว เช่น ปากแห้ง คอแห้ง หรือยาที่มีผลต่อความอยากอาหารลดลง เป็นต้น
อาการที่พบในผู้สูงวัยที่ขาดสารอาหาร
ผู้สูงวัยที่อยู่ในภาวะขาดสารอาหารมักพบว่า มีน้ำหนักตัวลดลงจากเดิมประมาณ 5% หรือมากกว่าในช่วง 6 เดือน ระดับอัลบูมินในเลือดต่ำกว่า 3.5 กรัมต่อเดซิลิตร ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ต่ำกว่า 18.5 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร มีความอยากอาหารลดลง เบื่ออาหารอย่างต่อเนื่อง น้ำหนักตัวลดลง ร่างกายซูบผอมลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เวียนศีรษะและอ่อนเพลียได้ง่ายกว่าปกติ ใจสั่น ผมร่วง ชาหรือเสียวบริเวณข้อต่อ ซึ่งหากพบว่าผู้สูงวัยมีลักษณะและพฤติกรรมเช่นนี้ ควรพิจารณาปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและโภชนาการให้สอดคล้องกับการดูแล เพื่อการแก้ไขหรือป้องกันภาวะการขาดสารอาหาร
ผลกระทบต่อร่างกายเมื่อขาดสารอาหาร
ภาวะการขาดสารอาหารในผู้สูงวัยนั้นถือเป็นภัยเงียบทางสุขภาพ เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลเสียต่อสภาพร่างกาย เช่น มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย การทรงตัวไม่ค่อยดี เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อลดลง มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้มได้ง่าย สมองทำงานได้ไม่เต็มที่ ผิวพรรณแลดูไม่สดใส แผลหายช้ากว่าปกติ และนำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรคเรื้อรัง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ส่งผลให้การเจ็บป่วยของผู้สูงวัยรุนแรงขึ้น มีโอกาสกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง คุณภาพชีวิตลดลง และมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น
นอกจากนี้ การขาดสารอาหารยังส่งผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้ผู้สูงวัยที่ประสบปัญหานี้รู้สึกหดหู่ มีอาการซึมเศร้า และอาจส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ เช่น มีอาการหงุดหงิดง่าย หรือมีความวิตกกังวลมากเกินไป ดังนั้น ญาติหรือผู้ดูแลควรให้ความใส่ใจอย่างใกล้ชิด โดยเริ่มต้นจากโภชนาการสำหรับผู้สูงวัยให้ได้รับสารอาหาร 5 หมู่อย่างครบถ้วนและเพียงพอในแต่ละมื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของการดูแลสุขภาพ รวมถึงหมั่นสังเกตอาการความเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงวัยเป็นระยะ
เนื่องจากภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงวัยจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ดูแลจึงควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อการดูแลและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยได้อย่างถูกวิธี สามารถช่วยเหลือและให้การรักษาพยาบาลได้ทันท่วงที
Tumblr media
0 notes
prapasara · 3 months ago
Text
Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media
BMI สำคัญกับร่างกายอย่างไร พร้อมวิธีคํานวณ
BMI สำคัญกับร่างกายอย่างไร พร้อมวิธีคํานวณ
ค่า BMI หรือที่รู้กกันก็คือ “ค่าดัชนีมวลกาย” เป็นเครื่องมือประเมินลักษณะร่างกายของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน และได้รับการยอมรับในระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาล คลินิกเสริมความงาม ฟิตเนส หรือสถาบันอื่น ๆ ต่างใช้สูตรคำนวณ BMI เพื่อหาค่าดัชนีมวลกายของผู้เข้ารับบริการ
โดยการคำนวณความสมดุลระหว่างน้ำหนักและส่วนสูงค่าดัชนีมวลกาย อาจสามารถช่วยระบุความเสี่ยงในการเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน
สารบัญ
ค่า BMI คืออะไร
วิธีคํานวณค่าดัชนีมวลกาย
เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกาย
ค่า BMI สูงเกินไป ความเสื่ยงที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
วิธีแก้หรือช่วยควบคุมค่า BMI มีอะไรบ้าง
Tumblr media
ค่า BMI คืออะไร
ดัชนีมวลกาย หรือ BMI คือ ตัวเลขที่คํานวณจากนํ้าหนักและส่วนสูง โดยวิธีเป็นวิธีการคำนวนเพื่อประเมินสุขภาพแบบคร่าว ๆ ว่ามีสุขภาพเป็นอย่างไร
สิ่งสําคัญที่ควรรู้สำหรับดัชนีมวลกาย เป็นการวัดที่มีประโยชน์สําหรับคนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ซึ่ง BMI เป็นเพียงการประมาณค่าเท่านั้น เนื่องจากยังมีปัจจัยเรื่องอื่น ๆ เช่น อายุ ชาติพันธุ์ เพศ และองค์ประกอบของร่างกาย ทีไม่ได้นำมาร่วมคำนวณด้วยค่ะ
วิธีคํานวณค่า BMI
ตัวอย่างการคำนวณ
น้ำหนัก 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร 
ดัชนีมวลกาย  = 60 ÷ (1.60 * 1.60)
ดัชนีมวลกาย  = 60 ÷ 2.56 
ดัชนีมวลกาย  = 23.4
เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกาย
ตารางการแสดงผล BMI
>>  ระดับน้อยกว่า 18.5 แสดงว่า “น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์”
ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายในเกณฑ์ระดับน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน จะมีภาวะความเสี่ยงสูงที่ร่างกายขาดสารอาหาร เกิดการหล่อเลี้ยงภายในร่างกายได้ไม่เพียงพอ โดยจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ภูมิคุ้มกันไม่ดี 
ฉะนั้น จำเป็นต้องออกกำลังกายควบคู่กับการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบโปรตีนสูง จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีสารอาหารมากพอไปซ่อมแซมการทำงานของอวัยวะภายในได้อย่างเพียงพอ
>>  ระดับ 18.5 – 22.9 แสดงว่า “น้ำหนักสมส่วน”
ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ระดับน้ำหนักสมส่วนตามมาตรฐาน เป็นกลุ่มบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนได้น้อยที่สุด 
ฉะนั้น ควรรักษาความสุมดลของค่า BMI ระดับนี้ไว้อย่างสม่ำเสมอ โดยหมั่นตรวจเช็คการคำนวณค่า BMI จากการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเป็นผลชี้วัดในการตรวจเช็คมวลร่างกายอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อคงความสมดุลนี้ไว้ค่ะ
>>  ระดับ 23.0 – 24.9 แสดงว่า  “น้ำหนักเกินมาตรฐาน”
ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ระดับเกินมาตรฐาน มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนได้ นั่นก็คือ “โรคอ้วน” 
ฉะนั้น ควรควบคุมปริมาณไขมันในร่างกาย���ัวเอง ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดระดับไขมันให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
อ่านเพิ่มเติม : การลดไขมันแบบเร่งด่วน
>>  ระดับ 25.0 – 29.9 แสดงว่า “น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์อ้วน”
ผู้ที่มีคํานวณค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ระดับนี้ มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้สูง 
ฉะนั้น ควรควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายตัวเองแบบเร่งด่วน โดยการปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร เปลี่ยนเป็นอาหารที่เน้นสุขภาพให้มากขึ้น ไม่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย หรืออย่างต่ำ 8 แก้วต่อวัน สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ การพักผ่อนให้เพียงพอ และติดตามผล BMI ตลอดในช่วงควบคุมน้ำหนักอยู่เสมอ
>>  ระดับ 30.0 ขึ้นไป  แสดงว่า  “น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์อ้วนมาก”
ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์นี้ มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้สูงที่สุด 
ฉะนั้น ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่รับประทานอาหารที่เพิ่มมวลไขมันแก่ร่างกาย และหมั่นออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำอย่างต่ำ 10-12 แก้วต่อวัน และติดตามผล BMI ตลอดในช่วงควบคุมน้ำหนักอยู่เสมอ
อ้างอิงจาก : รพ.สมิติเวช  ,  https://rwcclinic.com/whats-your-bmi/  ,   https://prinkotakoon.blogspot.com/2024/08/bmi_23.html
1 note · View note
thaisabuycom · 7 years ago
Photo
Tumblr media
การหาค่า ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปราถนา ปัจจุบันคนจึงหันมาใส่ใจกับตัวเองมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รักสุขภาพคงจะเคยได้ยินคำว่า “ ดัชนีมวลกาย ” ซึ่งเป็นค่าเบื้องต้นที่บ่งบอกได้ว่าคุณปริมาณไขมันในร่างกายมากน้อยเพียงใด ดัชนีมวลกายหรือบีเอ็มไอ (BMI: Body... ... อ่านต่อที่นี่ การหาค่า ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)
0 notes
gadget4update · 7 years ago
Photo
Tumblr media
ลดอ้วน ด้วย BMR
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดความอ้วนจากการเทียบเกณฑ์ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ที่ได้จากการคำนวณด้วย น้ำหนัก (หน่วย กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (หน่วย เมตร) ยกกำลังสอง หากคำนวณแล้วได้ค่า BMI มากกว่า 25 ถือว่าอ้วนต้องควบคุมน้ำหนัก ซึ่งนอกจากการใช้ค่า BMI แล้วค่ารอบเอวยังสามารถระบุความอ้วนได้ด้วย โดยกำหนดให้ผู้หญิงมีรอบเอวไม่เกิน 32 นิ้วและผู้ชายมีรอบเอวไม่เกิน 36 นิ้ว หากเกินจะถูกจัดให้อยู่ในเกณฑ์ "อ้วน" เพราะมีไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) มากเกินไป ที่สามารถวัดได้จาก  เครื่องวัดไขมันในร่างกาย (Body Fat Scale) หลักการทำงานคือใช้กระแสไฟฟ้าต่ำๆ ไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายแล้ววัดความต้านทานต่อการไหลของกระแสในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายทำให้สามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายอย่างละเอียดทั้งในส่วนของ มวลไขมัน,มวลกล้ามเนื้อ,มวลกระดูก, และปริมาณน้ำในร่างกาย ความสมดุลและความแข็งแรงของร่างกาย สามารถดูตารางเปรียบเทียบค่าที่เหมาะสมตามช่วงอายุ ด้านล่าง
Tumblr media
ดัชนีมวลกาย & ความอ้วน หลังจากที่เราทราบค่าดัชนีมวลกาย (BMI) กันแล้ว ว่าร่างกายของเรานั้นมีน้ำหนักตัวตามค่ามาตรฐานขั้นไหน ผอมหรืออ้วนเกินไปหรือไม่ สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวเกินจากมาตรฐานก็คงจะวางแผนการลดน้ำหนักลดอ้วนแล้วใช่ไหม อย่างที่ทราบกันดีว่าการลดน้ำหนักนั้น หัวใจอยู่ที่การปรับสมดุลการใช้พลังงานและการรับพลังงาน ร่างกายของมนุษย์มีจุดสมดุลพลังงานที่คอยกำหนดว่าในแต่ละวัน แต่ละคน ควรกินอาหารปริมาณเท่าไหร่ โดยพลังงานที่คนปกติใช้ในวันหนึ่งๆ จะขึ้นอยู่กับผลรวมของ ค่าพลังงานสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ หรือ ค่า BMR( Basal Metabolic Rate), ค่าพลังงานสำหรับการดูดซึมและย่อยอาหาร (Energy for Absorp and nutrient storage) และค่าการออกกำลังกาย (Physical Activity)
อัตราการเผาผลาญพลังงาน BMR ค่า BMR( Basal Metabolic Rate) หมายถึง อัตราความต้องการเผาผลาญของร่างกายในชีวิตประจำวัน หรือจำนวนแคลอรี่ขั้นต่ำที่ต้องการใช้ในชีวิตแต่ละวัน เช่น หากคุณมีค่า BMR = 2000 แคลอรี่ หมายถึง ในชีวิตประจำวันของคุณ อัตราการเผาผลาญพลังงานแคลอรี่ต่อวันเท่ากับ 2000 แคลอรี่ ในภาวะการดำรงชีวิตปรกติ ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย ซึ่ง ค่า BMR แต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ สัดส่วนมวลกล้ามเนื้อ อายุ เพศ ขนาดร่างกาย และ ฮอร์โมน ยกตัวอย่าง เราเคยสังสัยมั้ยว่า ทำไมไอ้นี่มันกินเยอะแต่ไม่อ้วน ซึ่งหากไปศึกษาร่างกายของเค้าก็จะพบว่า ร่างกายคนเหล่านี้มีมวลกล้ามเนื้อเยอะ และไม่ค่อยมีมวลไขมัน เพราะว่ามวลกล้ามเนื้อสามารถเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่ามวลไขมัน 3-5 เท่า
สาเหตุ ความอ้วน สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดความอ้วนมีด้วยกัน 2 ประการ คือ พฤติกรรมการบริโภค และลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งสาเหตุของความอ้วนที่เกิดขึ้นกับคนไทย 99% มาจากการบริโภคอาหารเกินความจำเป็นของร่างกาย เพราะในคนเอเชียจะมีเพียง 1% เท่านั้นที่จะพบคนเป็นโรคอ้วนจากพันธุกรรม ต่างจากพันธุกรรมของคนยุโรปหรือสหรัฐฯ ที่มักมียีนผิดปกติทำให้อัตราการเมทาบอลิซึมลดลง คนในประเทศเหล่านั้นจึงมีโอกาสอ้วนจากพันธุกรรมได้มากกว่าคนในเอเชีย ผลการวิจัยและข้อแนะนำจาก รศ.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี ผู้เชี่ย��ชาญด้านเมทาบอลึซึม
ลดไขมันเพิ่มกล้ามเนื้อ หากไม่อยากอ้วนจึงต้องบริหารจัดการการกิน��ห้พอเหมาะพอดีกับปริมาณพลังงานที่ร่างกายใช้ หรืออธิบายโดยง่ายคือ ควรกินให้น้อยกว่าหรือเท่ากับพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน มิเช่นนั้นหากอาหารที่ถูกกินเกินปริมาณจะถูกเก็บสะสมเป็นชั้นไขมัน รวมทั้งการออกกำลังกายให้เหมาะสมเพื่อการเผาผลาญพลังงานให้ได้สัดส่วนพอเหมาะและไม่สะสมพลังงานส่วนเกินเป็นมวลไขมัน แต่ควรเพิ่มมวลกล้ามเนื้อแทน ซึ่งมวลกล้ามเนื้อนี้เองจะเป็นตัวช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย โดยจะไปเพิ่ม BMR (Basal Metabolism) หรือ อัตราความต้องการเผาผลาญพลังงานของร่างกายในชีวิตประจำวัน หรือจำนวนแคลอรีขั้นต่ำที่ต้องการใช้ในชีวิตแต่ละวัน ทำให้ลดอ้วนส่งผลดีกับสุขภาพ ทั้งนี้ การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ เช่น การยกน้ำหนัก วิดพื้น จึงมีส่วนช่วยอย่างมากในการลดอ้วนและควบคุมน้ำหนัก และหากออกกำลังกายอย่างเหมาะสม มวลกล้ามเนื้อก็จะไม่ได้ขยายขนาดจนทำให้ผิดสัดส่วนอย่างที่กังวลกัน
สร้างมวลกล้ามเนื้อ (Weight training) การออกกำลังเพื่อลดความอ้วนที่แนะนำมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ การสร้างมวลกล้ามเนื้อและการเผาผลาญมวลไขมัน การสร้างมวลกล้ามเนื้อ (Weight training) ไม่ใช่การเพาะกายแต่เป็นการทำให้มัดกล้ามเนื้อใหญ่ขึ้นเพื่อทำให้สามารถเผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้น การสร้างกล้ามเนื้อที่ดีคือการออกแรงต้านกับน้ำหนัก ทั้งน้ำหนักของตัวเอง เช่น การวิดพื้น หรือออกแรงต้านด้วยอุปกรณ์ เช่น ดัมเบล ซึ่งต้องออกแรงให้ได้มากประมาณ 80-100% ที่กล้ามเนื้อมัดนั้นรับได้การสร้างกล้ามเนื้อจึงจะถือว่าประสบความสำเร็จ โดยให้ยึดหลักทำน้ำหนักมากๆ แต่ยกปริมาณน้อยๆ การออกกำลังกายชนิดนี้ลดอ้วนแล้วยังทำให้มวลกระดูกแข็งแรงขึ้น และระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้นด้วย
เผาผลาญไขมัน (Burn Fat) ส่วนการเผาผลาญไขมัน (Burn Fat) ที่ดีที่สุดสำหรับคนลดความอ้วนคือ การออกกำลังแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic) ซึ่งทำได้ทั้งการวิ่ง ว่ายน้ำ พายเรือ ปั่นจักรยาน ในระยะยาวแบบไม่หักโหม เพราะร่างกายจะดึงมวลไขมันไปใช้เมื่อมีการออกกำลังกายไปแล้วเมื่อเวลาผ่านไป 20 นาที ดังนั้นการออกกำลังกายที่ดีจึงควรออกช้าๆ แต่นาน ไม่ควรออกแบบหักโหมเพราะจะทำให้หมดแรงเร็ว และร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลไปใช้ซึ่งผิดวัตถุประสวงค์ที่อยากให้ไมวลไขมันถูกดึงไปใช้แทน โดยใน 1 สัปดาห์ควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 92 นาทีหรือมากกว่านั้น โดยไม่ควรต่ำกว่าสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 15-30 นาที การออกกำลังกายบ่อย ๆลดอ้วนได้แล้วยังช่วยให้มวลกระดูกแข็งแรงและยังช่วยชะลอโรคกระดูกพรุนได้ด้วย
ลดความอ้วน อยู่กับใจ ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับใจ การลดความอ้วนไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินกว่าจะทำได้ เพราะนอกจากจะดีต่อสุขภาพและรูปร่างแล้ว ยังส่งผลต่อโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทางที่ดีที่สุด คือ การกินอาหารแบบพอเหมาะ เน้นโปรตีน ลดคาร์โบไฮเดรต อาจเป็นโปรตีนจากถั่วหรือไข่ก็ได้ มีราคาถูกกว่าแต่คุณค่าอาหารเหมือนกัน ไม่��ำเป็นต้องลดมื้ออาหารแต่ให้ลดปริมาณลง หากตอนเย็นยังรู้สึกหิวมาก แนะนำให้ทานอาหารเหลวที่มีน้ำหนักและมีคุณค่าอาหารเช่น ไข่ตุ๋น หรือไข่ต้มแทนที่จะเป็นข้าว หมั่นออกกำลังอยู่เสมอลดไขมัน เพิ่มกล้ามเนื้อ แถมยังได้มวลกระดูกที่แข็งแรงเพิ่มมาอีกด้วย และควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 500 กิโลแคลอรี่ เพราะจนถึง ณ ตอนนี้ก็ยังไม่มีวิธีการใดที่วิทยาศาสตร์รองรับและประสบผลสำเร็จลดอ้วนได้เท่าการควบคุมอาหารและการออกกำลัง
Cr.ผู้จัดการ,ข่าวสด,คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
0 notes