#อาหารไทย
Explore tagged Tumblr posts
Text
Discovering 9 Different Varieties of Thai Rice 🌾
Have you ever wondered what makes Thai cuisine so enchanting ?
Perhaps it's the delicate balance of flavors, the aromatic herbs and spices, or maybe it's the humble grain that serves as the foundation of every meal: rice.
Join us on a journey through Thailand's vibrant landscapes as we uncover the stories behind ninet unique varieties of Thai rice, each with its own history, flavor, and special place in the heart of Thai culture.
1. Khao Hom Mali 105
First on our journey is Khao Hom Mali 105, perhaps the most celebrated of Thailand's rice varieties. With its long, slender grains and an enchanting aroma reminiscent of pandan leaves, this jasmine rice isn't just a staple—it's a symbol of Thai heritage.
Khao Hom Mali 105 originated in Bang Khla District, Chachoengsao province in 1954. This variety was officially registered as Khao Dawk Mali 105 in 1959. Its delicate fragrance and soft texture when cooked make it the perfect companion to spicy curries and stir-fries.
.
2. Khao Hom Mali Thung Kula
Next, we venture to the vast plains of Thung Kula Rong Hai, spanning over 2 million rai (aroung 0.79 acres) across five provinces: Surin, Roi Et, Sisaket, Yasothon, and Maha Sarakham where Khao Hom Mali Thung Kula rice is grown. A premium jasmine rice variety celebrated for its exceptional fragrance and quality. Originally, the Thung Kula Rong Hai plain was arid. However, through land development efforts by government and other organizations, the area has become fertile again and is now a major producer of Khao Hom Mali Thung Kula.
When cooked, the rice is soft, fluffy, and exudes a natural sweetness. This variety has even earned Geographical Indication (GI) status, marking it as unique to this region.
.
3. Khao Sang Yod
Khao Sang Yod, originated from Phatthalung Province is a nutritious rice with long grains that range from white and red to dark red. Khao Sang Yod is renowned for its exceptionally high nutritional content. When cooked, the rice becomes chewy, exceptionally soft and maintains its tenderness even when cooled.
Khao Sang Yod Muang Phatthalung is the first rice variety of Thailand that has been registered as Geographical Indication (GI) in 2016.
.
4. Khao Riceberry
Introducing Riceberry, a modern gem in Thailand's rice repertoire. This purple-hued rice is a crossbreed between Khao Hom Mali 105 and a local black rice (Khao Jao Hom Nil) variety, developed by the Rice Science Center at Kasetsart University.
With its slightly chewy texture and mild, nutty flavor, Riceberry is not only delicious but also a nutritional powerhouse—rich in antioxidants like anthocyanin, fiber, and essential vitamins. It's become a favorite among health enthusiasts and gourmet chefs alike.
Did you know that the deep purple color of Riceberry comes from its high anthocyanin content, the same antioxidant found in blueberries.
.
5. Khao Mun Poo
Khao Mun Poo, also known as Thai red rice, named for its distinctive reddish-orange hue that resembles the color of crab fat—'Mun Poo' translates to 'crab fat' in Thai. This rice offers a soft, slightly sticky texture when cooked, with a subtle earthy flavor.
Khao Mun Poo is cherished for both its taste and health benefits. The distinctive orange-red hue is attributed to its high levels of carotenoids, which are antioxidants that play a vital role in maintaining optimal eye health.
.
6. Khao Jek Chuey Sao Hai
As we continue our journey, we arrive in the Sao Hai district of Saraburi province, home to Khao Jek Chuey Sao Hai, a rice variety steeped in legend and tradition. With long, firm grains and a distinctive taste, this rice is less sticky than typical Thai varieties, making it perfect for fried rice and dishes where separate grains are desired. Historically, this rice was favored by Chinese traders.
Khao Jek Chuey Sao Hai also earned Geographical Indication (GI) status.
.
3 Popular Thai Sticky Rice Varieties
1. Khao Niao Kor Khor 6
Venturing into the realm of sticky rice, we first encounter Khao Niao Kor Khor 6 (RD6). Developed by Thailand's Rice Department (hence the 'Kor Khor'), this variety features short, plump grains that become wonderfully sticky when cooked. Its exceptional stickiness makes it ideal for forming into balls to dip into dishes like som tum or Nam Jim Jaew (Thai BBQ dipping sauce).
.
2. Khao Niao Dam
Khao Niao Dam, or black sticky rice, an eye-catching grain with a deep purple-black hue. When cooked, it transforms into a glossy, sticky delight with a slightly sweet and nutty flavor. Rich in antioxidants, particularly anthocyanins, this rice is as nutritious as it is delicious. It's often used in Thai desserts like black sticky rice pudding or combined with coconut milk for a luscious treat.
.
3. Khao Niao Khiaw Ngu
Lastly, we explore Khao Niao Khiaw Ngu, intriguingly named 'snake fang glutinous rice' due to its slender, pointed grains. This variety offers a delicate aroma and is slightly less sticky than other glutinous rice types, resulting in a soft, chewy texture when cooked. It's ideal for dishes that require a balance between stickiness and grain separation, like certain traditional sweets or for making steamed sticky rice, a key ingredient in the renowned mango sticky rice. Cultivated mainly in northern Thailand, this rice carries cultural significance in local ceremonies.
.
As we've journeyed through the rich tapestry of Thai rice varieties, it's clear that these grains are more than just food—they're the embodiment of Thailand's culture. Some are newly developed from the wisdom of the Thai people, adapting to meet the demands of modern consumption trends.
From the fragrant fields of Khao Hom Mali to the vibrant hues of Khao Riceberry, each variety tells a story of the land and its people. So next time you savor a Thai dish, remember that the humble rice at its heart carries generations of tradition and flavor, answering the question of what truly makes Thai cuisine so enchanting.
— — — — — — — — — — — — — — —
ชวนรู้จัก 9 สายพันธุ์ข้าวไทย ดังไกลไปทั่วโลก
ทุกท่านเคยนึกสงสัยไหมว่า นอกจากวิธีการปรุงอาหารไทยและส่วนผสมอย่างสมุนไพรและเครื่องเทศแล้ว อะไรคือส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้อาหารไทยเป็นที่นิยมได้มากขนาดนี้ ?
องค์ประกอบสำคัญในแทบจะทุกเมนูอาหารไทยที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าว ที่เปรียบเสมือนพื้นฐานของอาหารไทย
ในโพสนี้เพจ Thai SELECT ขอชวนทุกท่านมาร่วมรู้จัก 9 สายพันธุ์ข้าวไทยที่ดังไกลไปทั่วโลกด้วยกัน
1. ข้าวหอมมะลิ 105
ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงมากของประเทศไทย เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี ด้วยจุดเด่นที่ตัวเมล็ดข้าวสารมีลักษณะเรียวยาวสวย และมีกลิ่นหอมที่ชวนให้นึกถึงกลิ่นของใบเตย เมื่อนำมาหุง ตัวข้าวจะมีความนุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอมมาก
ข้าวหอมมะลิ 105 มีแหล่งกำเนิดจากอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ. 2497 และได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในชื่อของ "ข้าวดอกมะลิ 105" เมื่อปี พ.ศ. 2502 และด้วยจุดเด่นของกลิ่นที่หอมและเนื้อสัมผัสนุ่ม จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งกับการทานคู่เมนูประเภทแกงไทยและผัดต่าง ๆ
.
2. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นหนึ่งในข้าวหอมมะลิชั้นเลิศของไทย ซึ่งจะปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ที่ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ยโสธร และมหาสารคามเท่านั้น โดยข้าวสายพันธุ์นี้มีชื่อเสียงในด้านกลิ่นหอมและคุณภาพยอดเยี่ยม ซึ่งแต่เดิมสภาพแวดล้อมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้นั้น มีสภาพแห้งแล้ง ผืนดินแตกระแหง แต่ด้วยการพัฒนาที่ดินจากส���วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ส่งผลให้สามารถพลิกฟื้นผืนดินให้กลับมาเขียวชอุ่ม เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมพิเศษที่ไม่มีที่ใดเหมือน โดยตัวเมล็ดข้าวเมื่อหุงสุกจะมีความนุ่มฟู และมีกลิ่นหอมเด่นตามธรรมชาติ
ทุกท่านทราบไหมว่า ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ยังได้รับสถานะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ทำให้เป็นข้าวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในภาคอีสานของไทยอีกด้วย
.
3. ข้าวสังข์หยด
ข้าวสังข์หยด เป็นข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง ที่มีแหล่งปลูกดั้งเดิมจากจังหวัดพัทลุง ข้าวสังข์หยดถือเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก ตัวเมล็ดข้าวมีลักษณะเรียวยาว และมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวปนแดงถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุก ข้าวจะมีความนุ่มมาก และยังสามารถคงความนุ่มได้อยู่แม้จะเย็นตัวลงแล้ว
ข้าวสังข์หยด ของเมืองพัทลุง ยังเป็นข้าวสายพันธุ์แรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองสถานะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในปี 2549 ส่งผลให้เป็นข้าวที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
.
4. ข้าวไรซ์เบอร์รี่
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ อาจเปรียบได้กับเพชรเม็ดงามในวงการข้าวของไทย ข้าวสีม่วงนี้เป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ 105 และข้าว��จ้าดำ (ข้าวเจ้าหอมนิล) พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ด้วยเนื้อสัมผัสที่หนึบเล็กน้อยพร้อมด้วยรสชาติหอมกลิ่นถั่วอ่อน ๆ จึงทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ไม่เพียงแต่มอบความอร่อยคู่กับจานอาหารไทย แต่ยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่สูง มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างแอนโทไซยานิน ไฟเบอร์ และวิตามินที่จำเป็น ทำให้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้ กลายเป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ
ทุกท่านทราบไหมว่า “สีม่วงเข้ม” ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นสีที่เกิดมาจากธรรมชาติ เกี่ยวเนื่องกับปริมาณแอนโทไซยานินสูง (รงค์วัตถุหรือสารสี) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเดียวกับที่พบในบลูเบอร์รี่ นั่นเอง
.
5. ข้าวมันปู / ข้าวแดง
ข้าวมันปู หรือที่รู้จักกันว่า "ข้าวแดง" ได้รับชื่อนี้จากสีแดงส้มที่โดดเด่น คล้ายกับมันปู เนื้อข้าวนุ่ม เหนียวนิด ๆ เมื่อหุงสุกจะมีรสชาติออกธรรมชาติ มีความเฝื่อน ๆ เล็กน้อย
ข้าวมันปูนั้น ได้รับความนิยมทั้งในด้านรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งสีแดงส้มของข้าวมันปู มาจากสารแคโรทีน ที่มีอยู่สูงในเมล็ดซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบำรุงสายตาได้ดี
.
6. ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้
หนึ่งในสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในภาคกลางของไทยที่มีชื่อเสียงมาจากอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ด้วยลักษณะพิเศษของเมล็ดข้าวที่ยาว แข็ง และเมื่อหุงสุกแล้วจะนุ่มร่วน ไม่แฉะ ไม่แข็งกระด้าง และมีความเหนียวน้อยกว่าข้าวสายพันธุ์ไทยทั่วไป จึงทำให้เหมาะสำหรับใช้ไปทำเมนูข้าวผัด โดยในอดีต ข้าวชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากจากพ่อค้าชาวจีน
ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ข้าวไทยที่ได้รับการรับรองสถานะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)
.
ชวนส่อง 3 สายพันธุ์ข้าวเหนียวไทยยอดนิยม
1. ข้าวเหนียว กข 6
ข้าวเหนียว กข 6 ถูกพัฒนาโดยกรมการข้าวของประเทศไทย (ดังนั้นจึงมีชื่อย่อว่า 'กข') สายพันธุ์นี้มีเมล็ดสั้น อวบอ้วน ที่จะเหนียวหนึบเมื่อหุงสุก โดยความเหนียวที่เป็นจุดเด่นนี้เอง จึงทำให้เหมาะสำหรับการปั้นเป็นก้อนเพื่อทานคู่กับส้มตำ หรือจิ้มกับน้ำจิ้มแจ่วสูตรจัดจ้าน
.
2. ข้าวเหนียวดำ
ข้าวเหนียวดำ หรือข้าวก่ำเป็นข้าวที่มีเมล็ดสีม่วงจนไปถึงดำเข้ม เมื่อหุงสุก จะกลายเป็นข้าวเหนียวที่มีลักษณะมันวาว มีรสหวานเล็กน้อยและรสหอมถั่ว ข้าวเหนียวสายพันธุ์นี้ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะแอนโทไซยานิน โดยข้าวเหนียวชนิดนี้มักนิยมใช้ในขนมไทยอย่างข้าวเหนียวดำเปียก หรือนำไปทานคู่กับน้ำกะทิสำหรับของหวานก็ได้เช่นกัน
.
3. ข้าวเหนียวเขี้ยวงู
จุดที่ทำให้ข้าวเหนียวไทยสายพันธุ์นี้เป็นที่สนใจ คือตัวลักษณะของเมล็ดที่เรียวยาวและแหลม คล้ายเขี้ยวงู จึง���ป็นที่มาของชื่อที่เรียกว่า "ข้าวเหนียวเขี้ยวงู" นั่นเอง
ข้าวเหนียวสายพันธุ์นี้มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ และเ��นียวน้อยกว่าข้าวเหนียวชนิดอื่น ๆ เมื่อหุงสุกจะให้เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม เมล็ดเรียงตัวสวย ไม่เละ จึงเหมาะสำหรับการนำไปทำ ข้าวเหนียวมูน ในเมนูข้าวเหนียวมะม่วง หรือเมนูขนมไทยอื่น ๆ โดยข้าวเหนียวสายพันธุ์นี้นิยมปลูกมากในภาคเหนือของไทย
.
หากทุกท่านอ่านจนถึงตรงนี้ เราคงจะเห็นได้ชัดว่าข้าวสายพันธุ์ไทยยอดนิยมเหล่านี้เป็นผลผลิตที่สะท้อนไปถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรมาแต่ช้านาน หรือข้าวสายพันธุ์ที่คิดค้นมาใหม่มาจากภูมิปัญญาของคนไทย ที่ปรับตัวรับกับเทรนด์ความต้องการบริโภคสมัยใหม่
.
#Thaifood #ThaiSELECT
#DITP #กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
#ThaiCuisine #อาหารไทย #ข้าวไทย #ThaiRice
7 notes
·
View notes
Text
カオパットナムプリックパオクン🦐🔥
4 notes
·
View notes
Text
Made Kua kling
วันนี้ฉันทำคั่วกลิ้งหมู
2 notes
·
View notes
Text
"The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organisation (Unesco) early Wednesday morning listed tom yum kung, a Thai spicy prawn soup, as one of Thailand’s intangible cultural heritages."
#unesco#Tom yum kung#culture#culture heritage#soup#food#Thai food#Thai restaurant#recipe of the day#cook#cooking#ต้มยำกุ้ง#อาหารไทย#ประเทศไทย#คนไทย#nationalism
0 notes
Text
Pattaya offers a diverse range of excellent Asian dining establishments, each offering unique flavors and culinary experiences. One exceptional Indian restaurant in Pattaya that I personally recommend is River Garden. This restaurant is renowned for its delectable Indian cuisine and also offers a variety of traditional Thai dishes like pad thai noodles and Thai salads. The Indian dishes are equally delightful, with authentic flavors and a charming atmosphere that will surely be appreciated by food enthusiasts. I was particularly impressed by the dining view and the taste of the food. I highly recommend visiting River Garden at least once.
#thairestaurantnearme#thaicuisine#thaifood#thaisalad#thaifoodnearme#indianrestaurantinThailand#ร้านอาหารไทย#ผัดไทยบะหมี่#ก๋วยเตี๋ยวไทย#อาหารไทย
0 notes
Text
วิธีทำ ข้าวผัดแฮม เมนูข้าวผัดแสนอร่อย ทำง่าย อิ่มอร่อยทั้งบ้าน!
ข้าวผัด หรือที่ชาวต่างชาติ เรียกว่า Thai fried rice เป็นข้าวผัดที่หากินได้ง่าย โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของ ข้าว ไข่ กระเทียม หอมหัวใหญ่ ต้นหอม มะเขือเทศ คะน้า และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ปรุงรสด้วย น้ำตาล ซีอิ้วขาว ซีอิ้วดำ น้ำมันหอย น้ำปลา หรือเกลือ ตามความชอบ โรยหน้าด้วยผักชี เสิร์ฟพร้อมกับ แตงกวา มะนาว และพริกน้ำปลา เรียกได้ว่า เมนูง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ อย่าง ข้าวผัด เป็นอาหารจานด่วน ที่วัตถุดิบ หาได้ง่าย มีติดครัว ติดตู้เย็น ก็อิ่มท้องได้แล้ว แทงหวยฮานอย
สูตรวิธีทำ ข้าวผัดแฮม
เบื่อข้าวผัดไข่ธรรมดาแล้ว มาทำเมนู ข้าวผัด ใส่แฮม กันดูไหม ทำง่าย ๆ เพียงไม่กี่นาที ก็ได้ทานแล้ว เครื่องปรุง ส่วนผสมไม่เยอะ หาง่าย ๆ อยู่บ้านในวันหยุด ก็อิ่มท้องได้ง่าย ๆ ไปทำพร้อม ๆ กันเลย
วัตถุดิบ
แฮมหั่นสี่เหลี่ยม 1 ถ้วยตวง
ข้าวสวย 2 ถ้วยตวง
ไข่ไก่ 2 ฟอง
ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนชา
ซอสปรุงรส 1/2 ช้อนชา
ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
ผงชูรส 1/4 ช้อนชา
หอมหัวใหญ่สับ 1 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมสับ 1 ช้อนชา
แครอทหั่นเต๋า 3 ช้อนโต๊ะ
เมล็ดถั่วลันเตา 3 ช้อนโต๊ะ
เมล็ดข้าวโพดหวาน 2 ช้อนโต๊ะ
เนยสดจืด 2 ช้อนชา
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
ตีไข่ให้แตก ตั้งกระทะ ใส่น้ำมัน พอน้ำมันร้อน ใส่ไข่ลงไป คนให้ไข่สุก ตักไข่ขึ้น พักไว้
จากนั้น ใส่หอมหัวใหญ่สับ และกระเทียมสับ ผัดให้หอม และสุก
ใส่ข้าวสวย แครอท ถั่วลันเตา ข้าวโพดหวาน และแฮม
ปรุงรสด้วย ซอสถั่วเหลือง ซอสปรุงรส ซอสหอยนางรม น้ำตาลทราย และผงชูรส คนให้เข้ากัน
ใส่ไข่ ที่เตรียมไว้ (ข้อที่ 1) คนให้ไข่เป็นชิ้นเล็ก ใส่เนยสด ผัดให้เข้ากันอีกครั้ง ปิดเตา ยกลง ตักใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ
1 note
·
View note
Text
10 เมนูอาหารไทยอร่อยเด็ด!!
10 เมนูอาหารไทยอร่อยๆ หลายเมนูเคยได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมนูที่อร่อยติดอันดับโลก ใครที่กำลังคิดอยากทำอาหารไทย แต่ไม่รู้ว่าจะทำเมนูอะไรดี ลองนำไอเดียเมนูต่อไปนี้ไปปรับใช้กันได้ เยี่ยมชม
1. ผัดไทย
อาหารไทยเมนูผัดที่โกอินเตอร์และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ใช้ส่วนผสมที่สามารถหาได้ทั่วไปตามท้องตลอด นิยมใช้เส้นเล็กหรือเส้นจันท์ ผสมกับวัตถุดิบอย่างถั่วงอก ไข่ กุ้งแห้ง เต้าหู้ บ้างก็ใ��่เนื้อสัตว์เพิ่มเข้าไป เช่น เนื้อหมู หรือกุ้งสด แล้วเติมความอร่อยด้วยน้ำซอสรสเปรี้ยวหวาน ผัดไทยที่อร่อยต้องมีเส้นที่เหนียวนุ่มและมีรสชาติกลมกล่อม
2. ต้มยำกุ้ง
พูดถึงอาหารไทยเมนูต้มก็ต้องนึกถึงต้มยำกุ้งเป็นชื่อแรกๆ นำกุ้งสดมาปอกเปลือกและผ่าหลัง แล้วต้มให้สุก ใส่เครื่องปรุงต้มยำ เพิ่มรสเผ็ดและเปรี้ยวได้ตามชอบ โรยหน้าด้วยพริกหั่นหรือใบมะกรูดซอย โดยต้มยำกุ้งที่นิยมรับประทานกันมี 2 แบบ ได้แก่ ต้มยำกุ้งน้ำข้น และต้มยำกุ้งน้ำใส
3. ข้าวยำปักษ์ใต้
ถือเป็นอาหารไทยเมนูผักสมุนไพรที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำผักชนิดต่างๆ มายำรวมกัน เป็นเมนูอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ เพราะวัตถุดิบของข้าวยำจะประกอบไปด้วย ผัก ไข่ต้ม เนื้อปลาป่น เนื้อกุ้งป่น มะพร้าวคั่ว มะม่วงดิบ พริกขี้หนู ข่า มะกรูด ฯลฯ รับประทานกับข้าวสวยที่ราดด้วยน้ำยำบูดู กลายเป็นเมนูอาหารรสชาติกลมกล่อม อุดมด้วยสมุนไพรพื้นบ้านที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
4. ส้มตำ
เมนูสุดแซ่บอาหารจานเด็ดของภาคอีสาน แต่คนไทยก็นิยมรับประทานกันทั่วทุกภาค เพียงใช้เนื้อมะละกอ ตำผสมกับเครื่องปรุงวัตถุดิบพื้นบ้านอย่างพริกแห้ง มะนาวสด น้ำตาลปี๊บ น้ำปลาร้า เติมรสตามที่ชอบ ซึ่งในปัจจุบันเมนูส้มตำกลายเป็นเมนูประยุกต์ที่หยิบจับวัตถุดิบและส่วนผสมต่างๆ มาเสิร์ฟเป็นเมนูเด็ดไม่ซ้ำใคร เช่น ส้มตำกุ้งสด ส้มตำมั่ว ตำผลไม้ ตำข้าวโพดไข่เค็ม เป็นต้น
5. หมูสร่ง
หมูสร่งเป็นอาหารไทยโบราณที่สะท้อนถึงความประณีตและความใส่ใจของคนไทยในเรื่องอาหารการกิน เนื่องจากเมนูนี้ต้องใช้ความพิถีพิถันในการสับเนื้อหมูให้ละเอียด ปรุงรส แล้วปั้นเป็นก้อนกลม ก่อนจะใช้เส้นหมี่มาพันรอบๆ แล้วนำไปทอดในน้ำมันร้อนๆ ให้สุกจนเหลืองกรอบ
6. แกงเขียวหวาน
อาหารไทยเมนูไก่ที่กลายเป็นอีกหนึ่งเมนูประจำชาติ ส่วนผสมของน้ำแกงกะทิเข้มข้นที่ใช้วัตถุดิบผักพื้นบ้านเป็นส่วนประกอบ เช่น มะเขือพวง พริกชี้ฟ้า ใบโหระพา ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ พร้อมทั้งใส่เนื้อสะโพกไก่แล้วต้มจนสุก โรยหน้าด้วยใบมะกรูด เพิ่มสีสันและกลิ่นหอมชวนรับประทานมากยิ่งขึ้น
7. น้ำตกหมู
หนึ่งในอาหารไทย 4 ภาคที่ช่วยเพิ่มความจัดจ้านกันด้วยจานเด็ดจากทางภาคอีสาน นำเนื้อหมูหมักซอสมาย่างจนหอมแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หลังจากนั้นปรุงรสให้มีรสแซ่บนัวด้วยน้ำปลา หอมแดงซอย น้ำมะนาว และพริกป่น อย่าลืมไฮไลต์สำคัญของเมนูนี้อยู่ที่ข้าวคั่วหอมๆ และใบสะระแหน่ คลุกเคล้าให้เข้ากันก็ยกเสิร์ฟได้เลย
8. ข้าวซอยไก่
ข้าวซอยไก่ เมนูอาหารเหนือที่อร่อยติดใจใครหลายคน มีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยว แต่ใช้เส้นบะหมี่ทอดกรอบเป็นส่วนผสม ใส่เนื้อสัตว์ลงไปผัดในน้ำแกงกะทิจนสุก รับประทานพร้อมกับเครื่องเคียงอย่างผักกาดดอง มะนาว หอมแดงซอย และพริกสด
9. แกงมัสมั่นไก่
อาหารไทยประเภทแกงที่เป็นเมนูจานเด็ด ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู โดยใช้น้ำพริกแกงที่มีส่วนผสมของผักพื้นบ้าน เช่น พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ ข่า ลูกผักชี รวมไปถึงเครื่องเทศอย่างยี่หร่า ดอกจันทน์ และกานพลู เติมเนื้อไก่ ใส่น้ำกะทิลงไปในเครื่องแกง ปรุงจนสุกกลายเป็นสีเหลืองนวลน่ารับประทาน
10. น้ำพริกปลาทู
น้ำพริกถือเป็นเมนูที่อยู่คู่ครัวมายาวนาน เนื่องจากเป็นอาหารไทยเมนูผักที่ทำได้ง่ายๆ ที่ใช้พืชผักพื้นบ้านมาตำให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด เค็ม ปรุงรสชาติได้ตามความชอบ โดยเฉพาะเนื้อปลาทูย่างที่นิยมนำมาตำน้ำพริกรวมกับกะปิ กระเทียม ตะไคร้ซอย หอมแดง มะนาว น้ำปลา และน้ำตาล นิยมเสิร์ฟคู่กับผักสดและรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ
อาหารไทยทั้ง 10 เมนูนี้ สามารถนำมาใช้เป็นไอเดียในการทำอาหารได้ โดยสามารถปรับสูตร วัตถุดิบ หรือส่วนผสมต่างๆ และปรุงรสได้ตามความชอบได้เลยนะคะ
0 notes
Text
วิธีทำไข่เค็ม เค็มได้ตามสั่ง
ไข่เค็ม คือวิธีการถนอมอาหารอย่างนึง ที่ช่วยให้เก็บไข่เป็ดได้นานขึ้น การดองไข่เค็มจากไข่เป็ดทั้งใบ สามารถทำได้หลากหลายวิธี
ไปที่ไหนๆ ตอนนี้ก็มีเมนูไข่เค็มหรือใช้ไข่เค็มเป็นส่วนประกอบ ซึ่งก็ไม่เข้าใจว่าทำไมอยู่ดีๆ ไข่เค็มหน้าเดิมถึงได้ฮิต อินเทรนด์ขึ้นมาได้ ถ้าให้นั่งมโนเอง ก็อาจจะด้วยรสชาติมันๆ เค็มๆ เนื้อทรายของไข่แดงที่มีเอกลักษณ์ แถมด้วยไข่เค็มนั้นมีความพิเศษที่สามารถนำมาทำเมนูของคาวก็ดี ของหวานก็เร่ิดอีกต่างหาก จึงให้เมนูไข่เค็มทั้งคาว หวาน ผุดขึ้นมากมากมาย ไม่ใช่เพียงแค่ไข่เค็มที่กินกับข้าวต้มพุ้ยเท่านั้น ซึ่งแน่นนอน ราคาแต่ละอย่างก็แรงไม่ธรรมดาเช่นกัน ไข่เค็ม มันคือวิธีการถนอมอาหารอย่างนึง ที่ช่วยให้เก็บไข่เป็ดได้นานขึ้น
ด้วยการดองไข่เป็ดกับน้ำเกลือ ฟอกกับเกลือเลย หรือถ้าเป็นไข่เค็มไชยาก็จะใช้ดินจอมปลวกผสมเกลือคลุกแกลบดำพอกดองไว้ ซึ่งพระเอกหลักของการดองไข่เค็มก็คือ เกลือ ซึ่งเกลือก็คือโซเดียม ไข่เค็มจึงเป็นอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงเมื่อเปรียบเทียบกับไข่ปกติ คือ 300-500 มิลลิกรัม/ฟอง ในขณะที่ไข่ต้มจะมีโซเดียมอยู่เพียง 90 มิลลิกรัม/ฟอง (ปริมาณโซเดียมที่แนะนำต่อวันอยู่ที่ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน) การดองไข่เค็มนั้นง่ายแสนง่าย เอาจริงๆ เมื่อก่อนรุ่น แม่ ป้า ย่า ยาย จะดองไข่เค็มเองกันทั้งนั้น เพราะประหยัดไม่ต้องไปซื้อหาให้เปลือง ใช้เวลาซัก 10-15 วันก็ได้ไข่เค็มที่จะเอามาดาว หรือมาต้มได้แล้ว วัสดุอุปกรณ์ก็ไม่ได้มากมาย อาศัยแค่เวลาเท่านั้น
วัสดุ ส่วนผสม และอุปกรณ์
1.ไข่เป็ดล้างทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง 10 ใบ 2.เกลือทะเลเม็ดใหญ่ 2 ถ้วย (250 กรัม) 3.น้ำสะอาด 2 ลิตร 4.ขวดโหลแก้ว พร้อมฝาพลาสติก 5.น้ำส้มสายชูสำหรับแช่ไข่
วิธีการทำวันแรก
นำไข่เป็ดที่ล้างทำความสะอาดและผึ่งลมให้แห้ง มาแช่กับน้ำส้มสายชูจะเป็นกลั่นหรือ หมักก็ได้ หากใช้น้ำส้มสายชูกลั่นก็จะใช้เวลาแช่ประมาณ 3-5 นาที หากเป็นน้ำส้มที่หมักเองอาจใช้เวลามากกว่านั้น ซึ่งกรดในน้ำส้มจะทำปฏิกิริยากับเปลือกไข่ ทำให้เนื้อเปลือกไข่บางลง จึงทำให้ความเค็มเข้าไปได้ง่าย ผลคือไข่เค็มเร็วขึ้น เรียกง่ายๆว่า แช่นานเท่าไหร่ ก็ทำให้เวลานั้นการดองสั้นลงเท่านั้น ครั้งนี้เลือกใช้น้ำส้มแอปเปิ้ลหมัก (Apple Cider Vinegar) ที่หมักเอง และใช้เวลาแช่ไปประมาณเกือบ 20 นาที (เพราะทำอย่างอื่นไปด้วย) จากนั้นนำเกลือมาต้มกับน้ำ คนให้ละลายให้ได้มากที่สุด แล้วพักไว้ให้เย็นตัวลง
ถูทำความสะอาดเปลือกไข่ที่ล่อนออกมาหน่อย แล้วนำไข่เป็ดมาจัดเรียงในโหลแก้วที่เตรียมไว้ เติมน้ำเกลือลงไปจนท่วม กดไข่เป็ดขัดเข้ากับคอขวดให้ไข่ทั้งหมดจมอยู่ในน้ำเกลือเพื่อให้ความเค็มเสมอกัน สำหรับใครที่ทำน้อยๆ ไม่เต็มขวด ให้เอาถุงใส่น้ำมัดให้แน่น วางทับไว้ด้าน เพื่อกดให้ไข่จมลงก็ได้ จากนั้นปิดฝา แล้วเขียนวันที่เริ่มดองไว้กันลืมด้วนะ วางไว้ในอุณหภูมิห้อง
วิธีการทำวันที่ 8 ของการดอง ไข่เค็มดาวน้ำ
วันนี้ไข่เค็มที่ดองไว้จะเข้าสู่ช่วงที่เหมาะกับการนำมาทำไข่เค็มดาว คือ 8-12 วัน ไข่แดงจะเริ่มเป็นตัว เนื้อหนึบเมื่อนำมาดาว หรือ ดาวน้ำ เนื้อไข่แดงจะเป็นทราย แต่ด้านในจะยังเหลวเหมือนไข่เป็ด ไข่ขาวมีความเค็มกำลังดี ใครที่ชอบไข่เค็มที่ไม่เค็มจัดระยะนี้กำลังเหมาะ (ส่วนตัวก็ชอบดาวไข่เค็มระยะนี้ เพราะไข่ขาวจะไม่เค็มมาก แดงก็ยังเยิ้มนิดๆ กินกับข้าวจัดว่าอร่อยล้ำ) เยี่ยมชม
วิธีการทำไข่เค็มดาวน้ำ
นำไข่เค็มที่ดองไว้ ออกมาล้างความเค���มออก ตอกไข่เค็มดิบใส่ถ้วย ตั้งหม้อต้มน้ำจนเดือด จากนั้นลดไฟลงให้ความร้อนปานกลาง นำช้อนคนให้น้ำในหม้อหมุน แล้วเทไข่เค็มดิบลงไป เมื่อไข่เกาะตัวก็ลดเป็นไฟอ่อน แช่ทิ้งไว้ 3-5 นาที ตักขึ้นซับน้ำด้วยกระดาษทิชชูครัว ก็นำมากินได้แล้ว
วิธีการทำวันที่ 15 ของการดองไข่เค็ม ไข่เค็มต้ม
ไข่เค็มเต็มที่ ไข่ขาวก็ออกรสเค็มเต็มที่ ใครที่ต้องการนำไข่แดงเค็มไปทำขนม ระยะนี้กำลังดี หรือจะนำไปต้มให้สุกเก็บไว้กินกับข้าวต้ม ใส่ในน้ำพริก หรือผัดกับปลาหมึก หรือกุ้งก็อร่อย
วิธีทำไข่เค็มต้ม
วิธีการไม่ได้ยุ่งยาก นำไข่เค็มออกจากขวดแล้วล้างเอาความเค็มออก ตั้งน้ำต้มไข่จนสุก แล้วนำขึ้นแช่น้ำพักไว้ให้เย็น ไข่เค็มที่ต้มแล้วจะสามารถเก็บในตู้เย็นได้นานหลายเดือน
ทำการดองเสร็จแล้วน้ำเกลือไปไหน?
น้ำเกลือที่ใช้ดองไข่เค็ม สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยนำมากรอง แล้วต้มให้เดือด ถ้าต้องการนำน้ำเกลือไปดองต่อ ให้เติมเกลือลงไปเพิ่ม คนให้ละลาย ทิ้งไว้ให้เย็น เราสามารถทดสอบความเค็มได้ด้วยการนำข้าวสารใส่ลงไปเล็กน้อย ถ้าข้าวสารลอย ก็เป็นความเค็มที่พอเหมาะ
ไข่เค็มที่ดองเอง ดียังไง?
ข้อดีจากการดองไข่เค็มด้วยตัวเอง เราจะสามารถเลือกสรรวัตถุดิบได้ตามต้องการ (เลือกเป็นไข่เป็ดออร์แกนิค กับดอกเกลือ หรือเกลือสีชมพูก็ได้) และยังมั่นใจได้ว่าไข่เค็มที่ได้ จะสะอาดปลอดภัย สามารถเลือกความเค็มได้ตามระยะที่ชอบได้ แถมยังประหยัดกว่าซื้ออยู่พอสมควร ไข่เค็ม 1 ใบ ให้พลังงานประมาณ 110 kcal แต่ปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง ยังไงก็กินกันแต่พอดีให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมด้วยนะคะ
0 notes
Text
อาหารว่างคือไฮไลท์ของการถ่ายภาพ เสริมด้วยบรรยากาศร้าน .... ร้านอาหารแต่งเก๋มากที่แปรสภาพจากห้องเรียนอนุบาลของโรงเรี���นเรวดี ย่านประดิพัทธ์ .. เก้าอี้นั่งตัวเล็กถูกนำมาตกแต่งพื้นที่ กระดานดำในห้องเรียนยังมีให้เ��็นระหว่างนั่งทานอาหาร ร้านก็ชื่อเก๋ "พริกหยวก"
#ร้านอาหาร#อาหารน่าทาน#อาหารอร่อย#อาหาร#อาหารไทย#หมูฮ้อง#แกงเหลืองปลากะพง#ทอดมันปลากราย#ใบเหลียงกุ้งเสียบ#อาหารใต้
0 notes
Text
ซุปมะเขือปลาทูน่ากระป๋อง
วัตถุดิบ
- มะเขือเปราะ 10-12 ลูก
- ปลาทูน่า 1 กระป๋อง
- พริกแดงจินดา 5-6 เม็ด (ใส่มากน้อยตามชอบ)
- กระเทียม 4-5 กลีบ
- หอมแดง 4-5 หัว
- มะนาว
- น้ำปลา
- น้ำปลาร้า (ไม่ใส่ก็ได้ )
- เกลือ
- ผงปรุงรส
- ต้นหอม
- ผักชีฝรั่ง
- สะระแหน่
วิธีทำ
1. ทำความสะอาดมะเขือเปราะตัดขั้วออก แช่น้ำเกลือ 1-2 นาที แช่เสร็จนำขึ้นมาพักให้แห้ง
2. ตั้งน้ำให้เดือด ใส่ น้ำปลาร้า เกลือ พอเดือดได้ที่ นำมะเขือเปราะที่ทำความสะอาดไว้ มาใส่หม้อต้มพร้อมน้ำปลาร้า 10 นาที หรือ สังเกตุจากสีของมะเขือว่าสุกได้ที่หรือยัง พอมะเขือสุกได้ที่แล้ว นำมะเขือตักออกมาพักให้เย็น
3. นำพริกสด, หอมแดง , กระเทียม ,ไปคั่วให้หอมพอดี คั่วเสร็จพักไว้ให้เย็น
4. โขลกพริกสด , หอมแดง , กระเทียม ให้ละเอียด ใส่ปลาทูน่ากระป๋อง ใส่มะเขือเปราะที่ต้มไว้ ลงไปโขลกพอหยาบๆ
5. ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า ที่เราต้มใส่พร้อมมะเขือเปราะ น้ำปลา มะนาว ผงปรุงรส ตามด้วย ต้นหอม ผักชีฝรั่ง สะระแหน่ ลงเคล้าให้เข้ากัน รับประทานคู่กับข้าวเหนียวร้อนๆ หรือข้าวสวย ไข่ต้ม อร่อยมาก
#ซุปมะเขือปลาทูน่ากระป๋อง #ซุปมะเขือใส่ทูน่ากระป๋อง #ทูน่ากระป๋อง #เมนูอาหารอีสาน #เมนูอาหารแคลอรี่ต่ำ #เมนูประหยัด #อร่อยบอกต่อ
Thai Eggplant Dip #ซุปมะเขือ #ซุปมะเขือปลาทูน่ากระป๋อง #ทูน่ากระป๋อง
2 notes
·
View notes
Text
สารพัดสายพันธุ์ข้าวน่ารู้ คุณประโยชน์คู่จานอาหารคนไทย
0 notes
Text
River Garden in Pattaya is a highly recommended choice for those looking for an authentic Thai dining experience. Known for its diverse selection of Thai delicacies and also recognized as one of the top Indian restaurants in Thailand, it is a great option for both residents and visitors passing through the area. Additionally, if you happen to be in Bangkok, this restaurant is well-regarded and definitely worth a visit.
#thairestaurantnearme#thaicuisine#thaifood#thaisalad#thaifoodnearme#indianrestaurantinThailand#ร้านอาหารไทย#ผัดไทยบะหมี่#ก๋วยเตี๋ยวไทย#อาหารไทย
0 notes
Text
10 เมนูอาหารประจำชาติอาเซียน
อาเซียน เป็นภูมิภาคที่น่าทึ่งทางวัฒนธรรมและอาหารที่มีความหลากหลาย เมื่อคุณเดินทางไปยังประเทศในอาเซียน ก็อาจจะได้พบกับความอร่อยอันเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร และนี่คือ อาหารประจําชาติอาเซียน 10 ประเทศ ที่คุณต้องมาลองเมื่อมีโอกาสเยือนประเทศในเครือข่ายอาเซียน เริ่มกันเลย!
1.ต้มยำกุ้ง อาหารประจำชาติไทย
อาหารในอาเซียนเมนูแรก ขอเริ่มที่ประเทศไทยก่อนเลย ต้มยำกุ้ง ถือเป็นอาหารประจำชาติของไทย ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ได้รับการยกย่องให้เป็นอาหารจานเด็ดของไทยและเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของโลก เป็นอาหารประเภทต้มยำที่มีส่วนผสมของกุ้ง มะนาว ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก และเครื่องเทศอื่น ๆ มีจุดเด่นอยู่ที่รสชาติเข้มข้นและจัดจ้าน ซึ่งเกิดจากการผสมผสานของน้ำต้มยำที่เปรี้ยวจากมะนาว เผ็ดจากพริก และหอมจากตะไคร้ ใบมะกรูด และสมุนไพรอื่น ๆ
2.ลาบ อาหารประจำชาติของลาว
ถัดมาที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว อาหารพื้นเมืองของที่นี่คือ ลาบ เป็นอาหารประเภทยำที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ ผัก สมุนไพร และเครื่องเทศต่างๆ รสชาติจัดจ้าน เข้มข้น จุดเด่นของลาบอยู่ที่รสชาติที่เผ็ดและหอมจากเครื่องเทศต่างๆ ลาบแบบดั้งเดิมจะใช้เนื้อสัตว์ดิบ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ หรือเนื้อเป็ด นำมาสับละเอียดและปรุงรสด้วยเครื่องเทศต่างๆ เช่น พริก ข้าวคั่ว ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักชีฝรั่ง หอมแดง และข่า
ลาบแบบดั้งเดิมจะไม่ใส่น้ำมะนาว ลาบเป็นอาหารลาวที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ได้รับการยกย่องให้เป็นอาหารจานเด็ดของลาวและเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของโลก ซึ่งนอกจากลาบแบบดั้งเดิมแล้ว ยังมีลาบอีกหลายประเภท เช่น ลาบหมู, ลาบไก่, ลาบเป็ด, ลาบเนื้อ, ลาบเห็ด ลาบแต่ละประเภทจะมีส่วนผสมและรสชาติที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อสัตว์และเครื่องเทศที่ใช้
3.อาม็อก (Amok) อาหารประจำชาติกัมพูชา
เป็นอาหารประเภทแกงที่มีส่วนผสมของเนื้อปลา กะทิ และเครื่องแกง รสชาติเข้มข้น หอมอร่อย มีจุดเด่นอยู่ที่รสชาติที่เข้มข้นและหอมจากเครื่องแกงต่างๆ อาม็อกมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน สันนิษฐานว่าน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากชนเผ่าเขมรโบราณ อาม็อกเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยโปรตีนจากปลา เส้นใยอาหารจากผักต่างๆ และวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ
อาม็อกแบบดั้งเดิมจะใช้เนื้อ��ลานึ่งหรืออบในกะทิที่ปรุงรสด้วยเครื่องแกงต่างๆ เช่น พริก กระเทียม หอมแดง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และสมุนไพรอื่นๆ อาม็อกแบบดั้งเดิมจะใส่ใบยอหรือใบกะเพราลงไปเพื่อให้มีกลิ่นหอมและรสชาติที่เข้มข้นยิ่งขึ้น นอกจากอาม็อกแบบดั้งเดิมแล้ว ยังมีอาม็อกอีกหลายประเภท อาทิ อาม็อกปลานึ่ง, อาม็อกปลาอบ, อาม็อกไก่, อาม็อกหมู, อาม็อกกุ้ง
4.หล่าเพ็ด (Lahpet) อาหารประจำชาติของเมียนมาร์
อาหารอาเซียน เมนูถัดมา นี่คือ หล่าเพ็ด เป็นอาหารประเภทยำที่มีส่วนผสมของใบชาหมัก ถั่ว งา กุ้งแห้ง มีจุดเด่นอยู่ที่รสชาติที่เปรี้ยว เค็ม เผ็ด และหอมจากเครื่องเทศต่างๆ หล่าเพ็ดแบบดั้งเดิมจะใช้ใบชาหมักที่ตากแห้งมาหั่นเป็นเส้นเล็กๆ นำมาคลุกเคล้ากับถั่วชนิดต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วทอง ถั่วเขียว งาขาว งาดำ และเครื่องเทศต่างๆ เช่น พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด และพริกไทยดำ หล่าเพ็ดแบบดั้งเดิมจะใส่กุ้งแห้งลงไปเพื่อให้มีรสชาติที่เข้มข้นยิ่งขึ้น หล่าเพ็ด นิยมรับประทานเป็นอาหารว่างหรือเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย
5.นาซิ เลอมัก (Nasi lemak) อาหารประจำชาติมาเลเซีย
เป็นอาหารประเภทข้าวหุงกับกะทิและสมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้าหรืออาหารจานหลัก เป็นอาหารประเภทข้าว เสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียง เช่น ปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุกและถั่วอบ สำหรับนาซิ เลอมัก แบบดั้งเดิม จะห่อด้วยใบตองและมัก��ะรับประทานเป็นอาหารเช้า จุดเด่นของ Nasi lemak อยู่ที่รสชาติที่หอมมันจากข้าวหุงกับกะทิและสมุนไพรต่างๆ
6.เฝอ (Pho) อาหารประจำชาติของเวียดนาม
เฝอ เป็นก๋วยเตี๋ยวที่มีส่วนผสมของเส้นก๋วยเตี๋ยว นิยมรับประทานเป็นอาหารจานหลักหรือเป็นอาหารว่างก็ได้ รับประทานได้ทุกมื้อ จุดเด่นอยู่ที่รสชาติที่เข้มข้นและหอมจากน้ำซุปกระดูก น้ำซุปเฝอจะเคี่ยวเป็นเวลานานด้วยกระดูกวัว กระดูกไก่ หรือกระดูกหมู ร่วมกับเครื่องเทศต่างๆ เช่น อบเชย ดอกจัน กระวาน กานพลู และพริกไทยดำ จึงทำให้ได้น้ำซุปที่มีรสชาติเข้มข้นและหอม เส้นก๋วยเตี๋ยวเฝอจะเหนียวนุ่มและหอมกลิ่นข้าว นิยมรับประทานกับเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมู หรือเนื้อกุ้ง ผักต่างๆ เช่น ถั่วงอก ต้นหอม ผักชี และสมุนไพรต่างๆ เช่น สะระแหน่ โหระพา ผักชีฝรั่ง และพริกชี้ฟ้า นิยมปรุงรสด้วยซอสพริกศรีราชาหรือน้ำปลา
7.ลักซา (Laksa) อาหารประจำชาติของสิงคโปร์
เป็นก๋วยเตี๋ยวที่มีส่วนผสมของเส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำซุปกะทิ เครื่องแกง กุ้ง และหอยแครง รสชาติเข้มข้น เผ็ด หอมอร่อย ลักซาแบบดั้งเดิมจะใช้น้ำซุปกะทิที่ปรุงรสด้วยเครื่องแกงต่างๆ เช่น พริก กระเทียม หอมแดง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และสมุนไพรอื่นๆ กุ้งและหอยแครงที่ใช้ในลักซาควรเป็นวัตถุดิบที่สดใหม่ เพื่อให้ได้รสชาติที่หวานและอร่อย ลักซา เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบอาหารรสจัด หากมีโอกาสได้ไปเยือนสิงคโปร์ อย่าลืมลองชิมลักซา อาหารประจำชาติสิงคโปร์ที่มีชื่อเสียงและอร่อยจนต้องติดใจ
8.นาซิโกเร็ง (Nasi goreng) อาหารประจำชาติของอินโดนีเซีย
เมนูนี้คือข้าวผัดที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ ผัก และเครื่องเทศต่าง ๆ จุดเด่นอยู่ที่รสชาติที่กลมกล่อม นาซิโกเร็ง แบบดั้งเดิมจะใช้ข้าวสวยที่ผัดกับน้ำมันและเครื่องเทศต่างๆ เช่น พริก กระเทียม หอมแดง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และสมุนไพรอื่นๆ นิยมใส่เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู หรือเนื้อกุ้ง ผักต่างๆ เช่น ถั่วงอก แครอท ข้าวโพดอ่อน และเครื่องเทศต่างๆ เช่น ถั่วลิสง กุ้งแห้ง และกะปิ นาซิโกเร็งแบบดั้งเดิมจะเสิร์ฟพร้อมไข่ดาว หอมเจียว และแตงกวา สามารถรับประทานได้ทุกมื้อ
9.อโดโบ (Adobo) อาหารประจำชาติของฟิลิปปินส์
อโดโบ เป็นอาหารประเภทแกงที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ น้ำส้มสายชู กระเทียม และเครื่องเทศต่าง ๆ มีจุดเด่นอยู่ที่รสชาติที่เปรี้ยว เค็ม เผ็ด และหอมจากเครื่องเทศ คำว่า "อโดโบ" มาจากภาษาสเปนคำว่า "adobar" แปลว่า "หมัก" อโดโบแบบดั้งเดิมจะใช้เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา หรือเนื้อกุ้ง นำมาหมักในน้ำส้มสายชู กระเทียม และเครื่องเทศต่างๆ เช่น พริก อบเชย ใบกระวาน และพริกไทยดำ นิยมนำไปนึ่งหรืออบจนสุก
10.อัมบูยัต (Ambuyat) อาหารประจำชาติของบรูไน
มาถึง อาหารอาเซียน อย่างสุดท้าย อัมบูยัตเป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน เป็นอาหารประเภทแป้งสาคูที่มีส่วนผสมของแป้งสาคู น้ำ และเกลือ รับประทานโดยจิ้มกับน้ำจิ้มที่เรียกว่า กะชาห์ (Cachah) อัมบูยัตมีจุดเด่นอยู่ที่รสชาติที่นุ่มลื่นและหอมจากแป้งสาคู
และนี่คือ 10 อาหารอาเซียน ที่ล้วนเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และสามารถหารับประทานได้เมื่อคุณมีโอกาสได้ไปเยือนประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าพลาดที่จะไปลองชิมอาหารประจำชาติอาเซียนของแต่ละประเทศ เพื่อเป็นการสัมผัสกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละท้องถิ่นนั่นเอง
0 notes