#แสดงธรรม
Explore tagged Tumblr posts
Text
คุณพระรัตนตรัย ได้แค่เพียงบูชา ชดใช้ไม่แล้ว ถ่ายทอด เช้าวันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ท่านอาจารย์ เกษม ดวงแพงมาต (ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก) ให้บุญนี้แก่ทุกสัตว์ที่สุนัขชื่อ"โปรด "เพศเมีย ที่ข้าพฯเลี้ยงอยู่ ได้เคยทำอันตรายเบียดเบียนกันไว้ในกาลก่อน ขอได้รับบุญนี้ จงมีสุข ปลอดภัย ข้าพฯขอขมาขออภัย ถึงทุกสัตว์นั้นในกาลนี้
#คุณพระรัตนตรัย #บูชาคุณพระรัตนตรัย #ชดใช้ไม่แล้ว
#บิดามารดาไม่ใช่ศาสดา #พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
#พระรัตนตรัยสำคัญตลอด #บิดามารดาเทียบพระอรหันต์ไม่เท่าสงฆ์
#แสดงธรรม #บิดามารดาพาไปนิพพานไม่ได้ #อาจารย์สอนให้นับถือพระรัตนตรัย #เกษม # ดวงแพงมาต# ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก #วังกวาง #น้ำหนาว #เพชรบูรณ์
#อาจารย์เกษม ดวงแพงมาต#คุณพระรัตนตรัย#บูชาคุณพระรัตนตรัย#ชดใช้ไม่แล้ว#บิดามารดาไม่ใช่ศาสดา#พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง#พระรัตนตรัยสำคัญตลอด#บิดามารดาเทียบพระอรหันต์ไม่เท่าสงฆ์#แสดงธรรม#บิดามารดาพาไปนิพพานไม่ได้#อาจารย์สอนให้นับถือพระรัตนตรัย#เกษม#ดวงแพงมาต#ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก#วังกวาง#น้ำหนาว#เพชรบูรณ์
0 notes
Text
นัดหมายการแสดงธรรมในคืนวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 2566 การแสดงธรรมวันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 ท่านอาจารย์ เกษม ดวงแพงมาต (ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก)
นัดหมาย
แสดงธรรม
แนวธรรม
แนวโลก
ให้บุญแก่ทุกสัตว์ที่ตัวข้าพฯ และสุนัขชื่อ"เปา"ที่เลี้ยงอยู่ ได้เคยร่วมกันทำอันตรายไว้ในกาลก่อน ขอได้รับบุญนี้ จงมีสุข ตัวข้าพฯ ขอขมา ขออภัย ถึงทุกสัตว์นั้นในกาลนี้
0 notes
Text
Please click to read the cute story in my blog . 😊
#photography#decoration art#lord buddha#buddha image#maka bhucha#cute animals#toys#cute toys#พระพุทธเจ้า#พุทธศาสนา#มาฆบูชา#พระพุทธรูป#ของเล่น#ของเล่นน่ารัก#สัตว์#สัตว์น่ารักๆ#blessing#bless#แสดงธรรม#blog#blogger#photo blog#บล็อค#บล็อคภาพถ่าย
0 notes
Photo
“สิ่งที่เธอเลือก คือสิ่งที่กำหนดชีวิตของเธอ” คติธรรมโดย พระอาจารย์ซุนยะ ธัมมะปิยะ แสดงธรรม ณ วัดฉางเกลือ 27-12-2562 “Your choice is your life” Dhamma motto by Ashin Sunnya Dhammapiya 27 -12-2019 Changklue temple https://www.instagram.com/p/B6k0vrKBG57/?igshid=ru2ic1rq58pc
0 notes
Text
เทศนาครั้งสุดท้าย คนเรือนหมื่น แห่สาธุ กราบไหว้ ครูบาบุญชุ่ม แสดงธรรม ก่อนเข้าถ้ำนาน 3 ปี
http://dlvr.it/QwrM0R
0 notes
Photo
08/07/2561 #พระภิกษุสงฆ์ ยืนให้พรเป็นอาบัติ พระที่ท่านเดินบิณฑบาต เมื่อคฤหัสถ์ถวายอาหารเสร็จแล้วให้พร คือ การแสดงธรรมแต่มุ่งแสดงธรรมเพื่อประจบ เพื่อให้ตระกูลรักไม่ถูกต้อง และแม้แสดงธรรม (ให้พร) คือ การกล่าวอนุโมทนากถา แสดงธรรม การเคารพธรรมเป็นสิ่งที่สมควรเพราะพระธรรมเป็นสิ่งที่เลิศ การแสดงธรรมจึงต้องอยู่ในอิริยาบถที่สมควรสำหรับผู้แสดงและผู้ที่ฟังครับ ดังนั้น การที่พระท่านยืนให้พร แสดงธรรม แต่ผู้ฟังนั่งรับพร หรือ ฟังพระธรรม ขณะนั้นพระภิกษุชื่อว่าไม่เคารพพระธรรม เพราะพระภิกษุอยู่ในอิริยาบถที่สูงกว่า ส��ายกว่า ไม่ควรแสดงธรรมกับบุคคลที่มีอิริยาบถต่ำกว่า คือ คนที่ถวายบิณฑบาตนั่ง แต่พระภิกษุยืนแสดงธรรมในขณะนั้น เท่ากับว่าพระภิกษุรูปนั้นไม่เคารพธรรม ต้องอาบัติทุกกฎที่แสดงธรรมในขณะนั้นครับ แต่ถ้าท่านให้พรแสดงธรรมอยู่ เรายืนฟังพระธรรมในขณะนั้นท่านไม่ต้องอาบัติทุกกฎในเรื่องการไม่เคารพธรรมครับ เพราะอยู่ในอิริยาบถที่สมควรแล้วทั้งสองฝ่ายในการแสดงและฟังพระธรรมครับ ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ [๘๗๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์(กลุ่มภิกษุไม่ดี)ยืนแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่. . . #บอกบุญฟรี ขอเชิญผู้ที่พบเห็นข้อความนี้ ร่วมอนุโมทนาบุญ อุปฐากพระเช้านี้ ร่วมกันนะครับ ขอบุญกุศล ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วนี้ จงสำเร็จแก่ท้าวจัตุมหาราชทั้งสี่ ทวยเทพเทวดาที่สถิตเป็นใหญ่ อยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ และสถานที่ข้าพเจ้าอยู่อาศัย และเทวดาทั้งหลาย เจ้าที่พี่สาว จงสำเร็จแก่ คุณตาอัมพร ปุ่นนอก คุณยายลัดดา ปุ่นนอก คุณแม่ชฏาภา ปุ่นนอก นายประพิน ปุ่นนอก ดญ.จันทนา นามหาไชย ดญ.เอวา นามหาไชย คุณพ่อสร้อย ชะนังกลาง คุณยายไหลมา ปัญญาแก้ว นส.พัฒนรัตน์ สุขเจริญ นางอัมภิกา สุขเจริญ ดช.ทรงพระเจริญ และบิดามารดาครูบาอาจารย์ ปูย่าตายาย ญาติสนิทมิตรสหาย ทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ และญาติทั้งหลาย จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ท้าวพยายมราช เปรตทั้งหลาย และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีส่วนในบุญกุศล ที่ข้าพเจ้าได้กระทำในแล้วนั้นด้วยเทอญฯ
0 notes
Photo
ไม่รู้จะทำอะไรนะ หายใจไว้ เพราะเราหายใจอยู่แล้ว อย่าหายใจทิ้ง กรรมฐานหายใจเนี่ย(อานาปานสติภาวนา) มีสติรู้การหายใจ เป็นกรรมฐานกลางๆ ใช้ได้สำหรับทุกจริตนิสัย เนี่ยอานาปานสติ ถ้าทำถูกต้อง มันจะแปรสภาพเป็น "อานาปานสติสมาธิ" (อานาปานสติสมาธิภาวนา) พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนนะ บอก อานาปานสติสมาธิเนี่ย อันบุคคลเจริญให้มากเนี่ย เจริญให้มาก เจริญบ่อยๆ จะทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญ แล้วก็ทำให้มาก มันจะทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ และโพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญ และทำให้มาก จะทำให้วิชชา และวิมุตติ บริบูรณ์ . เราไม่รู้ว่า มันจะไปเต็มบริบูรณ์เมื่อไหร่ หน้าที่เราทำให้เจริญ เจริญอยู่เรื่อยๆ เจริญสตินี่แหละ ทำให้มาก นานๆ เจริญทีนึงก็ไม่เจริญหรอก งั้นเรามีเวลานิดๆ หน่อยๆ อย่างเราเป็นฆราวาสเนี่ย ไม่ได้มีเวลาทั้งวันแบบพระ ระบบของพระเนี่ย สร้างขึ้นมาเกื้อกูลกับการปฏิบัติมากที่สุด พระเนี่ย ตั้งแต่เช้ามืดนะ ตื่นมาไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ เดินจงกรม อะไรก็ทำไป ถึงเวลาก็ออกไป���ิณฑบาต บิณฑบาต ก็ไม่ได้แปลว่าไม่ปฏิบัติ ทุกก้าว รู้สึก ทุกก้าวที่เดินไป รู้สึก รู้สึกตัว รู้สึกกาย ถ้าใช้อานาปานสติ ก็คืิอ ก้าวไป ก็ยังหายใจ ยังรู้สึกอยู่อีก หายใจออก-หายใจเข้า มันหายใจทั้งวันอยู่แล้ว เวลาฉันข้าว บางวันได้อาหารไม่ถูกปาก อาหารไม่ถูกปาก คือได้บาตรเปล่าๆกลับมา ไม่มีอาหาร อาหารเลยไม่ถูกปาก บางวันอาหารไม่ถูกใจ มีอาหาร แต่มันไม่อร่อยอย่างที่ใจอยาก ใจไม่มีความสุข เจริญสติอยู่ ก็เห็นใจไม่มีความสุข ได้ของที่ชอบใจ ก็ดีใจ มีความสุข ก็เห็นอีก จิตใจมีความสุข เนี่ยจะทำอะไรนี่นะ ในชีวิตพระจริงๆ เป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมา ให้เกื้อกูลกับการปฏิบัติมากที่สุดเลย เพราะไม่ต้องไปคิดเรื่องทำมาหากิน การคิดเรื่องทำมาหากินเนี่ย เอาเวลาเราไปเกือบหมดชีวิตเลย โดยเฉพาะ คนที่กินไม่เลิก รวยเท่าไหร่ๆ ก็ไม่พอ พวกนี้ไม่มีเวลาเหลือ ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต . นี้ถ้าเราต้องทำงาน ก็ทำไป ช่วงไหนมีเวลา นาที สองนาทีนะ เก็บให้หมดเลย ทำอะไรไม่ได้ ก็หายใจไปด้วยความมีสติ มีจิตตั้งมั่น เห็นร่างกายหายใจอยู่นะ เนี่ยการที่เรามีจิตตั้งมั่น เห็นร่างกายหายใจอยู่ ไม่ใช่ไปจ้องลมหายใจนะ คนละแบบกัน . อานาปานสติ ก็มีหลายแบบ แบบหนึ่ง เราเอา(จิต)ไปจ้องอยู่ที่ตัวลมหายใจ จนลมหายใจระงับ กลายเป็นแสง ลมหายใจนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต พอเป็นแสง ก็เรียกว่า อุคคหนิมิต ในที่สุดก็เล่นได้นะ กำหนดได้ ย่อได้ ขยายได้ นี่เรียกปฏิภาคนิมิต ตรงนี้ได้อุปจารสมาธิ ตรงที่จิตตรึกอยู่กับแสง เรียกว่า มีวิตกนะ เป็นวิตก จิตเคล้าเคลียอยู่กับแสง เรียกว่าวิจารณ์ มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง ไม่วอกแวกไปไหน จิตเข้าปฐมฌาน เส้นทางนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อสติปัฏฐานนะ เส้นทางนี้ เป็นไปเพื่อสมาธิสงบ(อารัมมณูปนิชฌาน) หรือจะมีฤทธิ์มีเดชน์ อย่างรู้ลมหายใจ นี่คือกสิณลม จากกสิณลม เข้าไปรู้รูจมูก เป็นกสิณช่องว่าง อากาสกสิณตรงเนี้ย จนมันเป็นแสง แล้วไปดูแสงสว่างนะ ตรงน���้ไปรู้แสง เล่นแสงได้ กสิณทั้งหมดแหละ ลงท้ายมันจะเป็นแสง (กสิณ)ทั้งสิบอย่างลงท้ายกลายเป็นแสง แล้วคราวนี้จิตก็เลยเข้าฌาน พักอยู่เฉยๆ ไม่ได้เป็นไปเพื่อการเจริญสติปัฏฐาน ๔ . "... นี้อานาปานสติ ที่เป็นไปเพื่อการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เนี่ย หายใจออก ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นร่างกายหายใจออก จิตตั้งมั่นเป็นคนดูอยู่นะ อย่างเนี้ย ฝึกไปเรื่อยๆ มันจะเริ่มเห็นว่า กายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เริ่มแยก(แยกรูปนาม) มันจะเห็นว่า กายเนี้ย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นได้ แล้วก็เห็นจิต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรอย่างนี้เห็นได้ ตรงที่เรามีสติเห็น��ายหายใจอยู่ นี่เรียกเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีจิตเป็นคนดู . นี้พอรู้ไป เรื่อย เรื่อย เรื่อยนะ จิตจะมีความสุขขึ้นมา เราไปมีสติรู้ความสุข หายใจออก มีความสุข ก็รู้ หายใจเข้า มีความสุข ก็รู้ จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่ นี่เรียกว่า ทำเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้วก็ เจริญอานาปานสติสมาธิที่ถูกต้อง มันจะเห็นสติปัฏฐาน งั้นท่านใช้คำดีนะ ใช้คำว่า "อานาปานสติสมาธิ" เป็นสมาธิที่เกิดจากการทำอานาปานสติ เป็นสมาธิที่ถูกด้วย ไม่ใช่สมาธิแบบฤาษี สว่าง สว่างไปเฉยๆ . พอจิตมีความสุขเนี่ย เราจะเห็นมีความพอใจแทรกเข้ามา มีความพอใจแทรกเข้ามา พอจิตมันมีความสุขขึ้นมา ก็เกิดความพอใจ เรามีสติรู้ทันความพอใจนั้นนะ พอเรามีสติรู้ทันความพอใจ เรากำลังเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่ รู้ทันความปรุงแต่งของจิตนะ ซึ่งมันปรุงดีบ้าง ปรุงชั่วบ้าง อันนี้ปรุงโลภะขึ้นมา ชอบ ชอบอกชอบใจในความสุข ต่อไป เราก็จะเห็นอีกนะ ฝึกไปเรื่อยๆ เราจะเห็นว่า ทั้งรูปธรรม-ทั้งนามธรรมเนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายที่หายใจอยู่ ความรู้สึก สุข-ทุกข์ ความรู้สึกที่เป็นกิเลส อย่างความพอใจเนี่ย มันมีกิเลสอยู่ มันไม่ใช่ตัวเรา จิตที่เป็นคนไปรู้ ก็ไม่ใช่ตัวเรา อันเนี้ย เราขึ้นมาสู่ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้ทั้งรูป-รู้ทั้งนาม . เพราะฉะนั้น การที่เราหายใจ แล้วเรามีสติรู้อยู่เรื่อยๆนะ จะทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ . การเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ ก็คือการมีสติ ก็คือการมีสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ เป็นสติปัฏฐาน ไม่ใช่สติธรรมดา ไม่ใช่เดินแล้วไม่ตกถนน แล้วบอกว่า เจริญโพชฌงค์อยู่ ไม่ใช่นะ เพราะฉะนั้น เป็นสติปัฏฐาน การที่เราคอยเห็น ความเปลี่ยนแปลงของรูป-นาม/กาย-ใจ ไปเรื่อย เห็นความจริงของเค้าไปเรื่อยๆ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา(ไตรลักษณ์) อันนี้เรียกว่า ธรรมวิจยะ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เนี่ยการที่เราเห็นไตรลักษณ์ไปเรื่อยนะ เราทำธรรมวิจยะ/วิจัยธรรมะนะ แล้วก็ทำไปเรื่อยๆ ไม่เลิก มีเวลาเมื่อไหร่ทำเมื่อนั้น ตลอดเวลาเลย นี้เรามีวิริยะอยู่ เมื่อไหร่มีสติ เมื่อนั้นมีวิริยะ/มีความเพียร เมื่อไหร่ขาดสติ เมื่อนั้นขาดวิริยะ งั้นวิริยะสัมโพชฌงค์ ไม่ใช่ขยันทำมาหากิน วิริยะสัมโพชฌงค์ ก็คือ ขยันเจริญสติปัฏฐานนั่นแหละ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน พอทำไปเรื่อยๆนะ จิตใจมันจะมีปีติ เป็นปีติของธรรมะ ไม่ใช่ปีติของสมาธิ เป็นปีติจากการเจริญธรรมะ อย่างบางที เราภาวนาไปแล้ว เราเกิดปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจ ในธรรมะบางอย่างขึ้นมา จิตจะเบิกบาน ใครเคยเป็นมั้ย ไม่ได้เข้าสมาธินะ แต่เกิดความเข้าใจขึ้นมาปุ๊ปเนี่ย พอเข้าใจปุ๊บนะ จิตเบิกบาน มีปีติขึ้นมาเลยนะ นี่เป็นปีติในโพชฌงค์นะ แล้วเราก็รู้ทัน มีสติรู้ทันอีก ปีติจะค่อยสงบระงับลง มีปัสสัทธิเกิดขึ้น/มีความสงบระงับเกิดขึ้น แล้วจิตก็จะมีสมาธิ คราวเนี้ย สมาธิตัวเนี้ย เกิดหลังจาก ที่ได้เจริญปัญญามาเต็มเหนี่ยวแล้ว เจริญปัญญาเต็มเหนี่ยวแล้ว จิตมีสมาธิอยู่ แล้วก็ จิตจะเข้าสู่อุเบกขา อุเบกขาด้วยปัญญา ไม่ใช่อุเบกขาธรรมดา เพราะว่า โพชฌงค์นี้ เป็นเรื่องของปัญญาทั้งนั้นเลย เรื่มตั้งแต่��ารมีสติ สติปัฏฐานนะ มันก็คือการเจริญสติ เจริญปัญญา แต่พอถึงธรรมวิจยะนี่ เรื่องปัญญาหมดแล้ว วิริยะก็คือ ขยันเจริญปัญญาอยู่ สุดท้ายจิตจะเข้าสู่อุเบกขา ตรงเนี้ย เป็นจุดสำคัญ ถ้าเราภาวนาแล้ว จิตไม่เกิดปัญญานะ ไม่ถึงอุเบกขานะ มรรคผลจะไม่มีทางเกิดเลย . เวลาที่จิตเกิดปัญญา ยกตัวอย่างเช่น เราหายใจไป จิตมีความสุข เราก็รู้ หายใจไป ความสุขหายไป เราก็รู้ หายใจไป จิตมีความทุกข์ เราก็รู้ หายใจไป ความทุกข์หายไป เราก็รู้ อย่างเนี้ย เราเห็นซ้ำๆ ทั้งสุข ทั้งทุกข์เนี่ย เกิดแล้วดับๆ เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก สุดท้ายปัญญามันปิ๊งขึ้นมานะว่า สุขกับทุกข์เท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เนี่ย เป็นของเท่าเทียมกันนะ ดีกับชั่ว ก็เท่าเทีบมกัน เพราะ เกิดแล้วดับเหมือนกัน เท่าเทียมกันในฐานะของไตรลักษณ์นะ ในมุมของไตรลักษณ์ เท่าเทียมกัน แต่ในทางจริยธรรมไม่เท่าเทียมกัน ดีกับชั่วเนี่ย จะมาเท่าเทียมกันในทางจริยธรรมไม่ได้ แต่ในทางที่เราเดินวิปัสสนาอยู่เนี่ย เท่าเทียมกันในกฎของไตรลักษณ์ เกิดแล้วดับๆ บังคับไม่ได้เหมือนๆกัน เนี่ยจิตมันเห็นความจริงนะ ว่าสุขกับทุกข์เนี่ย เท่าเทียมกัน งั้นเวลาที่เกิดสุขเนี่ย จิตไม่หลงดีใจ เวลาเกิดทุข์ จิตไม่หลงเสียใจ จิตเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นอุเบกขาแล้ว ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ตัวนี้สำคัญมากเลยนะ พอจิตเข้าสู่ความเป็นกลางเนี่ย จิตจะไม่ไปสร้างภพใหม่ จิตจะไม่สร้างภพขึ้นมา ถ้าจิตไม่เป็นกลาง ยังยินดี-ยังยินร้าย จะเกิดแรงผลัก แรงผลักให้จิตทำงานต่อไปอีก จิตจะสร้างภพ คือจิตจะทำงานต่อไปอีก _/|\_ _/|\_ _/|\_ #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม 8 กรกฎาคม 2560 CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ 71 File: 600708A พระธรรมเทศนาระหว่างนาที 0:00--11:51 ดาวน์โหลดไฟล์เสียงธรรมะได้ที่ Dhamma.com ..... กราบคุณพระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูง กราบพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ .....
0 notes
Text
ไม่รู้จะทำอะไรนะ หายใจไว้ เพราะเราหายใจอยู่แล้ว อย่าหายใจทิ้ง กรรมฐานหายใจเนี่ย(อานาปานสติภาวนา) มีสติรู้การหายใจ เป็นกรรมฐานกลางๆ ใช้ได้สำหรับทุกจริตนิสัย เนี่ยอานาปานสติ ถ้าทำถูกต้อง มันจะแปรสภาพเป็น "อานาปานสติสมาธิ" (อานาปานสติสมาธิภาวนา) พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนนะ บอก อานาปานสติสมาธิเนี่ย อันบุคคลเจริญให้มากเนี่ย เจริญให้มาก เจริญบ่อยๆ จะทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญ แล้วก็ทำให้มาก มันจะทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ และโพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญ และทำให้มาก จะทำให้วิชชา และวิมุตติ บริบูรณ์ . เราไม่รู้ว่า มันจะไปเต็มบริบูรณ์เมื่อไหร่ หน้าที่เราทำให้เจริญ เจริญอยู่เรื่อยๆ เจริญสตินี่แหละ ทำให้มาก นานๆ เจริญทีนึงก็ไม่เจริญหรอก งั้นเรามีเวลานิดๆ หน่อยๆ อย่างเราเป็นฆราวาสเนี่ย ไม่ได้มีเวลาทั้งวันแบบพระ ระบบของพระเนี่ย สร้างขึ้นมาเกื้อกูลกับการปฏิบัติมากที่สุด พระเนี่ย ตั้งแต่เช้ามืดนะ ตื่นมาไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ เดินจงกรม อะไรก็ทำไป ถึงเวลาก็ออกไปบิณฑบาต บิณฑบาต ก็ไม่ได้แปลว่าไม่ปฏิบัติ ทุกก้าว รู้สึก ทุกก้าวที่เดินไป รู้สึก รู้สึกตัว รู้สึกกาย ถ้าใช้อานาปานสติ ก็คืิอ ก้าวไป ก็ยังหายใจ ยังรู้สึกอยู่อีก หายใจออก-หายใจเข้า มันหายใจทั้งวันอยู่แล้ว เวลาฉันข้าว บางวันได้อาหารไม่ถูกปาก อาหารไม่ถูกปาก คือได้บาตรเปล่าๆกลับมา ไม่มีอาหาร อาหารเลยไม่ถูกปาก บางวันอาหารไม่ถูกใจ มีอาหาร แต่มันไม่อร่อยอย่างที่ใจอยาก ใจไม่มีความสุข เจริญสติอยู่ ก็เห็นใจไม่มีความสุข ได้ของที่ชอบใจ ก็ดีใจ มีความสุข ก็เห็นอีก จิตใจมีความสุข เนี่ยจะทำอะไรนี่นะ ในชีวิตพระจริงๆ เป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมา ให้เกื้อกูลกับการปฏิบัติมากที่สุดเลย เพราะไม่ต้องไปคิดเรื่องทำมาหากิน การคิดเรื่องทำมาหากินเนี่ย เอาเวลาเราไปเกือบหมดชีวิตเลย โดยเฉพาะ คนที่กินไม่เลิก รวยเท่าไหร่ๆ ก็ไม่พอ พวกนี้ไม่มีเวลาเหลือ ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต . นี้ถ้าเราต้องทำงาน ก็ทำไป ช่วงไหนมีเวลา นาที สองนาทีนะ เก็บให้หมดเลย ทำอะไรไม่ได้ ก็หายใจไปด้วยความมีสติ มีจิตตั้งมั่น เห็นร่างกายหายใจอยู่นะ เนี่ยการที่เรามีจิตตั้งมั่น เห็นร่างกายหายใจอยู่ ไม่ใช่ไปจ้องลมหายใจนะ คนละแบบกัน . อานาปานสติ ก็มีหลายแบบ แบบหนึ่ง เราเอา(จิต)ไปจ้องอยู่ที่ตัวลมหายใจ จนลมหายใจระงับ กลายเป็นแสง ลมหายใจนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต พอเป็นแสง ก็เรียกว่า อุคคหนิมิต ในที่สุดก็เล่นได้นะ กำหนดได้ ย่อได้ ขยายได้ นี่เรียกปฏิภาคนิมิต ตรงนี้ได้อุปจารสมาธิ ตรงที่จิตตรึกอยู่กับแสง เรียกว่า มีวิตกนะ เป็นวิตก จิตเคล้าเคลียอยู่กับแสง เรียกว่าวิจารณ์ มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง ไม่วอกแวกไปไหน จิตเข้าปฐมฌาน เส้นทางนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อสติปัฏฐานนะ เส้นทางนี้ เป็นไปเพื่อสมาธิสงบ(อารัมมณูปนิชฌาน) หรือจะมีฤทธิ์มีเดชน์ อย่างรู้ลมหายใจ นี่คือกสิณลม จากกสิณลม เข้าไปรู้รูจมูก เป็นกสิณช่องว่าง อากาสกสิณตรงเนี้ย จนมันเป็นแสง แล้วไปดูแสงสว่างนะ ตรงนี้ไปรู้แสง เล่นแสงได้ กสิณทั้งหมดแหละ ลงท้ายมันจะเป็นแสง (กสิณ)ทั้งสิบอย่างลงท้ายกลายเป็นแสง แล้วคราวนี้จิตก็เลยเข้าฌาน พักอยู่เฉยๆ ไม่ได้เป็นไปเพื่อการเจริญสติปัฏฐาน ๔ . "... นี้อานาปานสติ ที่เป็นไปเพื่อการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เนี่ย หายใจออก ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นร่างกายหายใจออก จิตตั้งมั่นเป็นคนดูอยู่นะ อย่างเนี้ย ฝึกไปเรื่อยๆ มันจะเริ่มเห็นว่า กายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เริ่มแยก(แยกรูปนาม) มันจะเห็นว่า กายเนี้ย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นได้ แล้วก็เห็นจิต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรอย่างนี้เห็นได้ ตรงที่เรามีสติเห็นกายหายใจอยู่ นี่เรียกเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีจิตเป็นคนดู . นี้พอรู้ไป เรื่อย เรื่อย เรื่อยนะ จิตจะมีความสุขขึ้นมา เราไปมีสติรู้ความสุข หายใจออก มีความสุข ก็รู้ หายใจเข้า มีความสุข ก็รู้ จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่ นี่เรียกว่า ทำเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้วก็ เจริญอานาปานสติสมาธิที่ถูกต้อง มันจะเห็นสติปัฏฐาน งั้นท่านใช้คำดีนะ ใช้คำว่า "อานาปานสติสมาธิ" เป็นสมาธิที่เกิดจากการทำอานาปานสติ เป็นสมาธิที่ถูกด้วย ไม่ใช่สมาธิแบบฤาษี สว่าง สว่างไปเฉยๆ . พอจิตมีความสุขเนี่ย เราจะเห็นมีความพอใจแทรกเข้ามา มีความพอใจแทรกเข้ามา พอจิตมันมีความสุขขึ้นมา ก็เกิดความพอใจ เรามีสติรู้ทันความพอใจนั้นนะ พอเรามีสติรู้ทันความพอใจ เรากำลังเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่ รู้ทันความปรุงแต่งของจิตนะ ซึ่งมันปรุงดีบ้าง ปรุงชั่วบ้าง อันนี้ปรุงโลภะขึ้นมา ชอบ ชอบอกชอบใจในความสุข ต่อไป เราก็จะเห็นอีกนะ ฝึกไปเรื่อยๆ เราจะเห็นว่า ทั้งรูปธรรม-ทั้งนามธรรมเนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายที่หายใจอยู่ ความรู้สึก สุข-ทุกข์ ความรู้สึกที่เป็นกิเลส อย่างความพอใจเนี่ย มันมีกิเลสอยู่ มันไม่ใช่ตัวเรา จิตที่เป็นคนไปรู้ ก็ไม่ใช่ตัวเรา อันเนี้ย เราขึ้นมาสู่ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้ทั้งรูป-รู้ทั้งนาม . เพราะฉะนั้น การที่เราหายใจ แล้วเรามีสติรู้อยู่เรื่อยๆนะ จะทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ . การเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ ก็คือการมีสติ ก็คือการมีสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ เป็นสติปัฏฐาน ไม่ใช่สติธรรมดา ไม่ใช่เดินแล้วไม่ตกถนน แล้วบอกว่า เจริญโพชฌงค์อยู่ ไม่ใช่นะ เพราะฉะนั้น เป็นสติปัฏฐาน การที่เราคอยเห็น ความเปลี่ยนแปลงของรูป-นาม/กาย-ใจ ไปเรื่อย เห็นความจริงของเค้าไปเรื่อยๆ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา(ไตรลักษณ์) อันนี้เรียกว่า ธรรมวิจยะ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เนี่ยการที่เราเห็นไตรลักษณ์ไปเรื่อยนะ เราทำธรรมวิจยะ/วิจัยธรรมะนะ แล้วก็ทำไปเรื่อยๆ ไม่เลิก มีเวลาเมื่อไหร่ทำเมื่อนั้น ตลอดเวลาเลย นี้เรามีวิริยะอยู่ เมื่อไหร่มีสติ เมื่อนั้นมีวิริยะ/มีความเพียร เมื่อไหร่ขาดสติ เมื่อนั้นขาดวิริยะ งั้นวิริยะสัมโพชฌงค์ ไม่ใช่ขยันทำมาหากิน วิริยะสัมโพชฌงค์ ก็คือ ขยันเจริญสติปัฏฐานนั่นแหละ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน พอทำไปเรื่อยๆนะ จิตใจมันจะมีปีติ เป็นปีติของธรรมะ ไม่ใช่ปีติของสมาธิ เป็นปีติจากการเจริญธรรมะ อย่างบางที เราภาวนาไปแล้ว เราเกิดปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจ ในธรรมะบางอย่างขึ้นมา จิตจะเบิกบาน ใครเคยเป็นมั้ย ไม่ได้เข้าสมาธินะ แต่เกิดความเข้าใจขึ้นมาปุ๊ปเนี่ย พอเข้าใจปุ๊บนะ จิตเบิกบาน มีปีติขึ้นมาเลยนะ นี่เป็นปีติในโพชฌงค์นะ แล้วเราก็รู้ทัน มีสติรู้ทันอีก ปีติจะค่อยสงบระงับลง มีปัสสัทธิเกิดขึ้น/มีความสงบระงับเกิดขึ้น แล้วจิตก็จะมีสมาธิ คราวเนี้ย สมาธิตัวเนี้ย เกิดหลังจาก ที่ได้เจริญปัญญามาเต็มเหนี่ยวแล้ว เจริญปัญญาเต็มเหนี่ยวแล้ว จิตมีสมาธิอยู่ แล้วก็ จิตจะเข้าสู่อุเบกขา อุเบกขาด้วยปัญญา ไม่ใช่อุเบกขาธรรมดา เพราะว่า โพชฌงค์นี้ เป็นเรื่องของปัญญาทั้งนั้นเลย เรื่มตั้งแต่การมีสติ สติปัฏฐานนะ มันก็คือการเจริญสติ เจริญปัญญา แต่พอถึงธ���รมวิจยะนี่ เรื่องปัญญาหมดแล้ว วิริยะก็คือ ขยันเจริญปัญญาอยู่ สุดท้ายจิตจะเข้าสู่อุเบกขา ตรงเนี้ย เป็นจุดสำคัญ ถ้าเราภาวนาแล้ว จิตไม่เกิดปัญญานะ ไม่ถึงอุเบกขานะ มรรคผลจะไม่มีทางเกิดเลย . เวลาที่จิตเกิดปัญญา ยกตัวอย่างเช่น เราหายใจไป จิตมีความสุข เราก็รู้ หายใจไป ความสุขหายไป เราก็รู้ หายใจไป จิตมีความทุกข์ เราก็รู้ หายใจไป ความทุกข์หายไป เราก็รู้ อย่างเนี้ย เราเห็นซ้ำๆ ทั้งสุข ทั้งทุกข์เนี่ย เกิดแล้วดับๆ เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก สุดท้ายปัญญามันปิ๊งขึ้นมานะว่า สุขกับทุกข์เท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เนี่ย เป็นของเท่าเทียมกันนะ ดีกับชั่ว ก็เท่าเทีบมกัน เพราะ เกิดแล้วดับเหมือนกัน เท่าเทียมกันในฐานะของไตรลักษณ์นะ ในมุมของไตรลักษณ์ เท่าเทียมกัน แต่ในทางจริยธรรมไม่เท่าเทียมกัน ดีกับชั่วเนี่ย จะมาเท่าเทียมกันในทางจริยธรรมไม่ได้ แต่ในทางที่เราเดินวิปัสสนาอยู่เนี่ย เท่าเทียมกันในกฎของไตรลักษณ์ เกิดแล้วดับๆ บังคับไม่ได้เหมือนๆกัน เนี่ยจิตมันเห็นความจริงนะ ว่าสุขกับทุกข์เนี่ย เท่าเทียมกัน งั้นเวลาที่เกิดสุขเนี่ย จิตไม่หลงดีใจ เวลาเกิดทุข์ จิตไม่หลงเสียใจ จิตเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นอุเบกขาแล้ว ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ตัวนี้สำคัญมากเลยนะ พอจิตเข้าสู่ความเป็นกลางเนี่ย จิตจะไม่ไปสร้างภพใหม่ จิตจะไม่สร้างภพขึ้นมา ถ้าจิตไม่เป็นกลาง ยังยินดี-ยังยินร้าย จะเกิดแรงผลัก แรงผลักให้จิตทำงานต่อไปอีก จิตจะสร้างภพ คือจิตจะทำงานต่อไปอีก _/|\_ _/|\_ _/|\_ #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม 8 กรกฎาคม 2560 CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ 71 File: 600708A พระธรรมเทศนาระหว่างนาที 0:00--11:51 ดาวน์โหลดไฟล์เสียงธรรมะได้ที่ Dhamma.com ..... กราบคุณพระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูง กราบพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ .....
0 notes
Text
ชาวพุทธปีติ องค์ดาไลลามะ เสด็จวัดไทยพุทธคยา แสดงธรรม
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดย ไทยรัฐออนไลน์ 16 ม.ค. 2560 16:10 อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/837061 องค์ดาไลลามะ เสด็จมาแสดงธรรมแก่ชาวพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ภายในพระมหาเจดีย์พุทธคยา พร้อมกันนั้น ในโอกาสที่เสด็จสวรรคตสตมวาร (100 วัน) ของ”ในหลวง ร.9″ พระธรรมโพธิวงศ์ นำพระพุทธแสนล้านมาถวายเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2560 พระเดชพระคุณ พระธรรมโพธิวงศ์…
View On WordPress
0 notes
Photo
เช้านี้มาเป็นตากล้อง บันทึกวิดีโอลูก ๆ แสดงธรรม เนื่องในวันเข้าพรรษา ตัดต่อเสร็จจะนำมาเผยแพร่ให้ชมนะจ๊ะ รับศีล ถวายทาน เทียนจำนำพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน ฟังธรรม และกินข้าววัด Sawaddee Buddhist Lent Day, come to record VDO about Dhamma showing. Listen to Dhamma, giving food, candles and rain cloth for monks and novices after that have breakfast here too. (at วัดสุวรรณมงคล)
0 notes
Text
อุทเทสิกเจดีย์ กับ ธรรมเจดีย์ อันเดียวกัน ถ่ายทอดเช้าวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ท่านอาจารย์ เกษม ดวงแพงมาต (ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก) ให้บุญที่เกิดจากนี้รวมกับบุญข้าพฯทั้งหลายที่มี ให้บุญเหล่านี้ ไปถึง งูและไก่ ที่ตายบริเวณบ้านข้าพฯ บุญจงดูแลรักษาให้อยู่ดี และอานิสงส์ที่เกิดนี้ย้อนกลับไปเป็นของ งูและไก่ ที่ตายนี้ด้วย ให้บุญไปรักษาดูแลงูที่ยังมีชีวิตอยู่ ข้าพฯขอขมา งูและไก่ได้รับอันตรายในกาลนี้ด้วย #อุทเทสิกเจดีย์ #ธรรมเจดีย์ #สาธยายธรรม #บรรยายธรรม
#กล่าวธรรม #ปรารภธรรม #แสดงธรรม #คำของพระพุทธเจ้า
#เกษม # ดวงแพงมาต# ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก #วังกวาง #น้ำหนาว #เพชรบูรณ์
#อาจารย์เกษม ดวงแพงมาต#อุทเทสิกเจดีย์#ธรรมเจดีย์#สาธยายธรรม#บรรยายธรรม#กล่าวธรรม#ปรารภธรรม#แสดงธรรม#คำของพระพุทธเจ้า#เกษม#ดวงแพงมาต#ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก#วังกวาง#น้ำหนาว#เพชรบูรณ์
0 notes
Text
โลกไม่มีอะไรนอกจากทุกข์ วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567
พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ให้บุญเป็นของทุกสัตว์ทึ่เกี่ยวข้องเหตุน้ำท่วม���ชียงราย รวมนายเวร ญาติพี่น้องชาวเชียงราย และคนช่วยเหลือ
วัดสวนสันติธรรม ตั้งอยู่ที่ บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
0 notes
Text
ศึกษาพระไตรปิฎกเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567
พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ให้บุญเป็นของทุกสัตว์ทึ่เกี่ยวข้องเหตุน้ำท่วมเชียงราย รวมนายเวร ญาติพี่น้องชาวเชียงราย และคนช่วยเหลือ
วัดสวนสันติธรรม ตั้งอยู่ที่ บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
0 notes
Text
สภาพธรรม วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม ให้บุญเป็นของทุกสัตว์ทึ่เกี่ยวข้องเหตุน้ำท่วมเชียงราย รวมนายเวร ญาติพี่น้องชาวเชียงราย และคนช่วยเหลือ
0 notes
Text
รู้หลักแล้วออกปฏิบัติ วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2567 พระอาจารย์ปราโมทย์ ป���โมชฺโช แสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม ให้บุญเป็นของทุกสัตว์ทึ่เกี่ยวข้องเหตุน้ำท่วมเชียงราย รวมนายเวร ญาติพี่น้องชาวเชียงราย และคนช่วยเหลือ #พระอาจารย์ปราโมทย์ #ปาโมชฺโช #แสดงธรรม #ณ #วัดสวนสันติธรรม # รู้หลักแล้วออกปฏิบัติ วัดสวนสันติธรรม ตั้งอยู่ที่ บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
0 notes
Text
ไม่ต้องรีบ วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม ให้บุญช่วยเหลือทุกสตว์ในเหตุน้ำท่วมที่เชียงราย
0 notes