Tumgik
#พุทธศาสนา
emperorsss · 10 months
Text
สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง        1. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,            โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ        2. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน        3. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ            เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน)            เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และ            เพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์        4. ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย;        สุญตา ก็เขียน
0 notes
goalwin · 8 months
Text
ความเชื่อ ของไทย ประวัติศาสตร์ พุทธศาสนา อิทธิพลในประเทศไทย
Tumblr media
วามเชื่อ ของไทย อันน่าทึ่งของประเทศไทยบทนำประเทศไทยเป็นประเทศ อุดมไปด้วยวัฒนธรรมและประเพณี มีชื่อเสียงในด้านระบบความเชื่อที่น่าสนใจและหลากหลาย คนไทยมีความเชื่อมโยงที่หยั่งรากลึกกับประเพณีโบราณของตน และความเชื่อของพวกเขาได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น 
พุทธศาสนาเมื่อกว่าพันปีก่อนเป็นศาสนาหลักในประเทศและมีอิทธิพลอย่างมากต่อความเชื่อและประเพณีของไทย อย่างไรก็ตาม ความเชื่อเรื่องวิญญาณก่อนพุทธและความเชื่อพื้นบ้านได้ถูกรวมเข้ากับโครงสร้างของวัฒนธรรมไทยอย่างไร้รอยต่อ การอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนของระบบความเชื่อเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดการผสมผสานอันเป็นเอกลักษณ์ที่หล่อหลอมภูมิทัศน์ทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรมของประเทศไทย
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศไทย
ที่ศักดิ์สิทธิ์มีความสำคัญอย่างมากและเชื่อกันว่ามีพลังทางจิตวิญญาณ วัด วัฒนธรรมไทยจึงให้ความสำคัญกับการใช้คำพูดที่สุภาพและเคารพเพื่อสร้างความสามัคคีและส่งเสริมไมตรีจิต ข้อสรุปความเชื่อของประเทศไทยนำเสนอภาพอันน่าหลงใหลในวัฒนธรรมอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศ จากสัญลักษณ์ไปจนถึงความสำคัญของการเผชิญหน้า ความเหนือธรรมชาติ อ่านต่อ >> ความเชื่อ-ของไทย
เครดิต จาก :: ศาสนาพุทธ
1 note · View note
pisanuv · 2 years
Text
แก่นแท้ของ พุทธศาสนา
'พุทธศาสนา' สอนอะไร? และ ชาวพุทธทำอะไรกัน โดย 'ประภาส ชลศรานนท์' อธิบายครบถ้วนกระบวนความ สั้นๆ กระทัดรัด ชัดเจน ดีมาก
เคยมีครูสอนภาษาชาวฝรั่งท่านหนึ่ง ถามว่า : "พุทธศาสนาสอนอะไร? และชาวพุทธทำอะไรกันบ้าง?"
ผมบอกว่า : "ศาสนาพุทธนั้นสอนว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์"
ฝรั่งท่านนั้นก็งงว่า : "พุทธสอนอย่างนี้จริงๆ หรือ"
ผมจึงบอกว่า : "จริง! คำแรกของความจริง 4 ประการแห่งชีวิตคือ คำว่า 'ทุกข์' เกิดก็ทุกข์ แก่ก็ทุกข์ เจ็บก็ทุกข์ ตายก็ทุกข์
แล้วศาสนาพุทธก็ให้หา เหตุแห่งทุกข์ 'สมุทัย'
หาจุดหมายหนทางที่ ดับทุกข์ได้ นั่นคือ 'นิโรธ'
แล้วก็สอน 'มรรค' คือ สอนให้ปฏิบัติในหนทางนั้น
ศาสนาพุทธสอนอีกว่า "ทุกข์ทั้งหมดล้วนมาจาก 'กิเลส'
กิเลสนั้นมี 3 ชนิด กิเลสของมนุษย์ล้วนอยู่ใน 3 ชนิดนี้ คือ
ความอยากได้ (โลภะ)
ความไม่อยากได้ (โทสะ)
และความหลง ไม่รู้จริง ไม่รู้เนื้อรู้ตัว (โมหะ)
ในทางศาสนาพุทธนั้น เรามีเครื่องมือที่ทรงพลานุภาพมาก เอาไว้ใช้สู้กับกิเลส 3 อย่าง คือ “ทาน ศีล ภาวนา”
'ทาน' ทำหน้าที่ให้กิเลส จางลงบ้าง
'ศีล' เป็นปราการกั้นกิเลสไม่ให้เข้ามาถูกเรา
'ภาวนา' นั้น เป็นอาวุธสำคัญ ที่จะใช้ตัดรากถอนโคนกิเลสได้
ชาวพุทธย่อมรู้ดีว่า ลำพัง 2 อาวุธ แค่ 'ทาน' กับ 'ศีล' นั้น ยังไม่ทำให้กิเลสสิ้นไป ถึงจะทำให้มันเจือจางลง หรือกั้นมันไว้แค่ไหน แต่มันก็ยังคงอยู่ และเมื่อใดก็ตามที่ 'ศีล' ของเราอ่อนแรงลง 'กิเลส' ก็จะจู่โจมเข้าสู่เราทันที
การ 'ภาวนา' การทำสมาธิ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ใช้ต่อสู้กับ 'กิเลส' อย่างแท้จริง โดยอาศัยกำลังเสริมจากอาวุธ 2 อย่างแรก ทั้ง 'ทานและศีล'
การ 'ภาวนา' ในพุทธศาสนามี 2 วิถี คือ 'สมถะสมาธิ' และ 'วิปัสนาสมาธิ'
วิถี 'สมถะสมาธิ' คือ ทำให้จิตสงบ ทำให้จิตใจมีกำลัง
วิถี 'วิปัสนาสมาธิ' คือ ทำให้เกิดปัญญา ให้รู้ถึง 'ไตรลักษณ์' ของจักรวาลทั้งหมด เมื่อนั้นตัวตนจึงมลายไป
และเมื่อ 'ตัวตน' มลายไป 'กิเลส' จึงมลายไปด้วย
'สมถะสมาธิ' นั้น ก่อนมีศาสนาพุทธ ก็มีแล้วในศาสนาอื่น ก่อนที่ 'พระพุทธศาสนา' จะถือกำเนิด เหล่าพราหมณ์ทั้งหลายก็ทำ 'สมถะสมาธิ' กัน
วิชาสมถะสมาธินี้ 'เจ้าชายสิทธัตถะ' ได้ร่ำเรียนจาก 'อาฬารดาบส' และ 'อุทกดาบส' แล้วพระองค์ก็พบว่า "แม้จะเข้า 'ฌาน' ไปลึกเพียงใด เมื่อออกจาก 'ฌาน' ก็ยังมี 'ทุกข์' อยู่ พระองค์จึงออกศึกษาด้วยตัวเองต่อไป
สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบไปไกลกว่านั้น คือ “การทำ 'วิปัสนาสมาธิ' จนเกิดเป็น 'ตัวผู้รู้' ขึ้น เพื่อรู้แจ้งในความรู้สูงสุดของชีวิตและสรรพสิ่งอย่างแท้จริง นั่นคือ ทุกสรรพสิ่งไม่เที่ยงแท้"
ทุกสรรพสิ่งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่มีสิ่งใดเป็นของเรา
จึงควบคุมไม่ได้ เป็น 'อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา' ที่เรียกว่า 'ไตรลักษณ์' นั่นเอง
ผู้เขียน เขียนดี จน 'ท่านคมสรณ์' อยากให้ส่งต่อดังนี้
1. ในแต่ละปี จงทำชีวิตให้ 'ดีขึ้น' เพราะในแต่ละวัน ชีวิตกำลัง 'สั้นลง'
2. การ 'อยู่กับปัจจุบัน' ไม่ใช่การ 'หยุดทำ' ในเรื่องสำคัญ
แต่มัน คือ การ 'หยุดทุกข์' ไปกับเรื่องที่ไม่สำคัญ
3. อารมณ์ 'ลบ' ทุกชนิด จะทำร้ายเรา ก่อนที่จะทำร้ายคนอื่นเสมอ...
ส่วนอารมณ์ 'บวก' ทุกชนิด จะให้พรเรา ก่อนที่จะให้พรคนอื่นเสมอ เช่นกัน...
4. วิจารณ์คนอื่นทุกวัน... ใจต่ำลงทุกวัน
วิจัยตัวเองทุกวัน... ใจสูงขึ้นทุกวัน
5. ถ้าไม่มีคนมาทำให้คุณ 'โกรธ'
คุณจะไม่รู้เลยว่า ระดับจิตคุณอยู่ตรงไหน
ถ้าไม่มีใครมาทำให้คุณ 'ทุกข์ใจ'
คุณจะไม่รู้เลยว่า ตัวเองยังมีอะไรต้องพัฒนา
6. ไม่ว่า 'ภายนอก' เราจะอยู่กับคนมากแค่ไหน แต่ 'ภายใน' เรายังอยู่ตัวคนเดียวเสมอ
จงหาวิธี 'รักตัวเอง' ให้เจอ เพราะ ไม่มีใครในโลกนี้ ที่จะอยู่กับเธอ สม่ำเสมอเท่ากับ 'ตัวเธอเอง'
7. การฝึกจิต และพัฒนาตัวเอง อาจไม่ทำให้เรา 'พ้นทุกข์ตลอดกาล' แต่มันทำให้เรา 'เป็นทุกข์นานน้อยลง'
8. การ 'แก้กรรม' ที่ดีที่สุด คือ การแก้ไข 'ความคิด' 'คำพูด' และ 'การกระทำ' ของตัวเอง
9. ความดีเล็กๆ ที่ทำไปนานๆ สุดท้ายอาจสร้าง 'ปาฏิหาริย์' ให้ชีวิต
10. 'ไป' ได้เร็วแค่ไหน ก็ 'ถึง' เร็วเท่านั้น
'ปล่อย' ได้เร็วแค่ไหน ก็ 'สุข' เร็วเท่านั้น
11. จำไว้ว่า 'ความทุกข์' และ 'ความเจ็บปวด' ทั้งมวล
ไม่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิตเรา เพื่อมอบ 'คำสาป'
แต่มันผ่านเข้ามาในชีวิตเรา เพื่อมอบ 'คำสอน'
12. ก้าวแรกของการใช้ชีวิตอย่าง 'ผู้ตื่น' คือ การหยุดยุ่งวุ่นวายเรื่อง 'คนอื่น' แล้วหันกลับมาวิเคราะห์ 'ใจตัวเอง'
13. ความทุกข์ทั้งหมดในชีวิต ไม่ได้เกิดจาก "สิ่งที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับคุณ" แต่มันเกิดจาก "สิ่งที่คุณคิด ว่า 'คนอื่นคิด' เกี่ยวกับคุณ"
14. ต้องขอบคุณคนที่ทำ 'ไม่ดี' ที่ช่วยเป็นตัวอย่างที่ 'ดี' ว่า "อะไร ไม่ควรทำ"
15. ไม่ว่าจะทุกข์หนักหนาสาหัสสักแค่ไหน ทางออกก็ไม่เคยอยู่ไกลไปกว่า 'ใจ' ของเราเอง
16. เกลียดเขา 'เราทุกข์'
เมตตาเขา 'เราสุขเอง'
17. คนเราฝึกเดินจนเก่งได้ ฉันใด ก็สามารถฝึกใจ จนเป็นสุขได้ ฉันนั้น
18. 'ความตาย' เป็นเรื่องธรรมดา แต่การได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า เป็นเรื่อง 'อัศจรรย์'
19. โปรดสังเกตดูให้ดีว่า "สิ่งที่ทำให้เรา 'ทุกข์' บ่อยที่สุดในแต่ละวัน ไม่ใช่ 'พฤติกรรม' ของคนอื่น แต่คือ 'ความคิด' ของเราเอง"
20. อย่าถือโทษ โกรธคน ไม่คู่ควร
อย่าตีตรวน ตนไว้ กับอดีต
ชะตาเรา อย่าให้ใคร มาเขียนขีด
อย่าเอาคำ ที่เหมือนมีด มากรีดใจ
( แถมให้อีกหนึ่งอัน ! )
21. หากคุณคิดว่าตัวเองมีค่า เพราะมี 'เงิน' วันไหนเงินหมด คุณค่าคุณก็หมด
หากคุณคิดว่าตัวเองมีค่า เพราะ 'หน้าตา' ดี วันไหนคุณแก่ลง จนหน้าตาไม่ดี คุณค่าคุณก็หมด
แต่ตราบใดที่คุณรู้ว่าตัวเองมีค่า เพราะเป็น 'คนดี' ตราบที่คุณมีความดี คุณก็จะ 'มีคุณค่า' ได้ตลอดไป
#ท่านคมสรณ์
ขออนุโมทนาท่านผู้เขียนบทความ
ฝากส่งต่อๆ รับสิ่งดีๆ ให้กันไป เจริญธรรมนำสุขมาก
1 note · View note
krapalm · 2 years
Text
2 ผู้การฯ ร่วมเป็นประธานเปิดสัมมนาใหญ่
นาวาอากาศเอก (พิเศษ) คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมืองเศรษฐกิจพอเพียง จำกัด, ประธานคณะปวงชนชาวไทย เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประธานฝ่ายฆราวาส สภาประชาชนแห่งชาติ พร้อมด้วย พล.ต.ม.ร.ว.วัยวัฒน์ จักรพันธุ์ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ฯ ร่วมเป็นประธานเปิดสัมมนาใหญ่ผู้นำธรรมาธิปไตย 77 จังหวัด เพื่อความมั่นคงชาติ พุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ จะต้องกลับมาถูกต้องยิ่งใหญ่ดังเดิม ณ…
Tumblr media
View On WordPress
0 notes
outsider180 · 4 years
Text
Please click to read the cute story in my blog . 😊
0 notes
rethinker · 6 years
Quote
พุทธธรรมตามแนวของพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทยเป็นอุดมคติสูงสุดที่ไม่ขัดแย้งกันเองก็จริง เมื่อใช้กับปัจเจกบุคคล แต่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมด้วย เราจะขยายพุทธธรรมมาใช้กับสังคมได้หรือไม่ และได้แค่ไหน ยังไม่มีคำตอบที่น่าเชื่อถือจากชาวพุทธไทย
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ไม่มีสังคมในพุทธศาสนาไทย
0 notes
diarymysoul-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
วันนี้ฟังวิทยุในรถระหว่างทางขับไปทำงาน ได้ฟังดร. เสกสรรค์ ประเสริฐกุล พูดถึงการเข้าถึงสภาวะ "ภาวนา " ต้องออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนเองไม่ได้มีพื้นฐานเรื่องพุทธศาสนาเลย บางคนอ่านแล้วคิด อะไรแค่ภาวนา ยังไม่รู้ ... แต่ไม่รู้���ริงๆ ก่อนหน้าเข้าใจว่า คำว่าภาวนานและ อธิฐาน เป็นสิ่งเดียวกัน .... #โง่ไหม 555 "ภาวนา" เคยฟังพระอาจารย์หลายท่านพูดถึงก็ฟังผ่าน เคยได้ยินหลายคนพูดถึง ก็ถามนะแต่ไม่มีใครอธิบายให้เข้าใจได้เลย จนกระทั่งวันนี้ ได้ยินคุณเสกสรรค์ เล่าว่ามีช่วงนึงของชีวิตเค้าทุกข์มาก และมีความคิดย้อนแย้งในตัว สับสน จนรู้สึกเหนื่อยกับความคิด วันหนึ่งเค้าเลยรู้สึกไม่อยากคิดอะไร เค้าบอกตัวเองว่าวันนี้ไม่ขอคิดว่าตัวเองเป็นใครมีชื่อเสียงหรือศักดิ์ศรี อะไรต้องยึดไว้ จะไม่เป็นอะไรเลยสักวัน จะไม่คิดสักวัน ปล่อยให้หัวว่างเปล่าสักวัน และเค้ามาค้นพบตอนหลังว่า นั่นคือ การภาวนา .... ผู้เขียนเองก็เคยอยู่ในสถานะการนั้น โดยมุมมองส่วนตัวจึงมองว่า .... นั่นแหล่ะ!! พอเราทุกข์มากๆ กลไกลของจิตด้านความคิดจะถูกผลักเข้าสู่ภาวะนั้นโดยไม่รู้ตัว แต่ผู้เขียนเองไม่รู้นะว่าทุกคนจะเป็นเหมือนกันไหม แต่สำหรับตัวผู้เขียนเองเคยอยู่ในภาวะนั้น และหลุดเข้าไปสู่ การภาวนา ไม่รู้ตัวเช่นกัน และเพิ่งรู้ว่านั้นคือ ภาวนา หลังจากฟังคุณเสกสรรค์พูดเรื่องนี้ ก็ถึงรู้ว่า อ๋อ.. ภาวนา มันคือความรู้สึกนั้น เออ.. เราก็เคยนิ นั่นแหล่ะคือสิ่งที่รู้สึกว่าในที่สุดเราก้อเข้าใจการปฎิบัติแบบ " ภาวนา "
0 notes
siamcircus · 7 years
Photo
Tumblr media
#หอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ #พุทธทาสอินทปัญโญ #bangkok #thailand #buddhism #พุทธศาสนา #shotoniphone (ที่ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ)
0 notes
somzomblr · 7 years
Text
พุทธศาสนา | มหายาน | พระโพธิสัตว์
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมหายาน
อะไรคือปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์
         พระโพธิสัตว์ตั้งปณิธานที่จะไม่เข้าถึงพระนิพพานในเวลาอันสั้นเหมือนคติของเถรวาท ประสงค์ที่จะเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีก เพื่อส่งมวลมนุษย์ให้เข้าถึงนิพพานก่อนตนเอง ดวงจิตของพระโพธิสัตว์ถึงแม้จะอยู่ในสังสารวัฏก็หาได้หลงผิดในอกุศลว่าเป็นกุศลไม่ และไม่หลงไหลยึดติดในสังสารวัฏ ประสงค์ที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ด้วยการยอมรับทุกข์เหล่านั้นไว้เอง 
ท่านพระนาคารชุนเขียนไว้เป็นโศลกว่า “พระโพธสัตว์คือ ผู้มีความเบื่อหน่ายอย่างแรงกล้าต่อสังสารวัฏ แต่ก็เป็นผู้หันพักตร์เข้าหาสังสารวัฏ”
“พระพธิสัตว์ ศรัทธาปสาทะ เลื่อมใสยินดียิ่งต่อพระนิพพาน แต่ก็เป็นผู้หันปฤษฎางค์ให้แก่พระนิรวาณ”
“พระโพธิสัตว์สมควรต่อการกลัวต่อสรรพกิเลส แต่ก็ไม่ควรสละกิเลสเสียให้สิ้น”
         ในคัมภีร์โยคาจารภูมิศาสตร์ ได้กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ในแนวทางเดียวกัน ดังนี้ “พระโพธิสัตว์แม้จะเป็นผู้รู้ชัดในธรรมทั้งหลายทั้งปวง แต่ก็จะไม่ด่วนดับขันธปรินิพพาน จะต้องอยู่โปรดสัตว์ในสังสารวัฏต่อไป แม้ว่าจะมีกิเลสเหลืออยู่ในจิต แต่ก็ต้องถือเอาความกรุณาเป็นเบื้องหน้าเที่ยวไปเสมอ” (เสถียร โพธินันทะ, ปรัชญามหายาน, (กรุงเทพฯ: เวิ้งนครเกษม,2522) หน้า 9)
         ข้อมูลเพิ่มเติม          http://www.mahaparamita.com/Misc/FoHePuSaJianShi.pdf          http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html
บารมีหก คือ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญา 
ทานกับศีลเป็นคู่ปรับทำลายกิเลส คือ โลภะ ขันติกับวิริยะเป็นคู่ปรับทำลายกิเลส คือ โทสะ ฌานกับปัญญาเป็นคู่ปรับทำลายกิเลสคือ โมหะ 
พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญบารมีหกให้สมบูรณ์ ( เสถียร โพธินันทะ, ชุมนุมพระสูตรมหายาน, สำนักพิพมพ์บรรณาคาร, 2516, หน้า ฐ-ฑ )
0 notes
kiddaikiddee · 7 years
Photo
Tumblr media
องค์ประกอบของภูมิประเทศในประเทศไทย infographic – ซื้อขาย รูปภาพ ภาพออนไลน์ รายละเอียด องค์ประกอบของภูมิประเทศในประเทศไทย infographic elements set vector ภาพประกอบ คำสำคัญในการค้นหา สีขาว , เวกเตอร์ , พื้นหลัง , องค์ประกอบ , ออกแบบ , ความสวยงาม , ตกแต่ง , ศิลปะ , ทอง , การเดินทาง , คน , เก่า , สถาปัตยกรรม , อาคาร , แบน , ศาสนา , วัฒนธรรม , การท่องเที่ยว , สถานที่สำคัญ , มีชื่อเสียง , พระราชวัง , โบราณ , ตะวันออก , เอเชีย , วัด , การนมัสการ ,รูปปั้น , เอเชีย , ไทย , พุทธศาสนา , หินอ่อน , เจดีย์ , กรุงเทพฯ , พระพุทธรูป , ยักษ์ , พระภิกษุสงฆ์ , พุทธ , วัด , ไทย , benchamabophit , infographicไทย , benchamabophit , infographicไทย , benchamabophit , infographic
0 notes
payakc1234 · 6 years
Text
ประวัติพระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรัญวาสีภิกขุ พุทธรังษีมุนีโพธิสัตว์
ประวัติพระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรัญวาสีภิกขุ พุทธรังษีมุนีโพธิสัตว์
ต่อจากนี้ไปจะขอเล่าประวัติของเราโดยย่อ และความเป็นมาที่ได้มาพบ ถํ้าราชคฤห์มหาโพธิสัตว์ ฯ และได้มาบำเพ็ญเพียรภาวนาปลีกวิเวกเป็นเวลา ๓ ปี ๓ เดือน ๓ วัน
เพราะมีความประสงค์ อะไร และได้ประโยชน์อะไรบ้าง ที่อยู่บำเพ็ญภาวนาอธิษฐานเข้าปฏิบัติธรรมองค์เดียว และได้เห็นผลอะไรบ้าง เกิดธรรมสภาวนิมิตสิ่งใดบ้าง เราพระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร ฯ ขอโอกาส ขออนุญาตต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ และท่านมุนีบัณฑิตเมธี ผู้มีปัญญาทั้งหลาย เราขอเมตตาท่านสาธุชนญาติธรรมทุกท่านได้ทราบ ดังต่อไปนี้
ณ ดินแดนแสนสงบเย็นเป็นสุข เมืองอู่ข้าวอู่นํ้า ลุ่มแม่นํ้าโขงของราษฎร อาณาจักรล้านนาในอดีต คือ ปฐมมหานคร เมืองชัยบุรีศรีโยนกพันธุมตีเชียงแสน เป็นเมืองต้นกำเนิดพระพุทธศาสนาของประเทศไทย เป็นเมืองอันมีอารยธรรมที่สืบทอดกันมายาวนานนับหลายพันปี มีสถานที่สำคัญ และปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หลายแห่ง เช่น พระมหาชินธาตุดอยตุง พระธาตุช้างมูบ พระธาตุเจดีย์หลวง และถํ้าปุ่ม ถํ้าปลา พระธาตุดอยเวา พระธาตุจอมนาค และพระมหาชินธาตุเจ้าจอมกิตติ พระธาตุวัดล้านทอง พระธาตุป่าสักหัวเวียง พระธาตุกาเผือก พระธาตุปูเข้าดอยเชียงเมี่ยง พระธาตุจอมแจ้ง พระธาตุดอยจัน พระธาตุดอยกู่แก้ว พระธาตุดอยเวียงแก้ว พระธาตุสองพี่น้อง และพระธาตุวัดสวนดอกเชียงแสน และมีสถานที่สำคัญศักดิ์สิทธิ์ในเมืองเชียงราย เชียงแสน เชียงของอีกหลายแห่ง และในเวียงพางคำแม่สายมีปูชนียสถานหลายแห่งนับไม่ถ้วน ล้วนเป็นโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาที่น่ากราบไหว้ศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์ ของมรดกแห่งชาติ ล้านนาไทยในอดีตทั้งนั้น ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมจารีตประเพณีอันดีงาม สืบสานต่อทอดเป็นมรดกธรรมอันลํ้าค่าของประเทศไทยเราสืบมาถึงปัจจุบันวันนี้ ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบทอดมรดกธรรมในพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมจารีตประเพณีอันดีงามของถิ่นล้านนาไทยเหนือ ให้ยืนยงมั่นคงอยู่คู่ฟ้าดินถิ่นล้านนาไทยในโลกา ตลอดนานเท่านาน กัลปาวสาน ด้วยเทอญ
ข้าพเจ้าเป็นชาวเมืองเชียงแสนโยนกมหานครในอดีตกาลเราได้ถือกำเนิด เกิดที่บ้านด้าย ดงป่าสัก ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีบิดาชื่อ คำหล้า ทาแกง มารดาชื่อแสงหล้า กันธดา นามเดิมชื่อ เด็กชายบุญชุ่ม ทาแกง บิดาพ่อคำหล้า ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่เด็กชายบุญชุ่มเกิดได้เพียง ๖ เดือนเท่านั้น อาศัยแม่และคุณยายแม่อุ้ยนางหลวง เลี้ยงดูจึงเติบโตขึ้นมาตามลำดับ
ชีวิตตอนเป็นเด็กลำบากยากเข็ญมาก ผ่านทุกข์โศกโรคภัยนานาประการนับไม่ถ้วน ตอนอายุได้ ๕ ขวบ คุณยายแม่อุ้ยนางหลวงได้เสียชีวิต ส่วนคุณตาชื่อ พ่อหลวงหนานหน่อ ได้เสียชีวิตไปก่อนนานแล้ว เราไม่ทันเห็นคุณตา เราอยู่มาได้ ๗ ปี แม่แสงหล้านำเราไปฝากเข้าโรงเรียนวัดบ้านทาดอนชัย ตอนนั้นได้ย้ายมาอยู่ อำเภอสันกำ แพง จังหวัดเชียงใหม่ ที่บ้านทาดอนชัย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของคุณยาย มีญาติพี่น้องมากที่บ้านนี้ ต่อมาหลังจากมาอยู่ไม่นาน แม่แสงหล้าได้แต่งงานใหม่ กับพ่อเลี้ยงชื่อ นายสมชัย วงศ์คำมีบุตรธิดาอีก ๓ คน ๑. เด็กชายวีนัส(แดง) ปัจจุบัน คือ ครูบาน้องสุขคำ มาตะปุญโญ ๒. เด็กหญิงเอื้องฟ้า เสียชีวิตเมื่อยังเล็ก ๓ ขวบกว่า ถูกสุนัขกัดตาย ๓. เด็กหญิงบัวรวย(อ้อมใจ) ปัจจุบันคือ นางอ้อมใจ ได้สมรส กับคุณประทีป (ตระการศักดิ์รัตนมงคลลาภ) มีบุตรชาย ๒ คนฝาแฝด เด็กหญิง ๑ คน ชื่อ บุญเงิน บุญทอง บุญพลอย
เราขอเล่าย้อนหลังให้ฟังต่อ ชีวิตของเราตอนยังเล็กแสนจะลำบากยากจนมากบากยากจนมาก ขัดสนทนทุกข์อย่างที่สุด เหมือนกับว่าคนในโลกไม่มีใครทุกข์ลำบากยิ่งกว่าเราอีกแล้ว ต้องทานข้าวกับนํ้าตาแทบทุกวัน หากินเลี้ยงชีวิตตามมีตามเกิด เป็นคนไร้ญาติขาดมิตร พึ่งใครก็ไม่ได้ ต้องเที่ยวขอทานชาวบ้านมาเลี้ยงชีวิต ได้ห่อข้าวอาหารเล็กๆ น้อยๆ พอประทังชีวิตไปวันๆ ช่างน่าสลดสังเวชใจยิ่งนักคงเป็นวิบากกรรมชาติก่อนที่ทำไว้ จึงได้เกิดมาเป็นคนทุกข์ยากไร้อนาถา หาที่พึ่งไม่ได้ มีบ้านกระต๊อบหลังเล็กมุงใบตองตึง รั่ว มองเห็นเดือนดาวบนท้องฟ้า มีฝาด้านเดียวทางหัวนอน มุ้งหมอนผ้าห่มก็ขาด มีผืนเดียว เวลาหน้าหนาวก็หนาวเหน็บถึงกระดูก เวลาหน้าฝนตกลมพัดก็หนาวเย็น เปียกชุ่มไปทั้งบ้าน ฝนรั่วเปียกนํ้าไปตาม ๆ กัน ต้องนอนแช่นํ้าอยู่ด้วยกันสี่ห้าคนแม่ลูก มีผ้าห่มขาดผืนเดียวแย่งกันห่ม ยุงก็มากมากัดดูดเลือดซํ้าให้เป็นไข้ป่ามาลาเรีย เกือบทุกคน ต้องทนทุกข์ลำบากหาเช้ากินคํ่าขัดสนยากจนอย่างไม่มีใครเหมือน เวลากลางคืนก็ได้ยินเสียงเสือป่าหมาจิ้งจอกออกหากินร้องก้องโหยหวน เสียงนกเค้า และบ่างแจ้ นกแสกร้องก้องในป่าดงพงไพรใกล้ดอยม่อนเลี่ยม เสียงไก่ป่าร้องขานขัน ฟังเสียงนํ้าค้างหน้าหนาวหยดย้อยตกจากชายคาตูบน้อย (กระต๊อบ) อยู่เชิงเขาที่ห่างไกลแสงสีความเจริญ นํ้าไฟก็หายาก นํ้าต้องไปตักที่บ่อข้างล่างเขา ในบ้านที่ห่างไกล ต้องตื่นแต่เช้าช่วยกันตักนํ้า ถ้าตื่นสายนํ้าขุ่นนํ้าบ่อแห้ง ลำบากขนาดนี้แม้แต่นํ้าดื่มแก้กระหายยังหายาก ต้องแบ่งกันดื่มคนละนิดละหน่อย พออยู่ได้ไปวัน ๆ ดังนี้
ถึงชีวิตของเราจะทุกข์ยากขนาดไหน ลำบากอย่างใด ก็ไม่มีใครบ่น ไม่มีใครในครอบครัวเราไปเบียดเบียนใครหากิน เลี้ยงชีวิตตามชอบ เรายังมีศีลธรรมประจำใจ มีเมตตาต่อสัตว์น้อยใหญ่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักเล็กขโมยน้อยของคนอื่น ไม่โกหกคดโกงเขามากิน อยู่ไปตามอัตภาพของคนยากจน ต้องดิ้นรนทนทุกข์สู้ชีวิตต่อไป ให้อยู่รอดได้ไปวันๆ อยู่มาไม่นานพ่อเลี้ยงนายสม ได้ป่วยหนัก เป็นไข้ป่าและบวมพองไปทั้งตัว แม่แสงหล้าไม่มีหยูกยารักษากัน จึงบอกให้พ่อสมกลับไปอยู่กับพ่อแม่ญาติพี่น้อง ส่วนแม่แสงหล้าได้พาลูกสาม คนหนีอพยพไปเมืองเชียงแสนบ้านเกิด หวังพึ่งอาศัยญาติพี่น้องและมีพี่สาวอยู่บ้านด้าย ชื่อแม่ป้าแสงดา และลุงทา จึงขอไปพึ่งพาอาศัย พักอยู่สามสี่วัน ป้าก็ให้เงินค่ารถ ๘๐ บาท และข้าวสารเสื้อผ้า แล้วบอกให้กลับไป แล้วให้เอาลูกคนเล็กไปฝา�� ญาติพี่น้องเลี้ยงดู ให้ช่วยอุปถัมภ์เลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม ส่วนเด็กชายบุญชุ่มให้นำไปฝาก ลุงน้อยจันตาพี่ชายพ่อ ที่บ้านแม่คำหนองบัว อำเภอเชียงแสน และป้าชื่อแม่ป้าบุญปั๋น ทาแกง และน้องชายคนกลางให้อยู่กับป้า ป้าจะช่วยเลี้ยงดูแล แม่แสงหล้าจึงเอาลูกกลับ ไปบ้านทาดอนชัย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ แต่อยู่ในป่าเขาห่างไกลความเจริญ ชาวบ้านสมัยก่อนส่วนมากยากจนแร้นแค้นหาเช้ากินคํ่า ส่วนมากทำ นาทำ สวน การเกษตร เลี้ยงชีพตามมีตามเกิด
แม่แสงหล้าได้นำน้องสาวคนเล็กไปฝากพ่อก๋อง แม่เพ็ชรช่วยเลี้ยงดูรับให้เป็นลูกบุญธรรม (ปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้วทั้งสองคนพ่อก๋องแม่เพ็ชร) แล้วแม่แสงหล้าได้นำเรากลับไปเมืองเชียงแสนอีก นำเราไปฝากให้อยู่กับ คุณลุงน้อยจันตาที่บ้านแม่คำหนองบัว เราได้ย้ายมาเข้าโรงเรียน ป.๒ ที่นี้อีก ส่วนน้องชายก็ให้อยู่กับป้าแสงดา ส่วนแม่ก็เร่ร่อนพเนจรไปตามที่ต่าง ๆ หารับจ้างคนอื่น เลี้ยงชีพไปตามอัตภาพ จนถึงไม่นานพ่อเลี้ยงนายสมได้เสียชีวิตไป แม่แสงหล้าได้แต่งงานใหม่กับพ่อสมอีกคน อยู่บ้านป่าบงงาม อำเภอแม่สาย เราอยู่กับลุงไม่นานคิดถึงแม่ และทราบว่าแม่ได้แต่งงานใหม่ จึงอยากกลับไปอยู่ใกล้แม่ เราบอกลุงนำเอาไปส่งที่บ้านด้าย แม่ป้าแสงดาให้ทานข้าวแล้วก็เดินทางเท้าเปล่า ไปส่งเราที่บ้านป่าบงงาม เราพบแม่กับพ่อใหม่ก็ดีใจมาก น้องชายก็กลับมาอยู่ กับแม่ด้วยกัน เราได้เข้าโรงเรียน ป.๒ ต่อที่นี่อีก อยู่ไม่นานแม่ได้พาน้องหนีไปทางไหนไม่ทราบ ปล่อยให้เราอยู่กับพ่อใหม่คนเดียว ป้าแสงดา ทราบข่าวได้รับเอาเรากลับมาอยู่ บ้านด้าย เราได้เข้าโรงเรียนต่อให้จบ และไม่อยากย้ายไปไหนแล้ว ตั้งใจว่าถ้าจบเรียน ป.๔ แล้วจะขอบวชเณรทดแทนบุญคุณพ่อแม่ เพราะชีวิตเราเกิดมาทุกข์ลำบากมาก จึงเริ่มเห็นสัจธรรมความจริงของชีวิตมนุษย์โลก ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอนน่าเบื่อหน่ายที่สุดในวัฏสงสารนี้
เราได้อยู่กับป้า ช่วยทำงานทุกอย่างในบ้าน เช่น ตักนํ้า ตำข้าว ผ่าฟืน นึ่งข้าวหุงอาหาร ทำสวนผักสวนครัวต่าง ๆ ถ้าเหลือมากก็นำไปขายในตลาด เก็บเงินเป็นค่าสมุดดินสอหนังสือเรียนต่าง ๆ เราได้เข้าโรงเรียนต่อ ป.๒ ป.๓ ป.๔ เราหาทุนเรียนคนเดียว อาศัยป้าลุงช่วยเลี้ยงดูเอาใจใส่ เวลาป่วยไข้ก็นำไปหาหมอช่วยรักษา ท่านทั้งสองรักเราเหมือนลูก พอจบ ป.๔ แล้ว เราจึงขออนุญาตป้าลุง ไปเป็นเด็กวัด แต่ป้าได้ห้ามไว้เพราะไม่มีใครช่วยทำงานบ้าน ลูกชายป้าก็เรียนหนังสือ ชั้นมัธยมเขาไม่ทำงาน ลูกหลานก็ไปอยู่ทำมาหากินที่กรุงเทพหมด เหลือแต่เรากับหลานสาวคนเล็กของป้ายังเด็กไม่รู้อะไร เราได้ขออ้อนวอนร้องไห้อยากบวชเณร ๓ วัน ป้าและลุงสงสารจึงอนุญาตให้บวชแล้วกล่าวว่า การบวชไม่ใช่ง่าย ๆ เลย ต้องถือศีล ๑๐ อยากกินของร้อนก็ได้ของเย็น อยากได้ของเย็นก็ได้ของร้อน ถ้าบวชแล้วไม่ต้องสึกมาอีก แล้วลุงก็นำไปฝากเป็นเด็กวัดกับท่านเจ้าอาวาส วัดบ้านด้ายชื่อว่า ท่านอาจารย์สินธุ์ จิรธัมโม (ปัจจุบันคือ ทิดสินธุ์) เราได้กราบมอบตัวเป็นศิษย์วัด และได้เรียนเครื่องบวช คำขอบรรพชาสามเณร และศึกษาธรรมวินัย สวดมนต์ภาวนาเจริญแผ่เมตตาและช่วยทำ งานในวัดทุกอย่าง มีการตักนํ้าล้างบาตรถ้วยชาม กวาดลานวัด ปัดยุง ปูเสื่อ ซักผ้าจีวรถวายการรับใช้ตลอด
เราได้เป็นเด็กวัดได้สี่เดือนกว่า ก็ศึกษาสวดมนต์ และคำขอบรรพชา ให้ศีลให้พรจบหมดครบแล้ว เราได้ชักชวนเด็กชาวบ้านมาเป็นเด็กวัด และบวชเณรด้วยกันอีก ๖ คน รวมกับเรา พอได้กำหนดเวลาบวชเณร วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ วันที่ ๑๘ ตอนบ่าย อาบนํ้า โกนผมแล้วบวชนาค นุ่งห่มขาวหนึ่งคืน เราเห็นคนอื่นบวช มีพ่อแม่ญาติพี่น้องห้อมล้อมกันมาก แต่เราไม่เห็นหน้าทั้งพ่อ และแม่และพี่น้อง เราเป็นเด็กกำพร้าพ่อตายตั้งแต่เกิดได้ หกเดือน ส่วนแม่ก็หายไปเงียบไม่ทราบข่าวว่าไปอยู่แห่งหนตำบลใด ทำให้ตื้นตันใจนํ้าตาตกโดยไม่ตั้งใจ แล้วก็อดทนแข็งใจ เอาผ้าซับนํ้าตา ตั้งสติให้ดีนึกว่าถ้ามีบุญคงได้พบปะแม่วันหนึ่งข้างหน้า แต่ก็ยังดีมีลุงป้าฝ่ายบิดา และฝ่ายมารดา ญาติพี่น้องมาร่วมทำบุญอาบนํ้าให้เราและจัดเครื่องบริขารบวชให้
วันที่ ๑๙ เวลาเช้า เราตื่นขึ้นตั้งแต่เช้ามืด และตอนกลางคืนได้นิมิตเห็นหลวงปู่เฒ่าองค์หนึ่ง นุ่งผ้าย้อมฝาดรัดประคด ห้อยลูกประคำถือไม้เท้าเดินออกจากต้นโพธิ์ใหญ่ในวัด ที่ใกล้ศาลา ท่านเดินออกมาหาเรา แล้วมานั่งให้ศีลให้พรแล้วกล่าวว่าบวชดีแล้ว ให้ตั้งใจภาวนาพุทโธๆๆ และตั้งใจถือศีลภาวนาอย่าได้ขาด ภายภาคหน้าจะได้เป็นต๋นบุญ เป็นที่พึ่งแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย แล้วท่านลุกเดินหายไปที่ต้นโพธิ์ใหญ่ เราดีใจมาก ก้มกราบท่านแล้วก็สะดุ้งตื่นขึ้น มือยังพนมไหว้อยู่ เป็นนิมิตแปลกมากไม่เคยเห็นมาก่อน พอได้เวลาตอนเช้า ฉันอาหารเสร็จก็ขึ้นรถ ออกเดินทางไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีบุญยืน ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พอไปถึงวัดมีคนนำนาคมาบวชเณรกันมาก รวมทั้งตำบลมี ๓๒ รูป บวชบรรพชาพร้อมกันเวลา ๙ โมง ๑๙ นาที ตรงกับวันขึ้น ๑๑ คํ่า เดือน ๘ เหนือโดยมีท่านพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูหิรัญเขตคณารักษ์เจ้าคณะอำเภอเชียงแสน เป็นองค์พระอุปัชฌาย์ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (ปัจจุบันเหลือพระครูบาบุญชุ่มองค์เดียว) พอบวชเณรแล้วได้กลับมาพักจำพรรษาวัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ เราเจริญภาวนาเดินจงกรมแผ่เมตตาและศึกษาพระพุทธประวัติ พระธรรมวินัย และสวดมนต์เมืองเหนือ
เราบวชได้ ๑๕ วัน คนก็เล่าลือกันว่าเณรต๋นบุญมาเกิด ที่บ้านด้ายชาวบ้านชาวเมืองก็พากันมากราบไหว้ขอพรขอนํ้ามนต์ เราก็ตอบว่าเราเพิ่งบวชใหม่ไม่รู้อะไร จึงสอนให้ทุกคนมีปัญญาศรัทธานำหน้า หมั่นไหว้พระสวดมนต์ภาวนา และรักษาศีล มีจิตเมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้ทำแต่กรรมดีมีกุศลนั้นแหละ คือ การให้พรตนเอง ไม่จำเป็นต้องไปกราบพระขอพรจากที่ไหนแล้ว ถ้าเราทำดีนั่นแหละคือพรอันประเสริฐของเรา ถ้าทำไม่ดีไปขอพรพระที่ไหนก็ช่วยเราไม่ได้เหมือนกัน เราก็อธิษฐานนํ้าสัจจะให้ดื่ม และสอนธรรมะเท่าที่รู้ พรรษานี้เราได้จำที่วัดบ้านด้าย และได้เข้าเรียนนักธรรม ชั้นตรีด้วย แต่ไม่ค่อยมีเวลาเป็นส่วนตัวสำหรับเรียนมากเราเจริญภาวนาตอนกลางคืน ส่วนกลางวันศรัทธาญาติโยมมารบกวนมาก เราอยากจะหนีไปอยู่ป่า แต่ก็หนีไม่ได้ ยังเล็กไม่รู้ว่าจะไปทางไหน
พรรษาที่ ๒ เราก็จำอยู่ที่วัดบ้านด้าย ช่วยสร้างวิหารใหญ่จนสำเร็จ พรรษาที่ ๓ ได้ย้ายไปจำพรรษาที่ พระธาตุดอยเวียงแก้วและได้สร้างบูรณะพระธาตุใหม่ ตอนนั้นเราเป็นสามเณรอายุ ๑๒ ปี ๖ เดือน และได้รับอาราธนานิมนต์ให้ไปโปรดเทศนาสอนธรรมที่วัดลอยเคราะห์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเจ้าพ่ออินทนนท์ ณ เชียงใหม่เจ้าแม่สุคันธา ณ เชียงใหม่ และแม่ออกย่าเฒ่าคำแปง ศิริพันธ์ เจ้าพ่อน้อยโสภณ ณ เชียงใหม่ เจ้าพ่อชื่น สิโรรส เจ้าแม่สุริยฉาย และแม่ออกสุพิศ แมนมนตรี แม่ออกบุปผา แม่นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ และศรัทธาญาติโยมทั้งหลาย เราได้เทศนาโปรดเมตตาสอนธรรมเท่าที่รู้
เราพักอยู่เชียงใหม่ ๗ วัน ๗ คืน และได้พบคุณโยมแม่แสงหล้าที่เชียงใหม่ มีคนไปเจอแม่นั่งขายกล้วยทอดอยู่ที่ ประตูเชียงใหม่ จึงบอกให้ว่าเณรน้อยลูกชายแม่แสงหล้ามาเทศนาที่วัดลอยเคราะห์ โยมแม่ได้ทราบข่าวจึงพาพ่อเลี้ยงคนแก่อายุหกสิบกว่า ชื่อว่า พ่อน้อยใจมา ชัยเผือก มาหาเราที่วัดลอยเคราะห์ เราดีใจมากจนนํ้าตาไหล ไม่ได้พบแม่หลายปีแล้ว แม่และพ่อเลี้ยงก็ดีใจจนนํ้าตาไหลเหมือนกัน เราปลอบใจแม่ ให้ศีลให้พร และมอบของเล็กๆ น้อยๆ ขนมยาให้แล้ว โยมแม่ก็กลับบ้าน ส่วนเราก็อำลาศรัทธาชาวเชียงใหม่กลับเชียงแสน ได้สร้างพระธาตุดอยเวียงแก้วต่อจนแล้วเสร็จ และปีเดียวกันนี้ พุทธศักราช ๒๕๒๑ เราได้รับนิมนต์ศรัทธาชาวเมืองพง เขตประเทศพม่า มานิมนต์เราไปโปรด เมตตาให้ศีล ให้พร และเทศนาธรรมสั่งสอน เราได้มาเมืองพงครั้งแรก และพักอยู่สามคืนแล้วอำลากลับมาจำพรรษาที่ ๓ ที่ วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว โยมแม่ก็ตามมาถือศีลอยู่ด้วยเป็นช่วงๆ  เราภาวนาดีมาก จิตสงบเย็น เจริญสติปัฏฐานสี่ด้วย พิจารณาเกิดปัญญาญาณเห็นรูปนาม เกิดดับตลอด ปีนี้เราได้จำพรรษาในป่าดอยเวียงแก้ว ได้ความสงบวิเวกดีมาก จึงขอเล่าเหตุการณ์ประวัติโดยย่อตอนเป็นสามเณรน้อย จบแค่นี้ ส่วนเรื่องราวต่างๆ โดยละเอียดจะขอเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป ดังนี้
ต่อจากนี้ไป จะขอกล่าวเรื่องลำดับการจำ พรรษา ตอนเป็นสามเณร มีดังนี้ พรรษาที่ ๑ จำที่วัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ พรรษาที่ ๒ จำที่วัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ พรรษาที่ ๓ จำที่วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว บ้านเวียงแก้ว ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พรรษาที่ ๔ จำที่วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัด เชียงใหม่ (วัดหลวงปู่ครูบาเจ้าธัมชัย ธัมมชัยโย) พรรษาที่ ๕ จำที่วัดพระธาตุจอมแจ้ง บ้านกาดขี้เหล็ก ตำบลแม่โปร่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พรรษาที่ ๖ จำที่วัดพระธาตุดอยจอมแจ้ง ที่เดิม พรรษาที่ ๗ จำที่วัดหนองสีมาคำป่าหมากหน่อ (ทะเลสาปเชียงแสน) บ้านห้วยนํ้าราก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย พรรษาที่ ๘ จำที่วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง เมืองพง (พม่า) พรรษาที่ ๙ จำที่ป่าช้าใกล้วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมืองพง ที่เดิม พรรษาที่ ๑๐ จำที่วัดอาน��นทกุฎีมหาวิหาร นครกาฐมาณฑุ(ประเทศเนปาล) ในเทือกเขาหิมาลัยรวมพรรษาตอนเป็นสามเณร ๑๐ พรรษาพอดี
ต่อไปจะได้ลำดับพรรษา ตอนอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว มีดังนี้ พรรษาที่ ๑ จำในป่าช้าวัดพระเจ้านอน หรือวัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง เมืองพง (พม่า) พรรษาที่ ๒ จำที่วัดพระธาตุดอนเรือง บ้านป่าสา เมืองพง (พม่า) พรรษาที่ ๓ จำที่วัดพระธาตุดอนเรือง ที่เดิม พรรษาที่ ๔ ออกอยู่ป่าวิเวกเดี่ยวองค์เดียว จำพรรษาในป่าสวนพุทธอุทธยานใกล้พระธาตุดอนเรือง พรรษาที่ ๕ จำที่ป่าหัวห้วยนํ้าตก ใกล้พระธาตุดอนเรือง พรรษาที่ ๖ จำที่ดอยป่าไม้เปา ใกล้พระธาตุดอนเรือง พรรษาที่ ๗ จำที่ถํ้าฤาษีห้วยรัง บ้านมูเซอจ๊ากู่ (พม่า) พรรษาที่ ๘ จำที่ถํ้าฤาษีห้วยรัง บ้านมูเซอจ๊ากู่ (พม่า) พรรษาที่ ๙ จำที่ถํ้าฤาษีห้วยรัง บ้านมูเซอจ๊ากู่ ที่เดิม
หมายเหตุ ให้ทราบ และปีนี้เอง พุทธศักราช ๒๕๓๗ โยมมารดาแม่แสงหล้ากันธดา ได้ถึงแก่กรรมลงตอนอายุเพียง ๕๓ ปี เราได้ดูแลโยมแม่อย่างดี และได้��ำพาท่านไปกราบสังเวชนียสถานสี่ตำบล ที่ประเทศอินเดียด้วย และดูแลเอาใจใส่ตลอด ท่านสิ้นลมหายใจจากไปด้วยอาการสงบ ที่โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ เราได้ทำบุญเก็บศพท่านไว้ร้อยวัน แล้วทำพิธีฌาปนกิจเรียบร้อย ได้ก่อสถูปอัฏฐิท่านบูชาไว้ที่เมืองพง (พม่า) ใกล้พระธาตุดอนเรือง ได้ชี่อว่า เราได้ตอบแทนพระคุณแม่ มารดาผู้บังเกิดเกล้าอย่างดีที่สุดเราได้ชื่อว่าเป็นอุดมบุตรผู้มีความกตัญญูอย่างยิ่ง ดังนี้แล
หมายเหตุ ให้ทราบตอนเราอุปสมบทที่วัดสวนดอก โบสถ์วิหารพระเจ้าเก้าตื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระเดชพระคุณพระราชพรหมาจารย์ วัดสำเภา เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่เป็นองค์พระอุปัชฌาย์ มีพระครูเวฬุวันพิทักษ์ (ครูบามหาเขื่อนคำ) วัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวัดลำพูน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระศรีปริยัติคุณ (ครูบาไฝ) วัดสวนดอก ท่านเป็นเจ้าอาวาสสมัยนั้น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระสงฆ์เข้าร่วมสังฆกรรมสามสิบแปดรูป มีเราอุปสมบทรูปเดียว และมีคณะศรัทธาสาธุชนญาติพี่น้องมาร่วมทำบุญอนุโมทนา เต็มวัดสวนดอก โดยมีโยมแม่แสงหล้าและโยมพ่อเลี้ยงใจมา ชัยเผือก เป็นประธาน และโยมป้าแสงดา และโยมแม่ย่าคำแปงเป็นเจ้าภาพ ถวายอัฏฐบริขารบวช แต่ได้เสียชีวิตไปก่อนสองเดือน มีท่านคลังเขตนายเวียงชัย จันทรเจริญ เจ้าพ่อชื่น เจ้าแม่สุริยฉาย สิโรรส แม่ออกตุ๊พ่อเอกธนิต แม่ออกอุไร แม่ออกสุพิศ แมนมนตรี แม่ออกจันดี แม่ออกอัมพร พ่อออกชัยพร ศรัทธาวัดลอยเคราะห์ และวัดพันตอง วัดมหาวัน เชียงใหม่ มีท่านพระครูมนูญธรรมารมณ์เป็นประธาน และศรัทธาจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมืองปาย ขุนยวม ทางประเทศพม่า รัฐฉาน ไทยใหญ่ เชียงตุ๋ง มีองค์สมเด็จมหาราชเจ้าฟ้าชายหลวง และพระมหาราช เทวี เจ้านางบุพผาวดี เชียงตุ๋ง เป็นประธาน และศรัทธาเมืองพง มีพ่อผก่าคำวาว ผก่าพ่อหนานส่วย แม่ผก่าจ้อย และพ่อจายนวล แม่นางจันทร์แสง และศรัทธาทุก ๆ คน ทางกรุงเทพฯ มีท่านนายพลเรือเอกสมัคร สายวงศ์ คุณหญิงกัณนิฐา ครอบครัวโยมแม่ อาจารย์ชลัช มานะเลิศ โยมอุดมศักดิ์ แม่วิภาวรรณ (กมลทิพย์) วิชชาพานิชย์ และลูกศิษย์ญาติโยม ที่เราไม่ได้เอ่ยนามมากมาย มาร่วมทำบุญงานอุปสมบท เราจึงขออนุโมทนาบุญมหากุศล อันยิ่งใหญ่ไพศาลหาประมาณมิได้ ขอจงสำเร็จผลแด่ทุก ๆ ท่าน ให้ถึงซึ่งมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ พระนิพพานสมบัติ ให้สมความปรารถนาจงทุกประการ ด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ นิพพาน ปัจจโย โหตุ นิจจัง นิพพานัง ปรมัง สุขัง
คัดมาบางส่วนจาก สมุดจดหมายเหตุบันทึกธรรม สรุปประเมินผลในการเข้าอธิษฐานปฏิบัติธรรม วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ณ ถํ้ามหาโพธิสัตว์ราชคฤห์ อำเเภอ งาว จังหวัด ลำปาง
สมุดจดหมายเหตุบันทึกธรรม สรุปประเมินผลในการเข้าอธิษฐานปฏิบัติธรรม ในถํ้ามหาโพธิสัตว์ราชคฤห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ รวมเป็นเวลา ๓ ปี ๓ เดือน ๓ วัน ๓ ชั่วโมง โดยมี พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรัญวาสีภิกขุ พุทธรังษีมุนีโพธิสัตว์ เข้าอธิษฐานปฏิบัติธรรมองค์เดียว
เนื่องในโอกาสมงคลสมัยครบการปฏิบัติธรรม เราขอโอกาสขออนุญาตแต้ม บันทึกบทธรรมสภาวะและนิมิตต่าง ๆ ในระหว่างเข้าบำเพ็ญธรรม และประเมินผลการปฏิบัติธรรมตาม ความเป็นจริง และเปิดเผยให้ทราบจากใจจริง และคติธรรมสอนใจผู้ใฝ่ทางพระนิพพาน เพื่อเป็นแนวทางสัมมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อสงบระงับดับเย็นเห็นแจ้งในสัจธรรมนำตนพ้นจากวัฏทุกข์ถึงบรมสุขเกษมยิ่งอมตธาตุ อนันตธรรมอันบริสุทธิ์ จากโพธิจิตถึงโพธิจิตทุกดวง จากธาตุรู้สู่ธาตุรู้ สู่ความว่าง ดังนี้ แล
ผู้มีศรัทธาตั้งมั่นดีแล้��ย่อมพ้นทุกข์ได้ ผู้มีปัญญา และความเพียร ย่อมนำตนพ้นจากทุกข์ได้ ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก บุคคลจะบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ปัญญาเป็นทรัพย์อันประเสริฐของหมู่ชนบุคคลไม่พึงประมาททางแห่งปัญญา บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ความเพียรมีที่ใดความสำเร็จผลย่อมมีที่นั่น มุนีผู้อยู่อย่างสงบย่อมพบทางสันตินิพพาน ความสุขอยู่ไม่ไกล ถ้าใจเรารู้จักปล่อยวาง ธรรมทั้งหลายรวมลงด้วยความไม่ประมาท ดังนี้
อ่านสมุดจดหมายเหตุบันทึกธรรมโดยพระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร ได้ที่ www.phuttha.com/
สมุดจดหมายเหตุบันทึกธรรม โดย พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร
ที่มา https://www.phuttha.com
ประวัติพระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรัญวาสีภิกขุ พุทธรังษีมุนีโพธิสัตว์ was originally published on learningstudio.info
0 notes
soclaimon · 3 years
Text
'กนก'โพสต์ลอยๆ บอกพระท่านบวชเพื่อพุทธศาสนา ยกเว้นบางคนสึกเพื่อจรรโลง
‘กนก’โพสต์ลอยๆ บอกพระท่านบวชเพื่อพุทธศาสนา ยกเว้นบางคนสึกเพื่อจรรโลง
#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า https://www.naewna.com/likesara/619064 วันจันทร์ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 20.38 น. วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 นายกนก รัตน์วงศ์สกุล ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก Kanok Ratwongsakul Fan Page ว่า พระท่านบวชเพื่อจรรโลง พุทธศาสนา ยกเว้นบางคน สึกเพื่อจรรโลง สาธุชนยกมือไล่ผ้าเหลืองเรืองรองขึ้น สิ้นเสนียด….ไปอีกหนึ่ง -007
Tumblr media
View On WordPress
0 notes
ironman369pro · 3 years
Text
ครบรอบ 20 ปี "มือปืน โลก/พระ/จัน" เมื่อ "ตลก" ต้องเล่นบทดราม่า
"โลกของมือปืน" หนังพาไปสำรวจโลกของคนที่จิตใจเด็ดเดี่ยว
พร้อมปลิดชีวิตคนอื่นเพียงลั่นไก แต่พวกเขาก็ยังเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจ มีบาดแผล และในโลกโทนสีมืดๆ ของพวกเขา มันมีมุมสว่างในแง่มิตรภาพ ความเป็นพี่น้อง การให้ความเคารพนับถือ สัจจะต่อกันในวงการ และหักหลังเมื่อคุณหมดประโยชน์ ไปจนถึงมุขตลกเสียดสีคนอาชีพมือปืน ถึงความรู้การศึกษาอันต่ำต้อย จนทำให้เส้นทางของพวกเขา
ก้าวหนีไม่พ้นยาเสพย์ติด และการฆ่าคนเพื่อเลี้ยงชีพ แต่หนังเรื่องนี้ ทำให้มือปืนดูเป็นมนุษย์ มีชีวิตจิตใจ และน่าสงสาร "มือปืนรุ่นเก๋าตกยุค ถูกดิสรัปต์โดยมือปืนรุ่นใหม่" นอกจากหลักพุทธศาสนา ต้อม ยุทธเลิศ ยังเล่นกับสัจธรรมของโลกที่ไม่มีใครอยู่คับฟ้า เมื่ออายุเยอะ ฝีมือตก สายตาไม่แม่นยำ ในโลกที่มือหนึ่งตกยุค ความเก๋า
กลายเป็นของเก่า จนโดนเด็กรุ่นหลัง มือปืนฝรั่งเข้ามาโค่นบัลลังก์ คือสัจธรรมที่เกิดขึ้นได้ในทุกวงการ แต่ไอ้ความเก๋านี่แหละ ที่บ่มจนเกิดเป็นงานแอ็คชั่น-คอเมดี้ ที่เติมด้วยเหล้าวิสกี้ดราม่า-พุทธศาสนา เข้มๆ เขย่าเข้ากันอย่างลงตัว "คาแรกเตอร์โดดเด่น พาคนดูรักตัวละคร" รู้ทั้งรู้ว่าไอ้ที่เอาใจช่วยนั่นคือมือปืน แต่การดีไซน์-สร้างปมอดีตให้กับตัวละคร
ก่อนจะพาพวกเขา ไปสู่ชะตากรรมอันแสนปวดร้าว ยิ่งทำให้เราอดรักตัวละครเหล่านี้ไม่ได้ ที่สำคัญ เรายังเห็นการก้าวผ่านการเป็น ​หนังใหม่เต็มเรื่อง “นักแสดงตลก” ที่ไม่ใ��่แค่ตบมุขเรียกเสียงฮา แต่มา "แสดงหนัง” จริงๆ ในบทดราม่าเข้มๆ ต่างจากหนังยุคปัจจุบัน ที่เห็นนักแสดงตลก ก็รู้ทันทีว่าเราจะได้เห็นการแสดงแบบไหน มุขอะไรที่จะถูกใช้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เรื่องนี้ ป๋าเทพ น้าหม่ำ พี่เท่ง และอาถั่วแระ ทำในสิ่งที่ไม่คาดว่าจะได้เห็น กับการสร้างการแสดงอันน่าจดจำเอาไว้ในระดับมาสเตอร์พีซ ที่ไม่รู้จะได้เห็นอีกหรือไม่จากพวกเขา ไม่แปลก ที่เราจะเสียน้ำตาให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนหมา ลูกบักเขียบ และ เอ๋อ เอลวิส แม้แต่เป๋ ปืนควาย เป็นการพิสูจน์ว่า พวกเขาคือนักแสดงที่เปี่ยมด้วยฝีมือจริงๆ
Tumblr media
"จำลองโลก/สังคม ดิสโทเปีย ลายเซ็นต์ที่โคตรชัดเจนของ ต้อม ยุทธเลิศ" อีกหนึ่งลายเซ็นของผู้กำกับ คือการจำลองสภาพสังคม หรือสถานที่ต่างๆ ให้มีการแบ่งแยกชนชั้น มีเผด็จการ ความไม่เท่าเทียม จุดเด่นแต่ละเรื่องของเขา มักสะท้อนวิถีการดิ้นรนที่จะมีชีวิตอยู่รอดของชนชั้นกลางค่อนล่าง โสเภณี นักมวย เซียนพระ คนขายแผ่นหนังเถื่อน เหมือนที่เราได้เห็นชีวิต มือปืนตกรุ่น
ไม่ได้อัพเดทวินโดว์ พร้อมกับเสียดสีการเมือง ศาสนา สังคม การกดขี่ทางเพศลงไปอย่างกลมกล่อม ส่วนในมือปืน โลก/พระ/จัน หนังฉายภาพเมืองไทยในวันที่สภาพเศรษฐกิจเลวร้าย จนธุรกิจตกในมือต่างชาติที่เข้ามาหากิน แย่งงาน ซึ่งมันเลวร้ายถึงขั้นมีผู้สมัครนายกเป็นฝรั่ง และคนไทยต้องใช้เงินดอลลาร์ แย่งกันหางานแม้กระทั่งแวดวงมือปืน จนต้องกลับไปทำไร่ไถนา
เป็นสังคมสมมติที่ดีไซน์ออกมาได้แรง และน่าสนใจ "ฉากตลก ฉากแอ็คชั่น งานคราฟต์ที่เป็นส่วนสำคัญของเรื่อง" มือปืนโลกพระจันทร์ มีฉากจำมากมาย อาจเพราะเราไม่เคยเห็นนักแสดงอย่าง ​หนังออนไลน์ หม่ำ จ๊กม๊ก, ป๋าเทพ, เท่ง เถิดเทิง ควงปืนเขวี้ยงระเบิดกันแบบนี้ มันจึงมีการคราฟต์ซีนต่างๆ ขึ้นมาเพื่อส่งให้พวกเขาโคตรเท่ และปล่อยหมัดเซอร์ไพรส์คนดู
โดยเฉพาะฉากดวลปืน ฉาก "หมา ลูกบักเขียบ" ต่อสู้กับฝรั่งร่างยักษ์ด้วยระเบิด และภาษาท้องถิ่น เรียกเสียงเชียร์และเสียงปรบมือก้องโรง หรือฉาก หมาและผี เสพยาบ้าในวัด นี่คือซีนที่ตลกแบบคอมโบเซ็ต และฉลาดดีไซน์ขึ้นมา ซีนตลกของเรื่อง คือการขยี้คาแรกเตอร์ หาใช่ขับความเป็นหม่ำ จ๊กมก หรือ ถั่วแระออกมาให้คนตลก​
0 notes
chaiwaticon · 3 years
Text
☀️#การศึกษาพุทธศาสนา🏵️ ศาสนาพุทธ ถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติไทยของเรา ที่ช่วยให้เราดำเนินชีวิตด้วยความสุข หลักธรรมต่าง ๆ เราสามารถเอามาปรับใช้กับชีวิตของเราได้ทั้งสิ้น
🌸ทั้งเรื่อง#การทำงาน เรื่อง#การใช้ชีวิตกับครอบครัว และ#การอยู่ร่วมกันในสังคม🌺 จะทำให้เราเห็นความจริงของชีวิตมากขึ้น ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร เราต้องทำอะไรบ้าง ให้ชีวิตของเรามีคุณค่ามากที่สุด และการเข้ามาศึกษาพุทธศาสนานั้น ยังเป็นการช่วยสืบทอดศาสนาด้วย
#พุทธศาสนา​ #Buddhism
Tumblr media
0 notes
rethinker · 7 years
Photo
Tumblr media
วิวาทะ ระหว่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ
รวบรวมโดย อรุณ เวชสุวรรณ
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2520 พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2527
สำนักพิมพ์แพร่พิทยา
232 หน้า
ราคา 39 บาท
จริง ๆ แล้ว ส่วนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นี่น้อยมากเลย
ในหนังสือมี 5 บท
3 บทแรก เป็นบันทึกการบรรยายธรรมของท่านพุทธทาส 3 วาระ โดย 2 บทแรก มีการให้ซักถามหรือท้วงติงด้วย
บทแรกมีคนซักถามหลายคน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นคนหนึ่ง ซึ่งครั้งแรกไม่ได้เห็นแย้งกัน
บทสอง มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ซักถามคนเดียว อันนี้ เห็นต่างเรื่องคำว่า “จิตว่าง” โดย ฝ่ายค้านเห็นว่า จิตว่างไม่ได้ (จริง ๆ แล้วผมว่าเป็นปัญหาเรื่องการใช้ technical term มากกว่า เพราะบางทีมันแปลตรง ๆ ไม่ได้)
บทที่สาม ท่านพุทธทาสบรรยายท่านเดียว เน้นเรื่องจิตว่าง แล้วบอกว่า การทำงานด้วยจิตว่างต้องใช้ โพชฌงค์ 7 ด้วย
บทที่สี่ ไม่ใช่ของท่านพุทธทาส แต่เป็น บทความของ พ.อ.ปิ่น มุฑุกันต์ (อดีตอธิบดีกรมการศาสนา) ซึ่งเขียนโต้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ประเด็นที่ฝ่ายหลังเขียนวิจารณ์พระเวสสันดร เสีย ๆ หาย ๆ ในหนังสือพิมพ์ แล้วยังบอกอีกว่า ไม่มีเรื่องนี้ในพระไตรปิฎก (ซึ่งที่จริงแล้วมีอยู่)
บทที่ห้า เป็นของ จำนงค์ ทองประเสริฐ เขียนแย้ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ประเด็นเรื่องฮิปปี้ คือ ฝ่ายหลังกล่าวทำนองว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นฮิปปี้คนแรกของโลก
ผู้รวบรวม นำสองบทสุดท้ายมาใส่ไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีความรู้ทางพุทธศาสนา ลึกซึ้งพอหรือไม่
0 notes
narin032 · 4 years
Photo
Tumblr media
22 มีนาคม 2563 ดร.พระครูมงคลปัญญากรพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สามเณรวัดสุวรรณมงคล พร้อมใจร่วมกันเจริญพระพุทธมนต์รัตนสูตร เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับทุกๆคนที่กำลังต่อสู้กับโรคโควิด 19 ในตอนนี้ ซึ่งบทรัตนสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงให้พระอานนท์เรียน แล้วนำไปสวดเพื่อช่วยเหลือและกำจัดโรคร้ายที่เกิดขึ้นแก่ชาวเมืองไวสาลี ให้หมดสิ้นไป ถ้าว่าพุทธมนต์นั้นไม่ศักดิ์สิทธิ์แล้วไซร้ พุทธศาสนา ก็คงไม่รอดพ้นมาถึงบัดนี้เป็นแน่แท้ #ผมเชื่อในพระรัตนตรัย 22/03/2020 Dr. Phrakhruamongkolpanyakorn with monks and novices from Suwannamongkon temple together to chant with Ratana Sutra for giving the morale to everyone who is currently fighting the disease, Covid19 now. Which the Ratana Sutra is the sutra which the Lord Buddha taught Ananda to pray for helping people of Wailee city from the Cholera outbreak. If the Buddhist mantra was not sacred, then Buddhism would not have survived until now. I believe in the Triple Gem. 22/03/2020 ဒေါက်တာ Phrakhruamongkolpanyakorn သည် Suwannamongkon ဘုရားကျောင်းမှသံandာတော်များနှင့်အတွေ့အကြုံရှိသူများနှင့်အတူ Ratana Sutra နှင့်အတူယခုရောဂါတိုက်ဖျက်နေသူအားလုံးအားစိတ်ဓာတ်ပေးရန် Covid19 ကိုရွတ်ဆိုရန်။ ဗုဒ္ဓဘုရားရှင်သည် ၀ ီလီမြို့ရှိလူတို့အားကိုလာရာရောဂါဖြစ်ပွားမှုမှကူညီရန်ဆုတောင်းရန်ဘုရားရှင်ကဗုဒ္ဓဘာသာသန္တာန်အားဖြင့်ရူတာန္တာန်သုတ္တန်သည်။ အကယ်၍ ဗုဒ္ဓဘာသာဂါထာသည်မသန့်ရှင်းပါကဗုဒ္ဓဘာသာသည်ယခုတိုင်အောင်တည်ရှိနေလိမ့်မည်မဟုတ်ပါ။ ငါ Triple Gem ကိုယုံတယ်။ (at วัดสุวรรณมงคล ที่มีพระ-เณรมากที่สุดใน จ.ตราด) https://www.instagram.com/p/B-EOTSYhUzh/?igshid=cl8y92gc36tl
0 notes