#ตัณหา
Explore tagged Tumblr posts
Text
อธิปไตยแห่งอาริยชน
แม้เราจะไม่มีคำถามว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร ชีวิตที่เกิดแล้วก็ต้องเสื่อมและดับอยู่ดี
แม่พ่อผู้เป็นฐานแห่งการกำเนิดจะตั้งความปรารถนาไว้ด้วยเจตนาอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่อาจเป็นเงื่อนไขให้เกิดความสงสัยในเจตนาแห่งความรักได้ เพราะผู้ที่ได้โอกาสเกิดมาเป็นคนทุกคน เป็นผู้เลือกฐานกำเนิดนั้นแล้วด้วยเจตนาแห่งตน ซึ่งเป็นกรรมของตนโดยแท้
ย้อนไปที่คำถามในตอนที่กล่าวถึงบทสรุปปฏิจจสมุปบาทสายดับ ว่า ใครคือผู้ไม่รู้ ใครเป็นผู้มีอวิชชา ผู้นั้นคือผู้ปรุงแต่งธาตุรู้หรือวิญญาณให้เกิดขึ้น ปรุงแต่งนามรูปให้สมบูรณ์ขึ้น อันประกอบด้วย ๕ องค์ประกอบหลักหรือขันธ์ ๕ ผู้นั้นแหละเป็นผู้มีเจตนามาเกิดตามกรรมแห่งตน จึงไม่อาจตั้งคำถามต่อแม่พ่อผู้เป็นฐานกำเนิดได้ว่า รักใคร่กันหรือไม่เพียงใด เพราะนั้นเป็นการ อกตัญญูู โดยไม่คำนึงถึงโอกาสที่ได้กำเนิดมาเป็นคนและได้เติบโตมาจนถึงวันที่ได้พูดคำอกตัญญูนั้นเป็นเพราะใคร
ผู้ไม่รู้ ผู้ปรุงแต่ง พระตถาคตเรียกว่า "สัตว์"(สัตตะ สัตตานัง)แปลว่า "ผู้ยึดติด" มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
จึงเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ
ก่อนมาเป็นสัตว์
ก่อนมาเป็นสัตว์ผู้ติดยึด เคยเป็นอะไรมาก่อน พระตถาคตเห็นว่า สิ่งนั้นมีอยู่ เป็นธาตุที่มีคุณสมบัติตรงกันข้ามกับสังคตธาตุ ซึ่งสัตว์มาหลงยึดติดอยู่ กล่าวคือ เกิดไม่ปรากฏ เสื่อมไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ไม่มีอาการอย่างอื่นปรากฎ เรียกว่า "อสังคตธาตุ" เป็นอมตะ
แปลงจากอมตะธาตุมาเป็นสัตว์ เพราะความไม่รู้ ยังมีอวิชชากั้นอยู่เป็นอนุสัย จึงปรุงแต่งโดยโน้มลำแสงแห่งมโน มากระทบฉากในฐานกำเนิดจึงรู้แจ้ง(วิญญาณ) ให้ผูกติด(จิต)ปรุงแต่งต่อไปตามเหตุปัจจัยในสายปฏิจจสมุปบาท
สรุปถอยหลัง
หากไม่เกิด(เพราะชาติดับ)ย่อมอยู่เป็นอมตะ ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บและไม่ต้องตาย(เป็นอมตะ,อสังคตธาตุ,พิพพานธาตุ)
ชาติดับ เพราะการดับแห่งภพ
ภพดับ เพราะการดับแห่งอุปาทาน
อุปาทานดับ เพราะการดับแห่งตัณหา(ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา)
ตัณหาดับ เพราะการดับแห่งเวทนา
เวทนาดับ เพราะการดับแห่งผัสสะ
ผัสสะดับ เพราะการดับแห่งสฬายตนะ
สฬายตนะดับ เพราะการดับแห่งนามรูป
นามรูปดับ เพราะการดับแห่งวิญญาณ
วิญญาณดับ เพราะการดับแห่งสังขาร
สังขารดับ เพราะการดับแห่งอวิชชา
พระตถาคตเป็นผู้รู้แจ้งในโลกธาตุไม่มีใครยิ่งกว่า
ทำอย่างไรจึงดับสิ้น?
มรรคมีองค์ ๘ คือคำตอบ เป็นทางแห่งอาริยะ ซึ่งพระตถาคตได้วางไว้ให้ชาวพุทธผู้มีศรัทธา ผู้เป็นอริยสาวโกได้เดิมตาม เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว ถึงบัดนี้ ยังไม่มีการค้นพบของผู้รู้ใดในโลกธาตุมาลบล้างอริยสัจได้แม้แต่รายเดียว
โปรดพิจารณ���แผนภูมิข้างบน
ตัวเลขที่ออกได้แก่ ๘-๓-๒-๑ #อริยมรรค
จัดเจนอยู่ดีแล้ว จึงไม่ขออธิบายแจกแจงรายละเอียดในความหมายของมรรคทั้ง ๘ ว่าเป็นอย่างไร เช่น สัมมาทิฏฐิเป็นอย่างไร แตกต่างจากมิจฉาทิฏฐิอย่างไร เชื่อมโยงกับมรรคข้ออื่น ๆ อย่างไร เหล่านี้เป็นต้น เพราะนั้นเท่ากับยกพุทธวจนมาวางไว้ทั้งหมด ซึ่งไม่อยู่ในฐานะที่ทำได้ จึงเชิญชวนผู้สนใจขุดค้นด้วยสุตะจากพุทธวจนตามกำลังอินทรีย์ของแต่ละท่านโดยตรงเถิด
ในที่นี้ ขอรวบยอดทางปฏิบัติสู่ปัญญาวิมุติ เจโตวิมุติ เจาะทะลุทะลวงตลอดถึงอมตะด้วยทางด่วนพิเศษ ๑ เดียวในโลก คือ "อานาปานสติ" โดยสังเขปว่า ท่านจงมาดูเถิด ปฏิบัติดูเถิด
เอาจิตวิญญาณมาตามรู้ลมหายใจเข้าออก ซึ่งเป็นกายในกายอันหนึ่ง เป็นประจำ ตลอดเวลาให้เป็นกายาคตาสติยิ่งดี จิตจะได้ไม่แกว่งซัดส่ายไปตั้งในที่อื่น ๆ จนใจวุ่นวายไร้ความสงบ
ขณะจิตอยู่กับลมหายใจ มีคุณค่าเท่ากับการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาแล้ว มีศีล สมาธิด้วยความเพียรแล้ว
ด้วยสติตามรู้ลม เห็นการเกิด-ดับของจิตวิญญาณในที่ตั้งทั้ง ๔ อยู่ เฝ้ามองอยู่ คอยละความเพลินอยู่ คอยดึงกลับมารู้ลมอยู่ จนมีทักษะชำนาญเชี่ยวชาญในวาระจิตของตน นี้คือปัญญาได้เกิดแล้ว
เมื่อเห็นการเกิดดับ เห็นอริยสัจ เห็นปฏิจจสมุปบาท พระตถาคตกล่าว ได้ปริญญาแล้ว
ผู้มีปริญญา เมื่อถึงกาลกายแตกดับ หลังจากจิตได้เห็นโทษในกองทุกข์และเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ ว่าเป็นของปลอม เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน ไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้ จึงรู้ปล่อยวางจิตจากการยึดมั่นในขันธ์ ๕ ด้วยปัญญา
เมื่อสัตว์รู้ชัดว่า "นั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา และไม่ใช่ตัวตนของเรา(เนตัง มมะ,เนโสอมัสมิ,นะเมโส อัตตา) ก็จะไม่โง่ปรุงแต่งโดยโน้มแสงแห่งมโนมาหาที่เกิดอีกต่อไป
ณ สังคมใยแมลงมุม ดูออกจะยุ้งเหยิงสารพัดปัญหาทั้งปัจจุบันและอนาคต เพราะสัตว์มีมาตรฐานต่างกัน จึงควร Add มาตรฐานพลเมืองไทยไว้ใน Block chain แห่งชาติหรือไม่ ?
1 note
·
View note
Text
November 8,2022
บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร พร้อมคำแปล
เอวัมเม สุตัง (ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้)
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา (สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า)
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ (เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี)
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ (ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระปัญจวัคคีย์อย่างนี้ว่า)
เทฺวเม ภิกขะเว อันตา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ เหล่าอย่างนี้)
ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา (อันบรรพชิตไม่ควรเสพ)
โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค (คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด)
หีโน (เป็นธรรมอันเลว)
คัมโม (เป็นเหตุให��ตั้งบ้านเรือน)
โปถุชชะนิโก (เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา)
อะนะริโย (ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส)
อะนัตถะสัญหิโต (ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์)
โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค (คือประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตนเหล่านี้ใด)
ทุกโข (ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ)
อะนะริโย (ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส)
อะนัตถะสัญหิโต (ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง)
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น)
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง)
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี (กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้)
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัม��พธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ (ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ)
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นเป็นไฉน)
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง)
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี (กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้)
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ (ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ)
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ (ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง)
เสยยะถีทัง (ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ)
สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาอันเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปโป (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (วาจาชอบ)
สัมมากัมมันโต (การงานชอบ)
สัมมาอาชีโว (เลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายาโม (ความเพียรชอบ)
สัมมาสะติ (การระลึกชอบ)
สัมมาสะมาธิ (ความตั้งจิตชอบ)
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อ ปฏิบัติที่เป็นกลางนั้น)
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง)
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี (กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้)
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ (ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ)
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ)
ชาติปิ ทุกขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์)
ชะราปิ ทุกขา (แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์)
มะระณัมปิ ทุกขัง (แม้ความตายก็เป็นทุกข์)
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา (แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์)
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข (ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์)
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข (ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์)
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง (มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์)
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ (ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์)
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ)
ยายัง ตัณหา (ความทะยานอยากนี้ใด)
โปโนพภะวิกา (ทำให้มีภพอีก)
นันทิราคะสะหะคะตา (เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน)
ตัตระ ตัตราภินันทินี (เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ)
เสยยะถีทัง (ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ)
กามะตัณหา (ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่)
ภะวะตัณหา (ความทะยานอยากในความมี ความเป็น)
วิภะวะตัณหา (ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น)
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์)
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ (ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด)
จาโค (ความสละตัณหานั้น)
ปะฏินิสสัคโค (ความวางตัณหานั้น)
มุตติ (การปล่อยตัณหานั้น)
อะนาละโย (ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น)
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จ้ริง คือ)
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค (ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง)
เสยยะถีทัง (ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ)
สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาอันเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปโป (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (วาจาชอบ)
สัมมากัมมันโต (การงานชอบ)
สัมมาอาชีโว (ความเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายาโม (ความเพียรชอบ)
สัมมาสะติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสะมาธิ (ความตั้งจิตชอบ)
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ ��ักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่เป็นทุกข์อริยสัจ)
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้)
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว)
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ)
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ���ุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุจักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย)
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราละได้แล้ว)
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจ)
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง)
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว)
อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ)
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล อันเราเจริญแล้ว)
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว)
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปพร้อมด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ทั้งในสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น)
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว)
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ทั้งในสมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์)
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ (ก็แลปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว)
อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ (ว่า การพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก)
อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ (พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว)
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ (พระภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า)
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวย��ากะระณัสมิง ภัญญะมาเน (ก็แลเมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่)
อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ (จักษุในธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณทัญญะ)
"ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ" (ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา")
ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก (ก็เมื่อธรรมจักรอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว)
ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง (เหล่าภูมิเทวดาก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า)
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ (ว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้)
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นยามาได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)
ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ (เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น)
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง (พรหมเจ้าที่เกิดในชั้นพรหมได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นขึ้น)
"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ" ("ว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ดังนี้ ฯ")
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ (โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ฯ)
อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ (ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป)
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ (ทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก)
อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ (ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ)
อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ (ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า)
อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ (โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ)
อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ (เพราะเหตุนั้น นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นเทียว ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ)
0 notes
Photo
พร 4 ข้อ.. 1. อย่าเป็นนักจับผิด คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง " กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก " คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส " จิตประภัสสร " ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี " แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป���น ก็เป็นสุข " 2. อย่ามัวแต่คิดริษยา " แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน " คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า " เจ้ากรรมนายเวร " ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้อง ถอดถอน ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น " ไฟสุมขอน " ( ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี " แ��่เมตตา " หรือ ซื้อโคมมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป 3. อย่าเสียเวลากับความหลัง 90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ " ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น " มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ " อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน " " อยู่กับปัจจุบันให้เป็น " ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี " สติ " กำกับตลอดเวลา 4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ " ตัณหา " ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่ เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วย น้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วย เชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ " ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม " ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลา ไม่ใช่มีไว้ ใส่เพื่อความโก้หรู คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่ คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์ เราต้องถามตัวเองว่า " เกิดมาทำไม " " คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน" ตามหา " แก่น " ของชีวิตให้เจอ คำว่า "พอดี" คือถ้า "พอ" แล้วจะ"ดี" รู้จัก "พอ" จะมีชีวิตอย่างมีความสุข Cr.clubคนรักสุขภาพ ============== ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันข้อมูล ข่าวสาร ผ่าน Line App คลิ๊กที่ลิงก์นี้== >> http://line.me/ti/p/%40pob2107g ==>> @pob2107 https://www.instagram.com/p/CN8YnLzj08m/?igshid=dvn0rrbr31jp
0 notes
Text
A Hidden Life
รีวิว A Hidden Life - อะ ฮิดเด้น ไลฟ์
ชีวิตที่ไม่ได้เข้าโรงหนังนานจนคิดถึง เหมือนชีวิตที่ขาดหาย ในวันที่ได้กลับมาดูหนังในโรงใหม่ความรู้สึกเหมือนสิ่งนั้นมันกลับมาเติมเต็มชีวิตอีกครั้ง แม้โรคระบาดจะจางลงไปมากแล้ว การเข้าโรงหนังคราวนี้มีเก้าอี้บางส่วนถูกถอดและใส่หน้ากากอนามัยตลอดการรับชม และหนังเรื่องแรกที่ได้ต้อนรับการกลับเข้าโรงหนังก็ได้แก่ (อะ ฮิดเด้น ไลฟ์) หนังดราม่าเชิงอัตชีวประวัติผลงานของผู้กำกับ Terrence Malick รีวิว A Hidden Life
เรื่องย่อ
“ฟรันซ์ เจเกอร์สแตตเทอร์” (ออกัสต์ ดีห์ล) ชาวไร่สัญชาติออสเตรเลียผู้ไม่ยอมก้มหัวให้นาซี ถูกเรียกตัวไปเกณฑ์ทหารเพื่อร่วมรบสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กับ “อดอล์ฟ ฮิตเลอร์” ด้วยความยึดมั่นยิ่งชีพในอุดมการณ์พิทักษ์สันติ เขาจึงลุกขึ้นต่อต้านหัวชนฝา จนถูกคุมขังและถูกตราหน้าว่าเป็นกบฏ ทำให้ผู้คนในหมู่บ้านของเขาต่างหันหลังให้ แต่กำลังใจเดียวที่เขามีคือ “ฟรานซิสกา เจเกอร์สแตตเทอร์” (วาเลอรี แพชเนอร์) ภรรยาของและลูกสาวทั้งสาม พวกเธอคอยอยู่เคียงข้างและเชื่อมั่นในตัวเขาจวบจนวาระสุดท้าย…
ฉากหลังของ A Hidden Life หนังใหม่ของผู้กำกับ เทอร์เรนซ์ มาลิค คือหมู่บ้านในหุบเขาในชนบทของออสเตรียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หมู่บ้านที่ทำเกษตร เลี้ยงสัตว��� ผู้คนมีชีวิตเรียบง่ายในโอบล้อมของภูเขาสูงสงัดและป่าไม้ชอุ่ม ทุ่งหญ้าเขียวขจีไกลลิบๆ และดอกไม้สะพรั่ง วิวทิวทัศน์สวยจับใจแบบโปสการ์ด ถึงขั้นที่ว่าให้ดูวิวอย่างเดียวเราก็คงยอมนั่งดูหนังที่ความยาวเกือบ 3 ชั่วโมงเรื่องนี้ได้
แน่นอนล่ะ ว่าหนังชื่องง ๆ ที่มาพร้อมโปสเตอร์สวย ๆ พะยี่ห้อ เทอเรนซ์ มาร์ลิก ในตำแหน่งผู้กำกับ ย่อมส่งผลต่อความรู้สึกคนดูหนังต่างกัน แต่แน่นอนว่ามันไม่เหมาะกับคนดูหนังที่หวังหนังใหม่เต็มเรื่องความบันเทิงเป็นหลักแน่ ๆ ในยุคคลาสสิกคอหนังอาร์ตระดับฮาร์ดคอร์คงได้ผ่านตางานสุดละเมียดโรแมนติกแช่มช้าและเล่าเรื่องราวเชิงกวีทั้ง Badlands (1973) หรือ Days of Heaven (1978) สร้างลายเซ็นผู้กำกับที่มีแนวทางนำเสนอเรื่องราวเชิงกวีได้ชัดเจนที่สุด
หรือจะเป็นงานในยุคหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังเฟื่องฟูอย่าง The Thin Red Line (1998) หรือกระทั่งผลงานชิ้นโบว์แดงระดับปาล์มทองคำอย่าง The Tree of Life (2011) และตามมาด้วยขบวนหนังเพ้อ ๆ ที่จับต้องสาระไม่ได้อีกเป็นพะเรอเกวียน แต่นับว่าน่ายินดีที่ผลงานล่าสุดอย่าง A Hidden Life ได้กลับมาพูดเรื่อง ปัจเจก ธรรมชาติ ได้อย่างลึกซึ้งอีกครั้ง
น่ายินดีที่ A Hidden Life ได้เข้าเข้าฉายในโรงเมืองไทย (ที่ House Samyan เท่านั้น) โดยเฉพาะนี่เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ สดๆ ร้อนๆ หลังโควิด-19 ช่วงที่คนดูอาจจะยังไม่กระตือรือล้นกลับเข้าโรงหนังอย่างหนาแน่นเหมือนแต่ก่อน แต่หนังอย่าง A Hidden Life เป็นหนังที่ต้องดูในโรงเท่านั้น
จึงจะสัมผัสได้ถึงสุนทรียศาสตร์เฉพาะตัวแบบ เทอร์เรนซ์ มาลิค คนทำหนังที่เพียรพยายามใช้กล้องและภาพเคลื่อนไหวเพื่อบรรลุความบริสุทธิ์ผุดผ่องของตัวตนและปรัชญาการมีชีวิต ภาพในหนังของมาลิค – โดยเฉพาะในเรื่องนี้ – ทำหน้าที่เป็นประตูที่ยกระดับการรับรู้ของคนดูให้ก้าวข้ามสิ่งที่มองเห็นไปสู่จิตวิญญาณที่เหนือกว่า ว่ากันตรงๆ ก็คือ หนังอย่างนี้ไม่ใช่ “หนังง่าย” เป็นหนังเรียกร้องความตั้งใจและสมาธิจากคนดู
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่คนอาจจะเสพติดการดูหนังแบบลุกนั่��ได้ตามใจแบบการดูหนังออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกัน นี่เป็นหนังที่เหมาะสมเหลือเกินในการเปิดโรงภาพยนตร์อีกครั้ง เพราะเป็นหนังที่ทำให้เสน่ห์ลึกลับและมนต์วิเศษของภาพยนตร์จอใหญ่ กลับมาอยู่ในใจคนรักหนังได้อย่างสมศักดิ์ศรี
เนื้อเรื่อง
หรือจะเป็นงานในยุคหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังเฟื่องฟูอย่าง The Thin Red Line (1998) หรือกระทั่งผลงานชิ้นโบว์แดงระดับปาล์มทองคำอย่าง The Tree of Life (2011) และตามมาด้วยขบวนหนังเพ้อ ๆ ที่จับต้องสาระไม่ได้อีกเป็นพะเรอเกวียน แต่นับว่าน่ายินดีที่ผล��านล่าสุดอย่าง A Hidden Life ได้กลับมาพูดเรื่อง ปัจเจก ธรรมชาติ ได้อย่างลึกซึ้งอีกครั้ง
หรือการที่คนในหมู่บ้านเริ่มแสดงท่าทีรังเกียจเขาและ ฟรานซิสกา เจเกอร์สแตตเทอร์ (วาเลอรี แพชเนอร์) หลังจากที่เขาแสดงท่าทีรังเกียจฮิตเลอร์ที่เสมือนพ่อของคนออสเตรียขณะนั้น จนกระทั่งเขาต้องกลับไปสู่กองทัพอีกครั้งแต่คราวนี้ด้วยความดื้อด้านหัวชนฝาก็ทำให้เขาต้องถูกจองจำเพราะไม่ยอมอ่อนข้อต่อนาซี ทิ้งไว้เพียง ฟรานซิสกา กับลูก ๆ ที่ยังคงต้องต่อสู้ในสงครามแห่งความเกลียดชังในหมู่บ้านและพยายามทำทุกทางเพื่อคืนอิสรภาพให้กับเขาต่อไป
เป็นธรรมดาเมื่อหนังพะยี่ห้อของ เทอเรนซ์ มาร์ลิก ก็ย่อมหมายความว่าสปีดของหนังจะช้ากว่าปกติแน่ ๆ แต่กับ A Hidden Life ความแช่มช้า และภาพที่ให้เราซึมซับบรรยากาศ ภาพ เสียงธรรมชาติในมุมกว้าง ๆ กลับสร้างความหมายในตัวมันเอง
ด้วยว่าธรรมชาตินั้นมีกฎเกณฑ์ตายตัวและมันก็ก่อให้เกิดกฎเกณฑ์หรือกรรมวิธีในการใช้ชีวิต ซึ่งในที่นี้หมายถึงงานกสิกรรมที่ดินฟ้าคือเจ้าชีวิตของพืชพันธุ์ทั้งหลาย และก็เป็นดินฟ้าที่กำหนดชะตาชีวิตของคนในแง่การทำกินเช่นกัน
ผิดกับมนุษย์ที่ความเชื่อ และ อุดมการณ์ เป็นตัวกำหนดกิเลส ตัณหา ความรัก หรือ เกลียดชัง ซึ่งมวลของความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจก็อบอวลอยู่เต็มหมู่บ้าน ผ่านเหตุการณ์ทั้งสายตาที่มองฆ้อนและคนถ่มน้ำลายใส่ฟรานซิสกา หรือกระทั่งการมีเรื่องชกต่อยกับคนในหมู่บ้านของฟรันซ์ โดยถ่ายทอดผ่านกล้องที่จงใจล่วงล้ำไปถ่ายภาพในขนาดใกล้และปราศจากความนิ่งงัน
ซึ่งเหตุมาจากเพียงแค่อุดมการณ์รักเสรีของทั้งคู่ ที่หวังเพียงความสงบและการใช้ชีวิตทำไร่ไถนาและเล่นกับลูก ๆ ไปวัน ๆ แต่กระนั้นเว็บหนัง HDมันก็กลับมีราคาที่ต้องจ่ายถึงชีวิตเพื่อแลกกับความสงบดังกล่าวซึ่งหนังก็ถ่ายทอดผ่านงานภาพที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงและโดยปริยายมันกลับส่งผลต่ออารมณ์คนดูให้ประหวั่นครั่นคร้ามกับอคติของมนุษย์มากกว่าฟ้าคะนองที่ยังเหลือเผื่อเมตตาให้ชาวนาอย่างพวกเขา
และโดยที่แทบไม่เกี่ยวข้องกันแต่กลับส่งผลอย่างน่าประหลาด การที่เราต้องดูหนังทั้งเรื่องในโรงโดยไม่อาจถอดหน้ากากอนามัยออกได้ในนามของ ช��วิตวิถีใหม่ หรือ New Normal มันกลับเหมือนโยงชีวิตเราเข้ากับตัวละครทั้งฟรันซ์และฟรานเซสกาได้อย่างประหลาด
ยังไม่นับเหตุการณ์ที่คนเห็นต่างทางการเมืองต้องถูกคุกคามตามล่า และผู้คนทำได้เพียงแค่ติดแฮชแท็กแล้วเซฟคนนู้นคนนี้ื ไม่ต่างจากออสเตรียช่วงนาซีเรืองอำนาจที่เราต้องเกิดคำถามว่า บ้านเมืองแบบไหนกันที่ผลักให้เสรีชนต้องใช้ชีวิตแบบรักตัวกลัวตายถึงเพียงนี้
สรุป
A Hidden Life ถือว่าเป็นการคืนฟอร์มของ เทอร์เรนซ์ มาลิค ถึงแม้สไตล์การเคลื่อนกล้องอันลื่นไหล การใช้เสียง voice over เพื่อบรรยายความคิด ความรู้สึกของตัวละคร จะเหมือนกันหนังส่วนใหญ่ของเขา แต่คราวนี้ ประเด็นทางศีลธรรมอันเป็นแก่นของเรื่อง อันว่าด้วยหัวใจเสรีของปัจเจกและการไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจ
มีน้ำหนักมากพอที่จะฟาดเราให้อยู่กับเนื้อเรื่องไปตลอด ไม่ว่าความ “เลื่อนลอย” ราวกับสายลมของภาพจะชวนให้เราเคลิ้มแค่ไหน ที่สำคัญ ฟอร์มของหนัง (หรือสุนทรียศาสตร์ของภาพ) ส่งเสริมปรัชญาภาพยนตร์ของมาลิค อันว่าด้วยการแสวงหาการรับรู้เบื้องลึกและเพ่งพินิจการมีอยู่ของตัวตน
อีกทั้งการแสวงหาที่ทางของมนุษย์ในวงล้อมของธรรมชาติอันมหึมา ดินแดนชนบทอันสวยงามหมดจดของออสเตรีย จึงไม่ได้เป็นเพียง “ฉาก” ของท้องเรื่อง แต่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของชีวิตและเสรีภาพที่ประกอบขึ้นเป็นตัวตนของ ฟรานซ์ ยาเกอร์สตาทเตอร์ และภรรยา ในบรรยากาศของการกดขี่และริดรอนเจตจำนงเสรีของมนุษย์
ซึ่งจะว่าไป ก็ไม่ได้เป็นเพียงบริบทของประวัติศาสตร์ยุคสงครามโลกเท่านั้น แต่ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากยังสัมผัสได้ในปัจจุบันในหลายๆ พ��้นที่ทั่วโลก
ปล. สำหรับ A Hidden Life จะฉายที่โรงภาพยนตร์ House สามย่านที่เดียวเท่านั้น โปรดเช็กรอบ และเตรียมตัวให้พร้อม นั่นหมายถึงคุณต้อง กินไม่อิ่มเกิน พักผ่อนมาอย่างเพียงพอ และฝึกความอดทนมาอย่างดี
เพราะคราวนี้หนังเทอเรนซ์ มาลิก จะทำให้คุณอึดอัดและอาจน็อกคุณคาจอได้ แต่หากใครอยู่รอดปลอดภัยดูได้จนจบ ผลลัพธ์ไม่ต่างจากการพิชิตยอดดอยที่จะได้อาหารสมองติดออกจากโรงให้ได้ใคร่ครวญและพินิจพิเคราะห์อย่างดี
0 notes
Text
A Hidden Life
รีวิว A Hidden Life - อะ ฮิดเด้น ไลฟ์
ชีวิตที่ไม่ได้เข้าโรงหนังนานจนคิดถึง เหมือนชีวิตที่ขาดหาย ในวันที่ได้กลับมาดูหนังในโรงใหม่ความรู้สึกเหม��อนสิ่งนั้นมันกลับมาเติมเต็มชีวิตอีกครั้ง แม้โรคระบาดจะจางลงไปมากแล้ว การเข้าโรงหนังคราวนี้มีเก้าอี้บางส่วนถูกถอดและใส่หน้ากากอนามัยตลอดการรับชม และหนังเรื่องแรกที่ได้ต้อนรับการกลับเข้าโรงหนังก็ได้แก่ (อะ ฮิดเด้น ไลฟ์) หนังดราม่าเชิงอัตชีวประวัติผลงานของผู้กำกับ Terrence Malick รีวิว A Hidden Life
เรื่องย่อ
“ฟรันซ์ เจเกอร์สแตตเทอร์” (ออกัสต์ ดีห์ล) ชาวไร่สัญชาติออสเตรเลียผู้ไม่ยอมก้มหัวให้นาซี ถูกเรียกตัวไปเกณฑ์ทหารเพื่อร่วมรบสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กับ “อดอล์ฟ ฮิตเลอร์” ด้วยความยึดมั่นยิ่งชีพในอุดมการณ์พิทักษ์สันติ เขาจึงลุกขึ้นต่อต้านหัวชนฝา จนถูกคุมขังและถูกตราหน้าว่าเป็นกบฏ ทำให้ผู้คนในหมู่บ้านของเขาต่างหันหลังให้ แต่กำลังใจเดียวที่เขามีคือ “ฟรานซิสกา เจเกอร์สแตตเทอร์” (วาเลอรี แพชเนอร์) ภรรยาของและลูกสาวทั้งสาม พวกเธอคอยอยู่เคียงข้างและเชื่อมั่นในตัวเขาจวบจนวาระสุดท้าย…
ฉากหลังของ A Hidden Life หนังใหม่ของผู้กำกับ เทอร์เรนซ์ มาลิค คือหมู่บ้านในหุบเขาในชนบทของออสเตรียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หมู่บ้านที่ทำเกษตร เลี้ยงสัตว์ ผู้คนมีชีวิตเรียบง่ายในโอบล้อมของภูเขาสูงสงัดและป่าไม้ชอุ่ม ทุ่งหญ้าเขียวขจีไกลลิบๆ และดอกไม้สะพรั่ง วิวทิวทัศน์สวยจับใจแบบโปสการ์ด ถึงขั้นที่ว่าให้ดูวิวอย่างเดียวเราก็คงยอมนั่งดูหนังที่ความยาวเกือบ 3 ชั่วโมงเรื่องนี้ได้
แน่นอนล่ะ ว่าหนังชื่องง ๆ ที่มาพร้อมโปสเตอร์สวย ๆ พะยี่ห้อ เทอเรนซ์ มาร์ลิก ในตำแหน่งผู้กำกับ ย่อมส่งผลต่อความรู้สึกคนดูหนังต่างกัน แต่แน่นอนว่ามันไม่เหมาะกับคนดูหนังที่หวังหนังใหม่เต็มเรื่องความบันเทิงเป็นหลักแน่ ๆ ในยุคคลาสสิกคอหนังอาร์ตระดับฮาร์ดคอร์คงได้ผ่านตางานสุดละเมียดโรแมนติกแช่มช้าและเล่าเรื่องราวเชิงกวีทั้ง Badlands (1973) หรือ Days of Heaven (1978) สร้างลายเซ็นผู้กำกับที่มีแนวทางนำเสนอเรื่องราวเชิงกวีได้ชัดเจนที่สุด
หรือจะเป็นงานในยุคหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังเฟื่องฟูอย่าง The Thin Red Line (1998) หรือกระทั่งผลงานชิ้นโบว์แดงระดับปาล์มทองคำอย่าง The Tree of Life (2011) และตามมาด้วยขบวนหนังเพ้อ ๆ ที่จับต้องสาระไม่ได้อีกเป็นพะเรอเกวียน แต่นับว่าน่ายินดีที่ผลงานล่าสุดอย่าง A Hidden Life ได้กลับมาพูดเรื่อง ปัจเจก ธรรมชาติ ได้อย่างลึกซึ้งอีกครั้ง
น่ายินดีที่ A Hidden Life ได้เข้าเข้าฉายในโรงเมืองไทย (ที่ House Samyan เท่านั้น) โดยเฉพาะนี่เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ สดๆ ร้อนๆ หลังโควิด-19 ช่วงที่คนดูอาจจะยังไม่กระตือรือล้นกลับเข้าโรงหนังอย่างหนาแน่นเหมือนแต่ก่อน แต่หนังอย่าง A Hidden Life เป็นหนังที่ต้องดูในโรงเท่านั้น
จึงจะสัมผัสได้ถึงสุนทรียศาสตร์เฉพาะตัวแบบ เทอร์เรนซ์ มาลิค คนทำหนังที่เพียรพยายามใช้กล้องและภาพเคลื่อนไหวเพื่อบรรลุความบริสุทธิ์ผุดผ่องของตัวตนและปรัชญาการมีชีวิต ภาพในหนังของมาลิค – โดยเฉพาะในเรื่องนี้ – ทำหน้าที่เป็นประตูที่ยกระดับการรับรู้ของคนดูให้ก้าวข้ามสิ่งที่มองเห็นไปสู่จิตวิญญาณที่เหนือกว่า ว่ากันตรงๆ ก็คือ หนังอย่างนี้ไม่ใช่ “หนังง่าย” เป็นหนังเรียกร้องความตั้งใจและสมาธิจากคนดู
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่คนอาจจะเสพติดการดูหนังแบบลุกนั่งได้ตามใจแบบการดูหนังออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกัน นี่เป็นหนังที่เหมาะสมเหลือเกินในการเปิดโรงภาพยนตร์อีกครั้ง เพราะเป็นหนังที่ทำให้เสน่ห์ลึกลับและมนต์วิเศษของภาพยนตร์จอใหญ่ กลับมาอยู่ในใจคนรักหนังได้อย่างสมศักดิ์ศรี
เนื้อเรื่อง
หรือจะเป็นงานในยุคหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังเฟื่องฟูอย่าง The Thin Red Line (1998) หรือกระทั่งผลงานชิ้นโบว์แดงระดับปาล์มทองคำอย่าง The Tree of Life (2011) และตามมาด้วยขบวนหนังเพ้อ ๆ ที่จับต้องสาระไม่ได้อีกเป็นพะเรอเกวียน แต่นับว่าน่ายินดีที่ผลงานล่าสุดอย่าง A Hidden Life ได้กลับมาพูดเรื่อง ปัจเจก ธรรมชาติ ได้อย่างลึกซึ้งอีกครั้ง
หรือการที่คนในหมู่บ้านเริ่มแสดงท่าทีรังเกียจเขาและ ฟรานซิสกา เจเกอร์สแตตเทอร์ (วาเลอรี แพชเนอร์) หลังจากที่เขาแสดงท่าทีรังเกียจฮิตเลอร์ที่เสมือนพ่อของคนออสเตรียขณะนั้น จนกระทั่งเขาต้องกลับไปสู่กองทัพอีกครั้งแต่คราวนี้ด้วยความดื้อด้านหัวชนฝาก็ทำให้เขาต้องถูกจองจำเพราะไม่ยอมอ่อนข้อต่อนาซี ทิ้งไว้เพียง ฟรานซิสกา กับลูก ๆ ที่ยังคงต้องต่อสู้ในสงครามแห่งความเกลียดชังในหมู่บ้านและพยายามทำทุกทางเพื่อคืนอิสรภาพให้กับเขาต่อไป
เป็นธรรมดาเมื่อหนังพะยี่ห้อของ เทอเรนซ์ มาร์ลิก ก็ย่อมหมายความว่าสปีดของหนังจะช้ากว่าปกติแน่ ๆ แต่กับ A Hidden Life ความแช่มช้า และภาพที่ให้เราซึมซับบรรยากาศ ภาพ เสียงธรรมชาติในมุมกว้าง ๆ กลับสร้างความหมายในตัวมันเอง
ด้วยว่าธรรมชาตินั้นมีกฎเกณฑ์ตายตัวและมันก็ก่อให้เกิดกฎเกณฑ์หรือกรรมวิธีในการใช้ชีวิต ซึ่งในที่นี้หมายถึงงานกสิกรรมที่ดินฟ้าคือเจ้าชีวิตของพืชพันธุ์ทั้งหลาย และก็เป็นดินฟ้าที่กำหนดชะตาชีวิตของคนในแง่การทำกินเช่นกัน
ผิดกับมนุษย์ที่ความเชื่อ และ อุดมการณ์ เป็นตัวกำหนดกิเลส ตัณหา ความรัก หรือ เกลียดชัง ซึ่งมวลของความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจก็อบอวลอยู่เต็มหมู่บ้าน ผ่านเหตุการณ์ทั้งสายตาที่มองฆ้อนและคนถ่มน้ำลายใส่ฟรานซิสกา หรือกระทั่งการมีเรื่องชกต่อยกับคนในหมู่บ้านของฟรันซ์ โดยถ่ายทอดผ่านกล้องที่จงใจล่วงล้ำไปถ่ายภาพในขนาดใกล้และปราศจากความนิ่งงัน
ซึ่งเหตุมาจากเพียงแค่อุดมการณ์รักเสรีของทั้งคู่ ที่หวังเพียงความสงบและการใช้ชีวิตทำไร่ไถนาและเล่นกับลูก ๆ ไปวัน ๆ แต่กระนั้นเว็บหนัง HDมันก็กลับมีราคาที่ต้องจ่ายถึงชีวิตเพื่อแลกกับความสงบดังกล่าวซึ่งหนังก็ถ่ายทอดผ่านงานภาพที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงและโดยปริยายมันกลับส่งผลต่ออารมณ์คนดูให้ประหวั่นครั่นคร้ามกับอคติของมนุษย์มากกว่าฟ้าคะนองที่ยังเหลือเผื่อเมตตาให้ชาวนาอย่างพวกเขา
และโดยที่แทบไม่เกี่ยวข้องกันแต่กลับส่งผลอย่างน่าประหลาด การที่เราต้องดูหนังทั้งเรื่องในโรงโดยไม่อาจถอดหน้ากากอนามัยออกได้ในนามของ ชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal มันกลับเหมือนโยงชีวิตเราเข้ากับตัวละครทั้งฟรันซ์และฟรานเซสกาได้อย่างประหลาด
ยังไม่นับเหตุการณ์ที่คนเห็นต่างทางการเมืองต้องถูกคุกคามตามล่า และผู้คนทำได้เพียงแค่ติดแฮชแท็กแล้วเซฟคนนู้นคนนี้ื ไม่ต่างจากออสเตรียช่วงนาซีเรืองอำนาจที่เราต้องเกิดคำถามว่า บ้านเมืองแบบไหนกันที่ผลักให้เสรีชนต้องใช้ชีวิตแบบรักตัวกลัวตายถึงเพียงนี้
สรุป
A Hidden Life ถือว่าเป็นการคืนฟอร์มของ เทอร์เรนซ์ มาลิค ถึงแม้สไตล์การเคลื่อนกล้องอันลื่นไหล การใช้เสียง voice over เพื่อบรรยายความคิด ความรู้สึกของตัวละคร จะเหมือนกันหนังส่วนใหญ่ของเขา แต่คราวนี้ ประเด็นทางศีลธรรมอันเป็นแก่นของเรื่อง อันว่าด้วยหัวใจเสรีของปัจเจกและการไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจ
มีน้ำหนักมากพอที่จะฟาดเราให้อยู่กับเนื้อเรื่องไปตลอด ไม่ว่าความ “เลื่อนลอย” ราวกับสายลมของภาพจะชวนให้เราเคลิ้มแค่ไหน ที่สำคัญ ฟอร์มของหนัง (หรือสุนทรียศาสตร์ของภาพ) ส่งเสริมปรัชญาภาพยนตร์ของมาลิค อันว่าด้วยการแสวงหาการรับรู้เบื้องลึกและเพ่งพินิจการมีอยู่ของตัวตน
อีกทั้งการแสวงหาที่ทางของมนุษย์ในวงล้อมของธรรมชาติอันมหึมา ดินแดนชนบทอันสวยงามหมดจดของออสเตรีย จึงไม่ได้เป็นเพียง “ฉาก” ของท้องเรื่อง แต่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของชีวิตและเสรีภาพที่ประกอบขึ้นเป็นตัวตนของ ฟรานซ์ ยาเกอร์สตาทเตอร์ และภรรยา ในบรรยากาศของการกดขี่และริดรอนเจตจำนงเสรีของมนุษย์
ซึ่งจะว่าไป ก็ไม่ได้เป็นเพียงบริบทของประวัติศาสตร์ยุคสงครามโลกเท่านั้น แต่ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากยังสัมผัสได้ในปัจจุบันในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก
ปล. สำหรับ A Hidden Life จะฉายที่โรงภาพยนตร์ House สามย่านที่เดียวเท่านั้น โปรดเช็กรอบ และเตรียมตัวให้พร้อม นั่นหมายถึงคุณต้อง กินไม่อิ่มเกิน พักผ่อนมาอย่างเพียงพอ และฝึกความอดทนมาอย่างดี
เพราะคราวนี้หนังเทอเรนซ์ มาลิก จะทำให้คุณอึดอัดและอาจน็อกคุณคาจอได้ แต่หากใครอยู่รอดปลอดภัยดูได้จนจบ ผลลัพธ์ไม่ต่างจากการพิชิตยอดดอยที่จะได้อาหารสมองติดออกจากโรงให้ได้ใคร่ครวญและพินิจพิเคราะห์อย่างดี
0 notes
Photo
{เรียน(รู้)มนุษย์} สัตว์ที่น่ากลัว ที่สุดบนโลกใบนี้ เป็นทั้ง ผู้สร้าง และทำลาย ใน(ช่วง)เวลาขณะเดียวกัน *แล้วแต่ว่า ห้วงเวลานั้น จะตามรู้-ตามทัน สภาวะจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วย อวิชา ราคะ หรือไม่ ในขณะนั้น จึงบังเกิด การสร้างสรรค์ หรือทำลายล้าง +เรียนรู้ "สัตว์" ที่อันตรายที่สุดบนโลก วิจัยจากภายนอก (เนื้อ,หนัง,เอ็น,กระดูก) ลึกซึ้งลงจนถึง (ม้าม,ปอด,ตับ,ไต,ใส้พุง) ดำดิ่งจนถึง *สภาวะจิตที่ถูก โอบอุ้ม ด้วยกิเลส-ตัณหา •วางก้อนหิน และดอกบัวได้ คงไร้ซึ่งตัวตน∆ #modernthaitattoo #bambootattoo #thailandtattoo #handpokethailand #sakyant #ronabenz #thailand #bamboo #tattoo #retouch #enjoy #life #thaistyle #photography #practice #thelife #thelifepodcast #histrory #ล้านนา #รอยสัก #ชาวเหนือ #ชาวไท #เตี่ยวก้อม #ขาลาย #สักขาลาย (ที่ Vegan chef by KJ) https://www.instagram.com/p/B9G7b_phJ-n/?igshid=1jizc6xf4om16
#modernthaitattoo#bambootattoo#thailandtattoo#handpokethailand#sakyant#ronabenz#thailand#bamboo#tattoo#retouch#enjoy#life#thaistyle#photography#practice#thelife#thelifepodcast#histrory#ล้านนา#รอยสัก#ชาวเหนือ#ชาวไท#เตี่ยวก้อม#ขาลาย#สักขาลาย
0 notes
Text
ไม่เคยคิด... ว่าจะพาตัวเองตกต่ำถึงขนาดนี้
เราโทษฟ้า โทษดิน โทษคนรอบข้าง โทษโชคชะตา
ที่ต้องมาเจอกับอะไรบ้า ๆ แบบนี้
แต่สิ่งที่เลวร้ายที่สุดกลับไม่ใช่สิ่งรอบข้าง
แต่มันคือตัวของเราเอง
ที่นำพาจิตใจไปสู่ที่ต่ำ นำจิตใจไปสู่สิ่งที่ไม่ควรจะอยู่...
ธรรมชาติของทุกสิ่งมักจะไหลลงไปสู่ที่ต่ำเสมอ
แต่เราต้องฝืนใจสักแค่ไหน ถึงจะไหลย้อนขึ้นไปสู่ที่ ๆ สูงกว่า?
มันจะยากขนาดไหนที่เราจะเอาชนะใจของเราเองเพื่อนำพาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า?
ตัวเราเองฉลาดมากพอที่จะแยกแยะได้ว่าอันไหนดีหรือไม่ดี
แต่เราก็ไม่อาจหักห้ามใจเราเองได้ที่จะไปอยู่ในสิ่งที่มัวเมา
บางที... ใจมันก็ไหลไปเรื่อย
ไหลไปตามกิเลส ตัณหา ราคะที่มันแทบไม่ต้องสร้างขึ้นมาเพราะมันมีอยู่ตามธรรมชาติ
แต่ใครเลยจะรู้... ว่าสิ่งต่ำ ๆ เหล่านั้นมันจะหักห้ามได้ยากมากขนาดไหน
ถ้าเราไม่มีสติมากพอที่จะหักห้ามมัน ก็เป็นเรื่องยาก���หลือเกินที่เราจะเอาตัวออกจากสิ่งต่ำ ๆ เหล่านั้นได้
เราแค่อยากพาตัวเองไปอยู่ที่ดี ๆ
อยู่ในที่ ๆ จิตใจมนุษย์ดี ๆ คนหนึ่งควรจะอยู่
ก็เท่านั้นเอง...
1 note
·
View note
Text
ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด
ความลับไม่มีในโลก
เพราะสรรพสิ่งในโลก เกิดจากปัจจัยที่เป็นเหตุและปัจจัยที่เกิดจากเหตุ ดังนั้น หากกรรมใดที่คนใดเป็นผู้ก่อเหตุขึ้น ปัจจัยที่เกิดจากเหตุนั้นก็ปรากฎขึ้น ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกว่า"ผล"
อันที่จริงแล้ว ปัจจัยที่เกิดจากเหตุนั้นเอง จะเป็นเหตุให้เกิดปัจจัยอื่น ๆ ต่อไป เป็นสาย ซึ่งพระตถาคตเรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาท" ตั้งแต่ปฐมเหตุ ต่อกันไปจนจบกระบวนการของมัน คือ "ดับ" หรือการเกิด-ดับของของธรรมทั้งหลายในโลกธาตุนี้
การเกิดชีวิตสัตว์ ซึงเป็นผู้ยึดติดในตัวตน ก็จะเริ่มตามลำดับ ดังนี้
เพราะมีอวิชชา(ความไม่รู้)เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร (การปรุงแต่ง)
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ (ธาตุรู้)
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ (อายตนะภายใน ๖ ได้��ก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสกาย ธรรมารมย์)
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ (การกระทบระหว่างอายตนะภายในและภายนอก)
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์)
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา [ความพอใจ(ฉันทะ) ความกำหนัด(ราคะ) ความเพลิน(นันทิ) ความอยาก(ตัณหา)]
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (การติดยึด)
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ (ภาวะพร้อมในการเกิด)
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ (การเกิด)
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โศกะปริเทวะ ทุกขโทมมนัส สุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นพร้อม
ปฏิจจสมุปบาทสายเกิดดังกล่าว อาจจะสรุปได้ว่า เป็นส่วนแรกของอริยสัจ ๔ แสดงถึงเฉพาะลำดับการเกิดขึ้นของทุกข์และเหตุให้เกิดทุกข์(ทุกขสมุทัย)
จากหลักธรรมนี้ จึงมีคำถามอีกมากมายให้เจาะหาความกระจ่างเพิ่มขึ้น เช่น
ใครเป็นผู้มีอวิชชา ?
ใครคือผู้ปรุงแต่ง ?
วิญญาณคืออะไร
วิญญาณเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
จิต มโน วิญญาณแตกต่างกันอย่างไร ?
วิญญาณอยู่ที่ใด ทำงานอย่างไร ?
ทำอย่างไรจึงจะจับวิญญาณได้ ?
ฯลฯ
การแสวงหาคำตอบ เป็นหน้าที่ของผู้ใฝ่รู้ ต้องใฝ่หาด้วยการอ่าน การฟังพุทธวจน หรือมีสุตะ เสพคบกับพุทธวจนให้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดเป็นอย่างดีด้วยทิฏฐิ
สำหรับส่วนนี้ ขอสรุปว่า ความเข้าใจปัจจัยที่เป็นเหตุและปัจจัยที่เกิดจากเหตุอย่างดี คำว่าความลับใด ๆ จึงไม่มีในโลก เพราะเหตุปัจจัยจะเป็นแนวบ่งชี้การเกิดขึ้นของคดีความ ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยตัวของมันเองเสมอ
สิ่งที่พึงสังเกตุจากปฏิจจสมุปบาทให้ละเอียดแยบคาย คือ ความต่อเนื่องระหว่างปัจจัยที่เป็นเหตุกับปัจจัยที่เกิดจากเหตุนั้น จะต่อเนื่องสัมพันธ้กันแบบใกล้ชิดเป็นคู่ ๆ ติดต่อกันไป แทบไม่มีปัจจัยแทรกระหว่างได้ หากจะมีปัจจัยแทรกระหว่าง ก็จะเป็นปัจจัยที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ใกล้ชิดกันมาก ต่างก็มีอิทธิพล��่อปัจจัยที่เกิดจากเหตุสูงเหมือนกัน
ขอยกตัวอย่าง เช่น "เมื่อมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา" ระหว่างเวทนากับตัณหา มีปัจจัยที่ส่งผลต่อตัณหาแทรกอยู่ ได้แก่ ฉันทะ(ความพอใจ) ราคะ(ความกำหนัด) และนันทิ(ความเพลิน) ดังนี้ ซึ่งยังมองเห็นความเป็นเหตุเป็นผลกันอยู่ใกล้ชิด
ส่วนคู่สัมพันธ์ที่ห่างออกไป หากไม่มีคู่สัมพันธ์ที่ใกลชิดมาเชื่อมต่อ จะกล่าวว่า ปัจจัยทั้งสองนั้น เป็นเหตุเป็นผลกันแทบไม่ได้เลย ยกตัวอย่าง เช่น "เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีชาติ" หากไม่เคยเห็น ไม่เคยท่องจำปฏิจจสมุปบาทมาก่อน จะมองเห็นและเข้าใจได้หรือไม่ ว่า เมื่อมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีชาติได้อย่างไร มันไกลกันมาก มากจนมองไม่เห็นความสัมพันธ์
ด้วยเหตุนี้ การกล่าวอ้างเหตุผลใด ๆ ในโลก จึงควรอาศัยหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักเกณฑ์ มิใช่นึกจะอ้างเหตุผลอะไร ก็อ้างกันได้ลอย ๆ อ้างกันแบบข้ามขั้น อ้างเหตุผลเพ้อเจ้อแบบคนพาลหรือแบบที่เรียกกันว่า "ไม่มีเหตุผล" เช่น
"รัฐบาลปล่อยโรคโควิท เพื่อ........."
"ให้ยกเลิก ม.112 เพราะ................."
ลองเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่มีเหตุผลต่อไปนี้ดู ว่าแตกต่างกันอย่างไร
"เพราะดูหมิ่น...พระมหากษัตริย์ จึงถูกจับดำเนินคดีตาม ม.112"
"เพราะจงใจหลีกเลี่ยงภาษีการซื้อเรือยอร์ช จึงจดทะเบียนเรือ ฯ ที่เกาะคุก"
จะเห็นว่า เหตุผลที่เป็นเหตุผลตามหลักการ กับเหตุผลที่คิดและเข้าใจเอาเองนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
การถกเถียงแลกเปลี่ยนกันด้วยเหตุผลในสังคมไทยปัจจุบัน จึงแทบไม่มีอยู่จริง การแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายจึงเกิดขึ้น เพราะความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท นั้นเอง
สรุปว่า
"เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี" "เพราะการเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น" เป็นแม่บทของความมีเหตุมีผล อันจะนำไปสู่การใคร่ครวญ สืบเสาะหาสิ่งที่ยังไม่รู้ สิ่งที่เป็นความลับอยู่ ให้เปิดเผยออกมาด้วยเหตุผลตามหลักปฏิจจสมุปนธรรม ดังกล่าว
"ความลับจึงไม่มีในโลก"
1 note
·
View note
Photo
ผ้ายันต์มาเสพนาง เสาร์ 5 สุดยอดเมตตามหาเสน่ห์
พระอาจารย์ลอย ศิษย์เอกหลวงปู่ขุ้ย วัดซับตะเคียน จ. เพชรบูรณ์
“วิชาม้าเสพนาง” เป็นวิชา ในเรื่องกามอารม ตัณหา อย่างรุนแรง !!!! ให้ผลด้านเสน่ห์ เสน่ห์ราคะ ช่วยมัดจิตมัดใจให้คนหลงใหล มีคนอุปการ�� อุปถัมภ์
ผู้ชายหากใช้เกี้ยวหญิงสาว หากพกติดตัวไปด้วย รักใคร่นางคนใด จักต้องได้สาวคนนั้นขึ้นมา
ใช้ได้ดีทั้งในเรื่องของความรัก สะกดจิตสะกดใจต่อผู้เจรจาด้วยยิ่งนัก ใครเห็นใครก็รัก ใครเห็นใครก็หลง จักเป็นเสน่ห์ติดตัว
ผ้ายันต์มาเสพนางของพระอาจารย์ลอยนี้ หากใครได้ครอบครองจะไม่เป็นสอง รองใคร
>>>>>คาถา วิธีใช้บูชา ผ้ายันต์มาเสพนาง เสาร์ 5 คลิ๊ก<<<<<
สอบถาม Line:m9693
http://line.me/ti/p/EVMjSOdcpb
E-mail: [email protected]
www.monsanae.com
#ยันต์เสน่ห์#ผ้ายันต์มหาเสน่ห์#เครื่องราง#ของขลัง#เมตตา#ค้าขาย#ธุรกิจ#เจรจา#สะกดจิตสะกดใจ#ความรัก#คาถามหาเสน่ห์
0 notes
Photo
ผมคิดว่า..ถ้าใครอยากทำอะไร และหวังว่าจะทำสิ่งนั้นไปได้ตลอดรอดฝั่ง #เราต้องเริ่มจากความชอบ #ถ้าไม่ชอบก็ต้องฝึกให้ชอบครับ ทางพระเค้าเรียกว่า...”ฉันทะ” ถือว่าเป็นความชอบทางฝ่ายกุศล ไม่ใช่ “ตัณหา” ที่เป็นความชอบความอยากเหมือนกัน แต่เป็นฝ่ายอกุศล แต่บางทีมันก็แยกอยากนะครับ ระหว่างฉันทะกับตัณหา หรือว่ามันจะปนๆกันอยู่ก็เป็นได้ https://www.instagram.com/p/BtBZSqZgG9viRbZ9Ye8JdgRYe7LDEX3iZ5c3Q00/?utm_source=ig_tumblr_share&igshid=12tpbbbljcn71
0 notes
Photo
" ทำไมรู้ว่าโกรธแล้วไม่หายโกรธ " . ความโกรธเกิดขึ้นเมื่อจิตเผลอ ไม่มีสติ หลง เมื่อสติเกิดขึ้น ความหลงจะหายไป ความเผลอจะหายไป เพราะความโกรธนั้นไม่มีที่ตั้ง . ปัญหาของผู้ปฏิบัติก็คือ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้น ลึกลงไปในใจมีความรู้สึก ไม่ชอบความโกรธนั้นร่วมอยู่ด้วย จึงไม่ใช่แค่ " รู้เฉยๆ " แต่มีความรู้สึกว่า อยากผลักไสความโกรธให้ออกไปด้วย จึงไม่ใช่สติที่บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ . หากจะเปรียบความโกรธเหมือนไฟ และสติเหมือนน้ำ เหตุใดน้ำนี้จึงดับไฟไม่ได้? . สาเหตุที่น้ำนี้ไม่สามารถดับไฟได้ ก็เพราะน้ำนี้ไม่บริสุทธิ์ แต่เจือด้วยน้ำมัน . น้ำมันในที่นี้ คือ ความรู้สึกลบต่อความโกรธ อยากจะให้ความโกรธหายไป มันมีทั้งตัณหา และโทสะร่วมอยู่ด้วยกัน ตัณหา คือ ความอยากให้ความโกรธหายไป โทสะ คือ ไม่ชอบความโกรธ รู้สึกลบต่อความโกรธ จึงเปรียบเหมือนน้ำที่ไม่บริสุทธิ์ เจือด้วยน้ำมัน . หลายคนมักบ่นว่า " ทำไมรู้ว่าโกรธแล้วไม่หายโกรธ " สาเหตุก็เพราะว่าไม่ได้แค่รู้เฉยๆ ไม่ได้รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง แต่มีความรู้สึกลบต่อความโกรธร่วมอยู่ด้วย ... . สิ่งใดก็ตามที่ถูกกดข่มจะสู้ จะต่อต้าน มีคำพูดหนึ่งที่อาตมาใช้ได้��ี คือ . อะไรที่เธอผลักไสจะคงอยู่ อะไรที่เธอตระหนักรู้จะหายไป . เราจึงต้องมีสติรู้ให้เท่าทันตรงนี้ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นตัวที่ละเอียด เมื่อเราแค่รู้เฉยๆ ความโกรธจะดับไปเอง ความฟุ้งซ่านก็เช่นเดียวกัน แต่หากยิ่งพยายามกดข่มไว้ ความฟุ้งซ่านก็จะยิ่งรังควานจิตใจเรา สิ่งใดที่เรากดข่มจะไม่ยอมไปง่ายๆ ถ้าเป็นความรู้สึกผิด ยิ่งพยายามกดข่ม ยิ่งพยายามลืม ก็จะยิ่งรบกวนจิตใจหนักขึ้นไปอีก . หนทางเดียวเท่านั้นที่จะช่วยได้ก็คือ ต้องรู้มันด้วยใจที่เป็นกลาง อารมณ์เหล่านั้นก็จะไม่มีที่ตั้งอีกต่อไป . พระไพศาล วิสาโล # เจริญสติ # รู้ซื่อๆ
0 notes
Video
youtube
Passion -Lust
นิทรรศการ "กิเลส - ตัณหา" โดย อ.วัชระ กล้าค้าขาย วันที่15 กค - 25 สค 2556 ณ Ardel's Third Place Gallery ARDEL Gallery of Modern Art ทองหล่อซอย10 สุขุมวิท 55 งานนี้มีสุดยอดผลงานจากท่านอาจารย์วัชระได้เนรมิตวาดภาพนู้ดที่ใหญ่ที่สุดที่อาจารย์เคยวาดมาในชื่อภาพ "มารผจญ พ.ศ 2555" ภาพนี้กำลังถูกพูดถึงกันอย่างมากตั้งแต่ยังไม่ออกแสดงคะน่าติดตามมากคะ "Passion – Lust" art exhibition presents fine art of oil on canvas and charcoal drawings by "Watchara Klakhakhai", Thailand’s prominent artist on realistic approach. The work is inspired by the worldly concept of human being full of passion and lust.
Watchara Klakhakhai .
0 notes
Text
ความรักกับความเหงา
มีน้องสองคนมาชักชวนให้ร่วมเขียนเรื่องสำหรับส่งไปลงในธรรมะใกล้ตัวgclub คนแรกให้หัวข้อความรัก คนถัดมาให้หัวข้อเรื่องความเหงา ผมบอกคนหลังว่าสำหรับผมแล้ว ทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกันที่พูดออกมาจากสองมุมนั่นเอง ลองมาดูกันครับว่าสองอย่างนี้เป็นเรื่องเดียวกันไหมและอย่างไร ตลอดจนมีความเกี่ยวโยง กับพระพุทธศาสนาอย่างไร
��อเข้าเรื่องด้วยการยกสิ่งที่สังเกตได้ล่าสุดจากเว็บแห่งหนึ่งที่ผมแวะไปบ่อย ๆ มาประมาณ ๔ ปี เห็นได้ชัดเจนว่า ปีแรกที่เข้าไป คือราวปี ๒๕๔๕ ชื่อกระทู้ช่วงนั้นไม่มีคำประเภท “เหงา” “เหงาจัง” “อกหัก” “แฟนทิ้ง” “เป็นโสด” ปะปนอยู่ในชื่อกระทู้ให้เห็นเลย แต่มาในช่วงปี ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา เปิดทีไรเป็นต้องเจอกระทู้ที่มีคำว่าเหงาปรากฏให้เห็นในหน้าแรกของเว็บ บางครั้งมีสามกระทู้ในหน้าแรก ซึ่งสิ่งที่ผมมักจะทำทันที ถ้าขณะนั้นพอมีเวลาก็คือ เข้าไปออกความคิดเห็นสั้น ๆ ทันทีว่า ให้ไปหาคำตอบได้ที่ซึ่งเท่าที่ติดตามอ่านดู เจ้าของกระทู้ก็มักจะหายเงียบไปเลยgclub จนไม่ได้ข้อมูลต่อเนื่องว่าเมื่อไปอ่านแล้วเขาเหงามากขึ้นหรือน้อยลงกันแน่
เคยตั้งใจค้นหาคำตอบกันบ้างไหมครับ ว่าความรักคืออะไร และความเหงาคืออะไร ความรักเกี่ยวข้องกับความเหงาอย่างไร ทำไมจึงเหงา เหงามากขึ้นเมื่อไหร่ เหงาน้อยลงเมื่อไหร่ หายเหงาเมื่อไหร่ มีใครบ้างที่ไม่เหงา มีใครบ้างไม่ต้องการความรัก ที่ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน ตั้งใจสร้างฐานะ หาเงินทอง หาคนรัก ไปเรียนหลักสูตร พัฒนาบุคลิกภาพ เรียนการแต่งตัวดีให้คนชื่นชม ทำผมแต่งหน้า หรือผ่าตัดเสริมหล่อเสริมสวยไม่ว่าส่วนใดในร่างกายgclub เกี่ยวข้องกับ ความเหงาหรือไม่อย่างไร
จากที่เห็นและมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและคนรอบ ๆ ตัวมาหลายร้อยกรณีเป็นเวลาหลายปี สรุปได้ว่า
“คนที่กำลังเหงา ถ้าได้รับความรักแล้วจะหายเหงา ส่วนคนที่ไม่เหงา ก็ไม่ค่อยเห็นว่าความรักจะสำคัญถึงขนาดขาดไม่ได้ เหมือนคนที่กำลังเหงาจับจิต”
อารัมภบทมาพอแก่การระลึกถึงความเหงาของผู้อ่านแล้ว คราวนี้ขอแจกแจงสิ่งที่ผมได้เรียนรู้มาจากทั้ง ครูบาอาจารย์gclub และจากสิ่งที่ประสบมาว่า ความเหงาคือความอยากรู้ว่าเรามีตัวตนครับ และวิธี ดับความเหงา มีสองวิธี
วิธีที่ ๑ นั้นเป็นการดับแบบชั่วคราว คือหาสิ่งกระทบประสาท สัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ที่แสดงว่าเรามีตัวตน โดยเฉพาะการที่มีคนอื่นมาให้ความสำคัญกับเรา ซึ่งก็คือสิ่งที่เรียกกันว่า ความรัก คำบอกรัก อาการแสดงความรักไม่ว่าด้วยคำพูดหรือการกระทำจากคนรักนั่นเอง ซึ่งวิธีพื้น ๆ ก็เช่น การกิน ��ื่ม ดูหนัง สูบบุหรี่ อ่านหนังสือ กระหน่ำทำงานgclub นี่ก็เพื่อให้เรารู้สึกว่าเรามีตัวตน ซึ่งจะ ช่วยดับความเหงาลงได้
และวิธีที่ ๒ ที่นำไปสู่การดับความเหงาอย่างถาวร คือการเฝ้ารู้ เฝ้าดูสิ่งใดก็ตามที่แสดงถึงความเป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เป็นของเรา เพื่อทำความรู้จักกับมันอย่างชัดเจน และถ่องแท้ว่ามันเป็นเรา เป็นของเราได้ตลอดไปโดยไม่สูญหายจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียง ความเข้าใจผิด ยึดถือผิดของเราเองโดยไม่ยอม เปิดใจรับความเป็นจริง และสุดท้าย เฝ้าดูไปจนกว่าจะรู้ว่า ความเป็นตัวเป็นตน ความยึดว่าเป็นของเรานั้น โดยแท้จริงแล้วนั้น นำมาซึ่งสุขหรือ ทุกข์กันแน่
คนที่เหงา แม้อยู่ท่ามกลางฝูงชน เช่น ในคอนเสิร์ต แต่ไม่มีใคร สนใจหรือใส่ใจเขาก็เหงาได้ ในทางตรงกันข้าม การอยู่กับคนที่มั่นใจ เชื่อใจจากความเห็นชัดแล้วว่า รักเขาอย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง เพียงสองคนกลางป่าลึก แม้คนรักนั้นจะออกไปหาอาหาร วันสองวัน ก็ไม่รู้สึกเหงา เพราะรู้สึกถึงความรักนั้นอยู่ เรียกว่าใจมีเครื่องอยู่
อันเป็นความรักความเมตตาจากคนรักของเขานั่นเอง
คนที่เหงา เมื่อได้รับความรักความใส่ใจ จะมีความสุขความสดชื่น ขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่คนที่ไม่เหงา หรือคนที่ได้รับความรัก มากอยู่แล้ว แม้จะได้รับความรักเพิ่มขึ้น ก็ไม่รู้สึกอะไรเป็นพิเศษ และอาจจะรำคาญเสียด้วยซ้ำที่ไปยุ่งกับเขามากเกินไป กรณีนี้แสดงให้เห็นถึงใจของคนเหงาอันเป็นใจ ซึ่งไม่มีที่อยู่ จึงแสวงหาที่อยู่ที่พักใจกับอีกใจหนึ่งซึ่งมีที่อยู่อยู่แล้ว จึงไม่ได้แสวงหา แม้จะมีที่อยู่ใหม่ มาเสนอให้ ก็ไม่ได้ดีใจเพราะไม่ได้แสวงหา ไม่เหมือนกับใจที่ยังเหงา ยังแสวงหาที่อยู่ที่พัก ที่เมื่อได้รู้ว่าจะได้ที่อยู่ที่พักใจ ก็ย่อมจะสงบ ลงไปได้เพราะใจหยุดแสวงหา และความสงบลงนั้นเอง ที่เป็นเหตุ ของความสุข
ใจที่สงบลงจากความหวังว่าจะได้ที่อยู่ที่พักซึ่งหมายถึงการมีคนมาจีบอันนำให้เกิดความหวังว่าจะได้ที่พัก หรือนำไปสู่ความเห็นว่าตนเองมีความสำคัญ คือมีตัวตนขึ้นมา จึงสงบลงเพราะการหยุด แสวงหาชั่วคราวนั้น เป็นลักษณะของการสงบลงจากความหวัง ยังไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง และแม้จะได้ตกลงเป็นแฟนกันจริง ๆ ไปแล้ว ก็เป็นการสมมุติว่าเป็นแฟนกัน ตั้งอยู่บนสัจจะและความซื่อตรงของคู่สัญญาที่ทำความตกลงกันนั้น ซึ่งทั้งหมดนั้น ก็ยังตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน เพราะคนที่ทำความตกลงนั้น ยังสามารถเปลี่ยนใจได้ หรืออาจจะล้มหายตายจากกันไปเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะไม่มีใครสามารถระบุหรือกำหนดวันตายของตนเอง และคนรอบตัวได้ ซึ่งทุกคนก็รู้แน่��่าตนเอง และทุกคนรอบ ๆ ตัวจะต้องตายไม่วันใดก็วันหนึ่ง
กลับมาเรื่องความรักกันบ้าง อันที่จริงในพุทธศาสนาไม่ได้นิยามเรื่องความรัก แต่ที่ใกล้เคียงที่สุดกับความรักก็คือพรหมวิหารธรรมอันประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งในความเมตตานั้นก็จำเป็นจะต้องมีอุเบกขา จึงจะเป็นเมตตาที่แท้จริง ถ้าไม่มีอุเบกขา ก็ไม่ใช่เมตตาเพราะพร้อมจะพลิกไปกลายเป็นเหตุแห่งทุกข์ของผู้นั้นได้เสมอ
เมื่ออ้างอิงถึงเมตตา ก็ควรลงรายละเอียดสักเล็กน้อยว่าเมตตานั้น หมายถึงเจตนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข คือเป็นบวก
ซึ่งต่างจากกรุณาอันหมายถึงความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ คือจากติดลบเป็นศูนย์ ส่วนมุทิตานั้นหมายถึงความพลอยยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี ซึ่งผู้ที่มีมุทิตาย่อมมีความสุขแม้เพียงได้เห็นหรือได้รับทราบว่ามีผู้ใดเป็นสุข
เขียนมาถึงตรงนี้ เกิดระลึกถึงใจความส่วนหนึ่งของข้อความในนิยายจีนกำลังภายในที่เคยผ่านตามาคือ “ฤทธิ์มีดสั้น” ผู้แต่งคือ โกวเล้ง ส่วนผู้แปลคือ น.นพรัตน์ ว่าคนที่อยากตายนั้น จะไม่อยากตายอีกต่อไป เมื่อรู้ว่าตนเองเป็นประโยชน์กับคนอื่น และคนจะเป็น ประโยชน์กับคนอื่นได้ ก็ด้วยการทุ่มเทช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มกำลังความสามารถ ซึ่งคนเช่นนั้นจะไม่รู้สึกอยากตายเลย ซึ่งพอแปลได้ว่า คนที่ฆ่าตัวตายหรืออยากตายนั้น ต้องไม่ใช่คนที่ทุ่มเททำประโยชน์กับส่วนรวมด้วยเจตนาเพื่อให้ แต่เป็นผู้ที่มีนิสัยเรียกร้อง พูดสั้น ๆ คือ เสพมากกว่าสร้างนั่นเอง
ย่อหน้าข้างบน เชื่อมโยงกันกับคำพูดที่พูดต่อ ๆ กันมาให้ ได้ยินเสมอ ๆ ไม่ว่าจะชาติใดภาษาใด ที่ว่าต้องรักตนเองเป็นเสียก่อน จึงจะสามารถรักผู้อื่นเป็น สิ่งที่ขอเสริมในประเด็นนี้ก็คือ คนจะ รักตนเองเป็นนั้น จะต้องเป็นผู้ที่ทำตัวให้เป็นประโยชน์กับคนอื่น คือรู้จักการให้ด้วยพรหมวิหารธรรม คือให้หรือทำสิ่งต่าง ๆ ให้ด้วย
เจตนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข พ้นทุกข์ รวมทั้งเป็นผู้ที่พลอยยินดีเมื่อเห็น ผู้อื่นได้ดีเท่านั้น ซึ่งผู้ที่มีพรหมวิหารธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถรัก ผู้อื่นเป็น คือรักโดยไม่ก่อทุกข์กับตนเองและไม่ ก่อทุกข์กับผู้อื่นด้วย
ที่กล่าวมาก่อนหน้า เป็นเรื่องของความรักที่เชื่อมโยงกับเรื่องทางธรรม อธิบายด้วยธรรมถัดจากนั้น สิ่งที่ควรแก่การกล่าวถึงก็ควร จะเป็นความรัก และการอยู่ร่วมกันเป็นคู่ ซึ่งสิ่งที่จะนำเสนอในที่นี้ก็คือ ความรัก และการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ซึ่งดูจะเป็นความปรารถนาของคนในโลกแทบทุกคน ซึ่งปัจจัยสำคัญของการอยู่ร่วมกัน
ของคนสองคนอย่างยั่งยืนนั้นก็คือความสมดุลในความสัมพันธ์ ซึ่งความสมดุลนี้หมายถึงการที่ทั้งสองฝ่ายทำสิ่งต่าง ๆ เท่า ๆ กัน���ดยไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแบกอยู่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งปัญหาหลัก ระหว่างคนสองคนที่จะมาอยู่ร่วมกันนั้น ไม่ได้อยู่ที่ความสุขที่เกิดจาก การอยู่ร่วม หากแต่เกิดจากความขัดแย้ง ซึ่งเมื่อความขัดแย้งเกิด สิ่งที่จะต้องเกิดตามมา เพื่อสะสางความขัดแย้ง ก็คือการปรับตัว เข้าหากัน ซึ่งการปรับตัวเข้าหากันนี่เอง ที่เป็นสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายต้อง ช่วยกันรักษาให้เกิดความสมดุล กล่าวให้ชัดเจนก็คือ ทั้งสองฝ่าย จะต้องปรับตัวคนละครึ่ง และต้องไม่ปล่อยปละละเลยต่อการรักษาให้การปรับตัวของทั้งสองฝ่ายอยู่ในสภาพ ฉันครึ่งเธอครึ่งอย่าง สม่ำเสมอ ไม่ใช่ปล่อยหรือเรียกร้องให้อีกฝ่ายปรับโดยที่ตนเองไม่ยอมปรับเลย
การปรับอยู่เพียงฝ่ายเดียว รวมไปถึงการยอมปรับอยู่เพียง ฝ่ายเดียวนั้น เป็นความไม่สมดุลย์ และความไม่สมดุลย์ที่เกิด จะนำไปสู่ความแตกแยกในที่สุด อันเป็นความแตกแยกจากความ ไม่เสมอภาค เพราะฝ่ายที่ยอมปรับตัวนั้น คือฝ่ายที่เปลี่ยนแปลงตนเอง ซึ่งเมื่อเปลี่ยนแปลงไปมากเข้า จากเดิมที่เหมาะสมกันอยู่ ก็จะค่อย ๆ กลายเป็นไม่เหมาะสมกันทีละเล็กละน้อย จนในที่สุดเมื่อความเหมาะสมกันหมดลง ความรู้สึกรักใคร่ใยดีก็จะหมดลงไปด้วย เพราะความรักใคร่ใยดีระหว่างกันนั้นเกิดจากความสมกันหรือเสมอกันของ ๔ ปัจจัยคือ ศีลเสมอกัน ศรัทธาเสมอกัน ปัญญา เสมอกัน และจาคะเสมอกัน โดยผู้ที่ยอมเปลี่ยนแปลงตนเองเพียงฝ่ายเดียวนั้น คือผู้ที่จะได้พัฒนาจาคะ และปัญญาของตน ให้มากขึ้นทุกครั้งไปนั่นเอง ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้พัฒนาหรือได้พัฒนาน้อยมากเพราะไม่ยอมวาง และไม่ยอมพิจารณาเหตุของความขัดแย้งนั่นเอง
ถัดจากนั้น���อแจกแจงความหมายของศีล ศรัทธา ปัญญา และจาคะว่า
ศีล หมาย ถึงเจตนาจะละเว้นการละเมิดผู้อื่น
ศรัทธา หมายถึงความเชื่อโดยปราศจากการพิสูจน์
ปัญญา หมายถึงระดับความรู้ชัด รู้แจ้งในสิ่งต่าง ๆ ทั้งภายใน ภายนอก
และสุดท้าย จาคะ คือความสามารถในการสละออก ปล่อยวาง ยอมละทิ้ง และทั้งสี่ปัจจัยนี้ เป็นธรรมที่ผู้ที่จะอยู่ร่วมกันต้องมีเสมอกัน ซึ่งเมื่อมีเสมอกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกรักใคร่ใยดีจากใจจริงต่อกันนั่นเอง
สรุปโดยย่อก็คือ ความเหงา เป็นต้นเหตุของการแสวงหา และการแสวงหาหรืออาการทะยานอยาก (ตัณหา) ก็คือเหตุของความทนอยู่ได้ยากหรือทุกข์ทั้งปวง และความเหงาสามารถดับได้ด้วยการเฝ้ารู้เฝ้าดูอยู่ที่ความเป็นตัวเราหรือที่เรียกว่า รู้ตัว หรือสัมปชัญญะไปจนกว่าจะเห็นความจริงว่าโดยแท้แล้ว ความเป็นเรานั้น คือกายนี้หรือไม่ คือเวทนานี้หรือไม่ คือจิตนี้หรือไม่ หรือว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นเรา คือเราหรือไม่ ซึ่งความเห็นที่ได้จากการเฝ้ารู้เฝ้าดูอยู่ที่ความเป็นเรานี่เอง ที่จะทำให้จิตเริ่มรู้จักการปล่อยวางและรู้จักอุเบกขาซึ่งไม่ใช่การวางเฉยไม่ลงมือทำ แต่เป็นการกระทำด้วยจิตที่เป็นกลาง ทำด้วยเมตตา ด้วยกรุณา โดยที่��ู้กระทำไม่ทุกข์ ไม่ว่าผลจะออกมาตรงกันข้ามกับที่หวังหรือไม่ เมื่อเป็นเมตตาและกรุณาที่มีอุเบกขาแล้ว มุทิตาจะเกิดตามมาเอง และเมื่อมีมุทิตาแล้ว ก็เสมือนหนึ่งมีแหล่งกำเนิดอานิสงส์ภายในโดยไม่ต้องลงมือกระทำนั่นเอง
เพียงพลอยยินดีกับผู้ได้ดีหรือทำดีใจก็สงบร่มเย็น และเป็นกุศล โดยไม่ต้องออกแรงเลย ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วความทุกข์ร้อนจะเกิดได้อย่างไร เมื่อใจมีอุเบกขาเป็นภูมิคุ้มกัน ทุกข์จากความผิดหวัง มีสัมปชัญญะเป็นสายตาเฝ้าระวังเส้นทาง มีปัญญาเป็นแสงสว่างไม่ให้เดินหลงออกนอกทาง
0 notes
Photo
สั่งซื้อหนังสือเรื่อง ลองธรรมดู ได้ที่:
http://www.thammasukho.com/th/product/358588/product-358588
ลองธรรมดูผู้เขียน : บุรินทร์ ปัณฑุยากร
เนื้อหาโดยย่อ : "ลองธรรมดู" เล่มนี้ ได้รวมบันทึกธรรมฉบับสื่อด้วยภาพ ของ "เอ็กซ์-บุรินทร์" ศิษย์พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ ที่บวชเมื่อพรรษาที่ 2553 ซึ่งในเล่มได้กล่าวถึงคอนเซปท์ธรรมที่ครอบคลุมหัวข้อธรรมหลักๆ ของพระพุทธศาสนา เช่น อัตตา ตัณหา เวทนา สังสารวัฎ การปฏิบัติธรรม สติ ความสุขความทุกข์ ทางสายกลาง อวิชชา ไว้อย่างย่อๆ จึงเหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ เบื่อธรรมมะ และชอบอ่านการ์ตูน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
รายละเอียดหนังสือ :
ขนาด : 15 x 18.7 x 1.5 ซ.ม.
เนื้อกระดาษ : ปอนด์
จำนวนหน้า : 283 หน้า
น้ำหนัก : 369 กรัม
0 notes