Tumgik
#เทคโนโลยีชีวภาพ
krapalm · 2 years
Text
วว. จับมือ AIST ประเทศญี่ปุ่น จัดงาน AIST – TISTR Mini Joint Symposium แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้งานวิจัยในธีมเทคโนโลยีเกษตร/เทคโนโลยีชีวภาพ
นายสายันต์ ตันพานิช ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยสู่เชิงพานิชย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน AIST – TISTR Mini Joint Symposium ซึ่ง วว. ร่วมกับ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น จัดขึ้นในรูปแบบ Hybrid ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ณ…
Tumblr media
View On WordPress
0 notes
lgbtally4ever · 2 years
Text
THE PROMISE
First three episodes
youtube
youtube
youtube
1 note · View note
digitalmore · 2 years
Text
แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยประเทศไทยครองตำแหน่งสูงสุด ในด้านความพร้อมของประสิทธิภาพต้นทุนเป็นปีที่สองติดต่อกัน
BangkokStyle แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยประเทศไทยครองตำแหน่งสูงสุด ในด้านความพร้อมของประสิทธิภาพต้นทุนเป็นปีที่สองติดต่อกัน
ปัจจุบันตลาดแรงงานทั่วโลกมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี โทรคมนาคม เภสัชกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ และอุปกรณ์การแพทย์ และในขณะเดียวกันก็กำลังเผชิญกับความท้าทา… อ่านเพิ่ม
แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยประเทศไทยครองตำแหน่งสูงสุด ในด้านความพร้อมของประสิทธิภาพต้นทุนเป็นปีที่สองติดต่อกัน BangkokStyle
from BangkokStyle https://ift.tt/adjMl9L
0 notes
soclaimon · 2 years
Text
สกู๊ปพิเศษ : ‘NIA’สานพลัง ‘ขอนแก่น อินโนเวชั่น’ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจบีซีจีปั้นย่านศรีจันทร์-กังสดาล เป็นย่านนวัตกรรมอาหาร-การเกษตร-เทคโนโลยีชีวภาพ
#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า https://www.naewna.com/local/686353 สกู๊ปพิเศษ : ‘NIA’สานพลัง ‘ขอนแก่น อินโนเวชั่น’ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจบีซีจีปั้นย่านศรีจันทร์-กังสดาล เป็นย่านนวัตกรรมอาหาร-การเกษตร-เทคโนโลยีชีวภาพ วันศุกร์ ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และขอนแก่น…
Tumblr media
View On WordPress
0 notes
thfabrictg · 5 years
Photo
Tumblr media
ว้าว! ใช้หนอนไหมเป็นโรงงานผลิตสารต้านแบคทีเรีย
0 notes
flas-ku-kps · 5 years
Photo
Tumblr media
เปิดรับสมัครอบรมและสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค รุ่นที่ 10 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสอบ 1. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หรืออยู่ระหว่างรออนุมัติให้เป็นสมาชิก) 2. มีความรู้ในวิชาชีพวิทยาศาสตร์โดยได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรเทียบเท่าปริญญา ทางด้านวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยา ชีววิทยา ชีวเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ โรคพืชวิทยา หรือ 3. ผ่านการฝึกอบรมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค จากหน่วยงานที่สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้การรับรอง รายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/330Me5r คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม 1. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค รายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/2N3Jvmu วันที่รับสมัคร : บัดนี้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 วันที่อบรม : วันที่ 9 - 12 ธันวาคม พ.ศ.2562 (รวม 4 วันทำการ) วันและเวลาสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ : วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2562 เวลา 09.00 - 16.30 น. วันประกาศผลสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ : วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 สถานที่จัดอบรมและสอบ : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมัครได้ที่ https://forms.gle/poq3akV39ZKiCKfJA https://www.instagram.com/p/B5McpwvBj6a/?igshid=4veu5pq8n9eo
0 notes
Text
โตชิบา เผยมุมมองโลกอนาคต หลอมรวมไซเบอร์และกายภาพ
Tumblr media
ในปัจจุบัน การค้นหาทางอินเทอร์เน็ต การสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก การจัดเก็บรูปและภาพยนตร์บนระบบคลาวด์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Google, Apple, Facebook และ Amazon (หรือที่เรียกรวมกันว่า กลุ่มบริษัท GAFA) ล้วนกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของเรา อย่างไรก็ตาม การดำเนินชีวิตของมนุษย์เราไม่ได้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมบนโลกไซเบอร์ที่ปรากฏอยู่เพียงบนเซิร์ฟเวอร์หรือเน็ตเวิร์กเท่านั้น เพราะเรายังอาศัยอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงหรือโลกกายภาพ ฉะนั้น ข้อมูลต่างๆ จะเกิดคุณค่าอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อเราสามารถเชื่อมต่อข้อมูลเหล่านั้นเข้ากับสิ่งต่าง ๆ ในโลกกายภาพเท่านั้น โตชิบา คอร์ปอเรชั่น มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรชั้นนำในการแก้ไขปัญหาทางสังคมด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีโลกไซเบอร์และโลกกายภาพ หรือโลกแห่งความเป็นจริง เทคโนโลยีที่โดดเด่นของโตชิบามีอะไรบ้าง และโลกแบบใดที่ทางบริษัทต้องการจะสรรค์สร้าง เราจะไปหาคำตอบจากการสัมภาษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีของโตชิบา ดร. ชิโระ ไซโตะ คำถาม: แผนธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า โตชิบา “วางเป้าหมายในการเป็นองค์กรชั้นนำด้านเทคโนโลยี Cyber Physical Systems (CPS) ระดับโลก” นั่นหมายความว่าเทคโนโลยีที่ผสมผสานโลกเสมือนและโลกจริงจะเป็นที่ต้องการอย่างมากในอนาคตใช่หรือไม่ ไซโตะ: ตั้งแต่ยุค 1990s การปฏิวัติด้านไอทีซึ่งมุ่งเน้นที่อินเทอร์เน็ตและเซมิคอนดักเตอร์กลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของโลก และเกิดการสร้างมูลค่าจากการพัฒนารูปแบบธุรกิจที่ตั้งอยู่บนวิธีการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เมื่อไม่นานมานี้ เราให้ความสนใจไปที่กลุ่มบริษัท GAFA หรือที่เมื่อก่อนเรียกกันว่า GAFMA โดยรวมบริษัท Microsoft เข้าไปด้วย แต่ในตอนนี้ใช้กล่าวถึงสี่บริษัทผู้เล่นหลักในการปฏิวัติด้านดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ไปจนถึงการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดมูลค่า อย่างไรก็ดี นวัตกรรมที่สามารถก่อให้เกิดการปฏิรูป หรือจุดชนวนให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมนั้นยังไม่เกิดขึ้น และในยุคสมัยที่เราใช้ชีวิตกันอยู่นี้ การใช้เทคโนโลยีให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริงกลายเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง
Tumblr media
แต่ถึงกระนั้น เราจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันศาสตร์เทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) มีวิวัฒนาการที่โดดเด่นน่าสนใจ เราจึงเชื่อว่าในเวลาอีกไม่กี่ปี กุญแจสำคัญจะอยู่ที่การหาวิธีบูรณาการเทคโนโลยีไซเบอร์ต่าง ๆ เหล่านี้เข้ากับเทคโนโลยีในโลกจริง เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาการหุ่นยนต์ และระบบเซ็นเซอร์ คำถาม: เทคโนโลยีโลกเสมือนจะเชื่อมต่อเข้ากับโลกกายภาพหรือโลกแห่งความจริงได้อย่างไรบ้าง ไซโตะ: อย่างแรกเลย ถึงแม้เราจะใช้คำว่า ไซเบอร์ แต่อยากให้มองภาพว่ามันคือสมองมนุษย์ ส่วนกายภาพก็คือพวกผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์เครื่องจักร วัสดุ ระบบ และบริการต่าง ๆ ที่เราเห็น หรือใช้กันในชีวิตประจำวัน ซึ่งทุกวันนี้ เราใช้เทคโนโลยีระบบเซ็นเซอร์และเน็ตเวิร์กมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการรวบรวมข้อมูลจากการดำเนินงาน และจากระบบและบริการทั้งหลาย จากนั้นเราจึงใช้ AI หรือเทคโนโลยีอื่นเข้ามาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลในโลกไซเบอร์ แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้สู่โลกแห่งความเป็นจริง เช่น วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม การคาดการณ์ และแผนงานต่าง ๆ ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าให้กับเทคโนโลยีโลกกายภาพ สินค้า และบริการต่าง ๆ เราเชื่อว่ากระบวนการทำซ้ำๆ นี้จะส่งผลให้เกิดเทคโนโลยี สินค้า และบริการใหม่ ๆ ขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้คือ “cyber-physical system” หรือ CPS นั่นเอง และนี่คือลักษณะขององค์กรที่เราต้องการจะเป็น จริงๆ แล้วคำจำกัดความนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่เลย มันเป็นแนวทางการวิจัยที่เราใช้มาตั้งแต่ปี 2012 ในขณะที่ผมยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาของโตชิบา เมื่อมองในอีกมุมหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าเราเดินทางมาถึงจุดที่เราสามารถนำเป้าหมายงานวิจัยมาเป็นเป้าหมายในธุรกิจได้แล้ว คำถาม: ในโลกที่มีการบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีไซเบอร์และกายภาพ คุณคิดว่าอะไรคือสิ่งที่จะทำให้โตชิบาประสบความสำเร็จ ไซโตะ: อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้วว่า เราเชื่อว่ากระบวนการทำซ้ำๆ ระหว่างเทคโนโลยีไซเบอร์ กับเทคโนโลยีกายภาพ ที่ว่าจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เราสามารถจะส่งมอบอุปกรณ์และระบบที่จะส่งข้อมูลไปยังไซเบอร์สเปซ ซึ่งมันจะถูกจัดการและวิเคราะห์ และถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยบริษัทที่ดูแลในส่วนของการซ่อมบำรุงและการดำเนินการต่างๆ และสามารถปฏิบัติตามกระบวนการซ้ำ ๆ เพื่อให้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์สูงสุด ถ้ากลับมามองโตชิบาในวันนี้ เราได้สั่งสมเทคโนโลยีและความรู้มากมายในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการในธุรกิจหลัก อาทิ ธุรกิจพลังงาน ซึ่งรวมถึงโรงงานไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม โดยเรามีความเชี่ยวชาญหลากหลายด้าน ตั้งแต่การวางระบบโครงสร้างอาคาร ไปจนถึงระบบทางรถไฟ ความสำเร็จและความเชื่อมั่นที่เราได้รับจากการดำเนินธุรกิจมาเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่ใช่สิ่งที่สามารถทำได้ในชั่วข้ามคืน ความรู้พื้นฐานที่เรามีในส่วนของโลกกายภาพทำให้เรามีแหล่งข้อมูลหรือ “ทรัพย์สินทางปัญญา” ที่มีค่าอย่างยิ่ง นอกจากนี้ เราก็ยังได้สั่งสมความรู้ด้านเทคโนโลยี AI มาเป็นเวลาหลายปีเช่นกัน ซึ่งนี่จะเป็นขุมทรัพย์ที่แท้จริงที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทซึ่งผลิตสินค้าด้านเทคโนโลยี และผมเชื่อว่า การหลอมรวมของสององค์ความรู้นี้จะส่งผลให้เรามีศักยภาพเพียงพอที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในโลกยุคที่เทคโนโลยีโลกเสมือนและโลกจริงบูรณาการเข้าหากัน คำถาม: สินค้าและบริการประเภทใดบ้างที่เกิดขึ้นจากการหลอมรวมของเทคโนโลยีโลกเสมือนและโลกจริง ไซโตะ: เราสามารถบอกได้ว่า ที่โตชิบา มีเทคโนโลยีหลายอย่างที่เรากำลังพัฒนา หนึ่ง��นนั้นคือ โรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant: VPP) โดยที่เราใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) เข้ามาประสานงานระหว่างแหล่งไฟฟ้าแต่ละแหล่ง เช่น แหล่งผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานไฮโดรเจน รถยนต์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์ตใหม่ได้หลายครั้ง เพื่อเชื่อมต่อการปฏิบัติงานราวกับเป็นโรงงานไฟฟ้าแห่งเดียว นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ IoT ช่วยในการวิเคราะห์การประหยัดพลังงาน และปริมาณพลังงานที่ลดได้ รวมถึงช่วยควบคุมผลการวิเคราะห์ผ่าน AI และการประมาณการณ์การใช้พลังงาน ยิ่งไปกว่านั้น เรายังร่วมมือกับลูกค้าในการสร้างกลไกควบคุมแหล่งการจ่ายพลังงานและอุปกรณ์ไฟฟ้าในฝั่งของลูกค้าเพื่อจัดการอุปทานพลังงานได้อย่างเหมาะสม อีกตัวอย่างหนึ่ง คือระบบทางรถไฟ โดยเรามีหัวรถจักรแบบไฮบริดที่มีเครื่องยนต์ประสิทธิภาพสูงใช้งานด้วยแบตเตอรี่และแม่เหล็กถาวร คุณสมบัติหลักที่หัวรถจักรพวกนี้จำเป็นต้องมีคือ ความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีเยี่ยม
Tumblr media
แต่ในอนาคต ผมคิดว่าเราสามารถปรับปรุงแผนงานการซ่อมบำรุงและแผนปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น โดยการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลการดำเนินงานผ่านการเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์กต่าง ๆ วิทยาการหุ่นยนต์คือ ศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่เราผลักดันให้เกิดการบูรณาการทางเทคโนโลยี โดยเราใช้เทคโนโลยีระบบเซนเซอร์และระบบควบคุมเข้ามาพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถจัดการระบบโลจิสติกส์ได้อัตโนมัติ และออกแบบเทคโนโลยี เพื่อเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลสถานะการปฏิบัติงาน รวมถึงสั่งการหุ่นยนต์จำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยุคแห่งแบตเตอรี่ ไนโอเบียมไททาเนียมออกไซด์ คำถาม: ในส่วนของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทางโตชิบาดูแลอยู่ในตอนนี้ มีเทคโนโลยีเฉพาะทางด้านใดบ้างที่ทางบริษัทตั้งใจจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ไซโตะ: ธุรกิจของโตชิบา คอร์ปอเรชั่น มีขอบเขตกว้างขวางมาก ทั้งชิ้นส่วน หรือระบบในด้านพลังงาน โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เซมิคอนดักเตอร์และการจัดเก็บข้อมูล แต่ด้านที่เราให้ความสำคัญเป็นหลักคือ แบตเตอรี่แบบชาร์จได้ใหม่หลายครั้งภายใต้ชื่อ SCiB™ ด้วยการออกแบบที่ใช้โลหะออกไซด์อย่างลิเธียมไททาเนทเป็นวัสดุขั้วลบ เราจึงได้แบตเตอรี่ที่มีความสามารถในการเก็บและปล่อยพลังงานอย่างรวดเร็ว มีความปลอดภัยสูง และมีอายุการใช้งานยาวนาน เราได้ทำการผลิตและจัดจำหน่ายแบตเตอรี่ SCiB™ มาตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยเกิดอุบัติเหตุใด ๆ เลย อายุขัยในการใช้งานก็น่าทึ่งมาก ด้วยความจุพลังงานสูงกว่า 70% หลังจากการชาร์ตกว่า 20,000 รอบ2 ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ชัดเจนว่าเหตุใดมันจึงเหมาะกับการใช้งานในยานพาหนะและอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างยิ่ง งานวิจัยแบตเตอรี่ของเราในตอนนี้ มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มขีดความสามารถ และการปล่อยพลังงานให้สูงยิ่งขึ้น เรากำลังทดสอบวัสดุใหม่คือ ไนโอเบียมไททาเนียมออกไซด์ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะใช้วัสดุนี้เพิ่มความจุของแบตเตอรี่ถึง 1.5 เท่าของแบตเตอรี่ SCiB™ ในปัจจุบัน
Tumblr media
แบตเตอรี่โตชิบา SCiB ภายในตัวแบตเตอรี่จะมีชิ้นส่วนที่เรียกว่า เซปพาเรเตอร์ หรือแผ่นกั้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของชิ้นส่วนนี้ ช่วยให้เราพัฒนาทั้งความจุ และการปล่อยพลังงานได้ดีขึ้น และในอนาคตเราคาดว่าเมื่อมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย ธุรกิจให้เช่ารถระยะสั้นก็จะเติบโตตาม ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้แบตเตอรี่ที่มีความสามารถในการชาร์ตและปล่อยพลังงานได้อย่างรวดเร็วเป็นที่ต้องการ เซมิคอนดักเตอร์ หรือ สารกึ่งตัวนำ คือ อีกหนึ่งด้านที่เรายังคงให้ความสำคัญ เรากำลังพัฒนาอุปกรณ์สำหรับการใช้งานในอิเล็กทรอนิกส์กำลัง การใช้งานกับยานพาหนะ เครื่องมืออุตสาหกรรม และระบบการจ่ายไฟฟ้า ที่ทนทานต่อกระแสไฟฟ้าแรงสูงหลายพันโวลต์ นอกจากนี้ เรายังพัฒนาสารกึ่งตัวนําประเภทสารประกอบ (Compound semiconductor) รูปแบบใหม่ซึ่งใช้ SiC (ซิลิคอนคาร์ไบด์) และ GaN (แกลเลียมไนไตรด์) ในการปรับปรุงเพื่อให้มีขนาดเล็กลงแต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น ในส่วนของการใช้งานกับยานพาหนะ เรามองถึงยานพาหนะไร้คนขับในอนาคต และกำลังพัฒนาหน่วยประมวลผลภาพและเซนเซอร์วัดระยะทางที่มีความแม่นยำสูง ปัจจุบัน ในอุตสาหกรรมการคมนาคม รถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามามีบทบาทสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน โดยยึดหลักการสำคัญคือ CASE ซึ่งย่อมาจาก Connectivity การเชื่อมต่อ Autonomous การทำงานอัตโนมัติ Shared การแบ่งปัน และ Electric ไฟฟ้า เมื่อเรานึกถึงปัจจัยที่จะนำไปสู่การพัฒนายานพาหนะไร้คนขับ ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทางโตชิบาครอบครองอยู่ เช่น แบตเตอรี่ หรือเซมิคอนดักเตอร์ จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ มุมมองนี้ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้และความสามารถของผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ คำถาม: หากมองในด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI การวิจัยและพัฒนาของทางโตชิบาเป็นไปในทิศทางใด ไซโตะ: เรามีการพัฒนาเทคโนโลยี AI มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยในการจัดการปัญหาพื้นฐานต่าง ๆ ในพื้นที่การทำงาน อย่างที่ผมได้บอกไปก่อนหน้านี้ว่า เราได้สั่งสมองค์ความรู้มาเป็นเวลาหลายปี นั่นรวมถึงเครื่องอ่านรหัสไปรษณีย์อัตโนมัติ และเครื่องแยกจดหมาย ซึ่งเราได้ประดิษฐ์ขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปี 1960s เราวางเป้าหมายในการพัฒนาเทคโนโลยี AI ด้วยการตั้งคำถามอย่างเช่น เราสามารถหาทางแก้ไขปัญหาอะไรได้บ้างในไซต์งานที่เต็มไปด้วยข้อมูลมากมายมหาศาล หรือในไซต์งานที่ต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์ในการทำงาน ตัวอย่างในที่นี้เช่น เทคโนโลยีช่วยวิเคราะห์ความเสื่อมของตัวเชื่อม เทคโนโลยีช่วยประเมินระดับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีความเที่ยงตรงสูง ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารทางเสียงได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีการจดจำและการสังเคราะห์เสียง ในขณะที่เราพยายามใช้องค์ความรู้ที่มีอย่างเต็มที่ เราก็ยังได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาผ่านความร่วมมือกับองค์กรการวิจัยต่าง ๆ ส่วนในแง่ของทิศทางในการพัฒนานั้น เรากำลังก้าวผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ต้องการมนุษย์เข้ามาดูแลการทำงาน ซึ่งมุ่งเน้นในการหาวิธีดำเนินการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยที่เรารู้วิธีการทำงานอยู่แล้ว แต่เรากำลังผลักดันการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และไม่จำเป็นต้องมีมนุษย์เข้ามาช่วยในการสอนงานอีกต่อไป ดูเหมือนว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ซึ่งโลกไซเบอร์กับโลกกายภาพกำลังหลอมรวมเข้าด้วยกัน เป็นโลกที่ต้องการนักวิจัยและวิศวกรที่จะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี AI ซึ่งขีดความสามารถไม่ได้จำกัดเพียงแค่การวิเคราะห์และคาดการณ์ สมรรถภาพการทำงานสำหรับอุปกรณ์หรือระบบอย่างแม่นยำ แต่รวมไปถึงข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์เหล่านั้นด้วย โดยในส่วนนี้ มันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดตามกรอบเดิม ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา การสร้างคุณค่าทั้งภายในและภายนอกองค์กร และการพัฒนาองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ลิงค์ข่าวที่เกี่ยวข้อง โตชิบา Read the full article
0 notes
krapalm · 2 years
Text
แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยประเทศไทยครองตำแหน่งสูงสุด ในด้านความพร้อมของประสิทธิภาพต้นทุนเป็นปีที่สองติดต่อกัน
ปัจจุบันตลาดแรงงานทั่วโลกมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี โทรคมนาคม เภสัชกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ และอุปกรณ์การแพทย์ และในขณะเดียวกันก็กำลังเผชิญกับความท้าทายในด้านประสิทธิภาพต้นทุนและความพร้อมของบุคลากร องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักของปัจจัยต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อความยั่งยืนในระยะยาว…
Tumblr media
View On WordPress
0 notes
smartsme · 6 years
Text
‘Food Tech อิสราเอล’ หนึ่งการหาทางออกด้านอาหารให้คนทั้งโลก
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเทลอาวีฟ รายงานว่า ขณะนี้ Food Tech หรือการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหาร กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในอิสราเอล เนื่องจากมีบริษัทมากมายเข้ามาลงทุน เพราะคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.6 พันล้านคน และจะมีความต้องการอาหารมหาศาล จึงต้องวางแผนการผลิตและบริหารจัดการให้กับอาหารของโลก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการจัดตั้ง Food Technology Incubator แห่งใหม่ที่เมือง Safed ทางตอนเหนือของประเทศอิสราเอล โดยมีศูนย์วิจัยทางวิชาการ ความร่วมมือจากสถาบันวิจัยต่างๆ และบริษัทด้านการผลิตอาหารขนาดใหญ่ที่จะช่วยส่งเสริมบริษัทสตาร์ทอัพ ในการพัฒนานวัตกรรมด้านฟู้ดเทคในอิสราเอล ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทด้านฟู้ดเทคกว่า 400 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากอิสราเอลต้องการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมฟู้ดเทคให้กลายเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมอาหารของโลกในอนาคต
ฟู้ดเทค ไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาอาหารเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงกระบวนการผลิตที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และเก็บได้นานขึ้น พ���้อมกับผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการ เช่น รสชาติที่ดี ให้ประสบการณ์ใหม่ รวมถึงรูปแบบบริการ นอกจากนี้ ยังต้องมองถึงความต้องการที่หลากหลาย ทั้งทางด้านรสนิยม วัฒนธรรม ไปจนถึงสุขภาพ เช่น การผลิตนมสำหรับผู้ที่แพ้โปรตีนบางชนิด, การผลิตน้ำผลไม้ที่ผ่านกระบวนสกัดน้ำตาลออกจนเป็นน้ำผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ ฯลฯ
และยังรวมถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ใน Supply Chain ช่องทางจัดจำหน่ายอาหารด้วย ช่วงแรกเริ่มในปี 2011  Food Tech เกิดขึ้นจาก Platform Marketplace ที่เชื่อมเกษตรกรกับผู้ซื้อเข้าด้วยกันในฝรั่งเศส ทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงอาหารและวัตถุดิบคุณภาพดีจากมือเกษตรกรท้องถิ่นได้โดยตรง ส่วนเกษตรเองก็ได้พื้นที่วางขายสินค้าที่แน่นอน ทั้งยังส่งเสริมให้เกิด Community ระหว่างกัน ช่วยให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพและบริการที่ดียิ่งขึ้น โดยมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกันดังนี้
BioTech (เทคโนโลยีชีวภาพ) เพราะอาหารที่เรากินทุกวันนี้ล้วนมาจากสิ่งมีชีวิตบนโลก เพื่อพัฒนาคุณภาพของอาหาร นวัตกรรมจาก Biotechnology จึงถูกนำมามาใช้ เช่น การทำเนื้อสัตว์จากส่วนผสมของพืช ซึ่งต้องใช้การสกัดและสังเคราะห์โปรตีนชนิดพิเศษ ฯลฯ
AgriTech หรือ Agricultural Technology (เทคโนโลยีด้านการเกษตร) เราจะผลิตอาหารได้มากอย่างทุกวันนี้ไม่ได้ หากขาดการเทคโนโลยีด้านการเกษตรกรรม ทั้งการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งทุกวันนี้ มีการผสานเทคโนโลยีด้านการเกษตร เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพสูง รวมไปถึงการคิดค้นนวัตกรรมทางการเกษตรใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Health Tech (เทคโนโลยีด้านสุขภาพ) อาหารที่ดีจะต้องให้พลังงานอย่างเหมาะสมแก่ร่างกาย ซึ่งเราจะไม่สามารถรู้จุดที่เหมาะสมได้หากขาดการพัฒนาด้าน Health Tech ดังนั้น การพัฒนาด้าน Health Tech จึงตอบโจทย์การพัฒนาเทคโนโลยีอาหาร ว่าควรไปในทิศทางใด ในอนาคตอาจมีอาหารที่ปรุงขึ้นเพื่อให้มีสารอาหารเหมาะสมกับร่างกายอย่างไรบ้าง
ซึ่ง Food Tech ไม่ได้ถูกพัฒนามาเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึง Solution ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมจากการผลิตอาหารในปัจจุบัน โดยปัจจุบันมี Solution การผลิตอาหารที่ช่วยแก้ปัญหาของโลก ได้แก่
การลดคาร์บอนจากการเกษตรกรรม เนื่องจากการเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อมลภาวะแก่โลกมากอย่างไม่น่าเชื่อ โดยก่อก๊าซเรือนกระจกเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ทั้งยังต้องใช้น้ำและพื้นที่จำนวนมาก ดังนั้น การพัฒนาโปรตีนสังเคราะห์มาทดแทนเนื้อสัตว์จึงมีส่วนช่วยลดมลภาวะ การใช้พื้นที่และทรัพยากรต่างๆได้
เพิ่มผลผลิตโดยไม่ต้องขยายพื้นที่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเกษตรต้องอาศัยพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพ จึงเกิดการรุกล้ำพื้นที่ป่าจำนวนมาก โดยฟู้ดเทคที่ผสานกับ Agri Tech จะช่วยแก้ปัญหาจุดนี้ได้ด้วยการปรับปรุงวิธีการเพาะปลูกที่สามารถเพิ่มผลผลิตในพื้นที่เดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กำจัดขยะจากอาหารด้วยการ Recycle ปัจจุบันมีขยะจากอาหารมากกว่า 33 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันมีการคิดค้นนวัตกรรมจาก ฟู้ดเทคเพื่อใช้ Recycle ขยะจากอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น Re-Nuble บริษัทสตาร์อัพจากสหรัฐฯ ที่นำขยะจากอาหารมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ โดยสามารถลดได้ทั้งขยะ การปรับปรุงวิธีเพาะปลูก และเพิ่มคุณภาพผลผลิตในเวลาเดียวกัน
The post ‘Food Tech อิสราเอล’ หนึ่งการหาทางออกด้านอาหารให้คนทั้งโลก appeared first on Smart SME.
from WordPress https://ift.tt/2NIqbMJ via IFTTT
0 notes
digitalmore · 2 years
Text
วว. จับมือ AIST ประเทศญี่ปุ่น จัดงาน AIST – TISTR Mini Joint Symposium แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้งานวิจัยในธีมเทคโนโลยีเกษตร/เทคโนโลยีชีวภาพ
BangkokStyle วว. จับมือ AIST ประเทศญี่ปุ่น จัดงาน AIST – TISTR Mini Joint Symposium แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้งานวิจัยในธีมเทคโนโลยีเกษตร/เทคโนโลยีชีวภาพ
นายสายันต์ ตันพานิช ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยสู่เชิงพานิชย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเป… อ่านเพิ่ม
วว. จับมือ AIST ประเทศญี่ปุ่น จัดงาน AIST – TISTR Mini Joint Symposium แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้งานวิจัยในธีมเทคโนโลยีเกษตร/เทคโนโลยีชีวภาพ BangkokStyle
from BangkokStyle https://ift.tt/1utQw5G
0 notes
chacrits · 9 years
Text
เทคโนโลยีชีวภาพกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
นักศึกษาวิชา น.๖๘๑ กฎหมายสิ่งแวดล้อมชั้นสูง สามารถชม จัดเก็บหรือพิมพ์ สไลด์ประกอบการศึกษา เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพกับการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
//www.scribd.com/embeds/287616832/content?start_page=1&view_mode=&access_key=key-aXkC75h7PTvyd3kECaxa View this document on Scribd
View On WordPress
0 notes
krapalm · 2 years
Text
แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยประเทศไทยครองตำแหน่งสูงสุด ในด้านความพร้อมของประสิทธิภาพต้นทุนเป็นปีที่สองติดต่อกัน
ปัจจุบันตลาดแรงงาน��ั่วโลกมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี โทรคมนาคม เภสัชกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ และอุปกรณ์การแพทย์ และในขณะเดียวกันก็กำลังเผชิญกับความท้าทายในด้านประสิทธิภาพต้นทุนและความพร้อมของบุคลากร องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักของปัจจัยต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อความยั่งยืนในระยะยาว…
Tumblr media
View On WordPress
0 notes
smartsme · 6 years
Text
บอร์ด BOI อนุมัติปั้นฟู้ดอินโนโพลิสเพิ่ม 7 แห่ง
ตามที่ “บอร์ดบีโอไอ” ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้ขยายเครือข่าย ฟู้ดอินโนโพลิส หรือ เมืองนวัตกรรมอาหาร อีก 7 แห่ง นอกเหนือจากโครงการที่ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบด้านการเกษตรด้วยการวิจัยและพัฒนาในทั่วทุกภาคของประเทศ และเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารของโลก
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) เปิดเผยว่า การขยายเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหารเพิ่มขึ้นอีก 7 แห่ง ถือเป็นอีกหนึ่งข่าวดีที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการลงทุนด้านวิท���าศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยมากยิ่งขึ้น นอกจากความสำเร็จในการขยายเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหารแล้ว ยังเดินหน้าจัดทำนโยบายเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
  ปัจจุบันโครงการดังกล่าว ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) อีกทางหนึ่ง โดยกิจการเป้าหมาย อาทิ การวิจัยพัฒนาด้านเกษตรอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ การปรับปรุงพันธุ์ และบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ที่จะเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองนวัตกรรมอาหารทั้ง 8 แห่ง คือ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษจากบีโอไอในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างน้อย 5 – 10 ปี ตามหลักเกณฑ์พื้นฐานของแต่ละประเภทกิจการแล้ว ยังจะได้รับสิทธิเพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่น การลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี หรือเพิ่มจำนวนปีการยกเว้นภาษีเงินได้อีกด้วย
The post บอร์ด BOI อนุมัติปั้นฟู้ดอินโนโพลิสเพิ่ม 7 แห่ง appeared first on Smart SME.
from WordPress https://ift.tt/2NWOUcu via IFTTT
0 notes