#ปลุกสติ16
Explore tagged Tumblr posts
Photo
พบกันอีกครั้งยามเย็นสำหรับการ “ปลุกสติ ออนไลน์” สัปดาห์ที่สอง ไม่ได้พบกันสามวัน ก็หวังว่าสามวันที่ผ่านมา ทุกท่านก็ยังพยายามเจริญสติในชีวิตประจำวัน ด้วยการทำความรู้สึกตัว ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาไม่ว่าทำกิจกรรมน้อยใหญ่ โดยเฉพาะกิจกรรมที่เราเคยทำเป็นกิจวัตร ก็ลองเติมความใส่ใจ เติมความรู้สึกตัวลงไป อย่าทำเป็นแบบอัตโนมัติหรือว่าปล่อยใจลอยคิดโน่นคิดนี่ เวลาอาบน้ำ ถูฟัน กินข้าว ก็เติมใจใส่ลงไป “ตัวอยู่ไหน ใจอยู่นั่น” ที่ผ่านมาสามวัน บางท่านก็อาจเผลอไปบ้าง ลืมไปบ้าง ธรรมดามากเลยนะที่เราจะลืมตัวในเวลาเราทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว ยิ่งงานที่ต้องใช้ความคิดด้วยก็ง่ายมากที่ใจเราจะหลงลอยไปกับความคิด ซึ่งบางทีไม่ได้คิดเรื่องที่เรากำลังวางแผนอยู่ แต่คิดไปไหนไม่รู้ เช่น ทีแรกคิดเรื่องงาน แล้วก็พลอยไปคิดเรื่องลูก เรื่องครอบครัว เรื่องไปเที่ยว “รู้ตัวเมื่อไหร่ กลับมา” จริงอยู่ว่าถ้าเราปฏิบัติในรูปแบบ เช่น ไปเข้าวัด ไปเข้าคอร์ส เราจะทำได้ดีกว่า เห็นผลได้ชัดเจนกว่า เพราะเราได้ปฏิบัติต่อเนื่อง ไม่ต้องหมกมุ่นครุ่นคิดกับงานการ แล้วก็ไม่มีงานให้ทำด้วย เพราะฉะนั้นการที่เราเจริญสติทำสมาธิ มันก็ไปได้ดี แต่ในเมื่อเรายังไม่มีเวลาที่จะไปเข้าคอร์ส ไปปฏิบัติธรรมในรูปแบบ เราก็ใช้ชีวิตประจำวันของเรานี่แหละ วันหนึ่งเราตื่นมา 17-18 ชั่วโมง ถ้าเราทำความรู้สึกตัวเจริญสติแม��แค่ 1 เปอร์เซ็นต์ก็ถือว่ามีประโยชน์แล้ว ดีกว่าปล่อยใจลอยไปเปล่าๆ หรือต่อไปเราขยายจากความรู้สึกตัวเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น 2 เป็น 5 หรือเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ก็คือตื่นมา 18 ชั่วโมงเราก็รู้สึกตัวประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าๆ หรือเกือบ 2 ชั่วโมง ก็ยังถือว่ามีประโยชน์ ดีกว่าทำอะไรไปเปล่าๆ โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เช่นเคยนะ วันนี้ก็มีคำถามที่หลายคนถามมา บางคำถามก็เป็นคำถามตกค้าง ซึ่งบางทีอาตมาตอบไปแล้ว แต่บางท่านอาจจะยังเข้าใจไม่ชัด . ตอบคำถามข้อสงสัยจากการปฏิบัติ 1) การเจริญสติแบบยกมือสร้างจังหวะ เราสามารถนับเลขไปด้วย และกำหนดลมหายใจไปด้วยได้ไหม เพราะเคยทำแล้วเกิดปิติซาบซ่านไปทั่วกายบ่อยๆ ทำให้ใจติดกับความสุขแบบนั้น มันก็ได้นะ แต่เราจะไม่ค่อยได้ความรู้สึกตัวที่ชัดเจน อาจจะได้สมาธิคือจิตนิ่ง แต่ “สมาธิ” กับ “ความรู้สึกตัว” มันเป็นคุณสมบัติของจิตคนละชนิด การเจริญสติยกมือสร้างจังหวะนั้นทำเพื่อสร้างสติ-ความรู้สึกตัว เพราะฉะนั้น ไม่ควรนับเลข ไม่ควรกำหนดลมหายใจ แต่ให้ใจรู้สึกว่ามือกำลังเขยื้อนขยับ “รู้ไปทั้งตัว” ไม่ใช่รู้เฉพาะมือ อย่างนี้จะช่วยทำให้เกิดความรู้สึกตัวได้ดีขึ้น . 2) นั่งสมาธิจับลมหายใจอยู่ สักพักก็รับรู้ถึงเสียงหัวใจเต้น สักพักก็ได้ยินชีพจรที่ข้อมือเต้น บางครั้งก็รู้สึกหน้าอกเคลื่อนไหวไปมา เราควรจับตัวใดตัวหนึ่งใช่ไหม โดยไม่จำเป็นต้องมาจับลมหายใจเสมอไป ที่จริงคือให้มัน “รู้รวมๆ” อย่าไปกำหนดหรือจดจ่อที่ตัวใดตัวหนึ่ง รู้รวมๆ คือให้ “รู้ไปทั้งตัว” ส่วนไหนที่เคลื่อนไหว เราก็รู้ชัดหน่อย แต่ไม่ใช่ไปจดจ่อตรงนั้น แต่ถ้าเราต้องการเน้นสมาธิ ก็จะใช้อีกวิธีหนึ่งคือ การไปจดจ่อกำหนดที่จุดใดจุดหนึ่ง อันนี้การปฏิบัติจะมีจุดมุ่งหมายคนละแบบ ที่อาตมาแนะนำตลอดตั้งแต่วันแรก คือ “รู้สึกตัว” ซึ่งจะนำไปสู่สมาธิในที่สุด . 3) รู้สึกตัวได้ดีเฉพาะเวลานั่งคลึงนิ้ว นั่งสมาธิในรูปแบบ และเดินไปมา แต่ในเวลาอื่นจะทำไม่ค่อยได้ เหมือนความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในอิริยาบถอื่นๆ จะหลุดหายไปเลย บางทีนานมากกว่าจะกลับมาได้ เราควรปรับปรุงอย่างไร อันนี้ธรรมดานะ ก็ให้ทำอย่างที่อาตมาแนะนำไปตอนต้น โดยทำไปเรื่อยๆ ทำอย่างต่อเนื่อง อย่าไปหงุดหงิดที่ความรู้สึกตัวมันหายไป มันเป็นธรรมดา เราก็ทำไปเรื่อยๆ ต่อไปความรู้สึกตัวจะกลับมาเร็วเข้า ความระลึกรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่จะกลับมาเร็วเข้า ข้อสำคัญ คือ ให้รู้ว่าเรากำลังปฏิบัติเพื่อสร้างความรู้สึกตัว อันนี้จะช่วยให้เรามีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติมากขึ้น . 4) ตอนที่��ยายามให้ใจอยู่กับตัว ก็มักจะนึกถึงอิริยาบทต่อไป เช่น คอยนึกว่าเดี๋ยวจะทำอะไรต่อ จะยกแขนขวา ไปหยิบแก้วน้ำ จะก้าวเท้าไปข้างหน้า มันจะมีเสียงพากย์ล่วงหน้าเสมอ บางทีก็น่ารำคาญมากๆ บางทีแค่นึกล่วงหน้าแต่ไม่มีเสียง ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไร อย่าไปสนใจนะ เพราะถ้าเรายิ่งไปสนใจให้มันหายไป เรายิ่งรำคาญ ยิ่งอยากให้มันหาย พอมันยังอยู่เราก็หงุดหงิด อย่าไปสนใจมัน พอเราไม่สนใจเดี๋ยวมันก็ค่อยหายไปเอง ให้ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่มันจะมีเสียงพากย์ในใจ ซึ่งอาจเป็นเพราะมีความตั้งใจมาก หรือแต่ก่อนเราเคยทำในลักษณะนั้น ก็ไม่เป็นไรนะ เราก็ทำของเราต่อไปเรื่อยๆ . 5) หลังจากที่ต้องฝึกปฏิบัติเองโดยไม่ได้ฟังคำบรรยายแนะนำ รู้สึกว่าถูกความเครียดครอบงำจนสลัดไม่ออก แม้พยายามคิดให้อยู่กับปัจจุบัน ความเครียดก็ไม่หายเสียที เมื่อพิจารณาดูต้นเหตุก็พบว่ามีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงจนสางไม่ไหว จึงอยากขอคำชี้แนะ เข้าใจว่าผู้ถามคงจะเป็นคนที่มีความกังวลมาก เวลาทำอะไรก็ตาม ใจจะนึกถึงสิ่งต่างๆ ล่วงหน้าตลอดเวลา อาจจะนึกถึงงานการที่ยังค้างคาอยู่ พยายามเตือนใจให้ระลึกอยู่เสมอว่า “ให้เรากลับมาอยู่กับปัจจุบัน” อะไรที่ยังไม่เกิดขึ้นก็อย่าไปกังวลมาก เพราะมันอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เรานึกก็ได้ ให้ลองปล่อยวางสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น . 6) การทำงานที่ใช้ความคิด พอทำไปสักระยะจิตจะหลงไปกับความคิด บางครั้งก็ยาวนานจนมีความโลภและความอยากแทรกเข้ามา หรือบางครั้งก็คิดลบจนใจห่อเหี่ยว กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็รู้สึกเหนื่อยหมดแรง แบบนี้ควรแก้ไขอย่างไร อันนี้สะท้อนว่าผู้ถามเป็นคนขี้กังวลมาก จึงมักคิดเรื่องอนาคต คิดเรื่องการงานต่างๆ ทำให้เกิดความเครียด เกิดความอยาก เกิดความห่อเหี่ยว ฯลฯ ให้พยายามกลับมาอยู่กับปัจจุบันให้ได้ นอกจากนี้ ผู้ถามอาจจะพยายามไปกดข่ม บังคับจิต หรือจับจ้องความคิดมาก จึงรู้สึกว่าพอทำงานเสร็จก็เหนื่อยหมดแรง อันนี้สะท้อนว่าเป็นเพราะมีความเครียด ซึ่งอาจเป็นเพราะไปกดข่มบังคับจิตมากเกินไป . 7) การปฏิบัติแบบนี้ คือ การมีสมาธิมากไปจนไม่มีสติหรือไม่ อยากขอคำแนะนำ • เวลาขับรถก็จดจ่ออยู่กับการขับ มือจับพวงมาลัย เท้าเหยีบคันเร่ง แต่เพราะมัวจดจ่ออยู่กับการขับ ตาเห็นสิ่งกระทบแต่ไม่รับรู้ความหมาย เห็นรถคันข้างหน้าหยุด เห็นสิ่งกระทบคือไฟท้ายของรถคันหน้า แต่สัญญาไม่ทำงาน สมองไม่รับรู้ความหมายในทันที เพิ่งมาตีความได้เมื่อรถกระชั้นมากแล้ว จึงค่อยปล่อยคันเร่งแล้วมาเหยียบเบรค • เวลาขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงานก็จดจ่อกับการยืน รู้อาการของร่างกายที่ตั้งตรง ถ่ายน้ำหนักไปที่เ��้าซ้ายขวาเพื่อทรงตัว พอมีเสียงบอกสถานีมากระทบหู หูได้��ินแต่สัญญาไม่ทำงาน เหมือนได้ยินเสียงผ่านมาแล้วก็ปล่อยไป มารู้ตัวเมื่อจิตหลุดจากการจดจ่อกับการยืน ถึงได้ทราบว่าผ่านสถานีที่ต้องการลงไปแล้ว เข้าใจว่าผู้ถามไปจ้องหรือเพ่งมากไป ไม่ได้ขับรถด้วยความรู้สึกตัว เพราะถ้าขับรถด้วยความรู้สึกตัว สัญญาต่างๆ มันจะทำงานของมันเอง เช่นเดียวกับตอนขึ้นรถไฟฟ้า ก็คงจะเพ่งมากไป โดยบังคับจิตหรือไปจดจ่ออยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอย่างที่เล่ามา จึงให้ทำแบบสบายๆ ให้ใจมันอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องจดจ่ออยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่ให้ “รู้รวมๆ” . 8) เวลายกมือสร้างจังหวะ เราควรรู้สึกถึงมือที่เคลื่อน หรือรู้รวมๆ ทั้งมือและแขนที่เคลื่อน รวมทั้งบางทีตั้งใจรู้มากเกินไป จนทำให้รู้สึกเครียด ควรแก้ไขอย่างไร ให้รู้รวมๆ นะ หมายความว่าแม้จะไม่ใช่มือหรือแขน เช่น ถ้ากระพริบตาหรือกลืนน้ำลาย ก็ให้รับรู้ด้วย ถ้าตั้งใจมากเกินไปแล้วเครียด ก็อย่าไปตั้งใจให้มาก บางทีทำด้วยความอยากมันก็เลยมีความตั้งใจสูง ให้ลองทำโดยวางความอยากลง ส่วนใหญ่ผู้ถามหลายคนจะมีความอยากให้สงบ อยากให้จิตไม่ฟุ้ง ก็ให้วางความอยากนี้ เพราะธรรมดาของจิตมันก็จะคิด มันก็จะฟุ้ง ถ้าเราอยากให้จิตมันหยุดคิดหยุดฟุ้ง พอมันฟุ้งขึ้นมาเราก็หงุดหงิด พอหงุดหงิดเราก็จะบังคับจิตให้มันหยุดคิด แล้วเราก็เลยเครียด . 9) ใช้เวลากับ Facebook หรือ Line นานๆ ทั้งแบบทำงานและเพื่อผ่อนคลาย ระหว่างนั้นรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง เช่น เปิดดูแล้วกด likeไปเรื่อยๆ จนเพลินไปเลย ทำอย่างไรดี ไม่รู้ตัวเพราะไม่มีสติ และที่จริง Line กับ Facebook เขาดีไซน์มาเพื่อให้เราจดจ่ออยู่กับเขาจนเพลิน อันนี้เราต้องเข้าใจนะว่า app ต่างๆ เขามี gimmick มีลูกเล่น มี feature ที่จะดึงให้เราจดจ่ออยู่กับ app ของเขาให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ไม่ว่าจะเป็นปุ่ม like ปุ่ม share ปุ่ม feed พวกนี้เขาดีไซน์มาเพื่อให้เราให้เวลากับ app ของเขาให้นานๆ ฉะนั้น เราก็อย่าไปปล่อยใจลอยมากเกินไป อย่าเผลอ “ให้มีสติ” โดยอาจกำหนดเวลาว่าจะใช้ Line ใช้ Facebook ใช้ app พวกนี้นานเท่าไหร่ หรือบางทีอาจต้องมีระฆังแห่งสติคอยเตือนทุก 3 หรือ 5 นาที ก็ไปโหลดได้นะ มันมีโปรแกรม มี app เกี่ยวกับระฆังแห่งสติอยู่ บางทีอาจช่วยได้ . 10) การทำหลายอย่างพร้อมกัน เช่น ขณะอาบน้ำก็คิดวางแผนงานไปด้วย ขณะวิ่งก็คิดแก้ปัญหางานไปด้วย หากทำเช่นนี้ไปนานๆ จะก่อให้เกิดผลเสียอย่างไรกับตัวเองบ้าง เพราะถ้าดูระยะสั้นก็เหมือนจะมีประโยชน์ ระยะสั้นมีประโยชน์ แต่ระยะยาวมันทำให้ใจเราฟุ้งง่าย ใจลอยง่าย ถ้าเราคิดอยู่เรื่อยๆ ต่อไปมันจะคิดไม่หยุด แล้วเมื่อคิดไม่หยุด ถึงเวลาจะวางความคิดมันก็หยุดคิดไม่ได้ ถึงเวลาจะนอน��็ยังคิดอยู่ ถึงเวลาจะทำอะไรก็ไม่มีสมาธิ เพราะมันจะคิดเรื่อยเปื่อย ถ้าไม่อยากให้ความคิดมาเป็นนายเรา ก็ต้องคิดเป็นเรื่องๆ คิดทีละอย่าง อย่าทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน เช่น ทำกิจวัตรไปด้วยแล้วคิดงานไปด้วย มันจะทําให้ใจเราฟุ้งง่าย ไม่มีสมาธิเวลาจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ แล้วต่อไปความคิดมันจะใช้เรา ไม่ใช่เราใช้ความคิด เพราะความคิดมันจะกลายเป็นนายเรา . 11) ได้ฟังคำแนะนำให้ “ทำทีละอย่าง” ก็มีความเข้าใจอยู่ แต่เวลาทำงานก็ทำไม่ทันจริงๆ หากเวลาทำงาน เราพยายามทำให้ได้ผลสูงสุด แล้วค่อยกลับมาฝึกสติในรูปแบบ เช่น เดินจงกรมตอนก่อนนอนไปเลย จะพอได้ไหม ก็พอได้ ยังดีกว่าไม่ทำ แต่อาตมาก็อยากแนะนำว่า เวลาทำอะไร ถ้าเป็นไปได้ก็ทำทีละอย่าง อย่าทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน ถ้าทำไม่ทันจริงๆ ก็อาจจะต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน แต่ว่าอย่าให้มันเกิดขึ้นบ่อย ประเด็นนี้มันอยู่ที่การวางแผนงานด้วย ถ้าวางแผนงานดีๆ บริหารงานดีๆ การทำไม่ทันก็จะน้อยลง ถ้าเราวางแผนทำงานแต่เนิ่นๆ การกระหืดหระหอบทำให้เสร็จเพื่อให้ทัน deadline ก็จะลดน้อยลง มีหลายคนที่เขาเคยมีงานเยอะๆ แล้วตอนหลังเขาเริ่มที่จะทำทีละอย่าง เริ่มตั้งแต่กินข้าวก็เคี้ยวช้าๆ แล้วเขาก็เริ่มมีสติกับการทำงาน ปรากฏว่าเขาสามารถมีเวลาว่างมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะเขาบริหารงานกระจายงานให้คนอื่นทำ รวมทั้งเวลาตั้งใจจะคิด เขาก็คิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่จะใช้เวลาคิดนานก็ใช้เวลาไม่นาน นอกจากนี้เวลาที่ทำอะไรแล้ว “ทำอย่างมีสติ” มันจะไม่เหนื่อยง่าย เมื่อไม่เหนื่อยง่ายก็ทำให้งานได้ผลดี กลายเป็นว่าการทำทีละอย่างกลับทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข” . 12) มีอาชีพเป็นเซลล์ ทำงานใช้คอมพิวเตอร์และต้องขายให้ลูกค้าทางโทรศัพท์ ขณะที่คุยโทรศัพท์กับลูกค้า มือก็พิมพ์ใบเสนอราคาไปด้วย อย่างนี้เหมาะสมไหม เพราะเหมือนจะไม่ใช่การทำทีละอย่าง (ปกติเป็นคนทำอะไรเร็ว แต่ไม่ได้ลนลาน) กรณีอย่างนี้อาจเรียกว่าจำเป็น เพราะเป็นสถานการณ์ที่ต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน แต่ช่วงเวลาที่เราไม่ได้อยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ก็ให้ทำละอย่าง ทำด้วยความรู้สึกตัว ไม่ต้องรีบไม่ต้องรน ของแบบนี้เราสามารถอาศัยเวลาในชีวิตประจำวันของเรา ที่ไม่ใช่รีบไม่ใช่รน ในการเจริญสติทำความรู้สึกตัวได้ และต่อไปเวลาสติเราไวขึ้น ความรู้สึกตัวเราดีขึ้น ถึงเวลาจะต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน หรือว่าเร่งรีบ มันก็ทำได้ด้วยใจไม่ฟุ้ง เหมือนกับรถไฟที่แล่นด้วยความเร็วสูง อย่างรถไฟชินคันเซ็นของญี่ปุ่น เร็วมากเลยนะ แต่ถ้าไปนั่งข้างในรถจะรู้สึกเลยว่ามันนิ่ง "ข้างนอกดูมันเร็ว แต่ข้างในมันสงบและนิ่ง" ผู้ที่เจริญสติมาจนกระทั่งอยู่���ัว แม้ทำอะไรเร็วๆ ในบางครั้งบางคราว แต่ข้างในนิ่ง เรียกว่า "ข้างนอกรีบ แต่ข้างในเย็น นิ่ง" อันนี้เป็นผลของการปฏิบัติ การเจริญสมาธิ และโดยเฉพาะการเจริญสติอย่างต่อเนื่อง . อาตมาก็ขอวิสัชนาเพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่อีกครั้งวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม เวลาสี่โมงเย็นเช่นเคย หวังว่าจากนี��ไปจนถึงวันอาทิตย์ เราจะยังคงปฏิบัติทำความรู้สึกตัว “ตัวอยู่ไหนใจอยู่นั่น” และ “ทำทีละอย่าง” ไปเรื่อยๆ ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่เป็นไร ขอให้ทำไปเรื่อยๆ เท่าที่เราจะทำได้ ก็ขอยุติแต่เพียงเท่านี้ #ปลุกสติออนไลน์ #พุทธิกา #ธรรมะเปลี่ยนชีวิต #ชีวิตเปลี่ยนสังคม
0 notes
Text
ห้วงสถานการณ์วิปโยค“ปลุกสติ”ปวงชนชาวไทย : สามัคคีป้องกัน ภาวะเปราะบาง
ห้วงสถานการณ์วิปโยค“ปลุกสติ”ปวงชนชาวไทย : สามัคคีป้องกัน ภาวะเปราะบาง
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 16 ต.ค. 2559 05:01
อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/754602
เมืองไทยวิปโยค น้ำตานองท่วมแผ่นดิน
ณ นาทีที่สิ้นเสียงประกาศแถลงการณ์สำนักพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ…
View On WordPress
0 notes
Text
บทที่ 16 สนทนา และ ตอบคำถามการปฏิบัติ
https://web.facebook.com/groups/689351081413341/learning_content/?filter=2244224775855256&post=735093473505768
0 notes
Photo
วิสัชนา: ให้ใจมาอยู่กับกาย ให้กายเป็นฐานของใจ จะช่วยทำให้ความคิดที่กำลังแรงมันเพลาลง... ท่านใดเคยมีคำถามหรือเคยเจอะเจอกับปัญหาแบบนี้ ลองเข้าไปฟังคำตอบแบบเต็มๆได้ที่บทที่ 3 หรือเข้าจาก link นี้เลยครับ ขอบคุณครับ :) https://web.facebook.com/groups/689351081413341/learning_content/?filter=328648641232327&post=729813890700393 #ปลุกสติออนไลน์ #พุทธิกา #ธรรมะเปลี่ยนชีวิต #ชีวิตเปลี่ยนสังคม
0 notes