Historical keyboard instrument knowledge and sharing space
Don't wanna be here? Send us removal request.
Photo


Ludwig Van Beethoven กับ Adele
ถ้าให้พูดถึงอารมณ์ ความรู้สึกที่พลุ้งพล่าน จากอดีตของตนเอง ที่ก็มีทั้งดี ทั้งเศร้า เเละขมขื่น นี่คือคนสองคน ที่อยู่ต่างยุค เเต่บทเพลงเเสดงความรู้สึกที่หนักเเน่น มัดใจคนไปทั่วโลก
เบื้องหลังการเขียนเพลงของทั้ง Ludwig Van Beethoven เเละ Adele ต่างมีเบื้อหลังของผลงานต่างๆ เเละสิ่งที่สองคนนี้ต้องการจะสื่อสาร อาจจะเป็นคำพูดเพียงไม่กีา่คำพูด ที่ต้องการจะบอกกำับคนฟัง ไปจนถึงคนที่เขาต้องการที่อยากจะให้ฟัง Beethoven นั้นเป็นผู้ริเริ่ม เเละเป็นผู้เชื่อมสะพาน ระหว่างยุคคลาสสิคเเละยุคโรเเมนติกเข้าด้วยกัน โดยการเขียนเพลง ที่เริ่มสื่อสารเกี่ยวกับอารมณ์ของตนเองมากยิงขึ้น มีความสุดโต่งของอารมณ์มากยิ่งขึ้น ในขณะที่ก็ยังเก็บโครงสร้างความเป็นดนตรีของยุคคลาสสิคเอาไว้ ในขณะที่ Adele ก็เขียนเพลงขึ้น จากภูมิหลัง อดีตของเธอ ถึงเธอจะเคยประสบกับเรื่องราวโหดร้าย เเต่เรื่องราวต่างๆที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ก่อร่างสร้างบทเพลงที่ทำให้ตัวเธอโด่งดังระดับโลก
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นยุคใด ในช่วงขีวิตของใครก็ตาม ต่างก็มีความรู้สึกนึกคิด ความเจ็บปวด คล้ายคลึงกันทั้งนั้น เพียงเเต่ภาษาที่เราจะพูดออกไป อาจจะมีลักษณะการเรียงคำที่ไม่เหมือนกัน เเต่เรื่องที่จะสื่อสารออกไป อาจจะเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน
0 notes
Photo


Wolfgang Amadeus Mozart กับ โน้ส อุดม เเต้พานิช
คงถึงเวลาเเล้ว ที่เราจะพูดกันเเบบจริงๆ ว่าดนตรีคลาสสิคในเเง่มุมที่เป็นดนตรีเข้าถึงยาก คนเล่นน้อย เป็นมหรสพที่ฟังกี่ที ก็ยังไม่เข้าใจว่าพูดถึงอะไร ถ้าคุณเป็นคนไทยที่กำลังคิดว่าบทเพลงของ Wolfgang Amadeus Mozart เป็นบทเพลงที่ฟังเเล้วจรรโลงใจ ฟังสบาย มีความไพเราะ นี่อาจเป็นอีกเเง่มุมหนึ่งที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน
จากการได้พูดคุย กับนักเปียโนชืื่อดังของประเทศไทย อาจารย์ปราชญ์ บูรดิษกุลโชค ในระหว่างที่กำลัง Masterclass อยู่นั้น พวกเราได้ลองพยายามเปรียบเทียบหาคนที่มีความคล้ายคลึงกับ Mozart มากที่สุด ซึ่งเราก็สรุปได้ว่านั่นคือคุณโน้ส อุดม เเต้พานิช พอได้ยินเเบบนี้เเล้ว ก็จะมีคำถามเกิดขึ้นว่า มันจะไปเกี่ยวกันได้ยังไง ในเมื่อคุณโน้ส อุดม เป็นนักเล่นมหรสพ ตลกอันดับหนึ่งของประเทศไทย เเละก็เพราะว่า คุณโน้ส อุดม มีลักษณะในการเล่นมหรสพที่คล้ายคลึงกับบทเพลงหลายบทเพลงของ Mozart ไม่ได้หมายความว่านักดนตรีคลาสสิคทุกคนจะต้องเคร่งเครียด เขียนเเต่เพลงที่ถึงเเต่ดราม่า หรือ การสูญเสียเพียงอย่างเดียว เเต่พวกเขายังเขียนบทเพลงที่สร้างอารมณ์ขัน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนเพลงในยุคนั้น เพียงเเต่อารมณ์ขันนั้น จะมากน้อย หรือจะมีมุขที่สูงหรือต่ำตมเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ เช่นเดียวกับคุณโน้ส อุดม ที่มีมุขตลกทุกรูปเเบบ ทั้งทะลึ่งบ้าง หยิบความจริงในโลกปัจจุบันมาพูดบ้าง ส่วนเรื่องความหนักเบาในการพูดนั้น สองคนนี้มีความยืดหยุ่น จัดได้ว่ามากพอๆกัน
เเละนี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้นักเเสดงมหรสพทั้งสองคนได้รับความนิยม เพราะมันทำให้เกิดอารมณ์ร่วมไปกับการเเสดงของพวกเขา อีกทั้งยังเป็นพลังงานด้านบวก เป็นการเเสดงที่สร้างความสุขให้กับผู้ฟัง
0 notes
Photo


Lodovico Giustini กับ Jaden Smith
ตั้งใจหยิบยกสองคนนี้ขึ้นมาเขียนเพราะว่า เป็นสองคนที่คนหนึ่งได้เรียนประวัติเกี่ยวกับเขาอยู่ เเละอีกคนคือศิลปินที่ติดตามมาตลอด ซึ่งมันทำให้คิดได้อย่างหนึ่งว่า เขามีบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน
ไม่ใช่ว่าจะมีเพียงเเค่สมัยก่อน ที่ครอบครัวนักดนตรี จะมีการสืบต่อกันมาเป็นสายเลือด ในยุคปัจจุบัน ก็มีเช่นกัน เเต่ก็ไม่ได้มีในปริมาณที่มากเท่ากับสมัยก่อน Jaden Smith เป็นลูกชายของ John Smith ที่มีผลงานโดดเด่นมาตั้งเเต่เขายังเป็นเด็ก เเละทำงานสายวงการบันเทิงอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการเเสดง การร้องเพลง หรือการเขียนเพลงของตัวเองขึ้นมา การทำงานที่ครอบคลุมเเบบนี้ เกิดขึ้นตั้งเเต่สมัยยุคก่อนบาโรคเรื่อยมาจนถึงปลายยุคโรเเมนติก นักดนตรี จะไม่ได้ถูกจำกัดเเยกว่าจะต้องทำงานเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เเต่จะต้องเป็นคนสร้างสรรค์ ทั้งบทเพลง การเเสดง เเละเจตนารมณ์ของเขาด้วยตนเอง
สำหรับสองคนนี้ ต่างคนต่างได้รับอิทธิพลความสามารถมาจากพ่อของเขา เเละทั้งคู่ ต่างก็ทำงาน ในทุกๆพื้นที่ ที่จะทำให้ออกมาเป็นผลงานที่ประจักษ์ต่อโลกในท้ายที่สุด
0 notes
Photo


ทฤษฎีดนตรี กับ Essay On The True Art of Playing Keyboard Instruments
หนังสือทั้งสองเล่มเป็นหนังสือที่สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่าจะประเทศใดในโลก ก็จะมีหนังสือที่พูดถึงเรื่องดนตรีต่างๆเป็นของตนเอง เพียงเเต่ บางครั้งเนื้อหาหรือภาษาที่ใช้เขียนอาจไม่เป็นสากล เพราะว่า โดยปกติเเล้วภาษาทางดนตรีที่เราใช้พูดคุยกันหรือใช้ในการเรียนการสอน จะมี��าษากลางของมันอยู่ ดังเช่น หนังสือทฤษฎีดนตรีที่เป็นภาษาไทย เนื้อหาเเละคำเเปลทุกอย่างเป็นภาษาไทย ซึ่งอาจจะทำให้มีคำบางคำที่คนปกติก็อาจจะไม่ได้ใช้กัน เเละถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนดนตรี กับหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ที่ก็มีความคล้ายคลึงกับหนังสือเล่มเเรกเช่นกัน เพราะมันคือทฤษฎีวิธีการเล่นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด ที่บอกวิธีการ เเละ หลักการในการเล่นที่ถูกต้องเอาไว้ ส่วนภาษาก็จะเป็นภาษาอังกฤษ ปนกับภาษาดนตรี ซึ่งคนไทย จะเเปลทุกอย่างเป็นภาษาไทยทั้งหมด ซึ่งๆจริงๆก็ไม่ใช่เรื่องผิดเเต่อย่างใด เเต่เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่อาจจะไม่สามารถเข้าใจภาษาต่างประเทศได้ สามารถเรียนรู้ เเละเข้าใจด้วยภาษาของตนเองได้
เเสดงให้เห็นได้ชัดว่า ดนตรีก็ได้รับความนิยมในเมืองไทยมากในระดับหนึ่ง เเละการมีข้อมูล หรือ ความรู้ ที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์กับคนไทย เเละเป็นประโยชน์กับนักดนตรีรุ่นถัดไปด้วย
0 notes
Photo

Music Always Besides You - Verre’s Recital
สำหรับประเด็นที่จะหยิบยกมานั่นก็คือช่วงท้ายของคอนเสิร์ตที่มีการปิดไฟทั้งฮอล เล่นกับซาวด์เเทร็ก เเละเปิดเเฟลชม็อปท่ามกลางคนดู นั่นคือการตัดสินใจ เเละพยายามที่อยากจะให้คนดูมองเห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การฉายเเสงสีน้ำเงิน หากเพ่งนานๆ อาจเกิดอาการปวดตาได้(ทั้งผู้ฟังเเละผู้เล่น) เเต่นั่นก็ทำให้ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก เพราะเสียงที่เราตั้งใจจะส่งให้คนฟังได้ยินในทิศทางต่างๆ เมื่อมารวมกัน มันทำให้เกิดมิติของการฟัง เหมือนการสุ่ม เพราะเเต่ละที่นั่งจะได้ยินเสียงความดังเบา ชัดเจนเเตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงเรื่องรายละเอียดเเล้ว สิ่งที่คนเเต่ละได้ยินอาจจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว เเละนี่คือสิ่งที่หาไม่ได้ถ้าคุณเสียบหูฟัง หรือเปิดลำโพงอยู่ที่บ้าน คุณอาจจะไม่ได้ยินเสียงลมที่ผ่าน mouthpiece ของฟลุ้ท หรือเสียงที่กังวาลของ english horn
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเเสดงดนตรี มันอาจจะจำเป็นต้องสมบูรณ์เเบบทุกอย่างหรือ สมบูรณ์มากพอที่จะทำให้ผู้ฟังจดจำเราได้
Blogger’s Diary
0 notes
Photo


Harpsichord Still Sit In Orchestra - Karlsruhe
อีกหนึ่งประสบการณ์ที่ไม่เคยทราบมาก่อน นั่นก็คือ เจ้าของโรงงานที่ไปฝึกงานจะต้องไปดูเเลเครื่องดนตรีต่างๆที่ลูกค้าเป็นคนซื้อไป เเละจำนวนของเครื่องดนตรีที่เขาจะต้องดูเเลก็มีจำนวนมาก เเละหนึ่งในตัวเครื่องดนตรีที่เจ้าของสร้างก็เข้าไปอยู่ในวงออเคสตร้าประจำเมืองด้วย ตอนเเรกก็คิดว่าเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดไม่น่ามีความจำเป็นกับการที่อาจจะต้องลงทุนซื้อมาเพื่อที่จะซ้อม เพราะอย่างไรก็ดี คงไม่ใช่ทุกครั้งที่เครื่องนี้จะถูกเขียนให้เล่นในวงออเคสตร้าด้วย เเต่สำหรับเมืองนี้ เขาคิดต่างออกไป พวกเขาจัดทำคอนเสิร์ตเชิงอนุรักษ์ ดังเช่น ฮาร์ซิคอร์ดตัวนี้ก็จะถูกเล่นในฐานะ soloist เเละนอกจากนี้ก็ยังมีนักดนตรีคลาสสิคทั้งที่เป็นนักดนตรียุคใหม่ เเละนักดนตรีโบราณสลับวนไปมาอยู่ตลอด ทำให้เกิดความหลากหลาย มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เจ้าของโรงงานพูดระหว่างที่กำลังปรับตั้งเสียงฮาร์ปซิคอร์ดตัวนี้อยู่นั้น นั่นก็คือเกณฑ์การเป็นนักดนตรีที่ดีของประเทศเยอรมนีในเบื้องต้น ทุกคนจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในรากฐานของดนตรีตนเอง ซึ่งเเน่นอนที่สุดว่ามันก็เก่ามาก เเละบางทีมันก็ไม่ได้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน เเต่มันก็เป็นสิ่งสำคัญ เหมือนการทำความรู้จักกับตัวเองให้ดี ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับคนอื่น เพราะเเบบนี้ ทุกคนจึงสามารถเล่นดนตรียุคใดก็ได้ เเละรู้ว่าจะต้องทำยังไงกับเพลงๆนั้น
วงออเคสตร้าในประเทศเยอรมนี มีอยู่มากมายหลายวงด้วยกัน เเต่สิ่งหนึ่งที่เขาไม่เคยละทิ้งคือการทำความรู้จัก เเละรู้อย่างถ่องเเท้ในสิ่ง��ัวเองกำลังศึกษาอยู่ นั่นจึงทำให้ดนตรีโบราณยังคงอยู่ได้ในยุคโลกาภิวัฒน์เช่นนี้
Blogger’s Diary
0 notes
Photo

Clavichord on tour
ระหว่างที่กำลังฝึกงานอยู่ในโรงงานเปียโนโบราณของ Susanne Merzdorf ที่ประเทศเยอรมนี ก็มีเพื่อนสมัยที่คุณ Susanne ยังเรียนอยู่ที่ Ludwigsburg หิ้วเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งเข้าในโรงงานเพื่อให้คุณ Susanne ดูว่าจะซ่อมอย่างไรได้บ้าง ซึ่งนั่นก็คือเครื่องดนตรี clavichord หรือก็คือเปียโนย่อส่วน เขาได้เปิด clavichord ให้ดูเเละอธิบายว่าสาเหตุที่เขานำมาซ่อมนั่นก็คือ เขานำเอาเครื่องนี้ไปเเสดงหลายเเห่งมากชนิดที่ว่าตากเเดด ตากลม ตากฝน จนทำให้กลไกข้างในคีย์เริ่มเสื่อมสภาพ เเละเสียงก็เพี้ยนมากๆ เเต่ด้วยความกลัวที่ว่าสายของ clavichord จะขาด เขาเลยอยากให้คุณ Susanne รักษาเครื่องดนตรีชิ้นนี้ให้ นอกจากนี้เขายังเล่าให้ฟังอีกว่า ในสังคมของชาวเยอรมัน ดนตรีโบราณเหล่านี้ก็เหมือนกับดนตรีพื้นบ้าน พอเล่นเเล้วทุกคนก็จะเข้าใจเห็นพ้องต้องกัน รู้ว่าถ้าพอเพลงนี้ขึ้น มันจะมีลักษณะโดยประมาณเเบบไหน เเละถึงเเม้ว่าคนรุ่นใหม่อาจจะไม่ได้สนใจดนตรีโบราณมากนัก เเต่ก็ยังมีคนรุ่น 30-40 ขึ้นไปที่ยังฟังดนตรีเหล่านี้อยู่
พอได้ยินเเบบนั้นก็เลยถามกลับไปว่า ในความเป็นจริง เครื่องดนตรีโบราณเหล่านี้เเม้จะถูกสร้างโดยคนรุ่นใหม่ เเต่กลไกเเละวัสดุก็ยังใกล้เคียงกับสมัยก่อนอยู่ไม่มากก็น้อย ทำไมถึงกล้าขน clavichord ไปเล่นที่ต่างๆมากมายขนาดนี้ เขาตอบพร้อมกับหัวเราะไปว่า ดูขนาดของมันสิ ดีไม่ดีอาจจะเล็กกว่าเปียโนไฟฟ้าอีกนะ เเละก็ไม่ได้หมายความว่า เล่น clavichord จะต้องเล่นคนเดียว โดยมากดนตรีเหล่านี้เล่นกันเป็นกลุ่มอยู่เเล้ว ซึ่งมันจะส่งเสริมซึ่งกันเเละกัน
นอกจากนี้ก็ยังมีโรงงานที่ยังคงผลิตเเละสร้างเครื่องดนตรีโบราณที่เลียนเเบบต้นฉบับอยู่เสมอ เพราะตราบใดที่นักดนตรีเหล่านี้ยังคงเดินหน้าไปกับเครื่อง��นตรีของตนเองโดยไม่สนว่ากาลเวลามันจะผ่านไปนานขนาดไหน นั่นเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องดูเเลรักษามัน
Blogger’s Diary
0 notes
Photo

Key Characteristic
เเต่ละคีย์ของดนตรีนั้นไม่ว่าจะเมเจอร์หรือไมเนอร์ก็ให้ความรู้สึกที่เเตกต่างกันออกไป สำหรับการปฎิบัติดนตรีเเบบโบราณนั้น การเลือกอารมณ์ในการที่จะเเต่งเพลง ก็เหมือนกับการเลือกคีย์ที่เราต้องการจะเเต่งด้วย เสียงเหล่านี้เป็นเสียงจากธรรมชาติที่กระทบกับความรู้สึกเราโดยตรง ไม่ได้ผ่านการดัดเเปลง ไม่ได้มีเหตุผล เเต่เป็นสัญชาตญาณที่มนุษย์ทุกคนพึงมีอาจจะไม่เหมือนกันซะทุกอย่างเเต่ก็มีความใกล้เคียงกัน โดยข้อมูลเบื้องต้น คือข้อมูลจากความคิดเห็นของคนส่วนมาก ว่าเเต่ละคีย์ควรจะมีความรู้สึกไปในทิศทางใดดังต่อไปนี้
C Major: ความสดใส
c minor: ความเศร้า อกหัก
C# Major: ความเครียด ความกดดัน
c# minor: การสื่อสารกับพระเจ้า
D Major: ชัยชนะ
d minor: ความเครียด
Eb Major: ความรัก ความซื่อสัตย์
eb minor: ภาษาของผี
E Major: การทะเลาะวิวาท
e minor: การถูกกักขัง
F Major: ความโกรธ
f minor: ความกดดันที่ลึกที่สุดในจิตใจ
F# Major: ความสวยงามที่อยู่เหนือความชั่วร้าย
f# minor: ความมืดมน
G Major: จินตนาการ
g minor: ความผิดหวัง
Ab Major: ความตาย
ab minor: การอ้อนวอน
A Major: การเฉลิมฉลอง
a minor: ความสวยงาม
Bb Major: ความสุข
bb minor: ความประหลาด
B Major: ความยิ่งใหญ่ ความเเข็งเเรง
b minor: ความอดทน
ที่มา: www.ledgernote.com
0 notes
Photo

เครื่องหมายต่างๆ Slurs, dots and wedges
Slurs มีความหมายที่สำคัญมากกับศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 เครื่องหมายเหล่านี้มีความหมายที่เเตกต่างกันเเละมากมาย เเละวิธีการใช้ที่เป็นปกติที่สุดของศตวรรษที่ 18 ก็คือการรวบกลุ่มโน้ตเพียงกลุ่มเล็กๆเท่านั้น เครื่องหมายนี้มีผลกับชีพจรของเพลง การสร้างสีสันให้กับบทเพลงโดยช่วงเวลาตั้งเเต่ศตวรรษที่ 18 เรื่อยไปก็มีการเปลี่ยนเเปลงการทำ slur อยู่เรื่อยๆขึ้นอยู่กับว่าได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอะไร ดนตรีประเภทไหน เเละผู้ประพันธ์อาศัยอยู่ในช่วงเวลาใด
อย่างเช่น Carl Phillipp Emanuel Bach จะมีการรวบกลุ่มโน้ตเป็นกลุ่มเล็กๆเเละจะทำเเบบนั้นซ้ำๆไปเเทบจะทั้งเพลง ในขณะที่ Ludwig Van Beethoven ตามบทเพลงที่ได้เห็นข้างต้นจะสังเกตุว่าผู้ประพันธ์ได้กำหนดว่าจะต้องเล่นสำเนียงของเพลงอย่างไรออกมาอย่างชัดเจน เเละต้องทำตามที่เขาได้กำหนดไว้เท่านั้น
สรุปโดยง่ายคือเครื่องหมายเหล่านี้ไม่ได้ตยตัวว่าจะต้องเล่นเเบบนั้นเเบบนี้เท่านั้น มันเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้ประพันธ์ เเละยังเปลี่ยนไปตามกาลเวลาที่เขามีความนิยมในการเล่นที่เปลี่ยนเเปลงไปเรื่อยๆ
ที่มา: Early Keyboard Instrument A Practical Guide
0 notes
Text
การเเต่งโน้ตเพิ่ม เขาทำยังไงกันหรอ?
ในฐานะนักเปียโนยุคปัจจุบันจะเล็งเห็นว่าการเล่น cadenza จะต้องถูกเขียนขึ้น ถ้าไม่ใช่จากนักประพันธ์ ก็ต้องมากจากนักดนตรีชื่อดังของโลกเป็นคนประพันธ์ขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงเเล้ว การเเต่งโน้ตเพิ่มเหล่านี้เราไม่จำเป็นที่จะต้องทำตามที่ผู้ประพันธ์เขียนทั้งหมดก็ได้ รวมไปถึงการเล่นบทเพลงบางบทเพลงซ้ำในรอบที่สองด้วยเช่นกัน เพราะในสิ่งที่คนศตวรรษที่ 17 ถึง 19 ทำกันนั้น เลือกที่จะให้รอบเเรกเป็นการนำเสนอเเนวความคิดหลักของบทเพลงนั้นๆ สำหรับรอบที่สองหรือการทำ cadenza มีเเนวคิดคล้ายคลึงกัน นั่นคือการเอาเเนวคิดเดิมนำมาดัดเเปลงให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่นการใส่โน้ตประดับลงบนโน้ตก่อนที่จะจบประโยคเเต่ละประโยคของเพลงนั้น ดัดเเปลงโน้ตเพิ่มขึ้น จากโน้ตเพียงตัวเดียวอาจมีสองหรือสามตัว หรือถ้าหากอยากจะเเสดงความสามารถของตัวเองก็สามารถเพิ่มได้ตามความต้องการของผู้เล่น เเต่จะต้องยึดหลักเสมอ ว่าจะต้องมีเเนวความคิดเริ่มต้นสอดเเทรกอยู่ด้วย เเละไม่สูญเสีย���ัตลักษณ์ของบทเพลงนั้นๆไป
เเต่บางครั้ง ก็มีนักประพันธ์เพลงใจดี เช่น Carl Phillipp Emanuel Bach ก็ได้เขียนตัวอย่างการทำสิ่งเหล่านี้ให้ดูเพื่อให้ผู้เล่นได้มีตัวอย่างเเละสามารถนำไปต่อยอดได้ เเต่ถ้าจะอยากเล่นตามเขาก็ไม่ใช่เรื่องผิด
ส่วนสำคัญที่เราจะต้องสังเกตุคือจุดที่มีเครื่องหมาย fermata เรียกได้ว่าเป็นคราวของผู้เล่นเองเลยก็ได้ ที่จะมีอิสระในการเล่นอะไรก็ได้ เช่นถ้าชอบเล่นเร็ว ก็อาจจะมีจำนวนโน้ตเยอะ เเสดงความสามารถด้านเทคนิคการเล่น เเต่ถ้าอยากจะให้ออกมาไพเราะ ก็สามารถเล่นท่วงทำนองคู่กับขั้นคู่ก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เล่นจำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะดนตรีที่ตนเองเล่นอยู่อย่างทะลุปรุโปร่ง ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้สิ่งที่เรากำลังจะเเต่งเพิ่มเข้าไปมีคามกลมกลืนกับบทเพลงที่เรากำลังเล่นอยู่
ที่มา: Early Keyboard Instruments A Practical Guide
0 notes
Text
ภาษาพูดที่ต้องชัดเจน
สำหรับการปฏิบัติดนตรีช่วงก่อนศตวรรษที่ 18 บทเพลงถูกบรรเลงอยู่ในโบสถ์ เครื่องดนตรีก็เป็นเครื่องที่ไม่สามารถทำเสียงดังเบาได้(ฮาร์ปซิคอร์ด) เเต่หนึ่งในความพยายามที่คนสมัยนั้นทำอยู่ตลอดคือการสื่อสารเครื่องดนตรีนาๆชนิดเช่นเครื่องสาย เครื่องเป่า รวมไปถึงนักร้อง นั่นจึงมีอิทธิพลต่อๆมาในการสร้างเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด
ง่ายที่สุดสำหรัับการที่เราจะเข้าใจว่าสำเนียงในการเล่นบทเพลงเเต่ละเพลงที่เป็นของคนชาติใดๆก็ตาม ให้ดูที่ “ภาษาพูดของเขา” สำหรับการเล่นดนตรีที่เกี่ยวข้องกับ German School and Viennese School การประดับสำเนียงจะชัดเจนคล้ายคลึงกับภาษาพูดของเขา เเละจะต้องทำให้ชัดเจนทุกครั้ง ซึ่งจะมีความเเตกต่างกับวิธีการทำระหว่างยุคบาโรคเเละยุคคลาสสิค เเละอาจจะละเอียดเข้าไปในเเต่ละบุคคลที่ประพันธ์เพลงออกมา
อย่างเช่น Mozart ด้วยความที่เครื่องดนตรีของเขามีเสียงที่ค่อนข้างจะเเห้งจึงมีเสียงที่เฉียบคมเสมอเเม้จะเล่นในเพลงช้าก็ตาม การทำเสียงกังวาลนั้นไม่ค่อยเกิดขึ้น น้อยครั้งมากที่จะใช้ pedal เข่า หรือจะใช้ในประโยคที่จำเป็นเท่านั้น
กลับกัน Schubert มีเปียโนที่กว้างกว่า เสียงไพเราะมากกว่า เเละ pedal ก็ถูกใช้เป็นเรื่องปกติ กลไกถูกประดิษฐ์ให้สร้างเสียงในโทนที่อ่อนนุ่ม เพราะฉะนั้นบทเพลงของเขา จะเน้นความสวยงามของท่วงทำนอง ที่มีความยาวมากกว่า Mozart เเละมีเสียงประสานที่��อดคล้อง เเละนำพาทำนองตั้งเเต่ต้น ไปสู่ที่จบได้
จากตัวอย่างดังกลาว ทำให้เราทราบว่า การที่เราจะรู้ได้ว่า เราจะเล่นบทเพลงนั้นๆได้อย่างไร จำเป็นจะต้องคำนึงถึงภาษา เครื่องดนตรี เเละพื้นที่จำกัดในการสร้างเสียง จึงจะสามารถดึงศักยภาพของบทเพลงเเต่ละบทเพลงออกมาได้อย่างเต็มที่
ที่มา: A Performer’s Guide To Music Of The Classical Period
0 notes
Video
youtube
Viennese Action - Fortepiano
สำหรับกลไกของเวียนนิสก็มีการพัฒนาจากเยอรมันโดยด้านปลายสุดของหัวค้อนที่ชนกับคานจะมีหมุดน็อตสวมสักหลาดเพื่อที่จะสามารถปรับความช้าเร็วของการกดได้ นอกจากนี้ยังมีหมุดอีกหนึ่งตัวด้านหลังของโครงสร้างที่สามารถปรับน้ำหนักในการกดคีย์ได้ นอกจากนี้ทุกๆจุดของโครงสร้างของโครงสร้างที่สัมผัสเเตะกันจะมีผ้าสักหลาดรองเสมอ เเม้เเต่จุดที่หัวค้อนพักก็มีสักหลาดปูเอาไว้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อความง่ายของการปรับ ซึ่งจะสังเกตุได้ว่าทุกๆจุดที่กลไกเกิดความเคลื่อนไหวสามารถปรับเเต่งได้ ฟอร์เต้เปียโนของเวียนนาจะมีเพียง 66 คีย์ เเละค่อยๆกว้างขึ้นตามบทเพลงที่ผู้ประพันธ์เเต่ง เช่นบทเพลงของ Mozart จะมีความกว้างของเสียงไม่ต่ำกว่า F1 เเละไม่สูงกว่า F6 ในขณะที่เปียโนของ Beethoven อาจจะมีความกว้างตั้งเเต่ C1 ไปจะถึง C7 เเละค่อยๆกว้างขึ้นตามกาลเวลาจนมาถึงเปียโนยุคปัจจุบัน กลไกการทำให้เสียงกังวาลของฟอร์เต้เปียโนนี้จะสามารถตัดเสียงที่ก้องกังวาลอยู่ได้อย่างสนิท เสียงมีความสะอาด เเละเนื้อเสียงจะมีความร่วนซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพของเสียงที่ใช้บรรเลงบทเพลงในยุคนั้นออกมาได้อย่างชัดเจน
สำหรับในเมืองไทย ปัจจุบันมีฟอร์เต้เปียโนอยู่เพียงตัวเดียว เเละยังเป็นฟอร์เต้เปียโนที่คัดลอกต้นเเบบมาจากกลไกเเละรูปเเบบทั้งหมดจาก Anton Walter ในช่วงชีวิตที่เขาได้สร้างฟอร์เต้เปียโนเเบบเดียวกันกับที่เขาได้สร้างให้กับ Wolfgang Amadeus Mozart ตั้งอยู่ที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา กรุงเทพมหานคร
0 notes
Video
youtube
German Action - fortepiano by Johann Andreas Stein
มีความคล้ายคลึงกับวิธีกรทำเเบบเวียนนาเเต่เเตกต่างจากอิตาลีโดยสิ้นเชิง สำหรับกลไกของเยอรมันนั้นหัวค้อนจะหันหน้าเข้าหาผู้เล่น เเละกลไกจะไม่มีไม้คานที่อยู่ตรงกลางระหว่างหัวค้อนเเละคีย์ ซึ่งอิตาลีจะมีกลไกตรงกลางเพือที่จะรับเเรงในการกดส่งต่อไปหาหัวค้อนเเละรับเเรงกลับให้หัวค้อนตกลงมาพร้อมกับคีย์ตามเดิม ส่วนที่มาเเทนไม้คานตรงกลางก็คือส่วนท้ายสุดของคีย์ที่จะมีไม้ยื่นออกมาเหมือนตะขอคอยทั้งดันให้หัวค้อนตีกับหายเเละรับหัวค้อนกลับลงมาที่เดิม ทำให้กลไกนี้ไม่ซับซ้อนเท่ากับกลไกของอิตาลีมากนัก เเต่มีความปลอดภัยในการเล่นมากกว่ากลไกนี้เป็นที่ใช้เเพร่หลายในยุโรป
สำหรับเปียโนเเละกลไกเหล่านี้ยังคงถูกผลิตเเละคัดลอกโครงสร้างเเบบเดิมในทั่วยุโรป ส่วนเปียโนที่เป็นต้นเเบบ ก็มีทั้งที่สามารถเรียนเเละเเสดงได้จริง เเต่บางหลังก็มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เเละบางหลังก็มีการประมูลขายอยู่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์เช่นกัน
0 notes