#โกนจา
Explore tagged Tumblr posts
Text
ประวัติแมวไทย
ประวัติแมวไทย
แมวถือเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงของคนไทยมาช้านาน และได้รับสิทธิในการขึ้นไปอาศัยอยู่บนเรือนร่วมกับมนุษย์ ดังปรากฏในประเพณีขึ้นบ้านใหม่ที่ จะมอบของมงคลต่าง ๆ แก่เจ้าของเรือน ซึ่งมีสัตว์เลี้ยงสองชนิดไก่และแมว ทั้งยังปรากฏแมวในสำนวนหรือสุภาษิตต่าง ๆ เป็นต้นว่า "หุงข้าว ประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว" "ฝากปลาย่างไว้กับแมว" และ "แมวนอนหวด" เป็นต้น นอกจากเลี้ยงในเรือนแล้ว พระสงฆ์ก็นิยมเลี้ยงแมว ในวัดด้วย เพราะป้องกันมิให้หนูมากัดทำลายพระไตรปิฏก
ตำราดูลักษณะแมว เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นหนึ่งในตำราพรหมชาติซึ่งคัดลอกต่อ ๆ กันมา ฉบับหนึ่งอยู่ในการครอบครองของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ผู้โปรดปรานการเลี้ยงแมว ตำราดังกล่าวเป็นสมุดข่อย เนื้อหาแต่ง เป็นโคลงและกาพย์ แบ่งแมวไทยออกเป็น 23 สายพันธุ์ เป็นแมวมงคล 17 สายพันธุ์ และแมวให้โทษ 6 สายพันธุ์ ส่วนตำราแมวฉบับ อื่น ๆ ก็ระบุไว้ใกล้เคียงกัน จากเนื้อหาแสดงให้เห็นถึงค่านิยมของคนไทยด้านรูปลักษณ์ เพราะแมวมงคลนั้นล้วนมีลักษณะที่งาม อันแสดง ให้เห็นว่าแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นหน้าเป็นตาของบ้าน ทั้งนี้แมวไทยส่วนใหญ่มีอุปนิสัยดี ไม่ดุร้าย ฉลาด รู้จักประจบประแจง รักเจ้าของ และมี ความเป็นต้วของตัวเอง และมีข้อดีที่สำคัญคือมีภูมิต้านทานต่อโรคเขตร้อนสูง ขนสั้น ไม่มีปัญหาด้านเชื้อราจากความชื้น
เมื่อปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแมววิเชียรมาศคู่หนึ่งให้แก่ กงสุลอังกฤษชื่อ โอเวน กูลด์ แมวไทย คู่นี้ชนะการประกวดแมวที่ กรุง��อนดอน และทำให้ชาวอังกฤษนิยมเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น ในที่สุดก็แพร่หลายไปทั่วโลก และแมววิเชียรมาศก็เป็นที่ รู้จักในภาษาอังกฤษว่า "Siamese Cat" หรือ แมวสยาม
แมวไทยในระดับนานาชาติ ในสหรัฐอเมริกา แมวไทยตัวแรกเป็นแมวของ ลูซี่ เว็บบ์ ภรรยาของ รัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์ ประธานาธิบดีคนที่ 29 ของสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้แมววิเชียรมาศได้รับการยกย่องจากนักจิตบำบัดในฐานะแมวที่ช่วยเสริมสร้างความสดใสและสมดุลทางอารมณ์ให้กับผู้เลี้ยง และมักถูกแนะนำ ให้ผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่มีโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล เพื่อเป็นตัวช่วยในการบำบัดอาการ ชาวต่างชาตินิยมนำแมวไทยไปผสมกับแมวพันธุ์ที่มี อุปนิสัยดุ เพื่อให้ลูกที่เกิดมาเชื่องหรือดุน้อยลง
ปัจจุบันแมวไทยที่ปรากฏในตำราซึ่งยังหลงเหลืออยู่คือ วิเชียรมาศ, โกนจา, ขาวมณี และมาเลศถูกชาวต่างชาติจดสิทธิบัตรไปแล้ว แบ่งเป็น วิเชียรมาศจดโดยอังกฤษ ส่วนโกนจา, ขาวมณี และมาเลศจดโดยสหรัฐ คงเหลือแต่ศุภลักษณ์เท่านั้นที่ยังไม่มีชาติใดจดสิทธิบัตร
ปัจจุบันยีนของแมวไทยได้กระจายไปสู่แมวสายพันธุ์ต่างประเทศทั่วโลกมากถึง 40 สายพันธุ์ด้วยกัน… เล่นหวย
1 note
·
View note
Text
แมวสายพันธุ์ไทยที่นิยมเลี้ยง 6 สายพันธุ์
แมวสายพันธุ์ไทย ที่มีถิ่นกำเนิด อยู่ในประเทศไทย มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นที่นิยมเลี้ยงอย่างมาก เพราะมีอุปนิสัย ไม่ดุ ฉลาด รักเจ้าของ รักบ้าน รักความอิสระ และยังมีภูมิต้านทาน ต่อโรคเขตร้อนสูง จึงไม่มีปัญหา หรือเจ็บป่วย ด้วยโรคเชื้อรา จากความชื้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือในหลวงรัชกาลที่ 5 เคยพระราชทาน แมวสายพันธุ์ ‘วิเชียรมาศ’ จำนวน 1 คู่ ให้แก่กงสุลอังกฤษ นายโอเวน กูลด์ เมื่อปี พ.ศ. 2427 ซึ่งต่อมา แมววิเชียรมาศ สายพันธุ์ไทยคู่นี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกัน ในภาษาอังกฤษว่า Siamese Cat หรือแมวสยาม ได้รับรางวัลชนะ ในการประกวดแมว ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จึงทำให้ชาวอังกฤษ หันมานิยมเลี้ยง แมวสายพันธุ์ไทยกันมากขึ้น
โดยปัจจุบันนี้ ยีนส์ของแมวสายพันธุ์ไทย ได้กระจายไป สู่แมวสายพันธุ์ต่างประเทศ มากถึง 40 สายพันธุ์ ทั่วโลก
แมวสายพันธุ์ไทย มีสายพันธุ์อะไรบ้าง?
แซมเสวตร
คำว่า ‘แซมเสวตร’ หมายถึง แซมสีขาว เพราะมันมีขนสีดำ ที่แซมสีขาว ตลอดทั้งตัว ถือเป็นแมวสายพันธุ์ไทย ที่หาได้ยาก โดยมันจะมีขนบาง และสั้น มีหูตั้ง มีตาสีเขียว อมเหลือง มีหางยาว และปลายหางแหลม
สีสวาด หรือ โคราช
เป็นแมวที่มีรูปร่างค่อนข้างกลม มีหูใหญ่ตั้ง มีดวงตาใหญ่ สีเหลืองสด หรือสีเหลืองอมเขียว มีขนสั้นเป็นมันเงา สีขุ่นเทา หรือสีเหมือนดอกเลา จึงทำให้มันมีอีกชื่อเรียกว่า ‘แมวมาเลศ’ หรือ ‘แมวดอกเลา’ แมวสายพันธุ์นี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา โดยชื่อ แมวโคราช เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือรัชกาลที่ 2 ซึ่งใช้แหล่งกำเนิด ของแมวสายพันธุ์นี้ เป็นชื่อเรียกพันธุ์แมว
คนสมัยโบราณ มีความเชื่อกันต่อๆ มาว่า แมวสีสวาด หรือ แมวโคราช เป็นแมวที่จะนำโชคลาภ จะนำมาซึ่งความสุข และความมงคล แก่ผู้ที่เลี้ยงมัน ซึ่งแมวโคราช เคยได้รับเลือก ให้เป็นแมสคอต หรือสัญลักษณ์นำโชค ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ เมื่อปี พ.ศ.2550 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นเจ้าภาพ อีกทั้งยังถูกใช้เป็นทั้งสัญลักษณ์ และเป็นฉายาของ ‘สโมสรฟุตบอลนครราชสีมา’ ในชื่อ ‘สวาดแคท’ นอกจากนี้ ‘แมวโคราช’ ยังได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นสัตว์ประจำชาติไทย เมื่อปี พ.ศ.2552 อีกด้วย
ศุภลักษณ์
เป็นแมวที่มีอุปนิสัย กระตือรือร้น เปี่ยมล้นไปด้วยพลัง มีความฉลาด ขี้เล่น มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว ชอบผจญภัย และรักอิสระ เป็นแมวที่ติดเจ้าของ แต่จะร้ายพอสมควร กับคนแปลกหน้า
โดยแมวศุภลักษณ์ จะมีหัวกลม ขายาวเรียว ฝ่าเท้าอวบ มีขนสีทองแดง หรือสีน้ำตาลแดงเข้ม มีตาสีเหลืองอำพัน และมีหนวด สีเหมือนลวดทองแดง จึงทำให้มันมีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า ‘แมวทองแดง’
วิเชียรมาศ
คำว่า ‘วิเชียรมาศ’ หมายถึง เพชรแห่งดวงจันทร์ หรือ Moon Diamond โดยในอดีต ตั้งแต่สมัยอยุธยานั้น แมววิเชียรมาศ มักถูกเลี้ยงไว้ในพระราชสำนัก เพราะถือว่าเป็นแมวนำโชค และเป็นสัตว์ที่มีมูลค่าสูง สามารถซื้อขายได้ มากถึงหนึ่งแสนตำลึงทอง โดยประเทศไทย เคยใช้แมววิเชียรมาศ เป็นแมสคอต หรือสัญลักษณ์นำโชค ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ เมื่อปี พ.ศ.2528 ที่กรุงเทพมหานคร และปี พ.ศ.2538 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ แมวสายพันธุ์วิเชียรมาศ ถือเป็นแมวไทยสายพันธุ์แรก ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในหมู่ชาวต่างชาติ จนมีการตั้งชื่อให้ว่า Siamese Cat หรือ แมวสยาม หรือมีอีกชื่อหนึ่งคือ Seal Point หรือ แมวแต้มสีครั่ง
นอกจากนี้ แมววิเชียรมาศยังได้รับการยกย่อง จากนักจิตบำบัด ในฐานะแมว ที่ช่วยเสริมสร้างความสดใส และความสมดุลทางอารมณ์ ให้กับผู้เลี้ยง ดังนั้น ผู้ป่วยโรคทางจิตเวช ที่มีภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล จึงมักถูกแนะนำ ให้เลี้ยงแมววิเชียรมาศ เพื่อเป็นตัวช่วย ในการบำบัดอาการ
แมววิเชียรมาศ มีรูปร่างปราด��ปรียว และสง่างาม มีดวงตาสีฟ้า มีขนสั้นสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน และมีแต้มสีครั่ง หรือสีน้ำตาลไหม้ รวมทั้งหมด 9 แห่ง บริเวณใบหน้า บริเวณหู 2 ข้าง บริเวณเท้า 4 เท้า บริเวณหาง และบริเวณอวัยวะเพศ ส่วนบริเวณหน้าผากของมัน จะมีรอยหยัก คล้ายรูปหัวใจ และผิวหนังที่บริเวณจมูก กับริมฝีปาก จะเป็นสีเงิน หรือสีม่วงอ่อน
โกญจา หรือ โกนจา
คนในสมัยโบราณเชื่อว่า แมวสายพันธุ์โกญจา หรือ โกนจา เป็นแมวมงคล หากใครเลี้ยงมันไว้ ก็จะมีสมบัติมากมาย ช่วยให้มีอำนาจวาสนา ช่วยส่งเสริมการงาน ให้เป็นที่ชื่นชอบของเจ้านาย และหากคิดหรือทำสิ่งใด ก็จะประสบความสำเร็จ
แมวโกญจา หรือโกนจา มีลักษณะคล้ายกับ แมวสายพันธุ์ต่างชาติ คือ แมวสายพันธุ์บอมเบย์ มันมีลักษณะท่าทางสง่างาม ขณะเคลื่อนไหว เหมือนกับสิงโต มีหัวกลม แต่ไม่โต มีตาสีเหลืองอมเขียว มีหูตั้ง มีปากเรียวแหลม มีหางยาว ปลายแหลมตรง นอกจากนี้ มันยังมีขนเส้นเล็ก สั้น ละเอียดนุ่ม เรียบตรง และดำสนิท ตลอดทั้งตัว จึงทำให้มันมีชื่อเรียกอีกว่า ดำมงคล หรือดำปลอด
ขาวมณี หรือ ขาวปลอด
เป็นแมว��ายพันธุ์ไทยแท้ ที่ในปัจจุบันนี้ มีจำนวนมากที่สุด สันนิษฐานว่า มันเป็นแมวที่เกิดในช่วง สมัยรัตนโกสินทร์ เพราะพบภาพวาดของมัน ตามภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในวัดต่างๆ ของเขตธนบุรีด้วย
คนนิยมเลี้ยง แมวสายพันธุ์ขาวมณี หรือขาวปลอดกันเป็นจำนวนมาก เพราะเชื่อกันว่า มันเป็นแมวที่ จะคอยค้ำคูณ และนำโชคลาภ มาให้แก่เจ้าของ โดยแมวขาวมณี หรือขาวปลอด เป็นแมวที่มีความเชื่องมาก มีตาสีฟ้า หรือสีเหลืองอำพัน หรือตาสองสี ที่เรียกว่า Odd eyes แต่ค่อนข้างพบได้ยาก มันมีขนสั้นนุ่ม สีขาวสะอาด ลำตัวยาว ขาเรียว หัวทรงสามเหลี่ยม คล้ายหัวใจ หน้าผากแบนและใหญ่ จมูกสั้น หูตั้งใหญ่
0 notes
Text
แมวโกนจา
แมว "โกนจา" หรือบางแห่งก็เขียนว่า "โกญจา" แมวชนิดนี้เป็นแมวสีดำสนิทตลอดทั้งตัว ขนสั้น ไม่มีสีอื่นใดปะปนเลยแม้แ��่น้อย ยิ่งไปกว่านั้น��ังมีลักษณะเป็นขนเส้นเล็กละเอียดนุ่มและเรียบตรงทั้งลำตัว ส่วนหัวกลมแต่ไม่โต มีปากเรียวแหลม หูตั้ง นัยตาเป็นสีเหลืองอมเขียวหรือทองอ่อน อาจเปรียบได้กับดอกบวบแรกแย้มหรือทองดอกบวบ รูปร่างสะโอดสะองคล่องแคล่ว หางยาว ปลายหางแหลมตรง อุ้งเท้าทอดคล้ายเท้าสิงห์ มีความสง่างามขณะเคลื่อนไหว แมวโกญจาบางทีอาจรู้จักกันในสายพันธุ์บอมเบย์ ลักษณะโดยทั่วไป ลักษณะที่เป็นข้อเด่น * ลักษณะสีขน : ขนสั้น สีดำตลอดทั้งตัว * ลักษณะของส่วนหัว : รูปหัวกลมไม่ใหญ่มาก หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหัว * ลักษณะของนัยน์ตา : นัยน์ตาสีดอกบวบแรกแย้ม (สีเหลืองอมเขียว)
พบกับเว็บ แทงบอลออนไลน์ ที่ดีที่สุด อันดับ 1 ในเรื่องบริการ
บอลสเต็ปเริ่มต้นที่ 2 คู่ แทงบอล ขั้นต่ำเพียง 10 บาท
0 notes
Text
ตะลึง!!!ปรากฏแมวไทยพันธุ์ใหม่ วิฬาร์กรุงเทพ
หลังจากแมวไทยหลายๆสายพันธุ์ ที่ได้รับความนิยมจากทั่วทุกมุมโลกสำหรับ คอทาสแมวแล้ว การค้นพบสายพันธุ์ใหม่ ที่มีการสืบเชื้อสายมาอย่างยาวนาน เหมือนกันกับ แมวไทย พันธุ์ วิเชียรมาศ ศุภลักษณ์ โกนจา และสีสวาด ฯลฯ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีประวัติศาสตร์ที่เกิดมาคู่กับประเทศไทย และ มีประวัติมาอย่างยาวนาน
การค้นพบสายพันธ์ใหม่ของแมวสายพันธ์สยาม ทางเพจเฟสบุคชื่อดังเกี่ยวกับแมว ได้กล่าวถึง การค้นพบของแมวสายพันธ์ใหม่ วิฬาร์กรุงเทพ และ ยังไม่มียีนส์ซ้ำกับสายพันธุ์แมวไทยใดๆของโลก โดยปัจจุบันถูกค้นพบเป็นจำนวน 25 ตัว ซึ่งเป็นการค้นพบในช่วงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 เมื่อประมาณ 3-4 ปีก่อน หลังจากการศึกษาบางส่วน แเมื่อไม่นานมานี้ ในวันที่ 6 กุมพาพันธ์ 2561 ทางเพจเฟซบุ๊ก แมวสยาม Cats of Thailand ได้นำข้อมูลของแมวสายพันธ์นี้ออกมาเปิดเผย ว่า แมวสายพันธุ์นี้ ไม่มีปรากฏในบันทึกตำราสมุดข่อยช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา จากการพิสูจน์ DNA ที่ตรวจค้นไม่ตรงกันกับแมวชนิดใดบนโลก นอกจากนี้ แมวสายพันธุ์นี้มีเพียง 25 ตัวในประเทศไทย และ 15 ตัวทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร โดยที่ไม่ได้เกิดมากจากครอบครัวเดียวกัน
0 notes