#หญ้าเนเปียร์
Explore tagged Tumblr posts
palangkaset · 7 years ago
Text
หญ้าเนเปียร์ ปลูกได้ 4 – 5 รอบ/ปี ผลิตก๊าซชีวภาพ 40 - 60 ตัน / ไร่ / รอบ
Tumblr media
หญ้าเนเปียร์ พืชพลังงานเพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพสนับสนุนโดย (function($){ function bsaProResize() { var sid = "6"; var object = $(".bsaProContainer-" + sid + " .bsaProItemInner__img"); var animateThumb = $(".bsaProContainer-" + sid + " .bsaProAnimateThumb"); var inne...
https://www.palangkaset.com/%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b8%8a%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b9%8c-2-%e0%b8%81%e0%b9%8a%e0%b8%b2%e0%b8%8b%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a7%e0%b8%a0%e0%b8%b2/
0 notes
tadef · 8 years ago
Text
"เนเปียร์" หญ้าวัวโปรตีนสูงสู่พลังงานทางเลือกและอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่
“เนเปียร์” หญ้าวัวโปรตีนสูงสู่พลังงานทางเลือกและอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่
“หญ้าเนเปียร์” หรือหญ้าอาหารสัตว์ พืชที่ปลูกและโตง่ายในประเทศ ให้��ลผลิตต่อไร่สูง ทนต่อสภาพอากาศได้ดี ใบมีสารอาหารและโปรตีนสูงเหมาะกับการเลี้ยงสัตว์ นักวิจัย มจธ.ชี้ลำต้นสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทางเลือกและประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ได้
ดร.ปริปก พิศสุวรรณ อาจารย์สายวิชาเทคโนโลยีชีวเคมี คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)…
View On WordPress
0 notes
kilokahert · 5 years ago
Text
หญ้ากินนีสีม่วง (Panicum maximum)
       มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทวีปอัฟริกา ปลูกกันแพร่หลายในทวีปอเมริกาใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และในออสเตรเลีย สำหรับประเทศไทยนั้น เจ้าพระยาสุรวงศ์เป็นผู้นำเข้ามาปลูกใน พ.ศ. 2444 หญ้ากินนีเป็นหญ้าที่มีอายุหลายปี ลักษณะลำต้นตั้งเป็นกอสูงประมาณ 1.5 - 2.5 เมตร มีช่อดอกเป็นแบบ panicle ติดดอกและเมล็ดได้ แต่เมล็ดมีความงอกต่ำมากเพียง 12 – 20% ระบบรากเป็นรากฝอยแข็งแรงทนต่อสภาพแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในที่มีปริมาณน้ำฝนตลอดปี 1,000 มิลลิเมตร ดินควรจะมีการระบายน้ำดี และมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง การใช้หญ้ากินนีทำเป็นทุ่งหญ้าสำหรับตัดให้สัตว์กิน หรือปล่อยสัตว์ลงไปแทะเล็มไม่ควรปล่อยให้สัตว์แทะเล็มหญ้าจนเหลือสูงจากพื้นต่ำกว่า 15 ซม. สา���ารถปลูกร่วมกับถั่วเซนโตรซีมาและซีราโตรได้ นอกจากนี้ยังปรับตัวได้ในสภาพร่มเงา จึงปลูกในสวนไม้ยืนต้นหรือสวนป่าได้ หญ้ากินนีที่ปลูกในสวนมะพร้าวบริเวณจังหวัดนราธิวาส ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี แต่ถ้าปลูกในสวนยางซึ่งร่มเงาหนาทึบกว่าจะให้ผลผลิต 700 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สำหรับผลผลิตหญ้ากินนีที่ปลูกในที่โล่งแจ้งโดยทั่วไปได้ประมาณ 2,500 – 3,500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มีปริมาณโปรตีนประมาณ 8.2 เปอร์เซ็นต์
                        หญ้ากินนีสีม่วง เป็นหญ้าสายพันธุ์ใหม่ที่นำเข้ามาจากประเทศไอเวอโคสท์ ทวีปอัฟริกาโดยนายกีร์โรแบร์ ที่ปรึกษา กรป.กลาง ในราวปี พ.ศ.2518 โดยใช้ชื่อพันธุ์ K 187 B ในปัจจุบันใช้ชื่อพันธุ์ TD 58 หญ้ากินนีสีม่วงมีขนาดของใบและลำต้นใหญ่กว่า และสูงกว่ากินนีธรรมดา แต่จะเตี้ยกว่าหญ้า เฮมิล กลุ่มดอก (Spikelets) จะมีสีม่วงซึ่งแตกต่างจากพันธุ์อื่นที่ส่วนใหญ่มีสีเขียวอย่างเด่นชัดขนาดของเมล็ดจะใหญ่กว่าหญ้ากินนีธรรมดา และที่สำคัญคือใบจะมีลักษณะอ่อนนุ่มกว่าหญ้ากินนีธรรมดาและ เฮมิล สัตว์ชอบกินจึงเป็นหญ้าที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มาก นอกจากนี้ยังให้ผลผลิตค่อนข้างสูง และตอบสน��งต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำได้ดี ทนต่อสภาพที่มีร่มเงาได้ดีเช่นเดียวกันกับหญ้าสกุลกินนีอื่น ๆ ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด ใช้เมล็ดอัตรา 1 – 2 กิโลกรัมต่อไร่ (เมล็ดมีคุณภาพดีกว่าหญ้าในกลุ่มกินนีด้วยกัน) หรือปลูกเป็นหลุมระยะระหว่างหลุม 50 x 50 เซนติเมตร ส่วนการปลูกด้วยหน่อพันธุ์ ในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้หน่อพันธุ์ประมาณ 300 – 400 กิโลกรัมปลูกหลุมละ 3 ต้น ใช้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15 – 15 – 15 ในอัตรา 50 – 100 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังเก็บเกี่ยวทุกครั้งในอัตรา 10 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ควรตัดหญ้าเลี้ยงสัตว์ครั้งแรกหลักปลูก 70 วัน และหลังจากนั้นควรตัดทุก 30 – 45 วัน ได้ผลผลิต 1.5 – 4 ตันต่อไร่ มีโปรตีนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นหญ้าที่มีคุณภาพดี สามารถนำไปเลี้ยงแม่โคที่ให้นมในระดับวันละ 8 – 10 กิโลกรัม โดยไม่ต้องให้อาหารข้นเสริม
หญ้าเนเปียร์ (Pannisetum purpureum ) หญ้าเนเปียร์แคระ และหญ้าเนเปียร์ยักษ์
                        หญ้าเนเปียร์ มีถิ่นกำเนิดในอัฟริกาเขตร้อน นำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกจากประเทศมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ.2472 โดยนายอาร์ พี โจนส์ ต่อมามีการนำหญ้าเนเปียร์สายพันธุ์ใหม่ ๆ เข้ามา และกำลังเป็นที่สนใจของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมคือหญ้าเนเปียร์แคระ (Mott Dwarf Elephantgrass) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า P. purpureum cv.Mott. นายวิฑูรย์ กำเนิดเพชร นำเข้ามาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพฤศจิกายน 2532 และหญ้าเนเปียร์ยักษ์ (Kinggrass) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า P. purpureum cv.Kinggrass นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย โดยนายชาญชัย มณีดุลย์ เมื่อมกราคม 2533 หญ้าเนเปียร์และหญ้าเนเปียร์ยักษ์มีทรงต้นเป็นกอค่อนข้างตั้งตรงคล้ายอ้อย หญ้าเนเปียร์ยักษ์มีลำต้นสูงใหญ่กว่าหญ้าเนเปียร์ธรรมดา กล่าวคือหญ้าเนเปียร์ยักษ์เมื่อโตเต็มที่จะสูงประมาณ 3.80 เมตร ขณะที่หญ้าเนเปียร์สูงประมาณ 3 เมตร ส่วนหญ้าเนเปียร์แคระมีลักษณะทรงต้นเป็นพุ่มค่อนข้างตั้ง (bunch type) สูงประมาณ 1.60 เมตรมีสัดส่วนของใบต่อต้น และแตกกอดีกว่าหญ้าเนเปียร์อีกสองสายพันธุ์
                        หญ้าเนเปียร์สายพันธุ์ต่าง ๆ มีเหง้า (rhizome) อยู่ใต้ดิน เป็นหญ้าอายุหลายปีเจริญเติบโตได้ในดินหลายชนิดตั้งแต่ดินร่วนปนทราย ถึงดินเหนียวที่มีการระบายน้ำค่อนข้างดีตอบสนองต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำได้ดี เหมาะสำหรับปลูกบริเวณพื้นที่ที่มีฝนตกเฉลี่ยมากกว่า 1,000 มิลลิลิตรขึ้นไปแต่ก็ทนแล้งได้พอสมควร ไม่ทนน้ำท่วมขังและการเหยียบย่ำของสัตว์ ติดเมล็ดน้อยและมีความงอกต่ำ จึงต้องปลูกขยายพันธุ์ด้วยท่อนพันธุ์ 2 – 3 ท่อนต่อหลุม ระยะระหว่างหลุม 75 x 75 เซนติเมตร ต้นพันธุ์หญ้าเนเปียร์ 1 ไร่ สามารถปลูกขยายพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 40 กิโลกรัม (18.4 กก.N) ต่อไร่ต่อปี โดยใส่ครึ่งหนึ่ง��่อนปลูกหญ้า ส่วนที่เหลือแบ่งใส่ 2 ครั้ง หลังจากตัดหญ้าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 สำหรับในพื้นที่ดินร่วนปนทรายถึงดินทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 40 – 80 กิโลกรัม (18.34 – 36.8 กก.N) ต่อไร่ต่อปี นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูกด้วย ควรตัดหญ้าเลี้ยงสัตว์ครั้งแรกหลังปลูก 60 วัน และตัดครั้งต่อไปทุก ๆ 30 วัน จะได้ผลผลิตน้ำหนักแห้งประมาณ 2 – 4.2 ตันต่อไร่ต่อปี มีโปรตีนประมาณ 8 – 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจัดว่าเป็นหญ้าที่ให้ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางอาหารสัตว์อยู่ในเกณฑ์ดี และสามารถปลูกร่วมกับพืชตระกูลถั่วได้หลายชนิด เช่น ถั่วไมยรา ถั่วแกรมสไตโล ถั่วขอนแก่นสไตโล และถั่วเซนโตรหรือถั่วลาย
หญ้ารูซี่ (Brachiaria ruziziensis )
                        มีชื่อเรียกคองโก เคนเนดี้รูซี่ และรูซี่ มีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกาแถบประเทศคองโค นำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย ปลูกในประเทศครั้งแรกที่มวกเหล็กเมื่อปี 2511 โดยฟาร์มโคนมไทย – เดนมาร์ก (ปัจจุบันคือ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย) สถานีอาหารสัตว์ปากช่องปลูกขยายพันธุ์และทดสอบพันธุ์ ต่อมาศูนย์ส่งเสริมการขยายพันธุ์สัตว์ของ กปร. กลาง นำเข้าจากไอเวอรีโคส หญ้ารูซี่เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปี เจริญเติบโตเร็ว แตกกอดี ใบอ่อนนุ่มสัตว์ชอบกิน ลักษณะลำต้นกึ่งตั้งกึ่งเลื้อยมีรากตามข้อ ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดและลำต้น เนื่องจากติดเมล็ดได้ดี มีความงอกสูงนิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด จัดเป็นพืชวันสั้น เจริญเติบโตได้ดีในดินหลายชนิด ทั้งดินอุดมสมบูรณ์ในที่ดอนน้ำไม่ขัง และในดินที่มีธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ ชอบอากาศในเขตร้อนที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1,100 มิลิเมตรต่อปี ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง หญ้ารูซี่ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี กล่าวคือให้ผลผลิต 2584 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อใส่ปุ๋ยสูตร 12 – 24 – 12 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าปลูกในดินทรายชุดโคราชได้ผลผลิต 3,400 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อใส่ปุ๋ยยูเรีย 140 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มีปริมาณโปรตีนประมาณ 8.2 เปอร์เซ็นต์
หญ้ามอริชัสหรือหญ้าขน (Brachiaria mutica )
                        มีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกา และอเมริกาใต้ นาย R.J. Jones เป็นผู้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2472 เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปี ลักษณะลำต้นเป็นแบบกึ่งเลื้อย ต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลำดับทอดขนานกับพื้นดิน มีรากขึ้นตามข้อ มีระบบรากเป็นรากฝอย และตื้น ไม่ติดเมล็ดขยายพันธุ์ด้วยเหง้า และลำต้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงในที่มีปริมารน้ำฝนตลอดปีมากกว่า 1,000 มิลลิเมตร ทนต่อสภาพพื้นที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำท่วมขังใช้ระยะปลูก 50 x 50 ซม. อาจปลูกโดยหว่านท่อนพันธุ์แล้วไถกลบหรือปลูกแบบปักดำข้าว หญ้าขนเป็นหญ้าที่เจริญเติบโตเร็ว เหมาะสำหรับบริเวณพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวโดยไม่ใส่ปุ๋ยจะได้ผลผลิต 3,100 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,370 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่���ใส่ปุ๋ยยูเรีย 40 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 1 ตันต่อไร่ แต่ถ้าปลูกในดินทรายและไม่มีการใส่ปุ๋ยจะได้ผลผลิตเพียง 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ และเมื่อใส่ปุ๋ยยูเรีย 140 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3,665 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณโปรตีนเฉลี่ยประมาณ 7.2 เปอร์เซ็นต์
หญ้าซิกแนลนอน (Brachiaria decumbens )
                        มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอูกานดา นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยโดย Dr.Hudson เมื่อ พ.ศ. 2499 เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปี ลักษณะลำต้นแบบกึ่งตั้งกึ่งเลื้อย มีรากที่ข้อของลำต้น ติดเมล็ดน้อยเมล็ดมีความงอกต่ำ และมีอายุพักตัวนานถึง 1 ปี ต้องนำเมล็ดไปแช่ในกรดซัลฟูริกเป็นเวลา 10 – 15 นาที ก่อนที่จะนำไปปลูก โดยทั่วไปมักจะปลูกด้วยหน่อพันธุ์ แลนพันธุ์ เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นซึ่งมีฤดูแล้งนานกว่า 4 – 5 เดือน และมีฝนตกเฉลี่ยมากกว่า 1,000 มิลลิเมตร นอกจากนี้ยังทนต่อร่มเงาของไม้ยืนต้น เช่น สวนมะพร้าว หรือสวนยางโดยผลผลิตน้ำหนักแห้งประมาณ 1,700 กิโลกรัมต่อไร่ หญ้าซิกแนลนอนโดยทั่วไปจะมีปริมาณโปรตีนเฉลี่ยประมาณ 8.1 เปอร์เซ็นต์
หญ้าซิกแนลตั้ง (Brachiaria brizantha )
                        มีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกานำเข้ามาปลูกในประเทศไทย โดย Dr. Hudson เจ้าหน้าที่องค์การอาหารและเกษตร เมื่อ พ.ศ. 2499 เป็นหญ้าอายุหลายปี ลักษณะตำต้นตั้งตรง สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ปริมาณฝนตกตลอดปี 800 มิลลิเมตร มีความทนแล้งได้ดีกว่าหญ้ารูซี่ และหญ้ามอริซัส นอกจากนี้ยังสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ในสภาพร่มเงาของสวนมะพร้าว และให้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ หญ้าซิกแนลตั้งโดยทั่วไปจะมีโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์
หญ้าซิกแนลเลื้อย (Brachiaria humidicola )
                        มีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกา นำเข้ามาปลูกในประเทศไทย โดยนายมงคล หาญกล้า เมื่อ พ.ศ. 2528 เป็นหญ้าอายุหลายปี ลักษณะลำต้นเลื้อยและสานกันหนาแน่น มีรากตามข้อ ช่อดอกตั้งตรงสูง 60 ซม. ไม่ติดเมล็ดภายใต้สภาพแวดล้อมของประเทศไทย จึงขยายพันธุ์ด้วยหน่อพันธุ์ และท่อนพันธุ์ใช้ระยะปลูก 30 - 50 ซม. สามารถตั้งตัวได้เร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในที่มีปริมาณน้ำฝนตลอดปี ประมาณ 1,500 มิลลิเมตร ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังได้ดีพอสมควร ทนต่อการเหยียบย่ำและแทะเล็มของสัตว์ นอกจากนี้ยังทนต่อสภาพแห้งแล้ง สามารถปรับตัวได้ดีในดินหลายชนิด แม้กระทั่งดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่น ชุดดินบ้านทอน ชุดดินร้อยเอ็ด ฯลฯ เหมาะสำหรับปลูกบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชัน เพื่อป้องกันการพัดพาหรือชะล้างหน้าดิน เป็นหญ้าที่ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนได้ดีและสามารถเจริญเติบโตได้ภายใต้สภาพร่มเงาของสวนมะพร้าว โดยให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งเพียง 700 กิโลกรัมต่อไร่ หากปลูกในที่โล่งแจ้งจะได้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 2,100 – 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์
 หญ้าโคไร (Brachiaria miliiformis )
                        มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า และมาเลเซีย นายธวัชชัย อินทรตุลย์ เป็นผู้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2522 เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปี ลักษณะลำต้นเป็นแบบกึ่งตั้งกึ่งเลื้อยไม่ติดเมล็ด จึงขยายพันธุ์ด้วยหน่อพันธุ์และท่อนพันธุ์ หญ้าโคไรไม่ทนต่อสภาพแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี ผลผลิตหญ้าโคไรจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปริมาณน้ำฝน เมื่อปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงจะได้ผลผลิต 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่ร่มเงา กล่าวคือได้ผลผลิต 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ มีโปรตีน 12 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปลูกในสวนมะพร้าว หากปลูกในสวนยางพาราซึ่งมีร่มเงาหนาทึบจะได้ผลผลิต 700 กิโลกรัมต่อไร่ มีโปรตีน 8 เปอร์เซ็นต์
 หญ้าอะตราตั้ม (Paspalum atratum. Swallen.)
                        หญ้าอราตั้มเป็นหญ้าพื้นเมื���งของประเทศบราซิล นำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ครั้งแรกในปี 2537 เป็นพืชอายุหลายปี ลักษณะลำต้นตั้งเป็นกอสูงประมาณ 1 เมตร และขณะมีช่อดอกจะสูงมากกว่า 2 เมตร ใบมีขนาดใหญ่แบบใบกว้างประมาณ 3 – 4 ซม. ยาวประมาณ 50 ซม. ขอบใบมีความคมลักษณะช่อดอกเป็นแบบ raceme เมล็ดมีขนาดเล็กสีน้ำตาลแดงผิวเป็นมัน จากการศึกษาในเบื้องต้นพบว่าหญ้าอตราตั้มสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชื้นแฉะ และถ้าปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะให้ผลผลิตสูงถึง 3 – 4 ตันต่อไร่ มีโปรตีนประมาณ 7.6 เปอร์เซ็นต์ (ตัดทุก 45 วัน) จึงเป็นหญ้าที่เหมาะสำหรับปลูกบริเวณพื้นที่ฝนตกชุก หรือมีน้ำขังดังเช่นในภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังทนต่อสภาพแห้งแล้งและดินเลว หญ้าอตราตั้มติดเมล็ดดีจึงขยายพันธุ์ได้ทั้งเมล็ดและหน่อพันธุ์
 หญ้าพลิแคทูลั่ม (Paspalum plicatulum )
                        การเจริญเติบโตแบบเป็นกอ อายุค้างปี มีถิ่นกำเนิดทางเขตร้อนของทวีปอเมริกานำเข้ามาปลูกในประเทศไทยโดยนายรัตน์ อุณยวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2507 สามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี และทนต่อสภาพน้ำขังได้ นอกจากนี้ยังทนต่อสภาพดินเลว แต่ตอบสนองต่อความอุดมสมบูรณ์และความชื้นได้ดี เจริญเติบโตได้ในบริเวณพื้นที่ที่ปริมาณน้ำฝนตลอดปี 760 – 10,000 มิลลิเมตรต่อปี ปลูกร่วมกับถั่วซีราโตร ถั่วเวอราโนสไตโล และถั่วเดสโมเดียมได้ดี เป็นหญ้าที่ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี กล่าวคือให้ผลผลิต 1,250 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อใส่ปุ๋ยสูตร 12 – 24 – 12 แต่ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยจะให้ผลผลิตเพียง 225 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น หญ้าพลิแคทูลั่มมีโปรตีนประมาณ 5 – 6 เปอร์เซ็นต์ จัดได้ว่าเป็นหญ้าที่มีผลผลิตคุณค่าทางอาหารและความน่ากินสำหรับสัตว์ต่ำกว่าชนิดอื่น ควรจะปลูกหญ้าพลิแคทูลั่มเฉพาะบริเวณพื้นที่ซึ่งไม่เหมาะสมสำหรับปลูกหญ้าชนิดอื่น ๆ อย่างไรก็ตามหญ้าพลิแคทูลั่มติดเมล็ดดี จึงขยายพันธุ์ได้ทั้งเมล็ดและหน่อพันธุ์
ถั่วเวอราโนสไตโลหรือถั่วฮามาต้า (Stylosanthes hamata cv.Verano)  
                        มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะอินเดียตะวันตก และแถบชายฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ เป็นถั่วค้างปี ลำต้นกึ่งตรง ลักษณะแผ่และตั้งไม่มีขน หลังจากออกดอกแล้วยังคงเจริญเติบโตต่อไปจนถึงปลายฤดู มีความทนแล้งได้ดีกว่าถั่วทาวน์สวิลสไตโล ในสภาพที่แล้งจัดจะปรับตัวเป็นถั่วฤดูเดียว ขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติจากเมล็ดที่วางลงดิน ทนต่อการแทะเล็มของสัตว์ เจริญเติบโตได้ในดินหลายชนิด เช่น ดินทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินลูกรังหรือดินที่เป็นเหมืองแร่เก่า ทนทานต่อความแห้งแล้ง เป็นพืชที่มีความสำคัญในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ที่ได้รับฝน 500 – 1,250 มิลลิเมตรต่อปี ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง ถั่วเวอราโนสไตโลเป็นพืชตระกูลถั่วที่กองอาหารสัตว์ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเลี้ยงสัตว์แพร่หลายกันทั่วไป เป็นที่รู้จักกันในนามถั่วฮามาต้า ซึ่งปรับตัวได้ดีในดินกรด สามารถปลูกร่วมกับหญ้ากินนี กินนีสีม่วง ซิกแนล และรูซี่ได้ รัฐบาลได้ใช้ถั่วเวอราโนสไตโลหว่านในทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะและป่าเสื่อมโทรม เพื่อปรับปรุงคุณภาพของ��ืชอาหารสัตว์พื้นเมือง ปรับปรุงบำรุงดินและป้องกันการชะล้างหน้าดิน นอกจากนี้เกษตรกรยังนิยมปลูกถั่วเวอราโนสไตโลเพราะว่าปลูกง่าย เจริญเติบโตดี และต้านทานต่อโรคแมลง ในการจัดทำแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ ควรปลูกต้นฤดูฝนระหว่างพฤษภาคม – กรกฎาคม เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ควรจะเร่งความงอกด้วยการแช่น้ำร้อน 80 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที ในอัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 6 – 16 กิโลกรัม P2O5 ต่อไร่ และยิบซั่มอัตรา 1.6 – 3.2 กิโลกรัมต่อไร่เป็นปุ๋ยรองพื้น ทำการปลูกโดยหว่านเมล็ดให้สม่ำเสมอใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปลูกเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ควรตัดหญ้าเลี้ยงสัตว์สูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร ครั้งแรก 70 – 90 วัน หลังปลูกและตัดครั้งต่อไปทุก 45 วัน ได้ผลผลิตน้ำหนักแห้งประมาณ 1.3 – 1.9 ตันต่อไร่ โปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์
 ถั่วแกรมสไตโล (Stylosanthes guianensis cv.Graham)
                        มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาใต้ และอเมริกากลาง อายุหลายปี ลักษณะทรงตั้งเป็นพุ่มขนาดกลางลำต้นแผ่และตั้งตรงถึงกึ่งทอดยอด มีระบบรากแบบรากแก้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด เช่นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ทนทานต่อดินที่เป็นกรด โดยเฉพาะในดินที่ขาดฟอสฟอรัส แต่ไม่ขาดคอปเปอร์ (ทองแดง) และดินเหนียวที่มีการระบายน้ำเลว มีคุณค่าทางอาหารอยู่ระดับปานกลาง สายพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในประเทศไทยคือ สายพันธุ์แกรม (cv. Graham) พบที่ประเทศโบลิเวียซึ่งมีปริมาณน้ำฝน 600 – 1,000 มิลลิเมตรต่อปี มีช่วงแล้งนานถึง 7 เดือน จึงเป็นถั่วที่ทนแล้งและสามารถทนต่อสภาพน้ำขังในระยะสั้น แต่ถั่วสไตโลชนิดนี้ไม่ทนต่อการเหยียบย่ำของสัตว์ จึงควรปลูกเพื่อตัดให้สัตว์กินและควรตัดสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้ต้นแก่จะเป็นเสี้ยนแข็ง ความน่ากินสูงสุดในช่วงที่การเจริญเติบโตเต็มที่ใกล้จะออกดอก ในบริเวณพื้นที่ซึ่งมีช่วงแล้งยาวนานจะใช้ปลูกเป็นถั่วฤดูเดียวโดยให้ติดเมล็ด และงอกเป็นต้นใหม่ต่อไปตามธรรมชาติ ใช้ปลูกร่วมกับหญ้าได้บางชนิด เช่น หญ้ากินนี แต่ไม่สามารถปลูกร่วมกับหญ้าที่มีการแข่งขันสูง เช่น หญ้าแพนโกล่า และหญ้าซิกแนลเลื้อย เป็นต้น การปลูก การดูแลรักษา และการจัดการแปลงหญ้า เช่นเดียวกันกับถั่วเวอราโนสไตโล และให้ผลผลิตเฉลี่ย 1.8 ตันต่อไร่ โปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์
0 notes
soclaimon · 8 years ago
Text
"หญ้าเนเปียร์" พืชไร่ตัวใหม่ ที่น่าจับตามอง
“หญ้าเนเปียร์” พืชไร่ตัวใหม่ ที่น่าจับตามอง
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน
http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05064151059&srcday=2016-10-15&search=no
วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ปีที่ 29 ฉบับที่ 633
รายงานพิเศษ เจาะลึก “พืชไร่” ทำเงิน
จิรวรรณ โรจนพรทิพย์
“หญ้าเนเปียร์” พืชไร่ตัวใหม่ ที่น่าจับตามอง
ที่ผ่านมา เกษตรกรส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคยกับการปลูกพืชไร่ทางเลือกหลักเพียง 3 ชนิด คือ…
View On WordPress
0 notes
palangkaset · 9 years ago
Text
หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ที่กำลังฮอต
นิตยสาร สัตว์บก หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ชื่อพันธุ์: (ไทย) ปากช่อง 1 (อังกฤษ) Pak Chong 1 ชื่อวิทยาศาสตร์: Pennisetum purpureum x Pennisetum Americanum ประวัติพันธุ์: เป็นหญ้าเนเปียร์ที่นำเข้าจากไต้หวันแล้วนำไปปลูกคัดเลือกทดสอบที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา ลักษณะพันธุ์: เป็นหญ้าข้ามปี ลำ...
http://www.palangkaset.com/%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%a7%e0%b9%8c%e0%b8%9a%e0%b8%81/%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87-1/
0 notes