#VOULI
Explore tagged Tumblr posts
djfrancuz · 1 year ago
Video
youtube
Voulez Vous Dancer. Common Listen Beat Mix DJ Francuz
0 notes
prapasara · 5 months ago
Text
Tumblr media
สาธารณรัฐไซปรัส (Republic of Cyprus)
ไซปรัส (อังกฤษ: Cyprus; กรีก: Κύπρος คีโปรส; ตุรกี: Kıbrıs) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐไซปรัส (อังกฤษ: Republic of Cyprus; กรีก: Κυπριακή Δημοκρατία; ตุรกี: Kıbrıs Cumhuriyeti) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก อยู่ทางใต้ของประเทศตุรกี 44 ไมล์ อยู่ทางตะวันตกของชายฝั่งประเทศซีเรียประมาณ 64 ไมล์ และห่างจากเกาะโรดส์ และเกาะคาร์ปาทอส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรีซ 240 ไมล์ ไซปรัสเป็นจุดหมายหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุด โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 2.4 ล้านคนต่อปี
ไซปรัสได้รับเอกราชจากการเป็นอาณานิคมจากสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1960 และเป็นประเทศสมาชิกในเครือจักรภพในปี 1961
สาธารณรัฐไซปรัส REPUBLIC OF CYPRUS
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ในทวีปยุโรปใต้ เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ห่างจากทางตอนเหนือของอียิปต์ 240 ไมล์ ห่างจากตะวันตกของซีเรีย 64 ไมล์ ห่างจากทางใต้ของตุรกี 44 ไมล์ และห่างจากเกาะ Rhodes และเกาะ Carpathos ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ 240 ไมล์
พื้นที่
9,251 ตารางกิโลเมตร แต่อยู่ในการครอบครองของไซปรัสตุรกี 3,355 ตาราง กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของพื้นที่ทั้งหมด
เมืองหลวง
นิโคเซีย (Nicosia) ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลังจากการยึดครองส่วนเหนือของเกาะไซปรัสในปี 2517 โดยตุรกี
ประชากร
838,897 คน (ปี 2555) เป็นเชื้อสายไซปรัสกรีกร้อยละ 77 ไซปรัสตุรกีร้อยละ 18 และอื่น ๆ ร้อยละ 5
ภูมิอากาศ เมดิเตอร์เรเนียน เดือนที่อากาศร้อนและแห้งแล้งที่สุด คือ เดือนกรกฎาคม เดือนที่อากาศเย็นที่สุดและมีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนมกราคม ภาษาราชการ กรีก ตุรกี
ศาสนา คริสต์นิกายไซปรัสออร์โธด็อกซ์ ร้อยละ 78 มุสลิมนิกายสุหนี่ ร้อยละ 18 นอกจากนี้ ยังมีคริสต์นิกายมาโรไนต์ นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายอาร์มาเนียนออร์โธดอกซ์อีกด้วย วันชาติ 1 ตุลาคม หน่วยเงินตรา ยูโร (Euro)
การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศไซปรัสแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต ได้แก่แผนที่แสดงการแบ่งเขตการปกครอง/ชื่อเขต
นิโคเซีย
ลีมาซอล
ลาร์นากา
แพฟอส
แฟมากุสตา
คีรีเนียเขตแฟมากุสตาเขตคีรีเนียเขตลาร์นากาเขตลีมาซอลเขตนิโคเซียเขตแพฟอส
ภูมิหลัง
2503 ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร 2517 เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี โดยชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกมีอำนาจรัฐบาล แต่ได้รับการแทรกแซงจากตุรกี ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี ซึ่งต่อมาไซปรัสตุรกีได้ควบคุมพื้นที่ 36.2% ของเกาะไซปรัส 2526 ไซปรัสตุรกีพยายามสถาปนาตนเองขึ้นเป็นรัฐ เรียกพื้นที่ในการครอบครองว่า “Turkish Republic of Northern Cyprus” (TRNC) แต่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลตุรกีแต่เพียงฝ่ายเดียว 2545-ปัจจุบัน สหประชาชาติได้ดำเนินความพยายามให้ไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีเจรจาเพื่อการรวมประเทศ
การเมืองการปกครอง
ระบบการเมือง สาธารณรัฐ
รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และเป็นหัวหน้ารัฐบาล
อำนาจนิติบัญญัติ  ไซปรัสมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2503 เป็นกฏหมายสูงสุด
รัฐสภาของไซปรัสเป็นแบบสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยตรงทุก 5 ปี โดยแบ่งออกเป็นสภาผู้แทนราษฎรของไซปรัสกรีก หรือ Vouli Antiprosopan และสภาผู้แทนราษฎรของไซปรัสตุรกี หรือ Cumhuriyet Meclisi
สภาฯ ของไซปรัสกรีก มีทั้งหมด 80 ที่นั่ง โดยแบ่งเป็นสมาชิกสภาฯ จากไซปรัสกรีก 56 ที่นั่ง และสมาชิกสภาฯ จากไซปรัสตุรกี 24 ที่นั่ง (ในขณะนี้ มีเพียงตัวแทนจากไซปรัสกรีกในสภา ขณะที่ที่นั่งของฝ่ายไซปรัสตุรกีได้ว่างเว้นไว้ เนื่องจากไซปรัสตุรกีไม่ให้การรับรอง จึงไม่มีการจัดส่งสมาชิกมาเข้าร่วมประชุม แต่ได้มีการจัดตั้งสภาฯ ขึ้นเป็นของตนเอง)
อำนาจตุลาการ ศาลสูงสุด (Supreme Court) ผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ประธานาธิบดี (Chief of State and Chief of Government) ไซปรัสมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556 นายยนิคอส อนาสตาเซียเดส(Nicos Anastasiades) ชนะการเลือกตั้ง และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 โดยเป็นประธานาธิบดีคนที่ 7 นับตั้งแต่ไซปรัสได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี 2503 
นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
๑. การเมืองการปกครอง
๑.๑ ไซปรัสมีรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๐๓ เป็นกฎหมายสูงสุด รัฐสภาเป็นแบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกทั้งหมด ๕๙ คน โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากฝ่ายไซปรัสกรีกจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน ๕๖ คน และตัวแทนจากกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายมาโรไนต์ ๑ คน นิกายโรมันคาทอลิก ๑ คน และตัวแทนชนชาติอาร์เมเนียน ๑ คน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายนิโคซ์ อะนาสตาซิอาเดส (Nicos Anastasiades) ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ประธานาธิบดีไซปรัสมีวาระ ๕ ปี มีสถานะเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรีร่วมกับ รองประธานาธิบดี ซึ่งรองประธานาธิบดีจะต้องมาจากฝ่ายไซปรัสตุรกีตามรัฐธรรมนูญ แต่ในขณะนี้ไม่มี ผู้ดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร
๑.๒ รัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสม ระหว่างพรรค Democratic Rally (DISY) พรรค Democratic Party (DIKO) และพรรค European Party (EVROKO)
ปัญหาการรวมประเทศไซปรัส
๑.๓ สาธารณรัฐไซปรัส ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี ๒๕๐๓ แต่เกิดความรุนแรงระหว่างชาวไซปรัสกรีกกับชาวไซปรัสตุรกี สหประชาชาติได้ส่งกำลังทหารรักษาสันติภาพไปยังไซปรัสในปี ๒๕๐๗ อย่างไรก็ตาม ในปี ๒๕๑๗ หลังจากฝ่ายกรีกได้ทำรัฐประหารรัฐบาลไซปรัส ตุรกีได้ถือโอกาสดังกล่าว เข้ายึดครองส่วนเหนือของเกาะไซปรัส ทำให้ชาวไซปรัสกรีกเป็นจำนวนมากอพยพออกจากดินแดนส่วนนี้ และมีการตั้งระบอบการปกครองตนเองในดินแดนที่ตุรกียึดครอง โดยเรียกตนเองว่า สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (Turkish Republic of Northern Cyprus หรือ TRNC) โดยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไซปรัสตุรกี และระบอบการปกครองดังกล่าวมีเพียงตุรกีให้การรับรองเพียงประเทศเดียว
๑.๔ ขณะนี้เกาะไซปรัสถูกแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ ๑) สาธารณรัฐไซปรัส ๒) TRNC ๓) Green Line เส้นแบ่งแยกดินแดนที่สหประชาชาติดูแลอยู่ และ ๔) เมืองอันเป็นที่ตั้งฐานทัพ ๒ แห่งของสหราชอาณาจักรซึ่งยังคงรักษาอธิปไตยเหนือบริเวณดังกล่าว ตามเงื่อนไขของการให้เอกราชแก่ไซปรัสในปี ๒๕๐๓ ได้แก่ เมืองอาร์โกรตีรี (Akrotiri) และเมืองดีเกร์เลีย (Dhekelia) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้และตะวันออกของเกาะไซปรัสตามลำดับ
๑.๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ สาธารณรัฐไซปรัสเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ซึ่งไม่ได้รวมดินแดนตอนเหนือที่ตุรกียึดครองอยู่ในขณะนี้
๑.๖ สหประชาชาติได้พยายามแก้ไขปัญหาเกาะไซปรัสโดยยึดหลักพื้นฐานของแผนสันติภาพเพื่อ การรวมไซปรัสที่เรียกว่า “แผนอันนัน” (Annan Plan) คือ การมีไซปรัสที่รวมเป็นหนึ่งเดียว (United Cyprus) บริหารโดยรัฐบาลเดียว (Federal Government) และแบ่งเป็น ๒ รัฐ คือ Greek Cyprus State และ Turkish Cyprus State โดยทั้งสองรัฐมีสถานะเท่าเทียมกัน และมีอำนาจบริหารภายใต้อาณาเขตของตนเอง
๑.๗ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๗ ได้มีการลงประชามติของชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและ ชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกีเกี่ยวกับการยอมรับแผนสันติภาพไซปรัสตามข้อเสนอของเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่ ซึ่งผลปราก��ว่า ชาวไซปรัสตุรกียอมรับแผนสันติภาพฯ ร้อยละ ๖๔.๙ ในขณะที่ชาวไซปรัสกรีกปฏิเสธแผนสันติภาพฯ ร้อยละ ๗๕.๘ อันเป็นผลให้แผนสันติภาพดังกล่าวล้มเหลว และเกาะไซปรัสยังคงแบ่งแยกเป็น ๒ ส่วนเช่นเดิม อย่างไรก็ดี สาเหตุที่ฝ่ายไซปรัสกรีกปฏิเสธแผนสันติภาพฯ ถึงร้อยละ ๗๕.๘ นั้น เนื่องจากเห็นว่าแผนสันติภาพฯ ไม่มีความเป็นกลาง โดยเข้าข้างฝ่ายตุรกีมากเกินไป รวมถึงการให้ ความคุ้มครองที่ไม่เพียงพอต่อชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกทางตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นการลดทอนความสำคัญในการให้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ปัจเจกบุคคลพึงได้รับ อนึ่ง เป็นที่เชื่อว่า สาเหตุที่แผนสันติภาพฯ ดังกล่าวให้สิทธิประโยชน์เข้าข้างฝ่ายตุรกีมากกว่า มีสาเหตุจากการที่นายดาเนียล ฟริด (Daniel Fried) ผู้แทนสหรัฐฯ ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษในรัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในเวลาเดียวกัน) ได้เจรจากับฝ่ายตุรกีเพื่อขอนำกำลังทหารสหรัฐฯ ผ่านดินแดนตุรกีเข้าไปทางตอนเหนือของอิรัก โดยมีข้อเสนออันเป็นแรงจูงใจสำคัญในการเจรจา ได้แก่ การเสนอบริจาคและให้กู้เงินจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งการให้สิทธิตุรกีในไซปรัสภายใต้แผนสันติภาพฯ ดังกล่าว
๑.๘ นอกจากนี้ กรีซยังได้เสนอแผนการรวมเกาะไซปรัสโดยใช้เงื่อนไขของสหภาพยุโรป ได้แก่ การยินยอมให้ฝ่ายไซปรัสกรีกสามารถใช้ท่าเรือและท่าอากาศยานของฝ่ายไซปรัสตุรกี การให้ผู้ลี้ภัย ชาวไซปรัสกรีกกลับไปมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินที่ถูกยึดครองตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ การที่ตุรกีจะต้องรับรองสาธารณรัฐไซปรัส และการถอนทหารตุรกี
๑.๙. ท่าทีของรัฐบาลไซปรัสต่อปัญหาข้อพิพาทไซปรัสในขณะนี้ รัฐบาลสนับสนุนให้รื้อฟื้นการหารือกับ TRNC เกี่ยวกับการรวมประเทศ โดยดึงสหภาพยุโรปและตุรกีให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาด้วย
๒. เศรษฐกิจ
๒.๑ ไซปรัสมีระบบเศรษฐกิจที่เปิดเสรีโดยมีภาคบริการเป็นหลักและอุตสาหกรรมเบารองลงมา ชาวไซปรัสเป็นผู้ที่มีฐานะดีที่สุดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ประชากรไซปรัสมีการศึกษาสูงและพูดภาษาอังกฤษได้ดี มีความเป็นอยู่ที่ดีโดยมีค่าครองชีพไม่สูงนัก และมีระบบสื่อสารและคมนาคมที่ทันสมัย
๒.๒ ระบบเศรษฐกิจของไซปรัสถูกกำหนดโดยการแบ่งแยกดินแดนเหนือและใต้ โดยเศรษฐกิจในส่วนของสาธารณรัฐไซปรัสมีความเจริญรุ่งเรืองและหลากหลาย รวมทั้งมีนักธุรกิจต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เข้าไปจัดตั้งบริษัทนอกประเทศ (offshore) เพื่อประโยชน์ในด้านภาษีและอากร นอกจากนี้ ไซปรัสยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีนักท่องเที่ยวประมาณ ๒.๔ ล้านคนต่อปี
๒.๓ เศรษฐกิจของไซปรัสเหนือที่ถูกตุรกียึดครองจะมีเศรษฐกิจที่เน้นด้านบริการเป็นหลัก อาทิ การท่องเที่ยว และการศึกษา โดยมีภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเบาเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ดินแดน ส่วนนี้มีความล้าหลังทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากเนื่องจากไม่ได้รับการรับรองและไม่มีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับประชาคมโลก ยกเว้นตุรกีเพียงประเทศเดียว โดยได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลไซปรัสตุรกีในการดำเนินโครงการต่างๆ
๒.๔ เศรษฐกิจของสาธารณรัฐไซปรัสมีศักยภาพในการเจริญเติบโตอย่างมากในฐานะสมาชิกสหภาพยุโรป และมีศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนและอาจกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจของภูมิภาคในที่สุด โดยไซปรัสมีเรือจดทะเบียนมากเป็นลำดับ ๔ ของโลก ประมาณ ๒,๘๐๐ ลำ คิดเป็นจำนวนประมาณ ๒๕.๕ ล้าน Gross Registered Tons (GRTs) และได้มีการค้นพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในบริเวณทางทะเลตอนใต้ของเกาะไซปรัส
๒.๕ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันไซปรัสกำลังประสบวิกฤตทางการเงิน สืบเนื่องจากภาคธนาคาร ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าขนาดเศรษฐกิจของไซปรัสประมาณร้อยละ ๘ กล่าวคือ ๑) นโยบายของรัฐบาลไซปรัสที่ผ่านมาให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการแก่ชาวต่างชาติแบบเสรีและรัฐบาลเก็บภาษีธุรกิจเพียง ๑๐% เท่านั้น ทำให้ธนาคารในไซปรัสเป็นแหล่งรับเงินฝากเงินจำนวนมาก (รวมทั้งฟอกเงิน) จากชาวต่างชาติ โดยเฉพาะจากรัสเซีย กรีซ เนื่องจากเป็นแหล่งฝากเงินภาษีต่ำ ๒) ภาคธนาคารในไซปรัสมีขนาดใหญ่มากประมาณ ๘ เท่าของขนาดเศรษฐกิจ เงินที่รับฝากจากชาวต่างชาติจำนวนมากนั้น ธนาคารไซปรัสนำไปให้ผู้อื่นกู้ ผู้กู้รายใหญ่ ๆ ได้แก่ ธนาคารและธุรกิจในประเทศกรีซ เมื่อกรีซประสบวิกฤติเศรษฐกิจจนเกือบล้มละลาย ธนาคารไซปรัสได้รับผลกระทบสูงด้วย ส่งผลให้ไซปรัสต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป
๒.๖ ปัจจุบัน กลุ่ม Troika ซึ่งประกอบด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารกลางสหภาพยุโรป และสหภาพยุโรป ตกลงที่จะให้เงินช่วยเหลือมูลค่า ๑๐ พันล้านยูโร ภายใต้เงื่อนไขที่ไซปรัสต้องระดมเงินจากภายในประเทศไซปรัสเพิ่มเติมอีก มูลค่า ๕.๘ พันล้านยูโร โดยการเรียกเก็บภาษีจากบัญชีเงินฝากที่มีมูลค่ามากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ยูโร ของธนาคารหลัก ๒ แห่งของไซปรัสคือ ธนาคาร Popular Bank of Cyprus (Laiki) และธนาคาร Bank of Cyprus (BoC)
๒.๗ แม้ว่าไซปรัสจะได้รับเงินช่วยเหลือและรอดพ้นจากภาวะล้มละลาย แต่การปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อเพื่อขอเงินช่วยเหลือดังกล่าวนั้นจะมีผลร้ายแรงยิ่ง โดยกิจการธนาคารจะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ไม่มีเงินทุนจากภายนอกไหลเข้าไปอีก เงินทุนส่วนใหญ่จะหายไปจนไม่มีธุรกิจใดสามารถยืมเงินได้ตามต้องการ และรัฐบาลจะต้องตัดทอนงบประมาณลงอย่างมาก รวมทั้งประชาชนจะเข้าถึงเงินของตนได้เป็นบางส่วนเท่านั้น จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต โดยบริษัทเอกชนอาจไม่สามารถจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤติ ธนาคาร สหภาพแรงงานธนาคารขู่ชุมนุมหยุดงาน และอาจปิดบริการนานเกินกว่ากำหนด และนั่นก็จะส่งผลทำให้การทำธุรกิจและการลงทุนชะงักงัน
๓. นโยบายต่างประเทศ
นโยบายการต่างประเทศที่สำคัญของไซปรัส ได้แก่ สมัครเข้าเป็นสมาชิกของ Partnership for Peace ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างองค์การ NATO กับประเทศนอกกลุ่ม เพื่อเป็นจุดเริ่ม���้นในการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การ NATO ปรับความสัมพันธ์ ให้ใกล้ชิดกับสหภาพยุโรปมากขึ้น จากเดิมรัฐบาลสมัยที่แล้วมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัสเซีย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในด้านการเงิน รวมทั้งประสงค์จะกระชับความสัมพันธ์กับจีนในด้านพลังงาน การลงทุน และการท่องเที่ยว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายโยอานิส คัสซูลีเดส (Ioannis Kasoulides)
ทั้งนี้ รัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นรัฐบาลของสาธารณรัฐไซปรัสที่ถูกต้อง คือรัฐบาลไซปรัสกรีก  
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของประเทศไซปรัสมีความหลากหลายและมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดตามประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ประมาณการไว้ว่า จีดีพีต่อหัวของไซปรัสน��าจะอยู่ที่ประมาณ 28,381 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มสหภาพยุโรป
นโยบายสำคัญของรัฐบาลไซปรัส คือ ทำให้ประเทศไซปรัสเป็นฐานสำหรับทำธุรกิจของชาวต่างชาติ และ พยายามผลักดันให้ไซปรัสเข้าเป็นหนึ่งในกลุ่มสหภาพยุโรปให้ได้ และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
เศรษฐกิจการค้า
ดัชนีทางเศรษฐกิจที่สำคัญ (ปี 2555) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 23.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รายได้เฉลี่ยต่อหัว 26,389 ดอลลาร์สหรัฐ อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ -2.3 อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.4 สินค้าส่งออก เภสัชกรรม ซีเมนต์ เสื้อผ้า ยาสูบ ประเทศผู้ส่งออกสำคัญ กรีซ (ร้อยละ 23) อังกฤษ (ร้อยละ 10) สินค้านำเข้า สินค้าอุปโภคบริโภค ปิโตรเลียม เครื่องจักร ประเทศผู้นำเข้าสำคัญ กรีซ (ร้อยละ 21) อิสราเอล (ร้อยละ 12) อิตาลี (ร้อยละ 8) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 7) เยอรมนี (ร้อยละ 7) เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 7) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 6) จีน (ร้อยละ 5)
  ทรัพยากร ธรรมชาติที่สำคัญ ก๊าซธรรมชาติ ทองแดง ไพไรท์ (ธาตุใช้ในการผลิตกรดซัลฟูริค) เส้นใย ไฟเบอร์ธรรมชาติ (ใช้กันไฟ) ยิบซั่ม ไม้ เกลือ หินอ่อน อุตสาหกรรมหลัก การธนาคาร การท่องเที่ยว การเดินเรือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับแร่และซิเมนต์ การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์รองเท้า อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับไซปรัส
พระราชสาส์นแสดงความยินดี ไปยังพระราชสาส์นแสดงความยินดี ไปยังประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไซปรัส ข่าวในพระราชสำนัก วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖���
ในหลวง มีพระราชสาส์นแสดงความยินดี ประธานาธิบดีไซปรัส สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ส่งข้อความพระราชสาส์นแสดงความยินดีไปยังนายนีโคส คริสโตดูลิดีส (Mr. Nikos Christodoulides) ในโอกาสสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไซปรัสคนใหม่ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
1. ความสัมพันธ์ทั่วไป
    1.1 การทูต
           ไทยและไซปรัสได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2523 ปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม มีเขตอาณาครอบคลุมไซปรัส โดยเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐไซปรัส มีถิ่นพำนัก ณ กรุงโรม (อิตาลี) คนปัจจุบันคือ นายสุรพิทย์ กีรติบุตร และมีนาย Elias Panayides เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำไซปรัส ส่วนเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นาง Maria Michail โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย และนายปณิธิ วสุรัตน์ เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไซปรัสประจำไทย
           สำหรับท่าทีของไทยต่อปัญหาไซปรัส คือ ไทยไม่ให้การรับรองสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ หรือ Turkish Republic or Northern Cyprus (TRNC) โดยตุรกีเป็นประเทศเดียวที่รับรอง TRNC ทั้งนี้ ไทยยึดถือและปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) และการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาไซปรัส ซึ่งไม่รับรองดินแดนส่วนเหนือที่ตุรกีส่งกองกำลังเข้าไปยึดครองตั้งแต่ปี 2517 และไทยสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติในการดำเนินความพยายามเพื่อให้มีการเจรจา แก้ไขปัญหาระหว่างชุมชนไซปรัสทั้งสองกลุ่มและประเทศที่เกี่ยวข้องต่อไป
   1.2 การเมือง
          ไทยกับไซปรัสมีความสัมพันธ์ทางการเมืองค่อนข้างน้อย ไม่มีการแลกเปลี่ยนการเยือนมากนัก อย่างไรก็ดี ไทยกับไซปรัสมีความร่วมมือในกรอบพหุภาคี อาทิ กรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting (ASEM)) และการแลกเสียงในองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ
   1.3 เศรษฐกิจ
         1.3.1 การค้า           ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับไซปรัสยังมีอยู่น้อยเช่นกัน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการค้าของไซปรัสผูกติดกับประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป เป็นส่วนใหญ่           มูลค่าการค้าไทย-ไซปรัส ในปี 2555 การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับไซปรัสมีมูลค่าเท่ากับ 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ           สินค้าส่งออกของไทย อาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ปลาหมึกสด/กุ้งสดแช่แข็ง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องดื่ม           สินค้านำเข้าจากไซปรัส ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เลนซ์ แว่นตา และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ยุทธปัจจัย    
          1.3.2 การลงทุน             การลงทุนของไซปรัสในไทยมีเพียงโครงการเดียวในด้านพาณิชย์นาวี มูลค่า 228 ล้านบาท
1.4 การท่องเที่ยว 
      นักท่องเที่ยวไซปรัสมาไทย 2,732 คน (2555)
1.5 คนไทยในไซปรัส 
       มีคนไทยอาศัยอยู่ในไซปรัสประมาณ 200 คน ส่วนใหญ่เป็นสตรีที่แต่งงานกับคนไซปรัส 1.6 สังคมและวัฒนธรรม
       ในด้านสังคม สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำไซปรัสประเมินว่ามีคนไทยอยู่ในไซปรัสประมาณ 200 คน โดยในจำนวนนี้ มีถิ่นพำนักอยู่ในกรุงนิโคเซียประมาณ 100 คน ส่วนใหญ่เป็นสตรีที่แต่งงานกับคนไซปรัส
2. ความตกลงกับไทย
     2.1 ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2537)      2.2 ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรใน ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่เก็บจากเงินได้ (ลงนามเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2541 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543)
3. การเยือนที่สำคัญ
     3.1 ฝ่ายไทย             - วันที่ 25-26 ตุลาคม 2547 นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เอกอัครราชทูตไทยประจำไซปรัส โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโรม เยือนไซปรัสเพื่อยื่นพระราชสาส์นต่อประธานาธิบดี Tassos Papadopoulos
     3.2 ฝ่ายไซปรัส             - วันที่ 25 - 29 พฤษภาคม 2517 พระสังฆราชมาการิออส อดีตประธานาธิบดีไซปรัส เยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล             - วันที่ 1 - 3 กรกฎาคม 2527 ประธานาธิบดี Spyros Kyprianou แห่งสาธารณรัฐไซปรัส พร้อมด้วยนาย George Iacovou รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทย             - วันที่ 18-20 มีนาคม 2533 นาย Andreas Jacovides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไซปรัสเยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ             - วันที่ 14 พฤษภาคม 2534 นาย Tassos Panayides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไซปรัสเแวะผ่านไทย             - วันที่ 18 ธันวาคม 2546 นาย Andreas G. Skarparis เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี เยือนไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย             - วันที่ 18 ธันวาคม 2554 นาง Nafsika Chr. Krousti เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี เยือนไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย             - วันที่ 10 ธันวาคม 2556 นาง Maria Michail เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี เยือนไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย
หน่วยงานของไทยในไซปรัส
เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงโรม (Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary) สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม มีเขตอาณาดูแลไซปรัส Royal Thai Embassy Via Nomentana 132t 00162, Rome, Republic of Italy Tel. (3906) 8620-4381,8620-4382 Fax (3906) 8620-8399 E-mail : [email protected]
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐไซปรัส
Royal Thai Honorary Consulate 40 Evagoras Ave, 1st Floor Flat 3, 1097, Nicosia, Cyprus Tel (357) 2267-4900 Fax (357) 2267-5544 เวลาทำการ จันทร์ถึงศุกร์ 08.00-13.00 น. และ 15.00 - 17.00 น.
แผนที่ กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศไซปรัส (Honorary Consul) Mr. Elias Panayides รับตำแหน่งกงสุลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2535 รองกงสุลคือนาย Chrysanthos Panayides เข้ารับตำแหน่งรองกงสุลตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2540
หน่วยงานของไซปรัสในไทย
สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี The Embassy of the Republic of Cyprus 106 Jor Bagh New Delhi – 110003 India Tel. 91-11-4697503, 4697508 Fax 91-11-4628828 Email: [email protected] เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี (Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary) นางนาฟสิก้า ครูสติ (Nafsika Chr. Krousti) โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย และดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไซปรัสประจำประเทศไทย (Cyprus) The Honorary Consulate of the Republic of Cyprus 75/59 Richmond Building 17th Floor, Sukhumvit 26 Klongtoey, Prakhanong Tel. 0-2661-2319-22 Fax 0-2261-8410 กงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consul) อยู่ระหว่างพิจารณาแต่งตั้ง สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของไซปรัสในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี
สาธารณรัฐไซปรัส
ประเทศไซปรัส
สถานที่ที่ดีที่สุดที่จะอยู่ในสาธารณรัฐไซปรัส
เมืองน่าอยู่ที่สุดใน
สาธารณรัฐไซปรัส
Best places to live in Cyprus
Best places to live in Cyprus
ที่มา     ::   https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2215e39c306000a260  ,  http://www.thaiembassy.it/  
2 notes · View notes
goexploregreece · 2 years ago
Text
Tumblr media
Exploring the heart of modern-day democracy in Athens.
The Greek Parliament House, also known as the Vouli Ton Ellinon, stands as a symbol of the birthplace of democracy and its enduring legacy. Located at Syntagma Square in the heart of Athens, this magnificent building has been the centre of political power in Greece for over a century.
As you step inside, you are greeted by the grand central staircase that leads to the main chamber, where the members of parliament convene to discuss the nation's affairs. The interior is adorned with intricate frescoes, marble columns, and elegant chandeliers, making it one of the most beautiful buildings in Athens.
One of the most fascinating aspects of the Parliament House is its role in the history of democracy. In the 19th century, the building served as the Royal Palace, but after the Greek War of Independence, it became the seat of the country's parliamentary government. Since then, the Parliament House has been the site of many historical moments, including the adoption of the Greek Constitution and the declaration of the country's independence from the Ottoman Empire.
Walking through the halls of the Parliament House, you can feel the weight of history and the spirit of democracy that pervades the building. The chambers where the members of parliament convene are richly decorated with portraits of Greek leaders and allegorical scenes from Greek mythology, reminding us of the nation's rich cultural heritage.
You can also explore the National Historical Museum, located in the basement of the building. Here, you can learn about the history of Greece and its journey to becoming a democratic nation, including the events that led to the country's independence and the achievements of its most outstanding leaders.
8 notes · View notes
hellenicnews · 1 month ago
Text
Η κατάθεση του αστυνομικού της Βουλής στον ανακριτή - Μας κακοποιούσαν και οι δύο μας γονείς, είπαν τα κορίτσια
Tumblr media
Προφυλακιστέος κρίθηκε μετά την απολογία του χθες ο αστυνομικός της Βουλής που κατη��ορείται ότι βίαζε τα παιδιά του. Ο 45χρονος απολογήθηκε από το Στρατιωτικό Νοσοκομείο, όπου παραμένει φρουρούμενος κατόπιν επίκλησης εκ μέρους του ψυχολογικών προβλημάτων.
Πηγή: https://www.protothema.gr/greece/article/1570845/ti-katethese-ston-anakriti-o-astunomikos-tis-voulis-gia-ola-ftaiei-i-dipoliki-diatarahi-tis-suzugou-mou/
0 notes
alexia-das · 1 month ago
Text
Προφυλακιστέος ο αστυνομικός της Βουλής που κατηγορείται για τον βιασμό των παιδιών του
Tumblr media
Προφυλακιστέος κρίθηκε μετά την απολογία του ο αστυνομικός της Βουλής που κατηγορείται ότι βίαζε τα παιδιά του.
Ο 45χρονος απολογήθηκε από το Στρατιωτικό Νοσοκομείο, όπου παραμένει φρουρούμενος κατόπιν επίκλησης εκ μέρους του ψυχολογικών προβλημάτων, και στο οποίο μετέβησαν το πρωί ο ανακριτής της υπόθεσης και ο αρμόδιος εισαγγελέας.
Πηγή: https://www.protothema.gr/greece/article/1570457/profulakisteos-o-astunomikos-tis-voulis-pou-katigoreitai-gia-ton-viasmo-ton-paidion-tou/
0 notes
bestinfo · 1 month ago
Text
Αύριο η απολογία του αστυνομικού της Βουλής που κατηγορείται για βιασμό των παιδιών του - Το βαρύ κατηγορητήριο
Tumblr media
Ενώπιον του ανακριτή προκειμένου να απολογηθεί για πλήθος κακουργηματικών πράξεων, αναμένεται να βρεθεί αύριο ο αστυνομικός που κατηγορείται για το βιασμό των παιδιών του μετά από καταγγελία της συζύγου του επίσης αστυνομικού.
Πηγή: https://www.protothema.gr/greece/article/1569952/aurio-i-apologia-tou-astunomikou-tis-voulis-pou-katigoreitai-gia-viasmo-ton-paidion-tou-to-varu-katigoritirio/
0 notes
telesat-news · 1 month ago
Text
Nova изменила параметры тп. на Hot Bird
Греческий оператор Nova Hellas настроил оставшиеся транспондеры спутниковой системы Eutelsat Hot Bird 13°E . Новые значения SR и FEC позволили увеличить пропускную способность мультиплексов, но ценой увеличения требований к мощности сигнала, необходимой для правильного приема. Нова изменила параметры тп. на Hot Bird Недавно в tp было внесено изменение. 73 (12.169H; DVB-S2), с которого транслируются греческие бесплатные эфирные каналы ERT World и Vouli . Теперь остальные транспондеры претер... Читать дальше »
0 notes
eidiseislive · 2 months ago
Text
Νέα Ζηλανδία: Αντιδράσεις μετά τις δηλώσεις του Άντριου Τέιτ για το «χάκα» στη Βουλή - «Αυτό είναι γκέι»
Tumblr media
Ο αυτοαποκαλούμενος «μισογύνης» influencer Άντριου Τέιτ, προσέβαλε το γνωστό «Χάκα», αφού ο πολεμικός χορός χρησιμοποιήθηκε ως μέσο διαμαρτυρίας για ένα αμφιλεγόμενο νομοσχέδιο στο κοινοβούλιο της Νέας Ζηλανδίας.
Πηγή: https://www.protothema.gr/world/article/1563424/nea-zilandia-adidraseis-meta-tis-diloseis-tou-adriou-teit-gia-to-haka-sti-vouli-auto-einai-gei/
0 notes
healthylifesthings · 6 months ago
Text
Tumblr media
ΙΣΝ: Προς κύρωση στη Βουλή η δωρεά για το Κέντρο Αναφοράς Ψυχικής Υγείας στο Παίδων https://health.rodos-island.gr/isn-pros-kyrosi-sti-vouli-dorea-gia-kentro-anaforas-psychikis/
0 notes
traveltourismnews · 6 months ago
Text
Υπερψηφίστηκε στη Βουλή το νομοσχέδιο του υπουργείου Τουρισμού | Αυτές είναι οι βασικές διατάξεις | Αλλαγές για τους ξεναγούς
https://travel-tourism.news-24.gr/yperpsifistike-sti-vouli-nomoschedio-tou-ypourgeiou-tourismou-aftes-einai-vasikes/
0 notes
gemsofgreece · 7 months ago
Text
SUBMISSION:
Εχεις δει επεισόδια της εκπομπής “εξόριστη ελληνική τέχνη” στο κανάλι της βουλής;
https://www.hellenicparliament.gr/Enimerosi/Vouli-Tileorasi/programma/?date=2024-06-24&tv=4afe4be3-9bbd-4fed-a526-b193011f7346&p=8a44367f-0e36-4b7e-a29e-ae7400ff3f57
Κάτι δεν πάει καλά εδώ, αλλά δεν το'χω τσεκάρει ακόμα γιατί βλέποντας 1. τα -συχνά βιαίως- κλεμμένα αριστουργήματα να ��έγονται εξόριστα, οτι τι δηλαδή εμείς τα εξορίσαμε, εμείς τα διώξαμε;;; 2. Δεν υπερβάλλω το τραγούδι τίτλων αυτό λέει “τα διώξαμε”, πάμε καλά;;;; 3. να λέει η κάρτα περιγραφής ότι οι κλέφτες τα “φιλοξενούν”;;;!!! το ‘χουμε χάσει τελείως;; στο κανάλι της βουλής αυτό;; Βλέποντας αυτά μου αναβαίνει το αίμα στο κεφάλι και μέχρι να ηρεμήσω και να βρω την ενέργεια να δω τα επεισόδια και τι ακριβώς προσπαθούν να πουν μ αυτή την εκπομπή, ασ'τα λέω, άλλη φορά, κι έτσι δεν το 'χω δει ακόμα. Αλλά και να μην προσπαθεί η εκπομπή η ίδια να εξωραΐσει τα εγκλήματα των κλεφτών ή να πει ναι μεν τα κλεψαν αλλά είναι δικά τους τώρα τι να κάνουμε finders keeps μαλακίες, η μισή ζημιά έχει ήδη γίνει απ την περιγραφή, δεν μπορεί το κανάλι της Βουλής! να λέει οτι εμείς τα διώξαμε, και τα καημενούλια τα εξόριστα τα μάζεψαν οι καλοί στοργικοί ξένοι και τα φιλοξένησαν και τους έδωσαν σπίτι, ενώ εμείς οι κακοί δεν τα παίρνουμε τα εξόριστα πίσω!!!! Και δεν είναι μονο ο τρόπος κτήσης τους το πρόβλημα όπως λέει, αν υψηλόβαθμοι προδότες τα 'χαν πουλήσει “νομίμως” αλλά ενάντια στη βούληση του λαού και πάλι δεν ανήκουν στους ξένους, ελπίζω να μην προσπαθούν να πουν οτι ο “υποπτος και λαθραίος τρόπος κτήσης είναι το μόνο πρόβλημα” αλλά κατα τ άλλα τους ανήκουν και με κάποιες υποχωρήσεις απο μέρους τους ειμαστε εντάξει, κι εμείς να πρέπει να αφήσουμε στην άκρη το θέμα ιδιοκτησίας εθνικών θησαυρών και τα “νοικιάσουμε απ’ αυτούς"  κι ολα "μελι γάλα”. Και ποιος ειναι αυτός τύπος, ο λόρδος, που είναι ο μονος που αναφέρεται στην περιγραφή, γιατί δεν είναι κορυφαίος αρχαιολόγος απ την Ελλάδα;;; Συμβολισμός, κυρίες και κυριοι του καναλιού της Βουλής, καταλαβαίνετε τι εστί συμβολισμός;;;!!
ΑΠΑΝΤΗΣΗ / ΣΧΟΛΙΑΣΜΟΣ ΣΤΟ SUBMISSION: 
Πραγματικά δεν έχεις άδικο:
Tumblr media
Τι πάει να πει “εξόριστη”, μήπως τα στείλαμε και στην Μακρόνησο;;; Η περιγραφή και μόνο ρίχνει προφανώς μεγάλο μέρος της ευθύνης και σε λαθροανασκαφές διαπεπραγμένες από ντόπιους. Φυσικά και θα έπρεπε να αναφερθούν αυτά, αλλά ακόμα και έτσι δεν μπορεί να χρησιμοποιηθεί ο όρος “εξόριστη”, τι φάση, αυτός ο όρος θα άρμοζε μόνο εάν ήταν επίσημη απόφαση του κράτους ή του λαού να δώσει στο εξωτερικό αρχαία! Επειδή υπάρχουν κάποιοι παράνομοι που τα ξέθαψαν κάτω από τη μύτη μας, θα τα πούμε εξόριστα, σοβαρά τώρα;;; Θα σου πω εγώ όμως τι συμβαίνει, για να γίνει αυτό το ντοκιμαντέρ προφανώς έπρεπε να πάρουν άδεια από όλα τα ξένα μουσεία και τα ξένα μουσεία ξεκάθαρα προκειμένου να δεχτούν να δώσουν άδεια στους Έλληνες, απαίτησαν το ντοκιμαντέρ να είναι όσο πιο διαλλακτικό γίνεται και να μην τους κατηγορεί για την απόκτηση των αρχαίων. Εν ολίγοις, πιο εύκολα κάνει οποιοσδήποτε ξένος ντοκιμαντέρ για τα ελληνικά αρχαία εκτός Ελλάδας παρά Έλληνας! Ο λόρδος είναι λέει φιλέλληνας αρχαιολόγος αλλά είναι και στην Βουλή των Λόρδων, προφανώς επιλέχθηκε στρατηγικά για να θέτει όρια, δηλαδή ναι μεν να περιγράψει τα εκθέματα με πάθος και ακρίβεια αλλά και να διασφαλίσει ότι οι Έλληνες δεν θα ξεφύγουν στο περιεχόμενο από τις γραμμές της βρετανικής πολιτικής. 
Κοίτα και το άλλο... όλη η σειρά είναι 24 σαρανταπεντάλεπτα επεισόδια, 24 x 45 = 1080 λεπτά... και αυτά φαντάζομαι θα είναι για τα πιο γνωστά, σπουδαία εκθέματα για τα οποία αξίζει να γίνουν ντοκιμαντέρ... φαντάσου λοιπόν ΠΟΣΑ είναι όλα, μαζί με τα λιγότερο γνωστά και τα χιλιάδες των αρχαίων που είναι γνωστό ότι κρατούν στις αποθήκες και δεν εκθέτουν μόνιμα.........................
1 note · View note
news-24gr · 7 months ago
Text
Tumblr media
Στη Βουλή από τον Χάρη Μαμουλάκη η πορεία αποκατάστασης του Ναού Αγίας Ειρήνης Κάμπου Ικαρίας https://news-24.gr/sti-vouli-apo-ton-chari-mamoulaki-poreia-apokatastasis-tou-naou/
0 notes
thoughtfullyblogger · 10 months ago
Text
Με Υπουργό Υγεία Αδωνι Γεωργιάδης πέθανε 33χρονος και δεν εφημέρευε γενικός χειρουργός στο Νοσοκομείο Αγίου Νικολάου Κρήτης
Πρόκειται για το δεύτερο περιστατικό που καταλήγει σε θάνατο ασθενής λόγω ελλείψεων προσωπικού, επισημαίνει ο πρόεδρος Εργαζομένων στο Νοσοκομείο Αγίου Νικολάου ΑΔΩΝΙΣ ΓΕΩΡΓΙΑΔΗΣ ΒΟΥΛΗ VOULI Την τραγική κατάσταση του ΕΣΥ έρχεται να καταδείξει ο θάνατος του 33χρονου Μανώλη Κριτσωτάκη, ο οποίος τραυματίστηκε θανάσιμα από φωτοβολίδα, το βράδυ της Κυριακής στον Άγιο Νικόλαο. Όπως επισημαίνει ο…
Tumblr media
View On WordPress
0 notes
eclecticstarlightblogger · 10 months ago
Text
Με Υπουργό Υγεία Αδωνι Γεωργιάδης πέθανε 33χρονος και δεν εφημέρευε γενικός χειρουργός στο Νοσοκομείο Αγίου Νικολάου Κρήτης
Πρόκειται για το δεύτερο περιστατικό που καταλήγει σε θάνατο ασθενής λόγω ελλείψεων προσωπικού, επισημαίνει ο πρόεδρος Εργαζομένων στο Νοσοκομείο Αγίου Νικολάου ΑΔΩΝΙΣ ΓΕΩΡΓΙΑΔΗΣ ΒΟΥΛΗ VOULI Την τραγική κατάσταση του ΕΣΥ έρχεται να καταδείξει ο θάνατος του 33χρονου Μανώλη Κριτσωτάκη, ο οποίος τραυματίστηκε θανάσιμα από φωτοβολίδα, το βράδυ της Κυριακής στον Άγιο Νικόλαο. Όπως επισημαίνει ο…
Tumblr media
View On WordPress
0 notes
greekblogs · 10 months ago
Text
Με Υπουργό Υγεία Αδωνι Γεωργιάδης πέθανε 33χρονος και δεν εφημέρευε γενικός χειρουργός στο Νοσοκομείο Αγίου Νικολάου Κρήτης
Πρόκειται για το δεύτερο περιστατικό που καταλήγει σε θάνατο ασθενής λόγω ελλείψεων προσωπικού, επισημαίνει ο πρόεδρος Εργαζομένων στο Νοσοκομείο Αγίου Νικολάου ΑΔΩΝΙΣ ΓΕΩΡΓΙΑΔΗΣ ΒΟΥΛΗ VOULI Την τραγική κατάσταση του ΕΣΥ έρχεται να καταδείξει ο θάνατος του 33χρονου Μανώλη Κριτσωτάκη, ο οποίος τραυματίστηκε θανάσιμα από φωτοβολίδα, το βράδυ της Κυριακής στον Άγιο Νικόλαο. Όπως επισημαίνει ο…
Tumblr media
View On WordPress
0 notes
skandaladiaplokidiafthora · 10 months ago
Text
Με Υπουργό Υγεία Αδωνι Γεωργιάδης πέθανε 33χρονος και δεν εφημέρευε γενικός χειρουργός στο Νοσοκομείο Αγίου Νικολάου Κρήτης
Πρόκειται για το δεύτερο περιστατικό που καταλήγει σε θάνατο ασθενής λόγω ελλείψεων προσωπικού, επισημαίνει ο πρόεδρος Εργαζομένων στο Νοσοκομείο Αγίου Νικολάου ΑΔΩΝΙΣ ΓΕΩΡΓΙΑΔΗΣ ΒΟΥΛΗ VOULI Την τραγική κατάσταση του ΕΣΥ έρχεται να καταδείξει ο θάνατος του 33χρονου Μανώλη Κριτσωτάκη, ο οποίος τραυματίστηκε θανάσιμα από φωτοβολίδα, το βράδυ της Κυριακής στον Άγιο Νικόλαο. Όπως επισημαίνει ο…
Tumblr media
View On WordPress
0 notes