#TheRoyalRain
Explore tagged Tumblr posts
furenchifuraidesu · 2 years ago
Text
The Royal Rain
จากบทความ การทำฝนเทียมในประเทศไทย พ.ศ. 2514 การทำ��ายเมฆหมอก เพื่อถวายอารักขา และช่วยราชการทหาร ตำรวจ โดย ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล  จากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพันตำรวจเอก จินต์ ประยงค์
Tumblr media
ภาพจาก https://www.komchadluek.net/news/487725
ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล “สายรุ้ง” ของกรมฝนหลวง
Tumblr media
คุณชายเทพฤทธิ์ จบการศึกษาด้านวิศวกรรมเกษตรจากสหรัฐอเมริกา แต่เดิมรับราชการในกรมเกษตร กระทรงเกษตราธิการ และด้วยความเชี่ยวชาญทั้งด้านเครื่องกล และ การเกษตร คุณชายก็ได้คิดค้นเครื่องมือสำหรับเกษตรกรรมมากมาย รวมไปถึงการตั้งโรงงานเพื่อผล��ตสินค้าจำเป็นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เช่น สำลี โซดาไฟ โรงสกัดน้ำมันพืช โรงงานนมผง นอกจากโรงงานผลิตต่าง ๆ คุณชายเทพฤทธิ์ ก็ยังมีผลงานโดดเด่นที่สำคัญคือ “ควายเหล็ก” หรือรถไถนา
ภายหลัง ได้มีการจัดตั้งกรมการข้าวขึ้นมาแล้ว คุณชายเทพฤทธิ์ ได้เป็นหัวหน้ากองวิศวกรรม และ ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยในปีเดียวกันที่จัดตั้งกรมข้าวแล้ว ซึ่งก็เป็นปีแรกที่สมเด็จพระชนกาธิเบศรทรงริเริ่มว่าประเทศไทยจะต้องทำฝนเทียม หลังจากที่คุณชายเทพฤทธิ์ต้องรับผิดชอบเรื่องการทำฝนเทียมแล้ว คุณชายเทพฤทธิ์ก็ได้ไปสอบใบอนุญาตทำการบินของสำนักการบินพลเริอนด้วย
โดย เวลาที่คุณชายเทพฤทธิ์ ทำการบินก็จะใช้นามเรียกขานว่า “สายรุ้ง” มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีทางศาสนาที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีด้วยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง บนท้องฟ้ามีเมฆหนาทึบ คุณชายเทพฤทธิ์จึงบินไปโปรยแคลเซียมคลอไรด์ตลอดทาง และทำให้เมฆแหวกไปจนถึงพระตำหนักจิตรลดา ซึ่งการโปรยแคลเซียมคลอไรด์ครั้งนี้ ก็จะพัฒนาเป็นฝนหลวงได้สำเร็จในอนาคต
เรื่องการทำฝนหลวง และ ปฏิบัติการทางอากาศอื่น ๆ จะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป
Tumblr media
ภาพและข้อมูลจาก http://huahin.royalrain.go.th/historyhuahinroyalrain/history3.php
ปฐมบทแห่งการทำฝนหลวง
ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ที่อำเภอกุฉิน���รายณ์ (จ.กาฬสินธุ์) ซึ่งเป็นทางผ่านในเส้นทางเสด็จจากภูพานไปยังตัวเมืองกาฬสินธุ์ มีประชาชนออกมาเฝ้ารอดูขบวนเสด็จ  พระชนกาธิเบศรได้ทรงจอดรถพระที่นั่ง แล้วลงไปตรัสถามไถ่กับชาวบ้านที่มารอรับเสด็จ ถึงปัญหาภัยแล้ง โดยที่กาฬสินธุ์นี้ มีปัญหาฝนทิ้งช่วงจนไม่มีน้ำสำหรับเพาะปลูก ทั้งยังขาดน้ำสำหรับบริโภคอีกด้วย นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำฝนหลวงขึ้น
ภายหลังได้มีการเรียกคุณชายเทพฤทธิ์ให้ไปเข้าเฝ้า เพราะคุณชายเทพฤทธิ์มีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมการเกษตรมากที่สุดในขณะนั้น มาศึกษาการทำฝนเทียม ซึ่งก็ใช้เวลาถึง ๑๒ ปี กว่าจะได้มีการทดลองทำฝนหลวงครั้งแรก
ในระหว่างการศึกษาวิธีทำฝนหลวงก็ยังมีอุปสรรคมากมาย โดยอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ ขาดแคลนเครื่องบินสำหรับใช้บินทดลอง   ภายหลังมาถึงปี พ.ศ.๒๕๑๒ ดร.แสวง กุลทองคำ ปลัดกระทรวงเกษตร ได้จัดตั้งหน่วยบินเกษตรขึ้น จึงได้มีการทดลองบินเพื่อทำฝนหลวงเป็นครั้งแรก
Tumblr media
การทดสอบฝนหลวง
การบินเพื่อทดสอบปฏิบัติการฝนหลวง เกิดขึ้นครั้งแรกในวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๒ ที่อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยทดสอบบริเวณป่าสงวนแห่งชาติก่อน แต่ภายหลัง สมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรทรงเห็นว่าควรจะย้ายไปที่สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ เพราะที่จังหวัดประจวบมีภูมิประเทศหลากหลายกว่าโคราช และที่สำคัญคือ หากปริมาณน้ำฝนจากการทดลองมากเกินไปก็จะไม่เกิดน้ำท่วม เพราะระบายน้ำลงทะเลได้ง่าย และ พื้นที่ จ.ประจวบฯ ก็ประสบภัยแล้งบ่อยเช่นกัน
การทดสอบฝนหลวงในขั้นแรก ยังไม่ได้ใช้สารเคมีซับซ้อนอย่างทุกวันนี้ แต่เดิมใช้เ��ียงน้ำแข็งแห้ง และ น้ำเกลือ ซึ่งแม้จะทำให้ฝนตกได้ แต่ก็ยังมีอุปสรรคอยู่มาก ทั้งยังไม่่ได้ทำให้ได้ปริมาณน้ำมากตามที่ต้องการ และหากใช้ในปริมาณที่ผิด ก็ยังอาจะทำให้เมฆสลายตัว รวมทั้งไม่สามารถบังคับให้ฝนตกในพื้นที่ที่ต้องการให้ฝนตกด้วย
การทดสอบฝนหลวงในขั้นแรก แม้จะยังไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการไว้ แต่พระชนกาธิเบศรก็สนพระทัยมาก มีการติดตามผลเสทอ รวมทั้งเสด็จมาทอดพระเนตรการทดลองด้วยพระองค์เอง จากนั้นก็จะพระราชทานข้อคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อให้การทำฝนหลวงมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย  ท่านไม่เพียงแต่พระราชทานคำแนะนำเป็นการตรัสออกมาเท่านั้น แต่ท่านยังทรงทดลองให้เห็นจริง ๆ ว่าหากทำตามที่ทรงแนะนำเอาไว้แล้วผลจะเป็นอย่างไร 
ทำสำเร็จเป็นประเทศแรกของโลก
จากเดิม ฝนหลวงทำได้แค่โปรยน้ำแข็งแห้ง-น้ำเกลือใส่เมฆคิวมูลัส แต่หลังจากได้รับพระราชทานคำแนะนำจากพระชนกาธิเบศรฯ และ การพัฒนาสูตรฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไทยเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถทำฝนหลวงขณะที่ท้องฟ้าไม่มีเมฆได้  ความสำเร็จครั้งนี้เป็นที่จึงยอมรับในการทำฝนเทียมทั่วโลก เพราะแม้จะมีการกล่าวว่าเราสามารถทำฝนเทียมในสภาพอากาศที่ฟ้าโปร่งได้ แต่ก็ยังเป็นเพียงทฤษฎี ไม่ได้นำมาทำให้เป็นจริงอย่างประเทศไทย และในการทดสอบความแม่นยำ ก็ได้เริ่มทดสอบในปี พ.ศ.๒๕๑๔ บนพื้นที่ที่อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ และ เขื่อนภูมิพล ซึ่งทำการทดสอบไปทั้งสิ้น ๙ ครั้ง และ ผลปรากฏคือ สำเร็จทั้ง ๙ ครั้ง  (เรียกว่า สามารถทำฝนให้ตกได้ตามเป้าหมายที่ต้องการสำเร็จแล้ว)
ฝนเทียมที่อื่น ยังไม่สามารถทำให้ฝนตกในขณะที่ฟ้าโปร่งได้ ยังจำเป็นต้องอาศัยเมฆในการทำฝนอยู่ ในขณะที่ฝนหลวงของไทยสามารถทำให้ฝนตกตอนอากาศแล้งก็ยังได้ สำหรับประเทศไทย ถ้ามีท้องฟ้า ก็ทำฝนหลวงได้หมด
Tumblr media
ภาพจาก https://instore.studio7thailand.com/trends/royal-rain/
ความสำเร็จของการทำฝนหลวง
ภายหลังจากที่ผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจแล้ว ในเดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ.๒๕๑๔ จึงเริ่มทำภารกิจช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง  ปฏิบัติการทำฝนหลวงครั้งนั้นทำไปทั้งสิ้น ๘๖ วัน และ ทำให้ฝนตกได้ ๘๑ ครั้ง นับว่าการบินทำฝนหลวง ทำให้มีโอกาสเกิดฝนได้ถึงร้อยละ ๙๔.๒ และต้นทุนในการทำฝนหลวงเฉลี่ยแล้ว เพียงไร่ละ ๔.๖ สตางค์
สูตรที่เราคุ้นเคยในการทำฝนหลวง คือ ก่อกวน - เลี้ยงให้อ้วน - โจมตี ก็เป็นสูตรในการสร้างความสำเร็จครั้งนี้
ขอจบการเล่าเรื่องแต่เพียงเท่านี้ ที่มาก็ตามที่บอกไปแล้วตั้งแต่เริ่ม  เห็นว่าความน่าเชื่อถือสูงอยู่แล้ว เพราะคนเขียนคือคนที่พระชนกาธิเบศรทรงเรียกให้ไปทำฝนหลวงโดยเฉพาะ คนที่บินไปทำฝนหลวงด้วยตัวเอง อดทนพัฒนาฝนหลวงถึง ๑๒ ปี ขนาดเกษียณก็ยังมาบินทำฝนหลวงต่อ จนร่างกายไม่ไหว ถึงเลิกไป
Tumblr media
ภาพจาก https://www.tnews.co.th/social/378500
0 notes