#OpenLandscapes
Explore tagged Tumblr posts
Text
#WinterMeadows#OpenLandscapes#BareNature#CalmCountryside#OvercastBeauty#NatureStillness#WideOpenSpaces#PineTreeVibes#SeasonalScenery#missedmilemarkers
40 notes
·
View notes
Text
#photooftheday#photography#original#blackandwhite#artists on tumblr#monochrome#an original#photoshoot#original photography blog#lensblr#yes we are magazine#pws photos worth seeing#sculpture#naturephotography#openlandscape#camera phone
30 notes
·
View notes
Text
วิธีสร้างกลุ่มความปลอดภัยและเปิดพอร์ตที่ต้องการ
วิธีการสร้าง Security Group และเปิด Port ที่ต้องการ บน OpenLandscape Cloud
security group คือ ตัวจัดการความปลอดภัย มีลักษณะคล้าย Firewall บนเครื่อง PC ของเรา หรือ ตัวจัดการ Port ของเครื่อง Server ที่เราใช้งาน ซึ่งบทความนี้จะอธิบายวิธีการใช้งาน Security Group บน gate.openlandscape.cloud ค่ะ
1.อันดับแรกให้กดเลือก Security Group จากเมนู ทางขวาแล้วจะพบหน้าดังรูป ที่ปรากฎเป็นตาราง Security Group ที่มีอยู่ หากต้องการสร้างเพิ่มให้ทำการกดที่ Create Security Group
2.หลังจากกดที่ Create Security Group จะได้ Pop-up ที่แสดงรายละเอียดใน การสร้าง Security Group ขึ้นมาให้ทำการตั้งชื่อ Security group ตามต้องการ เมื่อทำการกรอกครบตามที่ผู้ใช้ต้องการสร้างแล้ว ให้กดที่ Add เป็นการเสร็จสิ้นในขั้นตอนนี้
3.เมื่อทำการ Add Security Group เรียบร้อย ก็จะสามารถเพิ่ม port ได้ โดยมีรายละเอียด Port ดังนี้
Port ในการใช้งาน OS Linux & Windows
Port ที่จำเป็นในการใช้งานของ OS Linux ต่างๆ จะมีดังนี้
– Ping เป็น Port ที่สามารถใช้งานคำสั่ง ping <Public IP> เพื่อใหเจอ IP นั้นว่ามีการใช้งานอยู่หรือไม่มี
– SSH เป็น Port ที่สามารถใช้งาน Linux Server ผ่านโปรแกรม MobaxTerm หรือ Putty และโปรแกรมอื่นๆได้
– RDP เป็น Port ที่สามารถใช้งาน Windows Server ผ่านโปรแกรม Remote Desktop Connection ได้
ส่วน Port : http, https, MySQL นั้น จะเปิดเฉพาะตอนที่มีการใช้งาน web หรือ Database
Port ด้านบน จะเป็น Port ที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งเราไม่ควรจะเปิดทุก Port แต่เราควรเปิด Port ที่เราใช้งานเท่านั้น โดย ในการเปิดใช้งาน Port เราต้องดูก่อนว่าเครื่อง Instance ที่เราจะสร้างนั้นเป็น OS อะไร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระบบปฏิบัติการของคุณเป็น Linux ให้เปิด ssh และ ICMP หรือ ถ้าระบบปฎิบัติการของคุณเป็น Windows ให้เปิด RDP และ ICMP แทน แต่ถ้ามีการใช้งานหน้าเว็ปให้เปิด Port : HTTP กับ HTTPS และถ้ามีการใช้งานในส่วนของ Database หรือ DB ให้คุณเปิด Port : MYSQL เป็นต้น
วิธีการเพิ่ม Port
1.คลิกที่ปุ่ม Action ตามในรูป จะพบกับเมนู Rename , Manage และ Delete ( ให้เลือก Manage เพื่อทำการเพิ่ม port )
4.เมื่อเข้า Manage จะพบกับหน้าจอสำหรับจัดการ port โดยกด Add Rule เพื่อเพิ่ม port ที่ต้องการ
5.และเมื่อกด Add Rule จะพบกับ ให้คุณกด Add Rule เพื่อเพิ่ม Rule ที่ต้องการ โดยมีหัวข้อให้เลือกดังต่อไปนี้
Rule คือ การเลือกประเภทการใช้งาน โดยสามารถเลือกประเภทของ port ได้ตามต้องการและหากต้องการกำหนดเลข port เองสามารถเลือก Custom TCP , Custom UDP
Direction เลือกประเภทการทำงานโดยแบ่งเป็น Ingress ขารับเข้าข้อมูล , Egress ขาส่งออกข้อมูล
Open Port จะแบ่งออกเป็น Port โดยให้เลือกใส่ Port เดียว , Port Range ใช้กำหนดระยะที่ทำการเปิด port, All ports สำหรับเปิด port ทั้งหมด ( ซึ่งแนะนำให้เปิดใช้เฉพาะ port ที่จะเป็นเท่านั้น )
Port Number กำหนดเลข port ที่ต้องการใช้
Remoteให้เลือก CIDR มีไว้สำหรับเจาะจง IP เข้าใช้งาน instances โดยปกติ ถ้าใช้ 0.0.0.0/0 ทุก IP สามารถเ��้าถึงได้ ถ้าต้องการเจาะจง Port และ Allow แค่ 1 IP ท่ีสามารถเข้าใช้งานได้ ยกตัวอย่างเช่น เลือกประเภทของ Port เป็น SSH และให้ fix ที่ CIDR Adress เป็นต้น
6.เมื่อคุณทำการเพิ่ม Rule ใน Security group เสร็จแล้ว ให้คุณนำ Security group ไปเพิ่มในเครื่อง Instance โดยกดไปที่เมนู instances และกดที่ Instances ที่คุณต้องการเพิ่ม
7.ไปที่แถบ Security group กดที่ปุ่ม Manage Security group
8.ทำการเพิ่ม Security group ที่ได้ทำการสร้างไว้ กด save เป็นการเพิ่มเสร็จเรียบร้อยจะถูกแสดงบนตารางค่ะ
0 notes
Text
คือ อะไร เทคโนโลยีสุดล้ำที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต
รู้จักคร่าว ๆ Cloud Computing คือ อะไรกันแน่ ?
หากพูดถึงคำว่า Cloud หลาย ๆ คนก็อาจจะนึกถึงบริการ ICloud, Dropbox, Google Drive หรือ Microsoft Onedrive กันใช่ไหมคะ เพราะบริการเหล่านี้เป็นบริการที่เราคุ้นเคยกันดี เนื่องจากใช้กันอยู่บ่อย ๆ เป็นประจำ เพื่อไว้ใช้จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ แต่ถ้าหากเราถามถึงคำว่า Cloud Computing คือ อะไร หลายคน ๆ ก็อาจจะชักสับสนและไม่แน่ใจว่า มันต่างหรือมันเหมือนกันอย่างไรกันแน่ เชื่อว่าหลายคนก็อาจจะเดาว่าชื่อคล้ายกันก็น่าจะคล้ายกันสิ ซึ่งคำตอบก็คือ ถูกแค่ครึ่งเดียวค่ะ บริการข้างต้นที่เราได้กล่าวกันมานั้นแท้จริงแล้วเป็น เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของบริการ Cloud Computing เท่านั้น ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Cloud Starage
“แล้วอย่างงี้ Cloud Computing ที่เราพูดถึงคือ อะไรกันแน่ล่ะ ?”
บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้คำว่า Cloud Computing กันมากขึ้น รวมไปถึงทำความรู้จัก คลาวด์ประเภทต่าง ๆ ว่ามีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง พร้อมเคสเปรียบเทียบว่า Cloud Computing จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ
Cloud Computing คือ บริการที่ให้เราใช้หรือเช่าใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือทรัพยากรด้านคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ โดยครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งเราสามารถเลือกกำลังการประมวลผล เลือกจำนวนทรัพยากร ได้ตามความต้องการในการใช้งาน พูดง่ายก็คือ ใช้เท่าไหร่ ก็จ่ายเท่านั้นนั่นเอง นอกจากนี้เรายังสามารถเข้าถึงข้อมูลบน Cloud จากที่ไหนก็ได้เรียกได้ว่าทั้งสะดวกสบายแถมยังประหยัดเวลาแบบสุด ๆ
ประเภทของ คลาวด์คอมพิวติ้ง มีแบบไหนบ้าง
Private Cloud
คือการตั้งคลาวด์ส่วนตัว โดยแต่ละบริษัทหรือองค์กรจะลงทุนจัดตั้ง Hardware และ Software ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการทำ Cloud Datacenter ขึ้นมาเป็นของตัวเอง เพื่อให้พนักงานในองค์กรใช้เท่านั้น
ข้อมูลปลอดภัยเพราะจัดเก็บอยู่ภายใน Datacenter ของตัวเอง
ไม่สามารถ Scale out แบบกะทันหัน เมื่อเกิด Workload Peak time ได้เหมือนกับ Public Cloud และมีค่าใช้จ่ายสูงเพราะต้องลงทุนซื้อ Hardware และ Software รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบเองทั้งหมด
Public Cloud
คือ คลาวด์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ โดยจะมีผู้ให้บริการระบบคราวด์เป็นคนตั้ง ระบบ Hardware และ Software ขึ้นมา แล้วให้แต่ระบริษัทหรือองค์กรเข้าไปเช่าใช้บริการ อาจจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี
ประหยัดเงินได้มากกว่า เพราะไม่ต้องลงทุนตั้ง Cloud Datacenter เป็นของตัวเอง
อาจจะมีปัญหาด้าน IT Policy Audit ในบางบริษัท เพราะบางบริษัทห้ามเก็บข้อมูล���ว้นอกองค์กร
Hybrid Cloud
คือ เป็นการเอาข้อดีของระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud มาใช้ร่วมกัน เช่น การนำ Private Cloud มาใช้สำหรับเก็บข้อมูลภายในองค์กร และใช้ Public Cloud มาใช้เพื่อการ Scale out ในการประมวลผลในช่วงที่เกิด Workload Peak time เป็นต้น
เพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการได้มากขึ้นและอุดข้อเสียของทั้ง 2 รูปแบบนั้นได้
มีความยุ่งยาก เพราะรายละเอียดของ Cloud ทั้งสองแบบนั้นต่างกันมาก ต้องมีผู้เชี่ยวชาญปรับแต่งระบบให้ทำงานร่วมกัน และทดสอบบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความเสถียร
บริการ ของคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Service Models) มีอะไรบ้าง
Software as a Service (SaaS)
คือ บริการที่ให้ใช้หรือเช่าใช้บริการ Software และ Applicationผ่านอินเทอร์เน็ต โดยประมวลผลบนระบบของผู้ให้บริการโดยที่เราไม่ต้องกังวล หรือหาคนมาดูแล Infrastructure และคนมาสร้าง Application ให้เรา เพราะทุกอย่างได้ถูกจัดเตรียมมาโดยผู้ให้บริการเรียบร้อยแล้ว
Highlight : ไม่ต้องลงทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์เอง , ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานผ่าน Cloud จากที่ไหนก็ได้
Case Study : ตัวอย่างที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดเช่น Google Docs หรือ Google Apps ที่มาในรูปแบบการใช้ซอฟต์แวร์ผ่านเว็บบราวเซอร์ โดยไม่ต้องติดตั้งซ��ฟต์แวร์ลงบนเครื่อง หรือWeb-based Email Service ต่างๆ เช่น Hotmail, Gmail, Facebook, Twitter ที่มีการเก็บโปรแกรมและข้อมูลต่างๆไว้ที่ Host แล้วให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ application ต่างๆ ผ่านทางเว็บได้ ก็ถือว่าเป็นบริการประเภทนี้อีกเช่นเดียวกันเป็นต้น
Platform as a Service (PaaS)
คือ การให้บริการด้าน Platform สำหรับผู้ใช้งานเช่น นักพัฒนาระบบ หรือ Developer ที่ทำงานด้าน Software และ Applicationโดยผู้ให้บริการ Cloud จะจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนา Software และ Application เอาไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็น Hardware, Software, หรือชุดคำสั่ง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถต่อยอดได้เลย
Highlight : สามารถช่วยลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ได้
Case Study : ตัวอย่างบริการทางด้านนี้เช่น Google App Engine, Microsoft Azure ที่สามารถนำมาพัฒนาแอพที่ให้บริการคนจำนวนมหาศาลได้ โดยใช้เวลาพัฒนาไม่นานด้วยทีมงานแค่ไม่กี่คน
Infrastructure as a Service (IaaS)
คือ บริการที่ครอบคลุมเฉพาะในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีได้แก่ ระบบเครือข่าย (Network), ระบบจัดเก็บข้อมูล (Database), ระบบประมวลผล (CPU) ไปจนถึงอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น Servers และ ระบบปฏิบัติการ (OS)ใ นรูปแบบระบบเสมือน (Virtualization) โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อ Hardware ที่มีราคาแพง
Highlight : ไม่ต้องลงทุนซื้อเอง , สามารถขยายได้ง่ายตามการเติบโตของบริษัท และมีความยืดหยุ่นสูง ,ลดความยุ่งยากในการดูแลระบบเอง
Case Study : ตัวอย่างของคราวด์ประเภทนี้เช่น บริการ Cloud storage ต่าง ๆ เช่น Dropbox , ICloud Drive ,Google Drive หรือ Microsoft Onedrive เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีบริการให้เช่ากำลังประมวลผล, บริการให้เช่า เซิร์ฟเวอร์เสมือน เพื่อใช้ลงและรันแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่เราต้องการเช่น OpenLandscape Cloud, Google Compute Engine, Amazon Web Services, Microsoft Azure เป็นต้น
สรุป
จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้ว Cloud Computing ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ไกลตัวเราเลยค่ะ ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก หรือแม้กระทั้งโปรเจคเล็ก ๆ ของเราให้ดำเนิดไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มศักยภาพทั้งในด้านของความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น และความปลอดภัย รวมไปถึงยังสามารถช่วยลดต้นทุนและประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากอีกด้วยเช่นกันค่ะ สำหรับใครที่อยากรู้ว่า ประโยชน์ ของ Cloud Computing
0 notes
Text
Some blue skies for Algy!
#ColoradoAutumn#GoldenSeason#NaturePhotography#FallColors#MountainViews#BlueSkyDays#OpenLandscapes#HikingVibes#ColoradoOutdoors#MissedMileMarkers
44 notes
·
View notes