#หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
Explore tagged Tumblr posts
Text
วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2566 ท่านพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ให้บุญแก่ทุกสัตว์ที่ทุกข์ยากลำบากเดือดร้อน จากเหตุแผ่นดินไหวในประเทศโมร็อกโก เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 ให้บุญช่วยเหลือคุ้มครองดูแลรักษาให้พ้นทุกข์พ้นภัย ความรู้สึกตัวเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราฝึกสมาธิที่ลืมเนื้อลืมตัว เราก็จะออกข้างนอก เคลิ้มไปบ้าง ลืมตัวเอง ก็เคลิ้มๆ เหมือนกับนอนหลับ หรือจิตมีนิมิตหลอนไปอย่างโน้นอย่างนี้
#หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี#ท่านพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช#ความรู้สึกตัวเป็นเรื่องสำคัญ
0 notes
Text
วันที่ 3 กันยายน 2566 หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
เรียนรู้ความปรุงแต่ง
การปฏิบัติแบบลัดสั้น
สังเกตจิตใจ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สัพพาสวสังวรสูตร ที่ 2
::ให้บุญแก่ทุกสัตว์:: ::ให้บุญส่งข่าว:: ::ให้บุญเป็นของทุกคนทุกสัตว์ผู้ต้องการบุญ:: ::จงพ้นทุกข์ภัยทั้��ปวงถึงธรรม::
0 notes
Text
คนทั่วๆไปไม่มีตัวผู้รู้.. ไม่มีจิตเป็นผู้รู้ มีแต่จิตเป็นผู้คิด-ผู้นึก-ผู้ปรุง-ผู้แต่ง เป็นผู้หลง เราก็หัดพัฒนาจิตให้เป็นผู้รู้ขึ้นมา เพื่ออะไร..? เพื่อว่าเราจะเห็นว่า ชีวิตเราขาดเป็นช่วงๆ คนที่ไม่ได้ภาวนานะ ไม่มีตัวรู้เนี่ย ชีวิตเค้ามีอย่างเดียวคือหลง หลงๆๆๆๆ หลงอยู่อย่างนั้นแหละ เลยคิดว่าจิตใจนี้เที่ยง แต่พอเรามาหัดมีตัวรู้ขึ้นมา เราก็รู้ว่า ตัวรู้อยู่ชั่วคราว แล้วก็หายไป มีตัวหลงเกิดขึ้น ตัวหลงอยู่ชั่วคราว แล้วก็หายไป มีตัวรู้เกิดขึ้น คล้ายๆ ชีวิตเราขาดเป็นท่อนๆ ชีวิตช่วงนี้ เป็นชีวิตที่รู้สึกตัว ชีวิตช���วงนี้ เป็นชีวิตที่หลง เราจะเห็นว่า ชีวิตเราไม่ได้มีอันเดียว จิตใจเราก็ไม่ได้มีดวงเดียว เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เราก็สามารถเดินปัญญาได้ ".. งั้นมีตัวรู้ขึ้นมานะ เพื่อเอามาเดินปัญญา " (เจริญวิปัสสนากรรมฐาน--ผู้ถอดความ) พอมีตัวรู้เราก็เห็นรูปนามเกิดดับได้ เห็นความรู้สึกเกิดดับได้ .. จิตเป็นคนรู้ แล้วสุดท้ายมันก็เห็นว่า ตัวรู้เองก็เกิดดับได้ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด งั้นที่เราฝึกจนกระทั่งเรามีตัวผู้รู้ขึ้นมาเนี่ย เพื่อจะอาศัยชั่วคราวเท่านั้นเอง อาศัยไว้เจริญปัญญา ถ้าเราไม่มีตัวรู้ มันเจริญปัญญาไม่ได้ พอมันมีตัวรู้ขึ้นมา มันก็จะเห็นเลย ความสุขเกิดแล้วก็ดับ ความทุกข์เกิดแล้วดับ ดีเกิดแล้วดับ โลภ-โกรธ-หลง เกิดแล้วก็ดับ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า มันจะแยกๆๆ ออกไป มันจะเห็นตัวเราไม่มี นั้นเดินปัญญา เดินปัญญาเสร็จแล้วจน��ู้ความจริงก็วาง วางอารมณ์ไป วางร่างกายไป ก็เหลือตัวรู้แล้วคราวเนี้ย ตัวรู้จะเด่นดวงแล้ว เวลาบรรลุพระอนาคามีแล้วเนี่ย ตัวรู้จะสว่างไสว ท่านบอกว่าสมาธิบริบูรณ์แล้ว สมาธิบริบูรณ์หมายถึง สมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น (ลักขณูปณิชฌาน) ไม่ใช่สมาธิสงบ (อารัมมณูปณิชฌาน) สมาธิสงบน่ะ ฤาษีชีไพรก็ทำได้ พระอนาคาฯบางองค์นะได้ปฐมฌาน(ฌานที่ ๑) ทั้งๆที่ว่าสมาธิบริบูรณ์ ในขณะที่ปุถุชนบางคนได้ฌานที่ ๘ แต่ถือว่าสมาธิไม่บริบูรณ์ เพราะสมาธิคนละชนิด งั้นพอจิตเรามันปล่อยวางจิต แล้วจิตรวมลงมาที่จิตดวงเดียวสว่างไสวอยู่อย่างนั้น ถึงตรงนี้ผู้ปฏิบัตินะ จะรักแล้วก็จะหวงแหนตัวจิตผู้รู้นี้ที่สุดเลย โห! นี่แหละจิตหนึ่ง ๆ นี่แหละจิตเดิมแท้ จริงๆ ยังไม่ใช่ ยังไม่ใช่จิตหนึ่งหรอก ยังเป็นจิตสองอยู่ เพราะอะไร..? ประเดี๋ยวก็เป็นตัวรู้.. เดี๋ยวก็เป็นตัวหลง เดี๋ยวก็เป็นตัวรู้.. เดี๋ยวก็เป็นตัวเพ่ง จิตยังแปรปรวนอยู่ สว่างไสวได้ ยังหมองๆได้ มัวๆได้ นานๆมัวทีหนึ่ง ไม่เหมือนจิตพวกเรามัวทั้งวัน ไม่ค่อยสว่าง ภพภูมิของเราเป็นอย่างนี้นะ อย่าไปเสียใจ เราก็เป็นอย่างนี้แหละ ยอมรับความจริงแล้วพัฒนาไป ถ้าเป็นพระอนาคาฯนะ สมาธิไม่เสื่อม เห็นด้วยว่าจิตมันหมองๆ แต่จิตก็ยังตั้งมั่นนะ ไม่ใช่หมองๆ แล้วไหลไปหลงโลกไม่มีหรอก มันหมองอยู่กับตัวของมันเองนั่นเอง ผู้มีสติปัญญาก็จะเห็นเลย ตัวรู้นี้ก็ยังไม่เที่ยง ตัวรู้ยังแปรปรวนได้อีก จิตก็ปล่อยวางตัวรู้ได้ สร้างมาแทบตายนะ มีตัวรู้ขึ้นมาเพื่ออาศัยเจริญปัญญา พอเจริญปัญญาเต็มที่แล้วกลับปล่อยตัวรู้ทิ้ง ตัวรู้ตัวเดียวนี้แหละ จะพาเราไปเกิด จิตตัวรู้ เนี้ย! เหมือนๆ เมล็ดของต้นไม้ เรามีเมล็ดข้าวอยู่เมล็ดหนึ่งเนี่ย เมล็ดข้าวเมล็ดเดียวตกลงไปในท้องนา ถูกแดดถูกฝนเข้างอกเป็นต้นข้าวได้อีก มีจิตตัวรู้ตัวเดียวนี้แหละ อวิชชาคือเชื้อเกิดซ่อนอยู่ข้างใน ถึงเวลาเหมาะๆนะ มันก็งอกขันธ์ ๕ ขึ้นมาได้อีก งั้นอาศัยตัวรู้ตัวเดียวนี้เองสร้างขันธ์ ๕ ขึ้นมาได้อีก ต้องทำลายเชื้อเกิดของมัน คล้ายๆ เรามีเมล็ดต้นไม้อยู่เมล็ดหนึ่ง ต้องทำลายต้นอ่อนของมันที่อยู่ข้างในของมันให้ได้ ต้นอ่อนที่อยู่ในเมล็ดของต้นไม้ ตัวต้นอ่อนของมันก็คือตัวอวิชชานั่นเอง อวิชชา เราจะทำลายตัวนี้ได้ยังไง เราก็ดูไป ตัวรู้เองก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ ตัวรู้เองก็ไม่เที่ยง ตัวรู้เองก็บังคับไม่ได้จริง พอเห็นความจริงแจ่มแจ้งแล้วเนี่ย จิตปล่อยวางตัวรู้ แต่ถ้าคนไหนเป็นพวกทรงฌานนะ จิตทรงฌานอยู่ได้เยอะๆ จะเห็นว่าตัวรู้นี้เป็นตัวทุกข์ ลำพังเห็นตัวรู้ว่าไม่เที่ยงเนี่ย จิตไม่ปล่อย เพราะว่าเวลาทรงฌานอยู่ มันเหมือนตัวรู้เที่ยง แล้วก็จิตนั้นมันก็��ีความสุขมาก จิตที่ทรงฌานอยู่ แต่จู่ๆ กลับไปเห็นว่า จิตตัวรู้ผู้ทรงฌานอยู่เนี่ยเป็นตัวทุกข์ เนี่ยเห็นตัวทุกข์นะ ถึงจะปล่อย งั้นเวลาที่จิตจะปล่อยวางจิตเนี่ย ปล่อยได้หลายแบบ พวกที่มีศรัทธามีวิริยะอะไรมากมายนะ เห็น(จิตผู้รู้)ว่ามันไม่เที่ยงก็ปล่อยแล้ว(เห็นอนิจจัง) พวกที่มีปัญญาแก่กล้า เห็นว่า(จิตผู้รู้)มันบังคับไม่ได้ มันไม่ใช่ตัวเรา (เห็นอนัตตา) ก็ยอมปล่อยวางจิต แต่พวกทรงฌานเนี่ย เห็นว่าจิตนี้คือตัวทุกข์ (เห็นทุกขัง) นี่คือก้อนทุกข์ที่สงวนรักษาเอาไว้ จิตถึงจะปล่อยวางจิต งั้นเวลาจะปล่อยวาง(จิต)เนี่ย เห็นอันใดอันหนึ่ง บางคนเห็นอนิจจัง บางคนเห็นทุกขัง บางคนเห็นอนัตตา เราเลือกไม่ได้ จิตจะเลือกของจิตเองในวาระสุดท้ายนั้น อย่างบางคนเห็นจิตเป็นตัวทุกข์ พวกทรงฌานเห็นจิตเป็นตัวทุกข์ ก็ปล่อยวางจิตได้ บางท่านเห็นจิตไม่ใช่ตัวใช่ตน ท่านก็ปล่อยวางได้ นี่พวกปัญญากล้า พวกหนึ่งมีความเพียรกล้า พยายามภาวนาไป เห็น(จิต)มันไม่เที่ยง.. ก็ปล่อย งั้นแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ปล่อย(จิต)แล้วเป็นอันเดียวกัน (เป็นพระอรหันต์--ผู้ถอดความ) ตรงที่เรียกว่า"จิตหนึ่ง" หรือ"จิตเดิมแท้ " ทีท่านเว่ยหล่างพูดถึงหรือฮวงโปพูดถึง ไม่ใช่ตัวจิตผู้รู้ จิตผู้รู้ ยังเป็นจิตที่ยังเป็นคู่อยู่ ยังเป็นสิ่งที่เป็นคู่อยู่ คืิอ คู่กับความหลง สว่างไสวได้ก็คู่กับความมืดมัวได้ แต่เมื่อจิตปล่อยวางจิตแล้วเนี่ย จะเข้าถึงธาตุอีกชนิดหนึ่ง เป็นธาตุรู้ ธาตุรู้ ... มันก็ไม่มีอะไรปลอมปนเข้ามาปรุงแต่งมันได้อีกต่อไป มันมีความสุขมีความสงบอยู่ในตัวเอง โดยไม่ต้องระวังรักษา เนี่ย! ที่เรียกว่า.. จิตหนึ่งๆ คือมันไม่เป็นสองขึ้นมา จิตเดิมแท้ เป็นธาตุ ธาตุก็เป็นของเดิม อย่างร่างกายเราเนี่ย ไม่ใช่ของเดิม มันอาศัยธาตุที่มาประกอบเป็นร่างกาย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม เป็นธาตุ เป็นของเดิม ตัวรู้ก็ยังมีธาตุรู้ ธาตุรู้เป็นของเดิม เพราะฉะนั้นบางทีเลยเรียกว่า"จิตเดิมแท้" ต้องมีคำว่า.. แท้ ..ด้วย ไม่ใช่จิตเดิมเทียม "... เราจะภาวนานะ จนเข้าถึงจิตเดิมแท้นี้แหละ มันจะไม่แปรปรวน ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งมันได้อีก เพราะมันไม่มีความอยาก(ตัณหา)เกิดขึ้นแล้ว ที่มันไม่มีความอยาก เพราะมันฉลาดเต็มที่แล้ว มันทำลายเชื้อเกิดคือความโง่ไป(อวิชชา) ค่อยๆฝึกนะ ค่อยฝึกไป หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ภาพ วัดพระพุทธบาท (เวินกุม) อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
0 notes
Photo
ไม่รู้จะทำอะไรนะ หายใจไว้ เพราะเราหายใจอยู่แล้ว อย่าหายใจทิ้ง กรรมฐานหายใจเนี่ย(อานาปานสติภาวนา) มีสติรู้การหายใจ เป็นกรรมฐานกลางๆ ใช้ได้สำหรับทุกจริตนิสัย เนี่ยอานาปานสติ ถ้าทำถูกต้อง มันจะแปรสภาพเป็น "อานาปานสติสมาธิ" (อานาปานสติสมาธิภาวนา) พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนนะ บอก อานาปานสติสมาธิเนี่ย อันบุคคลเจริญให้มากเนี่ย เจริญให้มาก เจริญบ่อยๆ จะทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญ แล้วก็ทำให้มาก มันจะทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ และโพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญ และทำให้มาก จะทำให้วิชชา และวิมุตติ บริบูรณ์ . เราไม่รู้ว่า มันจะไปเต็มบริบูรณ์เมื่อไหร่ หน้าที่เราทำให้เจริญ เจริญอยู่เรื่อยๆ เจริญสตินี่แหละ ทำให้มาก นานๆ เจริญทีนึงก็ไม่เจริญหรอก งั้นเรามีเวลานิดๆ หน่อยๆ อย่างเราเป็นฆราวาสเนี่ย ไม่ได้มีเวลาทั้งวันแบบพระ ระบบของพระเนี่ย สร้างขึ้นมาเกื้อกูลกับการปฏิบัติมากที่สุด พระเนี่ย ตั้งแต่เช้ามืดนะ ตื่นมาไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ เดินจงกรม อะไรก็ทำไป ถึงเวลาก็ออกไปบิณฑบาต บิณฑบาต ก็ไม่ได้แปลว่าไม่ปฏิบัติ ทุกก้าว รู้สึก ทุกก้าวที่เดินไป รู้สึก รู้สึกตัว รู้สึกกาย ถ้าใช้อานาปานสติ ก็คืิอ ก้าวไป ก็ยังหายใจ ยังรู้สึกอยู่อีก หายใจออก-หายใจเข้า มันหายใจทั้งวันอยู่แล้ว เวลาฉันข้าว บางวันได้อาหารไม่ถูกปาก อาหารไม่ถูกปาก คือได้บาตรเปล่าๆกลับมา ไม่มีอาหาร อาหารเลยไม่ถูกปาก บางวันอาหารไม่ถูกใจ มีอาหาร แต่มันไม่อร่อยอย่างที่ใจอยาก ใจไม่มีความสุข เจริญสติอยู่ ก็เห็นใจไม่มีความสุข ได้ของที่ชอบใจ ก็ดีใจ มีความสุข ก็เห็นอีก จิตใจมีความสุข เนี่ยจะทำอะไรนี่นะ ในชีวิตพระจริงๆ เป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมา ให้เกื้อกูลกับการปฏิบัติมากที่สุดเลย เพราะไม่ต้องไปคิดเรื่องทำมาหากิน การคิดเรื่องทำมาหากินเนี่ย เอาเวลาเราไปเกือบหมดชีวิตเลย โดยเฉพาะ คนที่กินไม่เลิก รวยเท่าไหร่ๆ ก็ไม่พอ พวกนี้ไม่มีเวลาเหลือ ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต . นี้ถ้าเราต้องทำงาน ก็ทำไป ช่วงไหนมีเวลา นาที สองนาทีนะ เก็บให้หมดเลย ทำอะไรไม่ได้ ก็หายใจไปด้วยความมีสติ มีจิตตั้งมั่น เห็นร่างกายหายใจอยู่นะ เนี่ยการที่เรามีจิตตั้งมั่น เห็นร่างกายหายใจอยู่ ไม่ใช่ไปจ้องลมหายใจนะ คนละแบบกัน . อานาปานสติ ก็มีหลายแบบ แบบหนึ่ง เราเอา(จิต)ไปจ้องอยู่ที่ตัวลมหายใจ จนลมหายใจระงับ กลายเป็นแสง ลมหายใจนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต พอเป็นแสง ก็เรียกว่า อุคคหนิมิต ในที่สุดก็เล่นได้นะ กำหนดได้ ย่อได้ ขยายได้ นี่เรียกปฏิภาคนิมิต ตรงนี้ได้อุปจารสมาธิ ตรงที่จิตตรึกอยู่กับแสง เรียกว่า มีวิตกนะ เป็นวิตก จิตเ��ล้าเคลียอยู่กับแสง เรียกว่าวิจารณ์ มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง ไม่วอกแวกไปไหน จิตเข้าปฐมฌาน เส้นทางนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อสติปัฏฐานนะ เส้นทางนี้ เป็นไปเพื่อสมาธิสงบ(อารัมมณูปนิชฌาน) หรือจะมีฤทธิ์มีเดชน์ อย่างรู้ลมหายใจ นี่คือกสิณลม จากกสิณลม เข้าไปรู้รูจมูก เป็นกสิณช่องว่าง อากาสกสิณตรงเนี้ย จนมันเป็นแสง แล้วไปดูแสงสว่างนะ ตรงนี้ไปรู้แสง เล่นแสงได้ กสิณทั้งหมดแหละ ลงท้ายมันจะเป็นแสง (กสิณ)ทั้งสิบอย่างลงท้ายกลายเป็นแสง แล้วคราวนี้จิตก็เลยเข้าฌาน พักอยู่เฉยๆ ไม่ได้เป็นไปเพื่อการเจริญสติปัฏฐาน ๔ . "... นี้อานาปานสติ ที่เป็นไปเพื่อการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เนี่ย หายใจออก ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นร่างกายหายใจออก จิตตั้งมั่นเป็นคนดูอยู่นะ อย่างเนี้ย ฝึกไปเรื่อยๆ มันจะเริ่มเห็นว่า กายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เริ่มแยก(แยกรูปนาม) มันจะเห็นว่า กายเนี้ย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นได้ แล้วก็เห็นจิต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรอย่างนี้เห็นได้ ตรงที่เรามีสติเห็นกายหายใจอยู่ นี่เรียกเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีจิตเป็นคนดู . นี้พอรู้ไป เรื่อย เรื่อย เรื่อยนะ จิตจะมีความสุขขึ้นมา เราไปมีสติรู้ความสุข หายใจออก มีความสุข ก็รู้ หายใจเข้า มีความสุข ก็รู้ จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่ นี่เรียกว่า ทำเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้วก็ เจริญอานาปานสติสมาธิที่ถูกต้อง มันจะเห็นสติปัฏฐาน งั้นท่านใช้คำดีนะ ใช้คำว่า "อานาปานสติสมาธิ" เป็นสมาธิที่เกิดจากการทำอานาปานสติ เป็นสมาธิที่ถูกด้วย ไม่ใช่สมาธิแบบฤาษี สว่าง สว่างไปเฉยๆ . พอจิตมีความสุขเนี่ย เราจะเห็นมีความพอใจแทรกเข้ามา มีความพอใจแทรกเข้ามา พอจิตมันมีความสุขขึ้นมา ก็เกิดความพอใจ เรามีสติรู้ทันความพอใจนั้นนะ พอเรามีสติรู้ทันความพอใจ เรากำลังเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่ รู้ทันความปรุงแต่งของจิตนะ ซึ่งมันปรุงดีบ้าง ปรุงชั่วบ้าง อันนี้ปรุงโลภะขึ้นมา ชอบ ชอบอกชอบใจในความสุข ต่อไป เราก็จะเห็นอีกนะ ฝึกไปเรื่อยๆ เราจะเห็นว่า ทั้งรูปธรรม-ทั้งนามธรรมเนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายที่หายใจอยู่ ความรู้สึก สุข-ทุกข์ ความรู้สึกที่เป็นกิเลส อย่างความพอใจเนี่ย มันมีกิเลสอยู่ มันไม่ใช่ตัวเรา จิตที่เป็นคนไปรู้ ก็ไม่ใช่ตัวเรา อันเนี้ย เราขึ้นมาสู่ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้ทั้งรูป-รู้ทั้งนาม . เพราะฉะนั้น การที่เราหายใจ แล้วเรามีสติรู้อยู่เรื่อยๆนะ จะทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ . การเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ ก็คือการมีสติ ก็คือการมีสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ เป็นสติปัฏฐาน ไม่ใช่สติธรรมดา ไม่ใช่เดินแล้วไม่ตกถนน แล้วบอกว่า เจริญโพชฌงค์อยู่ ไม่ใช่นะ เพราะฉะนั้น เป็นสติปัฏฐาน การที่เราคอยเห็น ความเปลี่ยนแปลงของรูป-นาม/กาย-ใจ ไปเรื่อย เห็นความจริงของเค้าไปเรื่อยๆ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา(ไตรลักษณ์) อันนี้เรียกว่า ธรรมวิจยะ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เนี่ยการที่เราเห็นไตรลักษณ์ไปเรื่อยนะ เราทำธรรมวิจยะ/วิจัยธรรมะนะ แล้วก็ทำไปเรื่อยๆ ไม่เลิก มีเวลาเมื่อไหร่ทำเมื่อนั้น ตลอดเวลาเลย นี้เรามีวิริยะอยู่ เมื่อไหร่มีสต�� เมื่อนั้นมีวิริยะ/มีความเพียร เมื่อไหร่ขาดสติ เมื่อนั้นขาดวิริยะ งั้น��ิริยะสัมโพชฌงค์ ไม่ใช่ขยันทำมาหากิน วิริยะสัมโพชฌงค์ ก็คือ ขยันเจริญสติปัฏฐานนั่นแหละ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน พอทำไปเรื่อยๆนะ จิตใจมันจะมีปีติ เป็นปีติของธรรมะ ไม่ใช่ปีติของสมาธิ เป็นปีติจากการเจริญธรรมะ อย่างบางที เราภาวนาไปแล้ว เราเกิดปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจ ในธรรมะบางอย่างขึ้นมา จิตจะเบิกบาน ใครเคยเป็นมั้ย ไม่ได้เข้าสมาธินะ แต่เกิดความเข้าใจขึ้นมาปุ๊ปเนี่ย พอเข้าใจปุ๊บนะ จิตเบิกบาน มีปีติขึ้นมาเลยนะ นี่เป็นปีติในโพชฌงค์นะ แล้วเราก็รู้ทัน มีสติรู้ทันอีก ปีติจะค่อยสงบระงับลง มีปัสสัทธิเกิดขึ้น/มีความสงบระงับเกิดขึ้น แล้วจิตก็จะมีสมาธิ คราวเนี้ย สมาธิตัวเนี้ย เกิดหลังจาก ที่ได้เจริญปัญญามาเต็มเหนี่ยวแล้ว เจริญปัญญาเต็มเหนี่ยวแล้ว จิตมีสมาธิอยู่ แล้วก็ จิตจะเข้าสู่อุเบกขา อุเบกขาด้วยปัญญา ไม่ใช่อุเบกขาธรรมดา เพราะว่า โพชฌงค์นี้ เป็นเรื่องของปัญญาทั้งนั้นเลย เรื่มตั้งแต่การมีสติ สติปัฏฐานนะ มันก็คือการเจริญสติ เจริญปัญญา แต่พอถึงธรรมวิจยะนี่ เรื่องปัญญาหมดแล้ว วิริยะก็คือ ขยันเจริญปัญญาอยู่ สุดท้ายจิตจะเข้าสู่อุเบกขา ตรงเนี้ย เป็นจุดสำคัญ ถ้าเราภาวนาแล้ว จิตไม่เกิดปัญญานะ ไม่ถึงอุเบกขานะ มรรคผลจะไม่มีทางเกิดเลย . เวลาที่จิตเกิดปัญญา ยกตัวอย่างเช่น เราหายใจไป จิตมีความสุข เราก็รู้ หายใจไป ความสุขหายไป เราก็รู้ หายใจไป จิตมีความทุกข์ เราก็รู้ หายใจไป ความทุกข์หายไป เราก็รู้ อย่างเนี้ย เราเห็นซ้ำๆ ทั้งสุข ทั้งทุกข์เนี่ย เกิดแล้วดับๆ เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก สุดท้ายปัญญามันปิ๊งขึ้นมานะว่า สุขกับทุกข์เท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เนี่ย เป็นของเท่าเทียมกันนะ ดีกับชั่ว ก็เท่าเทีบมกัน เพราะ เกิดแล้วดับเหมือนกัน เท่าเทียมกันในฐานะของไตรลักษณ์นะ ในมุมของไตรลักษณ์ เท่าเทียมกัน แต่ในทางจริยธรรมไม่เท่าเทียมกัน ดีกับชั่วเนี่ย จะมาเท่าเทียมกันในทางจริยธรรมไม่ได้ แต่ในทางที่เราเดินวิปัสสนาอยู่เนี่ย เท่าเทียมกันในกฎของไตรลักษณ์ เกิดแล้วดับๆ บังคับไม่ได้เหมือนๆกัน เนี่ยจิตมันเห็นความจริงนะ ว่าสุขกับทุกข์เนี่ย เท่าเทียมกัน งั้นเวลาที่เกิดสุขเนี่ย จิตไม่หลงดีใจ เวลาเกิดทุข์ จิตไม่หลงเสียใจ จิตเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นอุเบกขาแล้ว ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ตัวนี้สำคัญมากเลยนะ พอจิตเข้าสู่ความเป็นกลางเนี่ย จิตจะไม่ไปสร้างภพใหม่ จิตจะไม่สร้างภพขึ้นมา ถ้าจิตไม่เป็นกลาง ยังยินดี-ยังยินร้าย จะเกิดแรงผลัก แรงผลักให้จิตทำงานต่อไปอีก จิตจะสร้างภพ คือจิตจะทำงานต่อไปอีก _/|\_ _/|\_ _/|\_ #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม 8 กรกฎาคม 2560 CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ 71 File: 600708A พระธรรมเทศนาระหว่างนาที 0:00--11:51 ดาวน์โหลดไฟล์เสียงธรรมะได้ที่ Dhamma.com ..... กราบคุณพระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูง กราบพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ .....
0 notes
Text
วันที่ 2 กันยายน 2566 หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
เรียนรู้ความปรุงแต่ง
การปฏิบัติแบบลัดสั้น
สังเกตจิตใจ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สัพพาสวสังวรสูตร ที่ 2
::ให้บุญแก่ทุกสัตว์:: ::ให้บุญส่งข่าว:: ::ให้บุญเป็นของทุกคนทุกสัตว์ผู้ต้องการบุญ:: ::จงพ้นทุกข์ภัยทั้งปวงถึงธรรม::
0 notes
Text
ไม่รู้จะทำอะไรนะ หายใจไว้ เพราะเราหายใจอยู่แล้ว อย่าหายใจทิ้ง กรรมฐานหายใจเนี่ย(อานาปานสติภาวนา) มีสติรู้การหายใจ เป็นกรรมฐานกลางๆ ใช้ได้สำหรับทุกจริตนิสัย เนี่ยอานาปานสติ ถ้าทำถูกต้อง มันจะแปรสภาพเป็น "อานาปานสติสมาธิ" (อานาปานสติสมาธิภาวนา) พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนนะ บอก อานาปานสติสมาธิเนี่ย อันบุคคลเจริญให้มากเนี่ย เจริญให้มาก เจริญบ่อยๆ จะทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญ แล้วก็ทำให้มาก มันจะทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ และโพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญ และทำให้มาก จะทำให้วิชชา และวิมุตติ บริบูรณ์ . เราไม่รู้ว่า มันจะไปเต็มบริบูรณ์เมื่อไหร่ หน้าที่เราทำให้เจริญ เจริญอยู่เรื่อยๆ เจริญสตินี่แหละ ทำให้มาก นานๆ เจริญทีนึงก็ไม่เจริญหรอก งั้นเรามีเวลานิดๆ หน่อยๆ อย่างเราเป็นฆราวาสเนี่ย ไม่ได้มีเวลาทั้งวันแบบพระ ระบบของพระเนี่ย สร้างขึ้นมาเกื้อกูลกับการปฏิบัติมากที่สุด พระเนี่ย ตั้งแต่เช้ามืดนะ ตื่นมาไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ เดินจงกรม อะไรก็ทำไป ถึงเวลาก็ออกไปบิณฑบาต บิณฑบาต ก็ไม่ได้แปลว่าไม่ปฏิบัติ ทุกก้าว รู้สึก ทุกก้าวที่เดินไป รู้สึก รู้สึกตัว รู้สึกกาย ถ้าใช้อานาปานสติ ก็คืิอ ก้าวไป ก็ยังหายใจ ยังรู้สึกอยู่อีก หายใจออก-หายใจเข้า มันหายใจทั้งวันอยู่แล้ว เวลาฉันข้าว บางวันได้อาหารไม่ถูกปาก อาหารไม่ถูกปาก คือได้บาตรเปล่าๆกลับมา ไม่มีอาหาร อาหารเลยไม่ถูกปาก บางวันอาหารไม่ถูกใจ มีอาหาร แต่มันไม่อร่อยอย่างที่ใจอยาก ใจไม่มีความสุข เจริญสติอยู่ ก็เห็นใจไม่มีความสุข ได้ของที่ชอบใจ ก็ดีใจ มีความสุข ก็เห็นอีก จิตใจมีความสุข เนี่ยจะทำอะไรนี่นะ ในชีวิตพระจริงๆ เป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมา ให้เกื้อกูลกับการปฏิบัติมากที่สุดเลย เพราะไม่ต้องไปคิดเรื่องทำมาหากิน การคิดเรื่องทำมาหากินเนี่ย เอาเวลาเราไปเกือบหมดชีวิตเลย โดยเฉพาะ คนที่กินไม่เลิก รวยเท่าไหร่ๆ ก็ไม่พอ พวกนี้ไม่มีเวลาเหลือ ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต . นี้ถ้าเราต้องทำงาน ก็ทำไป ช่วงไหนมีเวลา นาที สองนาทีนะ เก็บให้หมดเลย ทำอะไรไม่ได้ ก็หายใจไปด้วยความมีสติ มีจิตตั้งมั่น เห็นร่างกายหายใจอยู่นะ เนี่ยการที่เรามีจิตตั้งมั่น เห็นร่างกายหายใจอยู่ ไม่ใช่ไปจ้องลมหายใจนะ คนละแบบกัน . อานาปานสติ ก็มีหลายแบบ แบบหนึ่ง เราเอา(จิต)ไปจ้องอยู่ที่ตัวลมหายใจ จนลมหายใจระงับ กลายเป็นแสง ลมหายใจนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต พอเป็นแสง ก็เรียกว่า อุคคหนิมิต ในที่สุดก็เล่นได้นะ กำหนดได้ ย่อได้ ขยายได้ นี่เรียกปฏิภาคนิมิต ตรงนี้ได้อุปจารสมาธิ ตรงที่จิตตรึกอยู่กับแสง เรียกว่า มีวิตกนะ เป็นวิตก จิตเคล้าเคลียอยู่กับแสง เรียกว่าวิจารณ์ มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง ไม่วอกแวกไปไหน จิตเข้าปฐมฌาน เส้นทางนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อสติปัฏฐานนะ เส้นทางนี้ เป็นไปเพื่อสมาธิสงบ(อารัมมณูปนิชฌาน) หรือจะมีฤทธิ์มีเดชน์ อย่างรู้ลมหายใจ นี่คือกสิณลม จากกสิณลม เข้าไปรู้รูจมูก เป็นกสิณช่องว่าง อากาสกสิณตรงเนี้ย จนมันเป็นแสง แล้วไปดูแสงสว่างนะ ตรงนี้ไปรู้แสง เล่นแสงได้ กสิณทั้งหมดแหละ ลงท้ายมันจะเป็นแสง (กสิณ)ทั้งสิบอย่างลงท้ายกลายเป็นแสง แล้วคราวนี้จิตก็เลยเข้าฌาน พักอยู่เฉยๆ ไม่ได้เป็นไปเพื่อการเจริญสติปัฏฐาน ๔ . "... นี้อานาปานสติ ที่เป็นไปเพื่อการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เนี่ย หายใจออก ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นร่างกายหายใจออก จิตตั้งมั่นเป็นคนดูอยู่นะ อย่างเนี้ย ฝึกไปเรื่อยๆ มันจะเริ่มเห็นว่า กายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เริ่มแยก(แยกรูปนาม) มันจะเห็นว่า กายเนี้ย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นได้ แล้วก็เห็นจิต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรอย่างนี้เห็นได้ ตรงที่เรามีสติเห็นกายหายใจอยู่ นี่เรียกเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีจิตเป็นคนดู . นี้พอรู้ไป เรื่อย เรื่อย เรื่อยนะ จิตจะมีความสุขขึ้นมา เราไปมีสติรู้ความสุข หายใจออก มีความสุข ก็รู้ หายใจเข้า มีความสุข ก็รู้ จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่ นี่เรียกว่า ทำเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้วก็ เจริญอานาปานสติสมาธิที่ถูกต้อง มันจะเห็นสติปัฏฐาน งั้นท่านใช้คำดีนะ ใช้คำว่า "อานาปานสติสมาธิ" เป็นสมาธิที่เกิดจากการทำอานาปานสติ เป็นสมาธิที่ถูกด้วย ไม่ใช่สมาธิแบบฤาษี สว่าง สว่างไปเฉยๆ . พอจิตมีความสุขเนี่ย เราจะเห็นมีความพอใจแทรกเข้ามา มีความพอใจแทรกเข้ามา พอจิตมันมีความสุขขึ้นมา ก็เกิดความพอใจ เรามีสติรู้ทันความพอใจนั้นนะ พอเรามีสติรู้ทันความพอใจ เรากำลังเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่ รู้ทันความปรุงแต่งของจิตนะ ซึ่งมันปรุงดีบ้าง ปรุงชั่วบ้าง อันนี้ปรุงโลภะขึ้นมา ชอบ ชอบอกชอบใจในความสุข ต่อไป เราก็จะเห็นอีกนะ ฝึกไปเรื่อยๆ เราจะเห็นว่า ทั้งรูปธรรม-ทั้งนามธรรมเนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายที่หายใจอยู่ ความรู้สึก สุข-ทุกข์ ความรู้สึกที่เป็นกิเลส อย่างความพอใจเนี่ย มันมีกิเลสอยู่ มันไม่ใช่ตัวเรา จิตที่เป็นคนไปรู้ ก็ไม่ใช่ตัวเรา อันเนี้ย เราขึ้นมาสู่ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้ทั้งรูป-รู้ทั้งนาม . เพราะฉะนั้น การที่เราหายใจ แล้วเรามีสติรู้อยู่เรื่อยๆนะ จะทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ . การเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ ก็คือการมีสติ ก็คือการมีสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ เป็นสติปัฏฐาน ไม่ใช่สติธรรมดา ไม่ใช่เดินแล้วไม่ตกถนน แล้วบอกว่า เจริญโพชฌงค์อยู่ ไม่ใช่นะ เพราะฉะนั้น เป็นสติปัฏฐาน การที่เราคอยเห็น ความเปลี่ยนแปลงของรูป-นาม/กาย-ใจ ไปเรื่อย เห็นความจริงของเค้าไปเรื่อยๆ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา(ไตรลักษณ์) อันนี้เรียกว่า ธรรมวิจยะ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เนี่ยการที่เราเห็นไตรลักษณ์ไปเรื่อยนะ เราทำธรรมวิจยะ/วิจัยธรรมะนะ แล้วก็ทำไปเรื่อยๆ ไม่เลิก มีเวลาเมื่อไหร่ทำเมื่อนั้น ตลอดเวลาเลย นี้เรามีวิริยะอยู่ เมื่อไหร่มีสติ เมื่อนั้นมีวิริยะ/มีความเพียร เมื่อไหร่ขาดสติ เมื่อนั้นขาดวิริยะ งั้นวิริยะสัมโพชฌงค์ ไม่ใช่ขยันทำมาหากิน วิริยะสัมโพชฌงค์ ก็คือ ขยันเจริญสติปัฏฐานนั่นแหละ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน พอทำไปเรื่อยๆนะ จิตใจมันจะมีปีติ เป็นปีติของธรรมะ ไม่ใช่ปีติของสมาธิ เป็นปีติจากการเจริญธรรมะ อย่างบางที เราภาวนาไปแล้ว เราเกิดปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจ ในธรรมะบางอย่างขึ้นมา จิตจะเบิกบาน ใครเคยเป็นมั้ย ไม่ได้เข้าสมาธินะ แต่เกิดความเข้าใจขึ้นมาปุ๊ปเนี่ย พอเข้าใจปุ๊บนะ จิตเบิกบาน มีปีติขึ้นมาเลยนะ นี่เป็นปีติในโพชฌงค์นะ แล้วเราก็รู้ทัน มีสติรู้ทันอีก ปีติจะค่อยสงบระงับลง มีปัสสัท��ิเกิดขึ้น/มีความสงบระงับเกิดขึ้น แล้วจิตก็จะมีสมาธิ คราวเนี้ย สมาธิตัวเนี้ย เกิดหลังจาก ที่ได้เจริญปัญญามาเต็มเหนี่ยวแล้ว เจริญปัญญาเต็มเหนี่ยวแล้ว จิตมีสมาธิอยู่ แล้วก็ จิตจะเข้าสู่อุเบกขา อุเบกขาด้วยปัญญา ไม่ใช่อุเบกขาธรรมดา เพราะว่า โพชฌงค์นี้ เป็นเรื่องของปัญญาทั้งนั้นเลย เรื่มตั้งแต่การมีสติ สติปัฏฐานนะ มันก็คือการเจริญสติ เจริญปัญญา แต่พอถึงธรรมวิจยะนี่ เรื่องปัญญาหมดแล้ว วิริยะก็คือ ขยันเจริญปัญญาอยู่ สุดท้ายจิตจะเข้าสู่อุเบกขา ตรงเนี้ย เป็นจุดสำคัญ ถ้าเราภาวนาแล้ว จิตไม่เกิดปัญญานะ ไม่ถึงอุเบกขานะ มรรคผลจะไม่มีทางเกิดเลย . เวลาที่จิตเกิดปัญญา ยกตัวอย่างเช่น เราหายใจไป จิตมีความสุข เราก็รู้ หายใจไป ความสุขหายไป เราก็รู้ หายใจไป จิตมีความทุกข์ เราก็รู้ หายใจไป ความทุกข์หายไป เราก็รู้ อย่างเนี้ย เราเห็นซ้ำๆ ทั้งสุข ทั้งทุกข์เนี่ย เกิดแล้วดับๆ เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก สุดท้ายปัญญามันปิ๊งขึ้นมานะว่า สุขกับทุกข์เท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เนี่ย เป็นของเท่าเทียมกันนะ ดีกับชั่ว ก็เท่าเทีบมกัน เพราะ เกิดแล้วดับเหมือนกัน เท่าเทียมกันในฐานะของไตรลักษณ์นะ ในมุมของไตรลักษณ์ เท่าเทียมกัน แต่ในทางจริยธรรมไม่เท่าเทียมกัน ดีกับชั่วเนี่ย จะมาเท่าเทียมกันในทางจริยธรรมไม่ได้ แต่ในทางที่เราเดินวิปัสสนาอยู่เนี่ย เท่าเทียมกันในกฎของไตรลักษณ์ เกิดแล้วดับๆ บังคับไม่ได้เหมือนๆกัน เนี่ยจิตมันเห็นความจริงนะ ว่าสุขกับทุกข์เนี่ย เท่าเทียมกัน งั้นเวลาที่เกิดสุขเนี่ย จิตไม่หลงดีใจ เวลาเกิดทุข์ จิตไม่หลงเสียใจ จิตเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นอุเบกขาแล้ว ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ตัวนี้สำคัญมากเลยนะ พอจิตเข้าสู่ความเป็นกลางเนี่ย จิตจะไม่ไปสร้างภพใหม่ จิตจะไม่สร้างภพขึ้นมา ถ้าจิตไม่เป็นกลาง ยังยินดี-ยังยินร้าย จะเกิดแรงผลัก แรงผลักให้จิตทำงานต่อไปอีก จิตจะสร้างภพ คือจิตจะทำงานต่อไปอีก _/|\_ _/|\_ _/|\_ #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม 8 กรกฎาคม 2560 CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ 71 File: 600708A พระธรรมเทศนาระหว่างนาที 0:00--11:51 ดาวน์โหลดไฟล์เสียงธรรมะได้ที่ Dhamma.com ..... กราบคุณพระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูง กราบพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ .....
0 notes