#ลวดหนาม
Explore tagged Tumblr posts
Text
เสารั้วลวดหนาม วันเอ็มคอนกรีต
✅แนะนำชุด ล้อมเสารั้วลวดหนาม พร้อมบริการคำนวณจำนวน-งบประมาณให้ฟรีๆ จากวันเอ็มคอนกรีต 👉โทร. 061-436-2825 Line ID : @eoncrete กดแอดไลน์ที่ : https://linktr.ee/onemcon
#วันเอ็มคอนกรีต#home & lifestyle#เสารั้วลวดหนาม#เสารั้วลวดหนามอุบล#เสาอัดแรง#เสาหน้า3#เสาหน้า3นิ้วยาว2เมตร#ลวดหนามเป็ดเขียว#ลวดหนามเป็ดแดง#ลวดหนาม#กิ๊บล็อคลวดหนาม#onemcon
0 notes
Text
ลักษณะเบอร์รั้วลวดหนามที่นิยมใช้ และคุณสมบัติของเกลียวลวดหนาม
รั้วลวดหนาม เป็นหนึ่งในลักษณะ ของความนิยมที่มีความแพร่หลาย ตั้งแต่อดีตเมื่อย้อนไปตั้งแต่เป็นร้อยปีที่แล้ว เนื่องด้วยเป็นรั้วที่มีความแข็งแรง และยังมีราคาที่ไม่สูง และที่สำคัญคือการติดตั้งที่ทำได้ง่ายกว่า ดังนั้นในลักษณะที่จำเป็นของรั้วที่ถือว่า เข้ากับวิถีในแบบไทยๆ เรา ที่สามารถนำไปใช้ทั้งในงานเกษตรกรรม หรือในส่วนของการล้อมพื้นที่ส่วนตัว ที่ดินเปล่า และอื่นๆ ซึ่งความนิยมนี้มีแพร่หลายทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลจากชุมชน เพราะเต็มไปด้วยที่ดิน และแปลงพืชผัก หรือพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์ใหญ่ ดังนั้นวันนี้เราจึงอยากจะแนะนำ เกี่ยวกับเบอร์ลวดหนาม และลักษณะของเกลียวลวดหนาม ที่ปัจจุบันมีการแยกประเภท ที่คุณลักษณะจำเพาะอยู่พอสมควร เราจะมาดูข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
เบอร์ลวดหนามที่นิยมนำมาทำรั้วลวดหนาม
รั้วที่ใช้สำหรับการล้อมพื้นที่ในลักษณะนี้ แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ ที่ต้องการความมิดชิดน้อย การมองเห็นได้ทะลุถือว่าเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ ท่านเจ้าของบ้านที่อยากจะมีรั้วบ้านในลักษณะนี้ด้วยซ้ำ แต่แน่นอนว่าคุณสมบัติของความทนทาน ก็ยังคงเป็นที่ต้องการอยู่ เพราะเรื่องของการประหยัดงบประมาณ ก็ยังคงเป็นที่ต้องการอยู่ ดังนั้นการเลือกเบอร์ลวดหนามที่เหมาะสม ก็อาจจะยังคงเป็นสิ่งที่สมดุล ในกรณีของการล้อมรั้วลวดหนามอยู่ ซึ่งการเลือกเบอร์ลวดหนามที่ลงตัว ที่ได้ทั้งราคาที่พอเหมาะ และยังไม่ขาดความแข็งแรงทนทานของลวดหนามไป ก็ยังถือว่ามีความสำคัญอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งเบอร์ลวดหนามที่เหมาะสม ที่จะตอบโจทย์ดังกล่าวนั้น ปัจจุบันที่เป็นที่แพร่หลาย มักจะเลือกในเบอร์ระหว่าง 13 ไปจนถึง เบอร์ 15 ซึ่งตรงกลางระหว่างสองเบอร์นี้ ก็คือลวดหนามเบอร์ 14 ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 2 มิลลิเมตร จะเป็นเบอร์ที่ถือว่า อยู่ระหว่างกลาง ระหว่างความแข็งแรงและราคาที่คุ้มค่า
ลักษณะของลวดหนามและการพันเกลียว
คุณลักษณะ ของเกลียวลวดหนาม ก็เป็นอีกปัจจัยที่จะชี้ให้เห็นถึงความทนทานของรั้วลวดหนามด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อมีการติดตั้งไปในระยะเวลาหนึ่ง การขึงลวดหนามให้ตึงตามระยะที่กำหนด โดยมีความห่างของเสาเป็นปัจจัย ที่เป็นตัวกำหนดความตึงของลวดหนาม ซึ่งถ้าท่านที่ต้องการ ความทนทาน ของรั้วลวดหนาม และหากจะเลือกจากคุณลักษณะของการพันเกลียวลวดหนาม ทางเราแนะนำให้เลือกลวดหนาม ที่พันเกลียวในแบบไขว้สลับ เพราะเป็นนวัตกรรมล่าสุด ของการพันเกลียวลวดหนาม ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้ลวดหนามนั้น จะมีการยึดแน่นมากกว่าการพันเกลียวแบบดั้งเดิม และหากเลือกตามลักษณะของชื่อ ที่จะทำให้ท่านได้เลือกลวดหนาม ในการทำรั้วลวดหนามที่ครบองค์ประกอบตามลักษณะ ของเกลียวลวดหนามนั้น จะต้องเลือกเป็นแบบ ลวดหนามแบบซิงค์อลูไวน์แมน เป็นชนิดของลวดหนามที่มีการพันเกลียวแบบไขว้สลับ และมีการชุบสารพิเศษ ช่วยป้องกันสนิม ทำให้อายุการใช้งานนั้นยาวนานขึ้น
บทสรุปตอนท้าย
ทั้งหมดจะเป็นสองปัจจัยหลัก ของการที่จะนำพาให้ทุกท่าน ได้ล้อมรั้วลวดหนาม ด้วยวัสดุและอุปกรณ์ที่ถือว่า เป็นที่หนึ่งของลวดหนามในยุคนี้แล้ว เพราะทั้งลักษณะของการพันเกลียว และยังรวมไปถึงเบอร์ลวดหนามนั้น จะเป็นองค์ประกอบสองข้อ ที่จะเป็นตัวแปร ของอายุการใช้งาน ความทนทานของรั้วลวดหนามนั่นเอง
1 note
·
View note
Text
วิธีปลูกมะนาวในกระถาง ให้ลูกดก เก็บกินเก็บขายได้ตลอดทั้งปี
การเตรียมกิ่งพันธุ์
ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรค ไม่แก่จนใบเหลือง หรือ รากขด
ลักษณะดิน
ดินควรมีความร่วนซุย มีอินทรียวัตถุสูง สัดส่วนของดิน ควรประกอบด้วย ดินร่วน 3 ส่วน แกลบดิบ หรือ กาบมะพร้าวสับ 1 ส่วน และ ปุ๋ยคอก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
การรดน้ำ ให้แสงแดด
ควรรดน้ำวันละ 1 ครั้ง พอแค่ให้ดินชุ่ม หากวันใดฝนตกก็เว้นไป ไม่ต้องรดน้ำ สำหรับแสงแดด ควรตั้งไว้ในที่แจ้ง ให้ต้นมะนาวได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
การใส่ปุ๋ย
เดือน 1 – เดือน 7 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ สูตร 16-16-16 อัตรา 1-2 ช้อนโต๊ะ เดือนละ 1 ครั้ง โดย��ย่อนใส่ 4 มุมของกระถางก็พอ หากต้นสมบูรณ์ดี ให้เว้นบ้างก็ได้
เมื่อต้นมะนาวมีอายุ 8 เดือน ถึง 1 ปี ต้องเปลี่ยนเป็น ปุ๋ยสูตร 8–24–24 หรือ 12-24-12 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการออกดอก อัตรา 1-2 ช้อนโต๊ะ เดือนละ 1 ครั้ง พอใส่เสร็จแล้วรดน้ำตามทันที อีกประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ต้นก็จะออกดอกปรากฏให้เห็น และ ให้ผล ในเวลาต่อมา
การควบคุมโรคและศัตรูพืช
เดือน 1 – เดือน 5 เมื่อต้นมะนาวเริ่มออกใบอ่อน อาจมีศัตรูพืชเข้ามากัดแทะทำลาย เช่น หนอนผีเสื้อกลางคืน ดังนั้น จะต้องคอยฉีดพ่น ปิโตรเลียมออยล์ ผสม สารอะบาเม็กติน หรือ คาร์โบซัลแฟน ฉีด 2 ครั้ง เว้น 3 วัน เมื่อผ่านไป 9-10 วัน ใบมะนาวก็จะปลอดภัยจากแมลงศัตรูแล้ว เดือน 5 – เดือน 8 ให้คอยตัดแต่งกิ่ง และ ฉีดพ่นสารเคมี ประเภทสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ เป็นช่วง ๆ เพื่อป้องกันโรคแคงเกอร์ หากต้นมะนาวเกิดโรคแคงเกอร์แล้ว ให้ใช้แบคทีเรียบาซิลลัส สูตรพลายแก้ว หรือ Zinc Oxide Nano ฉีดพ่นทุก 30 วัน ถ้าไม่อยู่ ให้ตัดแต่งกิ่งก้านใบ ลำต้นที่ถูกทำลาย มาเผาทิ้งเสีย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
โปรโมชั่นสำหรับคุณ รั้วตาข่ายลวดหนาม
ที่มา sgethai.com
0 notes
Text
รู้จัก รั้วลวดหนาม พร้อมวิธีติดตั้งแบบง่าย
รั้วที่มั่นคงแข็งแรง ส่วนหนึ่งเกิดจากการติดตั้งที่ถูกต้อง ซึ่งรั้วบางประเภทเราสามารถติดตั้งเองได้ เช่น รั้วลวดหนาม สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีติดตั้งรั้วลวดหนามด้วยตัวเอง วันนี้เรามีวิธีมาฝากค่ะ
รั้วลวดหนามคืออะไร
เส้นลวดเหล็กที่มีลักษณะแหลมคมหรือเป็นหนาม ถูกนำมาดึงให้ตึงและยึดไว้กับเสารั้ว คุณสมบัตินี้ทำให้คนนิยมนำมาล้อมพื้นที่ป้องกันสัตว์และคนเข้าบุกรุก ด้วยข้อดีมากมายเช่น ราคาประหยัดเมื่อเทียบกับรั้วหลายชนิด และมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการบุกรุก รวมถึงการติดตั้งที่ง่าย ทำให้ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
เสารั้ว ควรเลือกขนาดตามความสูงที่ต้องการ เช่น 2 เมตร
เครื่องเจาะดิน ใช้สำหรับขุดหลุม
ปูนซีเมนต์ สำหรับยึดเสาในหลุม
ลวดหนาม ใช้สำหรับทำรั้ว
กิ๊บล็อค ใช้ในการยึดลวดหนามกับเสา
สายวัด เพื่อวัดระยะห่างระหว่างเสา
ขั้นตอนการติดตั้ง
กำหนดระยะห่างของเสา ควรเว้นระยะห่างประมาณ 2 เมตรถึง 2.5 เมตร ระหว่างแต่ละเสา เพื่อให้มีความมั่นคง
ขุดหลุม ใช้เครื่องเจาะดิน ขุดหลุมลึกประมาณ 30 ถึง 50 เซนติเมตร หากดินแข็ง ควรใช้น้ำช่วยให้ง่ายขึ้น.
ติดตั้งเสา ใส่เสาลงในหลุมที่ขุดไว้ หากพื้นที่มีความแข็งแรง สามารถเทปูนลงในหลุมเพื่อเพิ่มความมั่นคงได้
ยึดลวดหนาม ใช้สายรัดเพื่อดึงลวดหนามให้ตึง จากนั้นใช้กิ๊บล็อค ยึดลวดหนามเข้ากับเสา โดยใช้ค้อนช่วยในการตอก
ตรวจสอบความมั่นคง หลังจากติดตั้งทั้งหมดแล้ว ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า เสามั่นคงและลวดหนามยึดแน่น
เคล็ดลับเพิ่มเติม
ความแข็งแรงของรั้วลวดหนาม นอกจากจะขึ้นอยู่กับการติดตั้งแล้ว วัสดุที่นำมาใช้งานก็ควรเลือกที่แข็งแรงและมีประสิทธิภาพ เช่น ลวดหนาม หากต้องการความทนทาน ใช้งานได้ยาวนานหลายปี ก็ควรเลือกแบบพันเกลียวไขว้สลับและมีการชุบซิงค์หรือสารกันสนิม
และอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามคือเสารั้ว หากเลือกเป็นเสารั้วอัดแรงก็จะมั่นคงทนทานกว่าเสาไม้หรือเสาเหล็ก ทริคสุดท้ายคือ ควรใช้เสาเพิ่มเติมประมาณ 10% ของจำนวนเสาทั้งหมด เพื่อใช้ในการเสริมความแข็งแรงในจุดที่จำเป็น และหากต้องการติดตั้งด้วยตัวเอง ควรมีอุปกรณ์ครบถ้วน และเวลาเพียงพอเพื่อไม่ให้เกิดความเร่งรีบ
จุดเด่นและจุดด้อย
จุดเด่น
ความปลอดภัยสูง ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับพื้นที่ที่ต้องการป้องกัน
แข็งแรงและทนทาน รั้วลวดหนามมีความแข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศ และใช้งานได้ยาวนานหากเลือกใช้วัสดุคุณภาพดี
ติดตั้งง่าย การติดตั้งรั้วลวดหนามสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะช่างมากนัก
ต้นทุนต่ำ เป็นทางเลือกที่ประหยัดเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุอื่นๆ เช่น รั้วเหล็กหรือไม้
จุดด้อย
ปัญหาสนิม รั้วลวดหนามอาจต้องเปลี่ยนบ่อยครั้งเนื่องจากสนิมและการสึกหรอ
ความสวยงามต่ำ ไม่สร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามเหมือนรั้วประเภทอื่นๆ เช่น รั้วคาวบอย
อายุการใช้งานสั้น โดยทั่วไปอายุการใช้งานของรั้วลวดหนามจะอยู่ที่ประมาณ 2-3 ปี หากใช้วัสดุที่มีคุณภาพต่ำ อาจต้องเปลี่ยนใหม่บ่อยครั้ง
การเลือกใช้รั้วลวดหนาม แม้จะมีข้อด้อยให้เห็นอยู่บ้าง แต่ถ้าเทียบกับราคาแล้วก็ถือว่าเป็นรั้วที่น่าสนใจหากจะนำมาติดตั้งในพื้นที่ที่ไม่ได้ต้องการการป้องกันหนาแน่นเช่น ไร่นา
สรุป
การติดตั้งรั้วลวดหนามไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันพื้นที่ แต่ยังสามารถทำได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายหากมีการเตรียมตัวและอุปกรณ์ที่เหมาะสม ซึ่งถ้ามีความสัมพันธ์กันของ 3 ข้อเบื้องต้นที่เราแนะนำไว้นั้น จะเป็นหนึ่งในขั้นตอนทางเลือกที่ดีของการใช้งานรั้วลวดหนาม
1 note
·
View note
Text
วันที่ 29 พ.ย. 2563 สังคมทั่วไป #SootinClaimon.Com
#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
https://www.posttoday.com/social/general/
“สุวิทย์”ชื่นชมเยาวชนมีพลังที่ล้นเหลือร่วมกิจกรรมออกแบบอนาคต
อดีตรมว.การอุดมศึกษาฯชื่นชมเยาวชนคนรุ่นใหม่ร่วมกำหนดอนาคตในมิติด้านสังคมรายได้สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันวันที่ 29 พ.ย. 2563 เวลา 17:45 น. | สังคมทั่วไป
ชาวเน็ตแจ้ง”ตู้คอนเทนเนอร์-ลวดหนาม”แน่นริมถ.วิถา…
View On WordPress
0 notes
Text
รั้วลวดหนาม สามารถสร้างได้ด้วยตัวเองจริงหรือไม่ ?
บางท่านอาจจะเริ่มมองหา ขั้นตอนการติดตั้ง หรือการสร้างรั้วในแบบประหยัด หรือที่สำคัญที่สุด ก็คือการที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองเลย ซึ่งนั่นถือว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และเป็นไปได้จริงด้วยเช่นกัน เพราะเพียงแค่ท่านนั้นมีความรู้ติดตัว ในด้านงานช่างบ้างเล็กน้อย สามารถผสมปูน หรือสามารถใช้เครื่องมือก่อสร้างได้นิดๆ หน่อยๆ ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องยากอะไร
หากจะใช้ประสบการณ์และความรู้ที่มีนั้น มาใช้กับการสร้างรั้วลวดหนามด้วยตัวเอง ดังนั��นวันนี้เราจึงอยากจะแนะนำทุกท่าน เกี่ยวกับขั้นตอนพื้นฐาน ที่ช่างนั้นจะใช้สำหรับการติดตั้งรั้วลวดหนาม มาฝากทุกท่านดังต่อไปนี้
การผสมปูนและขุดเสาหลักรั้วลวดหนาม
เป็น 2 ขั้นตอนแรกที่ท่านต้องมีสกิล ในการที่จะสามารถทำได้ ซึ่งการสร้างรั้วในลักษณะนี้ เสาหลักถือว่า เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการสร้างรั้ว และยิ่งเป็นรั้วลวดหนาม การมีเสาหลักที่ทนทานแข็งแรง จะทำให้ท่านมีแนวรั้วลวดหนาม ที่มีความตึงไม่ตกท้องช้าง ยืดอายุของการใช้งานรั้วได้มากขึ้น ขั้นตอนแรกคือการที่ท่าน จะต้องคำนวณส่วนผสมของปูน ที่ในที่นี้ จะใช้ทำหน้าที่คล้ายกับลีน ในการที่จะใช้เทในงานก่อสร้างทั่วไป
แต่ปูนที่ท่านผสมในกรณีนี้ คือการใช้เพื่อกลบหลุมของเสารั้วลวดหนามนั่นเอง และส่วนผสมก็สามารถ ใช้ตามมาตรฐานทั่วไปได้เลย ซึ่งถ้าหากว่าท่านยังจำสูตร 1 : 2 : 4 จัดเรียงตามลำดับของ ปูน ทราย และ หิน นั่นเอง ซึ่งเพียงเท่านี้ก็ถือว่า ท่านสามารถที่จะมีปูน ที่เตรียมการรอเทกลับหลุมเสาหลัก ของรั้วลวดหนามที่ท่านได้ทำการติดตั้ง หรือสร้างขึ้นมาเองแล้ว และที่สำคัญความลึก ควรจะอยู่ระหว่าง 80 ซม. หรือไม่เกิน 1.5 เมตร จะทำให้ได้ระดับ ของรั้วลวดหนามที่เหมาะสม
ล้อมที่ดินเปล่า ล้อมแปลงเกษตร ราคาถูกกว่าถ้าเป็นรั้วลวดหนาม
เสารั้วอัดแรง ตัวเลือกที่ดีที่สุด ของการล้อมรั้วลวดหนาม
���ั้วลวดหนามที่มาพร้อมกับคุณสมบัติชุบซิงค์หลากหลายประเภท
การขึงเส้นเอ็นและการพันลวดหนาม
เราได้รวบยอด สองขั้นตอนที่มีความต่อเนื่องกันมาให้ทุกท่านแล้ว นั่นก็คือการขึงเส้นเอ็น เพื่อที่จะระบุตำแหน่ง หรือระดับของการล้อมรั้วลวดหนาม ให้มีความแน่นอนเท่ากันตลอดแนว โดยวิธีการพื้นฐานของช่างหลายๆ ท่าน ในบ้านเราที่จะนิยมทำการขึงเส้นเอ็นนั้น ก็คือการขึงในบริเวณที่สูงสุดของแนวเสา หรือให้เหลือระยะ จากปลายเสารั้วลวดหนามด้านบนสุดไว้ จากนั้นก็ขึงในจุดที่อยู่ล่างสุด เพื่อให้ได้ระดับล่างสุด
ซึ่งการกะระยะของช่องว่างระหว่างพื้นดิน จะอยู่ในการพิจารณาของท่านเอง หากต้องการระยะช่องว่าง ของลวดหนามแต่ละแถวในแบบใด ให้ใช้เส้นเอ็นบนสุดและล่างสุดเป็นตัวกำหนดนั่นเอง จากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอนของการพันลวดหนาม ซึ่งในการเลือกเบอร์ลวดหนาม หากเป็นขนาดมาตรฐาน ที่พันงาย สามารถพันได้ด้วยตัวเองเลยนั้น เบอร์ 12 หรือ ไม่เกินเบอร์ 14 นั้นถือว่า เป็นเบอร์ลวดหนาม ที่สามารถพันได้ด้วยตัวเอง
อุปกรณ์ที่มักนิยมใช้ในการขึงลวดหนาม ก็คือชะแลง ที่ต้องใช้ดึงลวดหนามให้ได้ความตึงเท่าที่ต้องการ จากนั้นล็อคลวดหนามเข้ากับกิ๊บล็อค หรือสลักที่อยู่เสารั้วลวดหนาม เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว
สรุปตอนท้าย
การล้อมรั้วในหลากหลายรูปแบบ ปัจจุบันมีหลายท่าน ที่นิยมใช้วิธีการที่ทำด้วยตัวเอง และไม่ได้เป็นขั้นตอนที่ดูยากนัก เมื่อเทียบกับสมัยก่อน จากกรณีของขั้นตอนการล้อมรั้วลวดหนาม ที่เรายกสองขั้นตอน ที่ดูเหมือนว่าจะง่าย
และคงเป็นอะไรที่ไม่ได้เกินความสามารถทุกท่านอยู่แล้ว การล้อมรั้วตามเนื้อที่ประมาณไม่เกิน 3 ไร่ และทำด้วยตัวเอง หรือมีลูกมือช่วยสักคน ก็ถือลงตัวกับการล้อมรั้วที่ประหยัดทั้งค่าช่างและค่าวัสดุอย่าง
1 note
·
View note
Text
ล้อมที่ดินเปล่า ล้อมแปลงเกษตร ราคาถูกกว่าถ้าเป็นรั้วลวดหนาม
ภาพจาก : วันเอ็มคอนกรีต
คงเป็นอีกหนึ่งเรื่องราว ที่ถือว่าน่าจะเป็นประโยชน์ กับหลายท่านที่กำลังต้องการ ที่จะหาแนวรั้วสักชุด ที่อาจจะต้องมีพื้นที่ ที่มากกว่าทั่วไปพอสมควร ที่ดินโดยรวมที่มีความเป็นสิบๆ ไร่ หรือแปลงพืชผักการเกษตร หรือแม้แต่พื้นที่เพาะเลี้ยง วัว ควาย พันธุ์สัตว์ในทุกๆ ชนิด ท่านสามารถจำกัดงบประมาณ ของการล้อมอาณาเขตพื้นที่เหล่านั้น ได้ด้วยการเลือกใช้ประโยชน์จากรั้วลวดหนาม เป็นรั้วที่ถือว่า เป็นท���่ใช้งานกันทั่วโลก มีความแพร่หลายในแทบจะทุกรูปแบบพื้นที่ สามารถติดตั้งได้หลากหลายสภาพแวดล้อม ที่ดินในทุกรูปแบบ รั้วชนิดนี้จึงถือว่าเป็นรั้วที่ต้องใ��้เป็นเบอร์หนึ่ง ของการนำไปใช้งานในแบบที่มาจากความต้องการ อยากจะล้อมรั้วที่ทนทาน แต่ราคาไม่แรงมากนัก วันนี้เราจึงอยากจะแนะนำรั้วชนิดนี้ให้ท่านได้รู้จักมากขึ้น ด้วยข้อมูลเกล็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่เรานำมาฝากในวันนี้
ประสิทธิภาพของรั้วลวดหนาม ที่ใช้ได้กับทุกสภาพดิน
มีหลายรูปแบบการติดตั้งรั้วที่เราเห็นมาโดยตลอด ซึ่งส่วนใหญ่หากเป็นการติดตั้ง ที่ไม่ใช่การติดตั้งผ่านรูปแบบของ บ้านพักอาศัย หรือพื้นที่บางประเภท ที่ต้องการความมั่นคงในระดับสูง หากนอกเหนือจากความต้องการดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่จะต้องเป็นการนำเอารั้วลวดหนามไปใช้แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะสภาพชั้นดินทุกรูปแบบที่เราเคยเห็น ตั้งแต่พื้นที่เพาะปลูก ที่เป็นลักษณะของชั้นดิน ที่มีความชุ่มชื้น การฝังเสารั้วลวดหนาม การติดตั้งชุดอุปกรณ์ต่างๆ ของรั้วลวดหนาม ก็ไม่พบเห็นว่ามีอุปสรรคในการติดตั้ง และยังมีความแน่นหนาในระดับหนึ่ง เท่ากับว่า เราสามารถวัดระดับประสิทธิภาพ ของรั้วชนิดนี้ได้เลยว่า มีความเข้ากับทุกสภาพชั้นดิน ได้อย่างลงตัว ไม่ได้เป็นปัญหากับรูปแบบที่ดินในประเภทใดประเภทหนึ่ง จะแข็งหรือมีความชื้นแค่ไหน รั้วลวดหนามก็สามารถติดตั้ง ให้มีความทนทานแข็งแรงได้โดยสะดวกเลยทีเดียว
การติดตั้งรั้วลวดหนามตามแนวนาข้าว
นาข้าวถือว่าเป็นพื้นที่เพาะปลูก ที่ชาวไทยเราผูกพันและมีความจำเป็น กับการดำรงชีวิตในระดับหนึ่ง โดยตลอดมา รั้วลวดหนามถือว่ามีความสำคัญ และมีบทบาทกับการนำไปใช้ติดตั้ง เพื่อป้องกันนาข้าว ไม่ให้มีคนหรือสัตว์นั้น เดินผ่านเข้าไปทำความเสียหาย ให้กับนาข้าวได้เป็นอย่างดี และด้วยความสะดวก ดังที่กล่าวมาจากหัวข้อที่แล้ว ด้วยชุดส่วนประกอบ ที่มีทั้งเสารั้วที่มีการอัพเกรด ให้เป็นแบบคอนกรีตอัดแรง มีเหล็กเสริม แต่ยังคงความสะดวกของการปักเสารั้วได้อยู่ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความมั่นคง ของแนวรั้วลวดหนาม ที่หากว่านำไปใช้ปกป้องพื้นที่ปลูกข้าวนั้น สามารถทำได้โดยสะดวก และยังเป็นความไว้วางใจจากชาวนาไทยเรา แทบจะทั่วประเทศเลยก็ว่าได้ ที่ปัจจุบันมีการนำเอารั้วลวดหนามไปใช้ประโยชน์ ในการปกป้องผลผลิตที่เพาะปลูกในที่นา นับว่าเป็นอีกประโยชน์ใช้สอยของรั้วลวดหนาม ที่ถือว่าส่งผล กับการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคนี้เลยทีเดียว
สรุปตอนท้าย
เราน่าจะได้เห็นอีกหลากหลายรูปแบบ ของการใช้งานรั้วลวดหนาม กับสิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินว่างเปล่าทั่วประเทศ เพราะภาพที่ท่านเห็นนั้น ล้วนแล้วแต่เกิดจาก ข้อดีที่เป็นหนึ่งในเหตุผล ที่ไปตอบโจทย์ทางด้านผู้คนในบ้านเรา ที่เห็นถึงความค���้มค่า ของการเลือกใช้รั้วลวดหนาม ในการที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ให้กับพื้นที่ด้านหลังแนวรั้วนั่นเอง
1 note
·
View note
Text
มาดาม กับ สาวกลอย แห่งวันเอ็มคอนกรีต
0 notes
Text
ผักปลัง
ผักปลัง หรือ ผักปั๋ง ��ื่อวิทยาศาสตร์: Basella alba วงศ์ Basellaceae ไม้เลื้อย ลำต้นอวบน้ำ เกลี้ยง กลม ลำต้นมีสีเขียว ใบเดี่ยว อวบน้ำ เป็นมันหนานุ่มมือ ฉีกขาดง่าย ขยี้จะเป็นเมือกเหนียว ขอบใบเรียบ ดอกช่อเชิงลด ออกตรงซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดเล็ก ไม่มีก้านชูดอก แต่ละดอกมี 5 กลีบ ดอกสีขาว มีริ้วประดับ ติดที่โคนของกลีบรวม กลีบรวมรูประฆัง โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายแยกเป็นห้าแฉกเล็กน้อย เกสรเพศผู้มีจำนวน 5 อัน ติดที่ฐานของกลีบดอก อับเรณูรูปกลม ติดก้านชูเกสรที่ด้านหลัง เกสรเพศเมีย 1 อัน กลม ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก ผลสด กลมแป้น ฉ่ำน้ำ ผิวเรียบ ปลายผลมีร่องแบ่งเป็นลอน ไม่มีก้านผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงอมดำ ภายในผลมีน้ำสีม่วงดำ เมล็ดเดียว สินค้าที่เหมาะกับคุณ ลวดหนาม และ รั้วตาข่าย
0 notes