Tumgik
#การคิดบวก
laweewan · 8 months
Text
ทัศนคติเชิงบวก หนทางแห่งชีวิตที่ยั่งยืน
Tumblr media
หากอยากมีความสุข และประสบความสำเร็จ ต้องมีทัศนคติเชิงบวกครับ เพราะการมีทัศนคติเชิงบวก จะทำให้เราผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความทุกข์ และสามารถค้นพบทางสว่างในการดำเนินชีวิต ซึ่งหลักการนี้ก็ไม่ได้มีอะไรเลิศเลอหรอกครับ เพียงแค่ใช้หลัก ธรรมมะ ในเชิงพุทธ มาประยุกต์ใช้
โดยเฉพาะหลักทางสายกลางไม่ยึดติด ไม่สุดโต่งกับสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็น และใช้เพียง 2 เครื่องมือ นั่นคือ หลักคิดบวก และหลักคิดลบ เพราะการคิดบวกไม่จำเป็นต้องคิดบวกแบบ 100 % และการคิดลบก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่เราต้องรู้จักใช้ในเชิงบวก ให้มากกว่าเชิงลบก็เท่านั้น ซึ่งตามโมเดลนี้ ผมแบ่ง การคิดบวก และการคิดลบ เป็น 2 ด้าน ซึ่งผมขอเริ่มจากสิ่งที่เราควรคิดก่อนทำ นั่นคือ
1.การคิดลบ ในเชิงบวก
การคิดลบในข้อนี้ เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ เพราะภายใต้ข้อมูลที่มากมายบนโลกออนไลน์ เราต้องขบคิดให้ดี รู้จักหาข้อมูลนำมาวางแผน หวยssslotto ป้องกันความผิดพลาด โดยใช้ประสบการณ์จากอดีตที่เคยทำผิดพลาด นำมาใช้เป็นบทเรียนสอนใจ ไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำสองได้อีก เพราะโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเหลือเกินครับ อย่ากลัวความผิดพลาด แต่ต้องรู้จักป้องกันความผิดพลาดจากสิ่งรอบตัว มองให้รอบด้านก่อนลงมือทำ เมื่อวางแผนจนรอบคอบแล้ว จงลงมือทำครับ เพราะต่อให้วางแผนดีแค่ไหน แต่ขาดการลงมือทำ ก็ย่อมไร้ซึ่งผลลัพธ์ ทว่าหากลงมือทำแล้วติดขัด จงใช้หลักการข้อที่ 2
2.การคิดบวก ในเชิงบวก
การคิดบวก มีไว้เพื่อแก้ไขปัญหา เพราะต่อให้เราวางแผนดีแค่ไหน โอกาสแห่งความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะปัญหา มักเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ นั่นคือ ตัวเราเอง และ สิ่งรอบตัว หากเกิดจากสิ่งรอบตัว จงปล่อยวางจากอารมณ์เชิงลบ และตั้งสติเพื่อคิด ทบทวน กับปัญหาที่เกิดขึ้น หาสาเหตุของ ปัญหาให้เจอ และจงสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหา จากตัวเราเอง แก้ไขให้ดีที่สุด รู้จักหาทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ไว้หลาย ๆ ทาง อย่าคิดว่าปัญหานั้นแก้ไขไม่ได้ ผมเชื่อว่า เมื่อมีปัญหาย่อมมีทางออก ขอแค่เรามีความเชื่อ มีความคิดที่ดี ใจสู้เข้าไว้ เพราะการคิดบวก ในเชิงบวก จะทำให้เรามีกำลังใจ และคนที่มีกำลังใจ ย่อมผ่านพ้นปัญหาได้แน่นอนครับ
2 ข้อที่ผมกล่าวถึง คือ หลักคิดในการสร้างทัศนคติเชิงบวก ที่ควรนำมาใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน แต่ ก็ต้องระมัดระวังอีก 2 ข้อที่ผมจะกล่าวถึง นั่นคือ
3.การคิดบวก ในเชิงลบ
เพราะการคิดบวกที่สุดโต่ง หรือมากเกินไป ย่อมทำให้เราประมาท และคิดไม่รอบด้าน จนทำให้เกิดความเสียหาย หรือการวางแผนที่ผิดพลาด โดยเฉพาะคนที่มั่นใจในความคิดของตนเอง จนขาดการรับฟัง มองโลกในเชิงอุดมคติ หรือติดอยู่แต่ในความฝันมากจนเกินไป สิ่งเหล่านี้อาจเป็นหลุมพรางให้เราตกลงไป จนทำให้สิ่งที่ตามมาในข้อสุดท้าย
4.การคิดลบ ในเชิงลบ
เพราะความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ย่อมนำมาซึ่งอารมณ์เชิงลบ จนเผลอทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนจากคำพูด และการกระทำของตัวเราเอง เพราะอารมณ์เชิงลบ เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยาก หากเราไม่ฝึกสร้างสติให้เกิดขึ้นอยู่กับตัวเรา ทั้งการคิด การพูด และการกระทำ ซึ่งผมแนะนำว่า หากเราแก้ไขอารมณ์เชิงลบไม่ได้ ก็ไม่ควรทำให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างจนทำให้ ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างแย่ลง ซึ่งผมขอฝากไว้ 4 ข้อ ต้องห้าม นั่นคือ
1.อย่าทำให้คนอื่นเสียหาย 2.อย่าทำให้คนอื่นเสียหน้า 3.อย่าทำให้คนอื่นเสียใจ 4.อย่าทำให้คนอื่นเสียความรู้สึก
0 notes
bbmemory · 10 months
Text
การคิดบวก เป็นสิ่งที่ดี ช่วยลดความเครียด
งานซ้ำจำเจ งานที่มากจนเกินไป การรับมือกับงาน การบริหารจัดการงาน ระบบการบริหารงานที่ไม่ชัดเจน อุปกรณ์ในที่ทำงาน ขาดแคลนทรัพยากร
การคิดบวก จะช่วยให้ฮอร์โมนความเครียดอยู่ในระดับที่มันนิ่งขึ้น ป้องกันโรคซึมเศร้าได้ด้วย ��ีเกม มีกิจกรรม
เครียดกับงานมากเกินไป เรารักงานได้ แต่เราควรจะรักตัวเองด้วย พาร่างกายจิตใจเราห่างจากงานบ้าง ไปพักผ่อนบ้าง
0 notes
jarurat-blog · 2 years
Text
Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media
โยนิโสมนสิการ (บาลี: โยนิโสมนสิการ yonisomanasikāra, คำอ่าน: โยนิโสมะนะสิกาน) หมายถึง การทำในใจให้ดีละเอียดถี่ถ้วน กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาทหรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง ดังปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๔๖๔ หน้า ๑๒๙ นอกจากนั้น ยังจัดเป็นธรรมะข้อหนึ่งในกลุ่มธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา และเป็นธรรมะมีอุปการะมากแก่มนุษย์ดังพรรณาในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๒๖๘-๙ หน้า ๓๓๒[1]
การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะแล���ตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย [2]เช่น
คิดจากเหตุไปหาผล
คิดจากผลไปหาเหตุ
คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ
คิดแบบ มองเป็นองค์รวม
คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
คิดเห็น องค์ประกอบที่มาทำให้เจริญ
คิดเห็น องค์ประกอบที่มาทำให้เสื่อม
คิดเน้น เฉพาะจุดที่ทำให้เกิด
คิดเน้น สิ่งที่มาตัดขาดให้ดับ
คิดเทียบเคียง อะไรเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้
ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งโยนิโสมนสิการทั้งหมด10อย่างด้วยกัน คือ
1.วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย (Inquiry) หรือวิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา คือการพิจารณาว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี วิธีคิดแบบนี้อธิบายว่าสมมุติว่าทอดไข่เจียว ถ้ามีน้ำมันผลเป็นเช่นไร ไม่มีน้ำมันผลเป็นเช่นไร ใส่เกลือผลเป็นเช่นไร(เค็ม) ไม่ใส่เกลือผลเป็นเช่นไร ไฟแรงผลเป็นเช่นไร(ไหม้เร็วไหม้ง่าย) ไฟไม่แรงผลเป็นเช่นไร
2.วิธีคิดแบบแยกส่วน (Analysis)คือการคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ เช่นการพิจารณาว่า ร่างกายนี้ประกอบด้วยธาตุทั้ง4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ วิธีคิดแบบนี้อธิบายว่า รถยนต์ถ้าเราเอามาแยกส่วนเป็นชิ้น ก็จะเห็นว่ามีอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง เป็นการศึกษาและเทียบเคียงองค์ประกอบ ว่ามีลักษณะอย่างไร ทำด้วยอะไร แตกต่างกันอย่างไร มีหน้าที่อย่างไรเพื่อเข้าใจองค์ประกอบต่างๆให้ชัดเจน
3.วิธีคิดแบบสามัญญลักษณะ (The Three Characteristic)หรือคิดแบบศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพิจารณาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่แปรเปลี่ยน ดับไป วิธีคิดแบบนี้อธิบายว่าสมมุติว่าวางปลาทอดไว้ ปลาจะค่อยๆเน่าในที่สุด หรือเมื่อสังเกตธรรมชาติ จะเห็นว่าฤดูกาลจะเปลี่ยนแปลงเป็นหน้าร้อน หน้าฝน หน้าหนาว ผู้คนจะเปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นวัยรุ่นเป็นผู้ใหญ่เป็นคนแก่ เป็นต้น
4.วิธีคิดแบบอริยสัจ (The Four Noble Truths)คือวิธีการแก้ปัญหา แบบหาสาเหตุแห่งปัญหา โดยหาวิธีแก้ที่ต้นเหตุ เพื่อเข้าถึงการแก้ปัญหา คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
5.วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ (Principle and Rational) คือการศึกษาเป้าหมายและวิธีการ ว่าวิธีการถูกต้องต่อการที่จะทำให้เป้าหมายบรรลุผลหรือไม่. อธิบายว่าอรรถหมายถึงหัวข้อธรรม ประโยชน์ เป้าหมาย ผล เช่น อิทธิบาท มรรค โพชฌงค์ เป็นต้น , ธรรมหมายถึงข้อปฏิบัติ วิธีการ หลักการ เหตุหรือปัจจัย เช่น ฉันทะ สัมมาทิฏฐิ สติ วิริยะ เป็นต้น
6.วิธีคิดแบบพิจารณาคุณโทษและทางออก (Reward and Punishment Approach and Avoidance)หรือการพิจารณาข้อดี(อายโกศล) ข้อเสีย(อปายโกศล) และอุบายการใช้ประโยชน์จากข้อดี ข้อเสียนั้น(อุปายโกศล) วิธีคิดแบบนี้อธิบายว่าข้อดีของคนตัวใหญ่คือมีกำลังมาก ข้อเสียคือน้ำหนักเยอะไม่คล่องตัว ข้อดีของคนตัวเล็กคือคล่องแคล่ว ข้อเสียของคนตัวเล็กคือมีกำลังน้อย การใช้ประโยชน์เวลานำมาแข่งขันกีฬาก็ให้อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ที่เหมาะสม ในทุกสิ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเองด้วยกันทั้งนั้น ในคุณลักษณะตรงข้ามกันให้นำจุดแข็งของด้านนั้นเพื่อเอาชนะจุดอ่อนของอีกด้าน เช่นเอาข้อดีของสั้นเอาชนะข้อเสียของยาวเป็นต้น และในข้อเสียบ้างครั้งก็ใช้ประโยชน์ได้ เช่น พิษงูก็ยังนำไปทำเซรุ่มได้ ดังคำกล่าวที่ว่า ไม่มีสิ่งใดไร้ประโยชน์ มีเพียงสิ่งที่ไม่อยู่ในที่ๆเหมาะสมกับตัวเองเท่านั้น
7.วิธีคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม (Real Value and Unreal Value)คือการพิจารณาว่าอะไรคือแก่น อะไรคือเปลือก อะไรคือสิ่งประดับ อะไรคือกาฝาก
8.วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรม (Virture and stimulation)คือการคิดสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นในสิ่งต่างๆ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดบวก วิธีคิดแบบนี้อธิบายว่าปากกาด้ามหนึ่งใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ใช้เป็นตะเกียบได้หรือเปล่า หรือนำมาเป็นแกนกังหันลมกระดาษ(คิดพลิกแพลง) แนวคิดนี้นำไปดัดแปลงเป็นอะไรร่วมกับอะไรได้บ้างหรือใช้กับอะไรได้บ้าง เช่น พระอานนท์เห็นคันนาชาวมคธแล้วนำมาออกแบบเป็นขัณฑ์ของจีวร (คิดประยุกษ์) หรือสถานการณ์แบบนี้ควรนำหลักธรรมใดมาใช้ในการดำเนินชีวิตดี รวมถึงการคิดหาข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และหาวิธีแก้ไข เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และคิดในแง่บวก เช่น เกิดอุบัติเหตุแขนเจ็บ ก็คิดในแง่ดีว่าดีกว่าหัวเจ็บ อาจตายได้ เป็นต้น หรือวันนี้เราสามารถทำอะไรให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นได้บ้าง เราสามารถทำอะไรให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นให้ยิ่งขึ้นไปอีกได้บ้าง
9.วิธีคิดแบบปัจจุบัน (Present Thought)เป็นกระบวนการคิดที่จะค้นหาวิเคราะห์ความจริงจากประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้ง6คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ผ่านการมีสติในปัจจุบันจนเกิดความรู้จริงขึ้น ซึ่งแตกต่างจากโยนิโสมนสิการข้ออื่นที่เน้นกระบวนการคิด ส่วนโยนิโสมนสิการข้อนี้เน้นประสบการณ์ตรง ซึ่งทำให้เกิดความสมบูรณ์ ในข้ออื่นจะเกี่ยวข้องกับอดีตอนาคตผ่านการพิจารณาเหตุปัจจัย แต่ข้อนี้จะเน้นอยู่กับปัจจุบัน ทำให้เกิดความสมบูรณ์ในกระบวนการพิจารณาอย่างรอบด้านครบถ้วน
10.วิธีคิดแบบวิภัชชวาที (Well-Rounded Thought)คือการคิดแบบองค์รวมโดยไม่เหมารวม คือการพิจารณาสิ่งต่างๆเป็นกรณีๆไป หรือการคิดแบบเทียบเคียงความจริงเฉพาะหน้า คือการพิจารณาถึงความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้นั่นเอง เป็นการพิจารณาความเข้ากันได้หรือเข้ากันไม่ได้ของข้อมูล วิธีคิดแบบนี้อธิบายว่าสมมุติเกิดการฆาตกรรมขึ้น ฝ่ายสืบสวนและฝ่ายนิติวิทยาศาสตร์ ค้นพบหลักฐานที่มีความจริง ถ้ามีข้อสันนิษฐานอะไรที่ไม่ตรงกับหลักฐานที่มีย่อมใช้ไม่ได้ เมื่อเจอความจริงสองอย่างที่ขัดแย้งกันก็ต้องพิจารณาว่าอันไหนที่จริงหรือจริงทั้งคู่แต่มีอะไรถึงขัดแย้งกัน หรือควรสืบสวนใหม่หมดเพื่อได้คำตอบที่ถูกต้องชัดเจน ไม่มีความจริงใดขัดแย้งกัน, เปรียบได้กับความจริงของโลก ที่เราแบ่งการเข้าใจความจริงของโลกเป็นกลุ่มย่อยๆ และเมื่อนำความจริงทั้งหมดมารวมกันก็จะได้ความจริงของสรรพสิ่งที่สมบูรณ์ในที่สุด เมื่อข้อความรู้ในความจริงขัดแย้ง ก็เข้าไปศึกษาว่าควรแก้ไขหรือตัดออก ซึ่งอาจเกิดความรู้ความเข้าใจในความจริงๆใหม่ได้ เป็นการเข้าใจอดีต เข้าใจปัจจุบัน เข้าใจอนาคต เป็นการเข้าใจความจริงทุกสรรพสิ่งในภาพรวมทั้งหมด เปรียบได้กับเกมโซโดกุ ที่ตัวเลขต้องไม่ขัดแย้งกัน
วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย จัดเป็นการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
วิธีคิดแบบแยกส่วน จัดเป็นการคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis Thinking)
วิธีคิดแบบสามัญญลักษณะ จัดเป็นการคิดเชิงอนาคต ( Futuristic Thinking )
วิธีคิดแบบอริยสัจ จัดเป็นการคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking)
วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ จัดเป็นการคิดเชิงกลยุทธ (Strategic Thinking)
วิธีคิดแบบพิจารณาคุณโทษและทางออก จัดเป็นการคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking)
วิธีคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม จัดเป็นการคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)
วิธีคิดแบบเร���าคุณธรรม จัดเป็นการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking)
วิธีคิดแบบปัจจุบัน จัดเป็นการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking)
วิธีคิดแบบวิภัชชวาที จัดเป็นการคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative thinking)
วิกิพีเดีย
0 notes
Text
Tumblr media
วิธีดูแลจิตใจให้คิดบวก
การดูแลจิตใจเมื่อเผชิญกับความเครียดไม่ได้ใช้การคิดบวกอย่างเดียว แต่ต้องดูแลจิตใจ ซึ่งมีหลายวิธี ดังนี้
1. การทำความสงบในจิตใจ เป็นวิธีที่ไม่ได้ใช้ความคิด แต่เป็นการหยุดคิดบ้าง โดยการทำความสงบในจิตใจ ใช้วิธีการทำสมาธิ คือ นำจิตใจไปจดจ่อที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อเนื่อง เช่น การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก การกำหนดอิริยาบถ เช่น การกำหนด กำลังเดิน กำลังยืน เป็นต้น การทำความสงบในจิตใจเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยเวลาในการฝึกหัด จึงจะทำได้ชำนาญ
2. การคิดบวก เป็นการมองหาคุณค่าในตนเอง เช่น การชมเชยตนเองว่าทำได้ดีแล้ว ขอบคุณตนเองที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จ ชื่นชมตนเองที่อดทนผ่านอุปสรรคมาได้ หรือเป็นการมองไปที่สถานการณ์ทางบวก เช่น โชคดีที่ไม่ได้เกิดสิ่งที่แย่กว่านี้ โชคดีที่ได้มาอยู่จุดนี้ โชคดีที่มีครอบครัวที่ช่วยเหลือ หรือมองว่าปัญหาที่เข้ามาเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดสิ่งที่ดีตามมา เป็นประสบการณ์ที่ทำให้เติบโต เป็นต้น
3. การเบี่ยงเบน เป็นการออกจากความตึงเครียดนั้นชั่วคราว เช่น การทำกิจกรรมที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย การไปท่องเที่ยว การทำงานอดิเรก
4. การมีที่พึ่งทางใจ ในทางศาสนาพุทธเรียกว่า การมีสรณะ การเคารพเลื่อมใส ศรัทธาในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บริสุทธิ์ ประเสริฐ การระลึกถึงคำสวดมนต์ คำสรรเสริญคุณของสรณะจะช่วยให้เกิดความอบอุ่น ความสงบในจิตใจ
5. การพูดคุยระบาย การพูดคุยกับคนที่สามารถรับฟังได้ มีความเห็นอกเห็นใจ จะช่วยทำให้ได้ระบายความตึงเครียดไปได้
ความคิด และจิตใจเป็นสิ่งที่สามารถกำหนดการดำเนินชีวิตของเราได้ ถ้าให้ความสนใจเฉพาะด้านที่ไม่ดีจิตใจ การดำเนินชีวิตก็จะไม่ดีไปด้วย การเป็นคนคิดบวกคือคนที่มองทุกอย่างในแบบที่ควรจะเป็น ให้ความสนใจในด้านที่ดี ก็จะทำให้เรามีวิธีคิดและการดำเนินชีวิตที่ดี
ที่มา : SOOK Magazine No.74
ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ
0 notes
klakidblog · 7 years
Text
การคิดบวก เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยทำให้ชีวิตมีความสุข
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ในฐานะแอดมินเพจชีวิตคิดบวกที่พยายามส่งเสริมให้ทุกคนใช้ชีวิตโดย การคิดบวก ก็เลยลองสำรวจความคิดเห็นโดยตั้งคำถามสั้นๆว่า “คุณคิดว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ตัวเราเองไม่มีความสุข?”   เพจชีวิตคิดบวก แต่ที่น่าแปลกใจคือ มากกว่า 90% ของคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นตอบคำถามไปในแนวทางเดียวกันว่า “ความคิดเป็นสิ่งที่ทำให้ตัวเราเองไม่มีความสุข”…
View On WordPress
0 notes
wer1112 · 8 years
Text
โหวงเฮ้ง แก้ไข
ดวงไม่ดี,โหงวเฮ้งไม่ดี มีวิธีแก้ที่ง่ายๆได้ผล สนใจอ่านเลยคร้าบบบ ดวงชะตา คือ นิสัยใจ เป็นประธาน วันหนึ่งขณะคุยกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งเป็นอดีตนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาก ซึ่งตอนนี้ท่านอายุใกล้ 70 แล้ว ผมทึ่งในวิชาโหงวเฮ้งของท่าน ที่เพียงเห็นกันไม่กี่ครั้งท่าน ก็สามารถพยากรณ์ได้เลยว่า คนนั้น คนนี้ อนาคตจะเป็นเช่นไร ท่านบอกว่า ท่านอาศัยการสังเกตจากคนรอบตัวท่านหลายๆ คน ตั้งแต่ท่านอายุประมาณ 30 ปีต้นๆ ว่า คนที่มีลักษณะโหงวเฮ้ง (ลักษณะรูปร่างของ ตา คิ้ว หู จมูก ปาก จนถึงการเดิน การนั่ง การพูดจา น้ำเสียง แววตา การกินอาหาร และอากัปกริยาท่าทางอื่นๆ) โดยท่านบอกว่า วิธีสังเกตของท่าน คือ สังเกตในขณะที่คนนั้นไม่รู้ตัว เวลาที่เขาปล่อยตัวตามสบาย (ตอนเผลอ) จะให้ข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดถูกต้องที่สุด ท่านบอกว่า บางคนโหงวเฮ้งช่วงอายุจร (อายุปัจจุบัน) ไม่ดี แต่ดวงชะตาของบุคคลผู้นั้น กลับเป็นช่วงดวงขึ้น เพราะราศี (เลือดลม) บนใบหน้ามีราศีผ่องใสดี ก็ทำให้ดวงชะตาดีขึ้นได้ ซึ่งท่านบอกว่า ดวงชะตา ก็คือ "นิสัยนั่นเอง" นิสัยเปลี่ยน ดวงก็เปลี่ยน โดยคนที่ดวงดี ราศีผ่องใสอยู่เสมอ มักมีนิสัยมองทุกอย่างที่เจอในชีวิตเป็นบวก คิดในแง่บวก ไม่ว่าเจออุปสรรคอะไรก็ผ่านไปได้ เพราะมีกำลังใจดี กำลังใจเข้มแข็ง เหมือนดังคำกล่าวที่ว่า " ทุกสิ่งสำเร็จได้ เพราะใจ มีใจ เป็นประธาน " ดังที่ปรากฏว่า นักธุรกิจหรือคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตหลายคน นำไปใช้ ซึ่งตรงกันกับผลงานวิจัยของฝรั่งที่ว่า ATTITUDE (ทัศนคติ) หรือ Positve Thinking (การคิดบวก) คือ กุญแจสู่ความสำเร็จ ซึ่งตรงกันกับท่านอาจารย์ที่ใช้นามแฝงว่า มังกร กล่าวไว้ในนิตยสารหมอดู ฉบับปฐมฤกษ์ พฤษภาคม 2533 ในหัวข้อ " ซินแสสอนศิษย์ " ตอน โหงวเฮ้งไม่ดี มีวิธีแก้ ว่าต้องแก้โดยการ ฝึกใจเราให้ผ่องใส เพราะมันจะไปปรับราศีให้ดีขึ้นได้ เวลาใดที่จิตใจสงบสบายจะส่งผลถึงหน้าตา ผิวพรรณ มันจะเปล่งปลั่งมีราศี ซึ่งการทำใจให้สงบสบายอาจใช้วิธีการทำสมาธิเข้าช่วยอีกแรงก็จะดียิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อจิตใจสงบสบายก็เป็นตัวเสริมให้จิตเรานิ่งมีสติ แล้วปัญญาก็จะเกิด ดังคำที่ว่า " สติมา ปัญญาเกิด " เราก็จะแก้ปัญหาอุปสรรคให้ผ่านพ้นไปได้ครับ โดยท่านมีดวงถึงฆาต (ดวงตาย) ในปลายปี 2553 ตอนนั้นท่านป่วยหนักมาก เดินไม่ได้ สารพัดโรครุมเร้า (ทั้งโรคความดัน โรคหัวใจ โรคเก๊าต์ หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ อัมพฤกษ์ครึ่งซีก) แต่ท่านก็ผ่านมาได้เพราะอานุภาพของการนั่งสมาธิ และจิตใจที่คิดในแง่บวกกับทุกอย่างที่เจอ มีกำลังใจในการต่อสู้ทุก ดังคำกล่าวที่ว่า " จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว " และพยายามช่วยตนเองจนถึงที่สุด ไม่ต้องการให้คนอื่นพยุง พยายามออกแรงที่กล้ามเนื้อขา แขน ท่านเพียงแค่ป่วยหนักแต่ผ่านพ้นมาได้ โดยปัจจุบันนี้เดินได้แล้ว (จนอาจารย์หมอที่โรงพยาบาลศิริราชถึงกับงง เพราะคนอื่นที่เข้ารับการรักษาพร้อมกับท่าน บางคนก็ตายไปแล้ว หรือบางคนก็ต้องตัดขา) และอีกเรื่องหนึ่ง หลวงพ่อเส็ง (อดีตพระเกจิชื่อดังของจังหวัดปราจีนบุรีในสมัยอดีต) ได้พยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตว่า ท่านจะต้องหมดตัว (ท่านเป็นเศรษฐีนักธุรกิจระดับแนวหน้า ของธุรกิจสายหนึ่ง) แต่เมื่อท่านรู้ตัวล่วงหน้าก่อนเป็นเวลานับสิบปี ท่านจึงเก็บสะสมเงินไว้ส่วนหนึ่ง สุดท้ายมีเหตุให้ท่านต้องเสียธุรกิจนี้ไป แต่ไม่หมดตัว (เพราะมีแผนสำรอง คือ เงินออมนับล้าน) นี่คือ ประโยชน์หนึ่งของการดูดวงเพื่อจะได้เตรียมแผนรับมือล่วงหน้า สรุป คือ เคล็ดลับแก้เคราะห์ร้ายให้กลายเป็นดี และทำให้ดวงชะตาดีขึ้น คือ คิดในแง่บวกกับทุกสิ่งที่เจอในชีวิต ซึ่งจะก่อให้เกิดกำลังใจอำนาจจิตที่จะสู้กับทุกสิ่ง หมั่นนั่งสมาธิ หรือเจริญสติ จะก่อให้เกิดปัญญา ในการแก้ปัญหาทุกอย่าง และต้องคิดอยู่เสมอว่า จะมีวิธีทำงาน หรือใช้ชีวิตอย่างไร ให้พรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ (พัฒนาให้ก้าวหน้า) ซึ่งตามหลักโหงวเฮ้งแล้ว สิ่งที่สำคัญมาก คือ 1.น้ำเสียง 2.แววตา 3.ราศี ทั้งสามสิ่งนี้ ถูกควบคุมด้วยสิ่งเพียงสิ่งเดียว คือ "ใจ " "เมื่อใจดี ทุกอย่างดีหมด " น้ำเสียงบอกพลัง แววตาบอกความมุ่งมั่น ราศีบอกความสุขความสบายใจ เหมือนดังคำกล่าวที่ว่า " ทุกสิ่งสำเร็จได้เพราะใจ มีใจเป็นประธาน " หมายเหตุ : ช่วยส่งบทความนี้ส่งต่อๆไปยังคนที่ท่านรู้จักด้วยก็ดีนะคะ ไม่ว่าจะทางอีเมล์หรือก๊อปปี้ ***ไปโพสต์หรือถ่ายเอกสารไว้แจกคนทั่วไป โดยเฉพาะคนในครอบครัวหรือญาติมิตร เพื่อทุกคนจะได้มีโชคชะตาที่ดีขึ้น
0 notes