Don't wanna be here? Send us removal request.
Photo
0 notes
Text
Kaomai Estate 1955 คาเฟ่แห่งแรกในไทยที่ได้รับรางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์จากยูเนสโก
เขาเผยความลับให้ฟังทีหลังว่าเหตุผลของการจับปลาสองมือ (อย่างสร้างสรรค์) ของเขา ส่วนหนึ่งมาจาก ธวัช เชิดสถิรกุล พ่อผู้เพิ่งล่วงลับ และเป็นผู้บุกเบิกพื้นที่ ซึ่งพ่อของเขากำชับไว้ว่าไม่ให้ใครตัดต้นไม้ต้นใดสักต้นในที่ดินเกือบ 50 ไร่แห่งนี้ พร้อมไปกับกระบวนการออกแบบ จักร์จึงเทียวไป��รึกษาผู้ชำนาญการหลากแขนง ตั้งแต่นักอนุรักษ์อาคารเก่า ภูมิสถาปนิก นักพฤกษศาสตร์ ไปจนถึงสล่าพื้นบ้าน เพื่อหาวิธีการให้ความยั่งยืนฝังรากไปกับต้นไม้และอาคารเก่าได้ผลสำเร็จหาใช้แค่การมีพื้นที่ไลฟ์สไตล์ที่เกิดจากการดัดแปลงอาคารโรงบ่มใบยาสูบร้าง ท่ามกลางแวดล้อมของต้นไม้ใหญ่อันร่มรื่น หากล่าสุดเก๊าไม้ เอสเตท 1955 ยังคว้ารางวัลอนุรักษ์ดีเด่นจากองค์กรยูเนสโก สำนักงานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก สาขา New Design in Heritage Context รางวัลที่มอบให้กับสิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นใหม่หากยังคงรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่เอาไว้อย่างกลมกลืน อันเป็นรางวัลแรกที่ยูเนสโกมอบให้โครงการเอกชนในประเทศไทยในสวนร่มรื่นที่อุดมด้วยต้นไม้ใหญ่ใกล้เคียงความเป็นป่า ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ จักร์ เชิดสถิรกุล เล่าให้ฟังว่าที่มาของโครงการ Kaomai Estate 1955 (เก๊าไม้ เอสเตท 1955) ที่เขาเป็นผู้ก่อตั้ง คือความพยายามหากระบวนการที่ทำให้อาคารเก่ากับต้นไม้อยู่ด้วยกันได้โดยไม่คุกคามซึ่งกันและกัน
“เรามักมองว่าต้นไม้กับอาคารเก่าอยู่คู่กันไม่ได้ ถ้าคุณเลือกจะเก็บอาคารเก่า คุณอาจจะต้องตัดต้นไม้ หรือถ้าคุณเลือกจะเก็บต้นไม้ไว้ คุณอาจต้องยอมปล่อยให้อาคารมันพังลง ไม่ใช่ว่าไม่มีทางเลือก แต่ความที่มันยุ่งยากหรืออาจต้องใช้งบประมาณมาก เจ้าของพื้นที่ส่วนมากจึงเลือกเก็บอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น” จักร์ กล่าว
0 notes