cvbnmgfd
จระเข้
2 posts
Don't wanna be here? Send us removal request.
cvbnmgfd · 5 years ago
Photo
Tumblr media
0 notes
cvbnmgfd · 5 years ago
Text
โรคของจระเข้
โรคในจระเข้พอจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
โรคไม่ติดเชื้อ และโรคติดเชื้อ โรคไม่ติดเชื้อเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม
1.1 อุณหภูมิ จระเข้จำเป็นต้องใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากภายนอก คือ แสงแดด ในการเพิ่มอุณหภูมิให้แก่ร่างกา�� เช่นนอนอาบแดด ทั้งนี้อุณหภูมิที่เหมาะสมสบายตัวกับจระเข้จะอยู่ระหว่าง 32 องศาเซลเซียส สำหรับจระเข้ขนาดเล็ก และ 30 องศาเซลเซียสสำหรับจระเข้ขนาดใหญ่
1.2 คุณภาพของน้ำ น้ำที่เหมาะสำหรับจระเข้ที่สุดคือ น้ำสะอาด มีปริมาณแอมโมเนียต่ำ สิ่งปฏิกูล สารพิษ หรือสิ่งปลอมปนอื่น ๆ ต้องมีน้อยที่สุด แหล่งน้ำเสียจะเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและสิ่งขับถ่ายซึ่งทำให้มีแก๊สแอมโมเนียสูงขึ้น จะเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและตาจระเข้เป็นอย่างมาก โอกาสติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่มีอยู่อย่างมากในแหล่งน้ำจึงมีสูง การจะให้น้ำสะอาดอยู่เสมอควรจะต้องมีการถ่ายน้ำให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจคุณภาพน้ำอยู่เป็นระยะ ๆ บางแห่งเปลี่ยนน้ำทุกวัน จึงพบว่าอัตราการเจริญเติบโตของจระเข้เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนน้ำด้วยว่า ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่เอะอะโครมครามจนเกิดความตื่นตกใจแก่จระเข้และเพิ่มความเครียดขึ้นได้
1.3 จำนวนจระเข้ในบ่อเลี้ยง จำนวนจระเข้หรือประชากรจระเข้ที่เลี้ยงในแต่ละบ่อ จำเป็นต้องมีสัดส่วนที่พอเหมาะกับขนาดบ่อเลี้ยงหากจระเข้ แออัดเกินย่อมทีให้เกิดการต่อสู้แก่งแย่งอาหารกัน อาจเกิดแผลและเกิดโรคติดเชื้อบนผิวหนังได้ง่าย นอกจากนี้อาจทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง มีอัตราการผสมติดต่ำ เพราะเกิดการแก่งแย่งในการผสมพันธุ์และการกดขี่ตามสำดับขั้น รวมถึงการจับหรือการขนย้ายจะทำได้ลำบากขึ้น
1.4 สถานที่เลี้ยง อาจมีแตกต่างกันไปเช่น บ่อน้ำธรรมชาติ บ่อดิน บ่อซีเมนต์ จนไปถึงอ่างไฟเบอร์กลาส ฯลฯ แตกต่างกันไปตามฐานะทางเศรษฐกิจ วัตถุประสงค์ของการเลี้ยง และเทคโนโลยีของแต่ละฟาร์ม แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงคือ
ก. ขนาด ความต้องการพื้นที่ของจระเข้หนึ่งตัวคือ ขนาดของจระเข้ คูณ 3 เท่า ของความยาวของจระเข้ มีอัตราส่วนพื้นที่บกเท่ากับพื้นน้ำ หรืออย่างน้อย 2 ใน 3 ของพื้นที่น้ำ ส่วนความลึกของน้ำอย่างต่ำ 60 เซนติเมตร
ข. พื้นผิว เนื่องจากจระเข้เป็นสัตว์ที่คลานบนดินและใต้น้ำ โอกาส��ัมผัสกับพื้นผิวจึงมีเกือบตลอดเวลา ฉะนั้นความเรียบหรือหยาบของพื้นผิวจึงมีความสำคัญ เพราะสามารถทำให้หนังท้องจระเข้เกิดรอยขีดข่วนจนถึงบาดเจ็บ และมีการติดเชื้อเกิดขึ้นได้ ราคาหนังจระเข้จะตกลงหารมีตำหนิดังกล่าวเกิดขึ้น พื้นผิวซีเมนต์ขัดเรียบจึงเหมาะกว่าพื้นผิวอย่างอื่น
ค. ร่มเงา แม้จระเข้ชอบใช้แสงแดดเป็นแหล่งพลังงานความร้อนแก่ร่างกาย แต่ถ้าความร้อนสูงเกินไป จระเข้ก็ต้องการที่หลบแดด โดยอาศัยร่มเงาซึ่งอาจเป็นต้นไม้, หลังคา หรือวัสดุกรองแสงต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นเงาให้เกิดความเย็นบนพื้นผิวที่จระเข้นอนด้วย
2. อาหารไม่เหมาะสม อาหารที่ให้ควรจะมีความสมดุลย์ในทุก ๆ อย่างทั้งปริมาณและคุณภาพ หากสองสิ่งนี้มีมากหรือน้อยเกินไป จะขาดความสมดุลย์ในสารอาหารและองค์ประกอบต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาและโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
2.1 โรคเก๊าท์ (gout) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการบวนการใช้โปรตีนในร่างกาย ทำให้เกิดการสะสมของเกลือยูเรท (urate salt) และผลึกของกรดยูริก (uric acid crystal) ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย กล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ โปรตีนจะถ��กย่อยสลาย และผลิตผลขั้นสุดท้ายจะเป็นพวกกรดยูริค ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ จระเข้ที่เป็นโรคเก๊าท์จะมองเห็นว่าข้อต่าง ๆ มีลักษณะบวมแดงแสดงอาหารซึม เบื่ออาหาร การเคลื่อนที่ช้าลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลยเมื่อผ่าตามข้อที่บวมจะเห็นของเหลวข้นสีขาวคล้ายครีมเป็นจำนวนมากเหล่านี้ก็คือผลึกของกรดยูริคและเกลือยูเรทที่สะสมอยู่ ส่วนกรณีเก๊าท์ของอวัยวะภายใน จะทำให้เยื่อหุ้มหัวใจหนา มีสีขาวคล้ายผงชอล์กเกาะอยู่ และสามารถพบได้ที่ผิวตับ ม้าม และในไตจะมีจุดสีขาว ๆ อยู่ทั่วไป จระเข้ที่เป็นเก๊าท์ที่อวัยวะภายในมักตายโดยไม่แสดงอาหารให้เห็น
2.2 อาการขาดวิตามิน โรคหรืออาการที่เกิดจากการขาดวิตามินต่าง ๆ มีดังนี้
ก. ขาดวิตามินเอ มักเกิดจากจระเข้ที่ถูกเลี้ยงด้วยเนื้อแดงล้วน ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ ทั้งนี้เพราะเนื้อแดงปริมาณวิตามินเอไม่เพียงพอ จระเข้ที่ขาดวิตามินเอจะเจริญเติบโตช้า ผิวหนังหยาบกร้าน มีอาการบวมน้ำทั่วไปทั้งตัวจนดูคล้ายกับอ้วน เปลือกตาและเบ้าตาอักเสบออกมาโดยรอบ และมีน้ำตาไหล ตามลำตัวหากใช้นิ้วกดจะบุ๋มเป็นรอยกดลง มีการคืนตัวช้ากว่าปกติ อาจมีเม็ดตุ่มเกิดขึ้นและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราแทรกซ้อนได้ง่าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างงกายลดต่ำลง การแก้ไข จะต้องให้อาหารชนิดอื่นสับเปล��่ยนกันไป เช่น เนื้อติดหนังและมัน เป็ดหรือไก่ทั้งตัว ฯลฯ ควรเสริมวิตามินเอลงในอาหารด้วยขนาด 4,850 หน่วยสากล ต่ออาหาร 1 กิโลกรัมต่อวัน
ข. ขาดวิตามินบี 1 การให้ปลาอย่างเดียว ปลาไม่สดหรือปลาเริ่มเน่า หรือวิธีให้อาหารอย่างไม่ถูกต้อง วางทิ้งตากแดดไว้ให้จระเข้มากิน จะก่อให้เกิดอาการขาดวิตามินบี 1 จระเข้จะแสดงอาการน้ำหนักลดลงทั้ง ๆ ที่กินอาหารได้ อาจจะมีอาการหัวใจขยายใหญ่ร่วมกับลำไส้อักเสบ บางครั้งอาจแสดงอาการชัก การแก้ไข ควรให้กินวิตามินนี้ในอาหารด้วยขนาด 4.4 ถึง 11 มิลลิกรัม รวมทั้งเปลี่ยนอาหารหรือเสริมอาหารชนิดอื่น พร้อมทั้งแก้ไขวิธีการให้อาหารด้วย
ค. ขาดวิตามินดี สาเหตุเกิดจากอาหารที่เลี้ยงขาดวิตามินดี หรือขาดการตากแดดเท่าที่ควร อาการขาดวิตามินดีจะมีผลต่อการใช้แคลเซียมในร่างกายสัตว์ อันจะทำให้เกิดอาการของกระดูกอ่อนตามมา ขาทั้งสี่มีรูปทรงผิดไป อาจโค้งเข้าหรือแบะออก ข้อขาโตขึ้น สัตว์จะแสดงอาการซึม เบื่ออาหาร ข้อขยายใหญ่ ผิวหนังนุ่ม การแก้ไขควรจัดสถานที่เลี้ยงให้ได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ พร้อมกับเสริมวิตามันดี 608 หน่วยสากล ต่ออาหารหนึ่งกิโลกรัมต่อวัน การให้วิตามินนี้มากเกินไปก็เกิดผลเสียได้เช่นกัน
ง. ขาดวิตามินอี โรคนี้มักมีความเกี่ยวข้องกับประเภทของอาหารที่ใช้เลี้ยงจระเข้ ส่วนใหญ่พบในจระเข้ที่เลี้ยงด้วยปลาอย่างเดียวโดยเฉพาะปลาแช่แข็ง เนื่องจากปลามีระดับทางกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในปริมาณสูง และวิตามินอีในระดับต่ำ สัตว์จะแสดงอาการกล้ามเนื้อเหี่ยว ไม่กระฉับกระเฉง เซื่องซึม หมดแรง เบื่ออาหาร นอนอยู่กับที่ หรือตายในที่สุด จระเข้ที่เป็นโรค ไขมันแทบทุกส่วนที่พบและมองเห็นได้ตามร่างกายจะมีสีเหลืองเข้มแกมน้ำตาล แข็งตัวคล้ายสบู่เกือบทั้งตัว โดยเห็นเด่นชัดบริเวณส่วนหลัง สำตัว ส่วนหาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันใต้ผิวหนังและก้อนไขมันในช่องท้อง เมื่อใช้แสงอุลตร้าไวโอเลตส่องจะสามารถเรืองแสงได้ ซึ่งทำให้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคไขมันเหลือง (Yellow fatdisease) การป้องกันโรคนี้ อย่าให้จระเข้กินแต่ปลาอย่างเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ควรให้อาหารโปรตีนจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ สลับบ้าง เช่น ไก่และหมู ถ้าต้องการให้จระเข้กินปลาระยะเวลานาน ๆ ควรเสริมวิตามินอีในอาหารเข้าไปด้วยขนาด 15 - 100 หน่วยสากลต่อตัวต่อวัน ส่วนการรักษามักไม่ได้ผล ดังนั้นการป้องกันจึงนับได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด
จ. ขาดแร่ธาตุ ปัญหาการขาดแร่ธาตุที่พบได้มากในจระเข้คือการขาดแคลเซียม อันเป็นการทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน สาเหตุก็เพราะกินอาหารที่มีอัตราส่วนแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสไม่เหมาะสม เช่น เนื้อแดงล้วน ๆ ��ละขาดวิตามินดี ทำให้ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้ไม่ได้ อาการที่เด่นชัดมากคือ กระดูกบริเวณขากรรไกรล่างจะนิ่มผิดปกติขาโก่งงอ แนวกระดูกสันหลังบิดคดโก่ง กระดูกบาง หักง่าย เปลือกไข่บางและแตกง่าย การป้องกันสามารถทำได้โดยให้กินอาหารที่มีสัดส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสเท่ากับ 1.2 ต่อ 1 ซึ่งอาจใช้เสริมในอาหาร แคลเซียมที่ใช้มักให้ในรูปแคลเซียมแลคเตท แต่ถ้าจระเข้นั้นอยู่ในระยะกำลังวางไข่หรือลูกจระเข้กำลังเจริญเติบโต ควรเพิ่มสัดส่วนแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสขึ้นไปด้วย 2 ต่อ 1 ก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมให้วิตามินดีด้วย เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ ปกติเสริมขนาด 100 หน่วยสากล ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม อาทิตย์ละครั้ง
3. อาการแคระแกรน เกิดได้กับลูกจระเข้อายุ 6 - 8 อาทิตย์ ลูกจระเข้จะมีอาการเจริญเติบโตเมื่อดูจากน้ำหนักและความยาวลำตัวต่ำกว่าลูกจระเข้ตัวอื่น ๆ ที่เลี้ยงในรุ่นเดียวกัน ลูกจระเข้จะไม่กินอาหารเซื่องซึม ผอมลง มีบางตัวที่ยังกินอาหารตามปกติ แต่ขนาดคงเดิม สาเหตุของการแคระแกรนยังไม่เป็นที่แจ้งชัด แต่อาจพอสันนิษฐานได้ว่า เป็นผลสืบเนื่องมาจากพันธุกรรม ความผิดปกติแต่กำเนิด สภาพแวดล้อม อาหาร และเชื้อโรค ซึ่งมักมีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน การป้องกันโรคนี้ยังไม่ประสบผลสำเร็จนัก เท่าที่พอช่วยลูกจระเข้ได้โดยการป้อนอาหารสำเร็จรูปผ่านท่อลงไปยังกระเพาะอาหาร ส่วนผสมของอาหารได้แก่ ปลาบดละเอียดทั้งตัว 250 กรัม ผสมน้ำสะอาด 250 มิลลิลิตร และเติมวิตามินรวมชนิดเข้มข้น 1 มิลลิลิตร ป้อนอาหารเหลวนี้ด้วยขนาด 250 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัวจระเข้ 1 กิโลกรัม อาทิตย์ละ 2 วัน พร้อมทั้งฉีดยาวิตามินอีและซิลีเนียมให้เดือนละครั้ง
4. ความพิการแต่กำเนิด ลักษณะความพิการที่เป็นมาแต่กำเนิด เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ หลังคด หางด้วน ไข่แดงไม่เข้าท้อง ผนังหน้าท้องไม่ปิด ไม่มีลูกตา ฯลฯ เหล่านี้มักเกิดจากการจัดการไม่ดี มี 3 กรณีคือ
ก. พันธุกรรม หมายถึงการผสมพันธุ์ในสายเลือดชิด เช่น พ่อผสมลูก ลูกผสมแม่ ฯลฯ ไม่มีการจัดการเรื่องสายพันธุ์ที่แน่ชัดเนื่องจากปล่อยเลี้ยงบ่อรวมกันจำนวนมากทำให้ไม่สามารถควบคุมการผสมพันธุ์ได้ จึงเกิดปัญหาตามมา
ข. การจัดการฟักไข่ที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกวิธี ความชื้นไม่พอหรือความร้อนสูงเกินไป มีผลทำให้ไข่แดงไม่เข้าท้อง เกิดความพิการต่าง ๆ นานาได้เสมอ
ค. สารพิษบางชนิดตกค้างมากับอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จระเข้และถ่ายทอดมาถึงลูกทำให้เกิดความผิดปกติในการพัฒนาการของตัวอ่อน เช่น พิษของโลหะหนักต่าง ๆ พวก ปรอท สังกะสี และตะกั่ว ซึ่งบางครั้งก็ปนเปื้อนมากับน้ำ��ี่ใช้เลี้ยงจระเข้ได้เช่นกัน
5. การบาดเจ็บกระทบกระเทือน จระเข้เป็นสัตว์ที่มีความต้องการดินแดนหรืออาณาเขตเป็นของตัวเอง โดยจะมีก���รปกป้องหวงแหนมากน้อยขึ้นอยู่กับพันธุ์ ฉะนั้นปัญหาการกัดกัน แก่งแย่งกันจึงมักเกิดขึ้นและรุนแรงถึงตายเสมอ ยิ่งถ้าเลี้ยงกันในที่คับแคบและมีประชากรหนาแน่นมากเกินไป ทางแก้ไข จะต้องให้มีสัดส่วนจำนวนจระเข้ต่อพื้นที่ ลักษณะบ่อ การตกแต่ง แบ่งสันปันส่วนในบ่อเลี้ยง ฯลฯ
โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือโรคที่เกิดจากเชื้อโรค (infectious diseases) โดยเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคในจระเข้นั้นมีหลายชนิด ตั้งแต่ ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิต่าง ๆ
1.โรคติดเชื้อไวรัส (Viral infection) ไวรัสที่พบว่าสามารถทำให้เกิดโรคในจระเข้เท่าที่พบในเมืองไทย คือ ไวรัสตับอักเสบ (viral hepatitis and enteritis) พบว่าเกิดในลูกจระเข้ที่ฟักออกมาไม่นานนัก ทำให้ป่วยหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการภายนอกมีจุดสีชมพูบนผิวตัว อาการภายในตับจะขยายใหญ่บวม สีซีดจาง ลำไส้บวม มีเลือดคั่งของเหลวในลำไส้สะสมเป็นจำนวนมาก พร้อมกับมีเลือดปน อุจจาระสีซีดเหลว โดยมากเป็นผนังลำไส้ที่ลอกหลุดปะปนออกมา การเกิดโรคนี้พบบ่อยครั้งในขณะที่มีอากาศเย็น ทั้งนี้ย่อมเป็นเหตุโน้มนำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลูกจระเข้ลดลง เชื้อไวรัสจึงแพร่ระบาดได้ง่าย หลังจากนั้นหากมีการติดเชื้อจากแบคทีเรียแทรกซ้อน ก็จะทำให้อาการทรุดลงเร็วขึ้นและตายไป
การป้องกันจึงควรคำนึงถึงการรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมเสมอ เพื่อจระเข้จะได้มีภูมิคุ้มกันตลอดเวลา และหมั่นรักษาความสะอาด ทำการฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอด้วยคลอรีน และผสมยาปฏิชีวนะลงในอาหาร เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
2. โรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย อาการเน้น ๆ ที่พบในจระเข้เลี้ยงในบ่อของเมืองไทยบ่อย ๆ มีดังนี้
ก. อาการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิตแบบฉับพลัน (acute bacterial septicaemia) สาเหตุเกิดจากเชื้อแอโรโมนาส ไฮโดรฟิลล่า, เชื้อซาลโมเนลล่า เดอร์บี้ การติดเชื้อในลูกจระเข้มักติดโดยผ่านสายสะดือ ทำให้มีอาการจุดเลือดออกบนผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามหน้าท้อง อาจมีอาการโคม่า ไม่รู้สึกตัวหรือตายภายใน 1 - 2 วัน
การป้องกันและรักษาโรคนี้ จะต้องแยกจระเข้ป่วยออกมารักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะตามผลการเพาะเชื้อ เพื่อเป็นการป้องกันการดื้อยาและยังทำให้การรักษาตรงตามเป้าหมาย ในขณะเดียวกันก็ควรรักษาความสะอาดและฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง เพื่อลดการระบาด
ข. อาการตาอักเสบ (Ophthalmia) สาเหตุเกิดจากเชื้อซูโดโมนาส แอรูจ���โรซ่า สเตรปโตคอคคัส โดยมีสาเหตุโน้มนำจากการขาดวิตามินเอ ความสกปรกของสถานที่เลี้ยงและ ความแออัด อาการของโรคมักพบว่า เกิดแพร่กระจายในลูกจระเข้ที่เกิดใหม่และอายุไม่เกินหนึ่งปีเป็นส่วนใหญ่ โดยมีน้ำตาและน้ำเหลืองไหลออกมาตลอดเวลาก่อน จากนั้นของเหลวจะจับกับเปลือกตา ทำให้จระเข้ไม่สามารถลืมตาได้ จำต้องหลับตาทั้งสองข้างตลอดเวลา จนในที่สุดมีแคลเซียมเข้าไปสะสมอยู่ ทำให้เกิดการอักเสบของหนังตาที่กระจกตา แล้วกระจายไปทั่วลูกตา ทำให้มองเห็นว่าจระเข้มีตาบวมปูดออกมาทั้งสองข้าง บ่อยครั้งที่พบว่าหนังตามีรอยแตกแขนงแล้วมีการติดเชื้อ เกิดผิวหนังอักเสบตามมาอีกด้วย ซึ่งบางคราวจะลามไปถึงหัว ลูกจระเข้ที่ป่วยไม่กินอาหารและไม่ลงน้ำ ทำให้แสดงอาการขาดน้ำ ขาดอาหาร ผอม และอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนในระบบอื่น ทำให้ตายในที่สุด
การป้องกันและรักษา จะต้องแยกตัวป่วยออกมารักษา ล้างตาด้วยน้ำยาบอริค ป้ายตาด้วยยาคลอแรมเฟฟิคอลเข้าน้ำมัน และฉีดคลอแรม 25 % ขนาด 10 มิลลิกรัม เข้าใต้ผิวหนังเปลือกตา ส่วนสถานที่เลี้ยงต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำให้สะอาด และอาหารต้องไม่ขาดวิตามินเอ
ค. อาการปอดบวม (Pneumonitis) มีสาเหตุจากเชื้อซูโดโมนาส, อี.โคไล, โปรเตียส ทำให้จระเข้มีอาการอ้าปากหายใจ ซึม เบื่อจนไม่กินอาหาร นอนผึ่งแดดตลอดเวลา และตายโดยไม่แสดงอาการเด่นชัด การป้องกันและรักษา ใช้หลักการเดียวกับการรักษาการติดเชื้อในการแสโลหิตแบบเฉียบพลัน ในกรณีของลูกจระเข้อาจเพิ่มอุณหภูมิภายนอกให้สูงขึ้นอีก 2 - 3 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายเพิ่มขึ้น ยาที่ใช้ควรใช้วิธีฉีดจะได้ผลรวดเร็วและสะดวกกว่าวิธีอื่น แต่ต้องทำอย่างนุ่มนวล เพื่อไม่ให้สัตว์เกิดความเครียด
3. การติดเชื้อรา การเลี้ยงจระเข้ถ้าขาดการจัดการที่ดี สภาพบ่อสกปรก จะเป็นที่หมักหมมของเชื้อรา ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามร่างกายของจระเข้ได้ ที่พบว่ามีปัญหาบ้างคือ โรคผิวหนังอักเสบเนื่องจากเชื้อรา หรือการติดเชื้อราจากผิวหนัง (Mycotic Bermatitis) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อ ฟิวซาเรียม (Fusarium) ทำให้จระเข้แสดงอาการเกิดจุดขาวบนผิวหนังโดยทั่วไป หากทิ้งไว้จะขยายใหญ่ เปลี่ยนสภาพเป็นแผลหลุดปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อที่ตายแล้วสีน้ำตาล บางครั้งอาจพบฝ้าขาวบนลิ้นหรือเพดานช่องปาก ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อตัวอื่น เช่น แอสเปอร์จิลลัส ได้
การรักษา อาจให้ยากินจำพวกนิสตาติน หรือคีโตโคนาโซล ร่วมกับการทายาฆ่าเชื้อราบนผิวหนัง เช่น มิโคนาโซล และอาบน้ำที่มีด่างทับทิมในอัตรา 10 ล้านส่วนในน้ำ 1 ล้านส่วน (10 ppm)
4. การติดเชื้อพยาธิ
ก. พยาธิภายใน (Internal parasite) ที่พบในจระเข้��ามฟาร์มเลี้ยงในประเทศไทย คือ พยาธิในปอด มีชื่อว่า เพ็นตาสโตมิดา (Pemtastomida) โดยจะพบตัวแก่อยู่ในปอดหรือทางเดินหายใจบริเวณอื่น ๆ ไข่พยาธิชนิดนี้จะอยู่ในน้ำลายหรืออุจราระของแมลง หรือพวกหนู จะเป็นตัวนำโรคนี้ไปสู่จระเข้ตัวอื่น ๆ ทำให้จระเข้อ่อนแอลง เพราะพยาธิดูดเลือดจากเส้นเลือดฝอยของปอด มีพยาธิบางส่วนไชชอนไปมาทำให้เลือดออกมากขึ้น และเกิดติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน อาการที่แสดงออกของจระเข้อาจไม่เด่นชัด อาจสังเกตเห็นเพียงแต่จระเข้ที่มีพยาธิผอมลงทุกวัน แล้วตายไปเอง เมื่อผ่าซากจึงพบตัวพยาธิดังกล่าว มีลำตัวสีขาวเป็นปล้อง ๆ อยู่ในปอด
การป้องกันและรักษา ทำได้โดยใช้ยากำจัดพยาธิชนิดฉีดคือ ไอโวเม็คติน (ivomectin) ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อด้วยขนาด 200 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมครั้งเดียว และหมั่นตรวจอุจจาระจระเข้อย่างน้อยเดือนละครั้ง ยาที่ให้ผลในการรักษาอีกอย่างคือ ซัลฟาคลอโรไพราซีล 30 % ผสมคลุกเคล้าในอาหาร ด้วยขนาดยา 1.5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม กินติดต่อกัน 3 วัน หรือทำเป็นสารละลาย 3 % ป้อนผ่านท่อกระเพาะจระเข้ด้วยขนาด 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมวันละครั้งติดต่อกัน 3 วัน
ข. พยาธิภายนอก (External parasites) พยาธิภายนอกที่สำคัญกับจระเข้มีเพียงตัวเดียวเท่านั้นคือ ปลิงควาย โดยอาศัยอยู่ในปากของจระเข้ โดยดูดเลือดจากเหงือก ลิ้น ซอกฟัน เพดาน แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ทำให้เกิดอันตรายจากจระเข้ใหญ่ ๆ มากนัก ตามธรรมชาติแล้วนกเอี้ยงหรือนกกินแมลงบางชนิดมักเป็นผู้ช่วยกำจัดปลิงควายเหล่านี้ในขณะที่จระเข้นอนอ้าปากผึ่งแดด ส่วนการกำจัดปลิงควายที่มีในจระเข้เลี้ยง สามารถกระทำได้โดยใช้ปูนขาวละลายน้ำในบ่อจระเข้ ซึ่งนับเป็นวิธีง่าย ถูก และได้ผลดีที่สุด
0 notes