cervicalspondylos
cervicalspondylos
Cervicalspondylos
2 posts
Don't wanna be here? Send us removal request.
cervicalspondylos · 6 years ago
Photo
Tumblr media
0 notes
cervicalspondylos · 6 years ago
Text
โรคกระดูกคอ กับการรักษาด้วยแพทย์แผนจีน
คุณเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่...เวียนศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดไหล่ แขนชา มือชา สารพัดอาการที่เกิดจากโรคกระดูกคอ
โรคกระดูกคอ เป็นโรคฮิตในปัจจุบันสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้สูงอายุ และในวัยหนุ่มสาวแม้กระทั่งในเด็กนักเรียน นักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือทำงานอยู่ในท่าเดียวนานๆ
สาเหตุโรคกระดูกคอที่พบบ่อย
ภาวะกระดูกคอเสื่อม ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
อิริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ เช่น หนุนหมอนสูงเกินไป การทำงานในท่าเดียวนานๆ นั่งเขียนหนังสือ นั่งดูเอกสาร นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี เป็นต้น
คอเคล็ดหรือยอก เกิดจากคอมีการเคลื่อนไหวเร็วเกินไปหรือรุนแรงเกินไป เช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การเอี้ยวตัวเพื่อหยิบของข้างหลัง เป็นต้น
บาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา
ข้ออักเสบ ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอตึงเป็นประจำ จนส่งผลกระทบต่อกระดูกคอได้
ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
อาการของโรคกระดูกคอ
อาการของโรคกระดูกคอมีตั้งแต่ปวดดื้อๆ อย่างสม่ำเสมอจนถึงปวดแปล๊บอย่างรุนแรง อาจเริ่มปวดจากโครงสร้างส่วนใดของคอก็ได้ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นหรือกระดูก หรือไม่ก็อาจเริ่มปวดจากบริเวณอื่น เช่น ข้อไหล่ สะบักหรือขากรรไกร แล้วปวดแผ่ซ่านกระจายไปยังคอตามเส้นประสาทที่ควบคุมบริเวณแขนทั้งสองทำให้มีอาการชาไปที่แขนและมือ นอกจากนี้ผู้ป่วยมักจะรู้สึกปวดหรือมึนศีรษะ หนักท้ายทอย อาการปวดจะหนักขึ้นเรื่อยๆ และจะปวดร้าวตามไหล่และแขนโดยเฉพาะเวลาหันคอ แต่สำหรับผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แม้มีเพียงอาการปวดเมื่อยต้นคอหรือมีอาการคอตกหมอนเป็นประจำก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเริ่มเป็นโรคกระดูกคอแล้ว จึงควรเริ่มดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ
สาเหตุโรคกระดูกคอในทัศนะการแพทย์จีน
การแพทย์จีนได้จัดโรคกระดูกคอให้อยู่ในกลุ่มโรคชาและปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากเส้นลมปราณติดขัด ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงและเกิดภาวะเลือดคั่งไปกีดขวางการไหลเวียนของเลือดจนเกิดอาการปวด ซึ่งสอดคล้องกับหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีนคือ ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด ส่วนพิษของลมและเย็น-ชื้นที่สะสมในเส้นลมปราณบริเวณคอและไหล่จะจับตัวเป็นก้อน ทำให้เส้นลมปราณและหลอดเลือดติดขัดมากยิ่งขึ้น เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูกบริเวณคอได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจึงเสื่อ��ลงได้เร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติหลายๆ อย่างตามมา
การแพทย์จีนมีวิธีการบำบัดอย่างไร
การรักษาโรคกระดูกคอด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาสเตอรอยด์นั้นอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการระงับอาการปวดและอักเสบไว้ชั่วคราวเท่านั้น แต่มิได้หยุดยั้งการลุกลามของโรค ที่สำคัญคือ พิษของยาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อยแ��ะเลือดออกในกระเพาะอาหาร พร้อมทั้งส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆในร่างกาย ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงนั้น วิธีการผ่าตัดอาจได้ผลดีแต่อาจไม่เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อักทั้งผู้ป่วยหลายๆ คนก็ยังลังเลในเรื่องค่าใช้จ่าย ความยุ่งยากและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจตามมาด้วย
การแพทย์จีนจึงนิยมใช้สมุนไพรจีนในการบำบัดโรคกระดูกคอ ซึ่งจัดเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ป่วย โดยมีกลไกรักษาสำคัญดังนี้
ทะลวงหลอดเลือดและเส้นลมปราณบริเวณคอและไหล่ สลายเลือดคั่ง ทำให้หลอดเลือดและเส้นลมปราณโล่งขึ้น เส้นเอ็นกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณคอจะได้รับการหล่อเลี้ยงได้มากขึ้นเพื่อบรรเทาอาการปวดและหยุดยั้งการลุกลามของโรค
ขจัดพิษของลมและเย็น-ชื้นที่สะสมอยู่ตามบริเวณไหล่และคอ เพื่อขจัดสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกคอ
บำรุงเลือดลม กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เลือดจึงไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้นเพื่อลดอาการปวดมึนศีรษะ
เสริมสร้างพลังชี่ ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดภาวะเส้นลมปราณติดขัด
อาการปวดต้นคอ ไหล่และสะบัก อาการปวดร้าวและอ่อนแรงที่แขนและมือ อาการปวดหรือมึนศีรษะ สายตาพร่าและอาการอื่นๆ ที่เกิดจากโรคกระดูกคอจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรือาจหายไปในที่สุด
0 notes