blockk44
Untitled
15 posts
Don't wanna be here? Send us removal request.
blockk44 · 3 years ago
Text
โหราเดือยไก่
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร โหราเดือยไก่ ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น  ฟู่จื้อ , ชวนอู (จีนกลาง) , หู้จื้อ (จีนแต้จิ๋ว) ชื่อวิทยาศาสตร์   Aconitum carmichaelii Debx ชื่อสามัญ  Aconite  , Monkshood ,   Prepared Common วงศ์   RANUNCULACEAE
Tumblr media
ลักษณะของโหราเดือยไก่
           ต้นโหราเดือยไก่ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูงประมาณ 60-120 เซนติเมตร มีลักษณะต้นตั้งหรือเอียงเล็กน้อย ลำต้นและกิ่งก้านกลม เปลือกต้นเรียบเป็นมัน มีขนเล็กน้อยบริเวณยอดต้น มีหัวอยู่ใต้ดิน ออกเป็นคู่มีรูปร่างคล้ายรูปไข่กลับหรือเป็นรูปกระสวย เปลือกเป็นสีน้ำตาลดำ หัวใต้ดินมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีรากแก้วเกาะติดอยู่ ใบโหราเดือยไก่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แฉกเว้า แยกออกเป็นแฉก 3 แฉก ขอบใบหยักไม่เท่ากัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร เนื้อใบแข็ง หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่า ใบที่บริเวณโคนต้นจะมีก้านใบยาวกว่า ดอกโหราเดือยไก่ ออกดอกเป็นช่อบริเวณยอดต้นและตามง่ามใบ ก้านช่อดอกมีขนปกคลุมเล็กน้อย ดอกเป็นสีน้ำเงินอมม่วงและมีขนอ่อนขึ้นปกคลุม กลีบดอกมีลักษณะค่อนข้างกลม มี 5 กลีบ กลีบดอกมีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากและมีเส้นเกสรยาว ผลโหราเดือยไก่ ผลมีลักษณะกลมยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร และมีลายเส้นอยู่ที่ผิวของเปลือกผล
Tumblr media
สรรพคุณของโหราเดือยไก่
           หัวโหราเดือยไก่มีรสเผ็ดร้อน มีพิษ เป็นยาร้อน ออกฤทธิ์ต่อม้ามและไต ใช้เป็นยาแก้ลมขึ้นศีรษะทำให้ปวดศีรษะ (หัว) รากแก้วของโหราเดือยไก่ คนจีนจะเรียกว่า "ฟู่จื่อ" เป็นยาร้อน มีพิษ ใช้เป็นยาบำรุงความอบอุ่นของไต ทำให้ร่างกายอบอุ่น (รากแก้ว) ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้อง ปวดกระเพาะ (หัว, รากแก้ว) ช่วยลดอาการบวมน้ำของโรคไตอักเสบ (รากแก้ว) ช่วยแก้อาการมือเท้าเย็นชา (รากแก้ว) ใช้เป็นยาแก้ฝีเย็นทั้งภายในและภายนอก (หัว) ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ปวดบวม และใช้เป็นยาชาเฉพาะที่บริเวณภายนอกได้ (หัว) หัวใช้เป็นยาขับความเย็นชื้นในร่างกาย ช่วยกระจายลมชื้น แก้ปวดข้อหรือลมจับโปง นิ้วมือนิ้วเท้าเป็นเหน็บชาหรือหงิกงอขยับไม่สะดวก แก้ปวดก้นกบ แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต (หัว)
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดโหราเดือยไก่
           เชื่อกันว่าโหราเดือยไก่เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน เพราะเป็นพืชที่มีความเป็นพิษ แต่ก็สามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้ หากมีการเตรียมเครื่องยาชนิดนี้ให้ดี ซึ่งชาวจีนสามารถนำเครื่องยาชนิดนี้มาใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรมาตั้งแต่ในอดีตหลายร้อยปีมาแล้ว และยังปรากฏในตำรายาจีนหลายตำรับอีกด้วย ดังนั้นจึงมีการสันนิษฐานกันว่าถิ่นกำเนิดของโหราเดือยไก่น่าจะอยู่ในประเทศจีน สำหรับในประเทศไทยข้อมูลเกี่ยวกับโหราเดือยไก่มีน้อยมาก และยังไม่ปรากฏว่ามีการพบเจอในธรรมชาติ หรือการปลูกในเชิงพาณิชย์ใดๆเลย ในการใช้เป็นสมุนไพรของไทยจะเป็นการใช้โดยการสั่งนำเข้าจากจีนมากกว่า
Tumblr media
การขยายพันธุ์โหราเดือยไก่
           โหราเดือยไก่ สามารถขยายพันธุ์ได้โดย การใช้เหง้าและการใช้เมล็ด และเป็นพืชที่ยังไม่มีข้อมูลในการปลูกในประเทศไทย แต่เชื่อว่าวิธีการปลูกจะสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการใช้เหง้าปลูกและการเพาะเมล็ด พืชล้มลุกชนิดอื่นๆตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้นและสภาพอากาศที่เหมาะสมกับพืชชนิดนี้ด้วย
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFightbet98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย  สล็อตฟรีเครดิต  ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
แพงพวยน้ำ
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร  แพงพวยน้ำ ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น  พังพวย,ผักแพงพวย(ทั่วไป),ผักปอดน้ำ(ภาคเหนือ),ปี่แปฉ่าย,จุ่ยเล่ง,สุ่ยหลง,นั่งจั้ว,กั้วกัวเสอ(จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์  Jussiaea repens Linn. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Jussiaea adscendens  Linn,  Ludwigia adscendens (L.) H.Hara ชื่อสามัญ  Sunrose willow, Creeping water primrose, Water primrose วงศ์  ONAGRACEAE
Tumblr media
ลักษณะของแพงพวยน้ำ
           ต้นแพงพวยน้ำ มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค โดยจัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยหรือไม้ล้มลุกที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีลำต้นทอดยาวไปตามผิวน้ำหรือบนดินเหลว มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร ลำต้นไม่มีขนปกคลุม ลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอมสีแดงเล็กน้อย ลักษณะอวบน้ำ เป็นรูปกลม เป็นข้อปุ่ม ตามข้อของลำต้นจะมีรากแก้วเป็นฝอยและมีปุ่มที่ช่วยในการพยุงตัว ทำให้สามารถลอยน้ำได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการแยกลำต้นปลูก มักขึ้นบนดินโคลนตามข้างทาง ทุ่งนา หรือตามห้วย หนอง คลองบึงต่าง ๆ (ในช่วงที่น้ำในนาและหนองบึงแห้งแล้ง ต้นแพงพวยน้ำก็ยังคงอยู่ได้ แม้ต้นจะแคระแกร็นและแข็ง นับว่าเป็นต้นไม้ที่มีความทนทานมากชนิดหนึ่ง)  ใบแพงพวยน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนรีหรือกลมมน โคนใบเรียวสอบเข้าหาก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบ
Tumblr media
           ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-2.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร ผิวใบเรียบ บ้างว่ามีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้านของแผ่นใบ หน้าใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกแพงพวยน้ำ ดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามง่ามใบ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาว ใจกลางของดอกเป็นสีเหลืองอ่อน ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ แตกออกเป็นแฉก 5 แฉก ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 12 มิลลิเมตร ตั้งชูออกจากข้อ ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบห่อหุ้มอยู่ มีเกสรเพศผู้ 10 ก้าน เพศเมีย 1 ก้าน มีรังไข่ 5 อัน อยู่ส่วนล่างของเกสร สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ผลแพงพวยน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมยาวแบบทรงกระบอก หรือเป็นรูปหลอดยาวคล้ายเทียนนา ยาวได้ประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดมีรูปร่างไม่แน่นอน และเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล
Tumblr media
สรรพคุณของแพงพวยน้ำ
            ทั้งต้นมีรสจืด เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ด้วยการ��ช้ต้นสดนำมาตำคั้นเอาน้ำ 60-120 กรัม ผสมกับน้ำผึ้งเดือนห้าอุ่นให้อุ่นใช้กินเป็นยา (ทั้งต้น) บ้างว่าใช้ส่วนยอดของลำต้นนำมาตำให้ละเอียด ใช้โปะกระหม่อมเด็กเป็นยาแก้ร้อนใน (ยอด) แก้ไข้หวัดตัวร้อน ไอแห้ง ให้ใช้ยาแห้ง (ทั้งต้น) 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ทั้งต้น) ใบมีสรรพคุณดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้พิษร้อน (ใบ) ช่วยขับน้ำชื้น (ทั้งต้น) ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้พืชชนิดนี้ 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ทั้งต้น) ช่วยแก้บิด (ทั้งต้น) ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ต้นสด นำมาตำคั้นเอาน้ำ 60-120 กรัม ผสมกับน้ำผึ้งเดือนห้า แล้วอุ่นกิน (ทั้งต้น) ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ (ทั้งต้น) ช่วยแก้โรคหนองใน
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดแพงพวยน้ำ 
           แพงพวยน้ำเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเขตร้อนของโลก ในทวีปแอฟริการและเอเชีย โดยในทวีปเอเชียมีเขตการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง ซึ่งจะพบเห็นได้ตั้งแต่ จีน อินเดีย บังคลาเทศ พม่า เวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย รวมไปถึงในออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบเห็นได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยถูกจัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งในนาข้าว ซึ่งมักจะพบได้ตามทุ่งนา ตามห้วยหนองคลองบึง หรือตามข้างทางที่มีน้ำขังนาน ๆ
Tumblr media
การขยายพันธุ์แพงพวยน้ำ 
           แพงพวยน้ำสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ดและการแยกต้นปลูก ในอดีตนั้นแพงพวยน้ำมักจะขยายพันธุ์ในธรรมชาติมากมากกว่าการถูกนำมาขยายพันธุ์โดยมนุษย์ เพราะแพงพวยน้ำถูกจัดเป็นวัชพืชที่รุกรานนาข้าว รวมถึงในแปลงปลูกพืชผักที่เป็นพืชน้ำ หรืออยู่ในที่ชื้นแฉะต่างๆ แต่ในปัจจุบันเมื่อมีการค้นคว้าวิจัยพบว่าแพงพวยน้ำสามารถใช้รับประทานได้และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงรวมถึงยังมีการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรที่สามารถรักษาโรคได้หลายโรค จึงเริ่มมีการเพาะปลูกกันมากขึ้น โดยวิธีการที่นิยมคือการใช้เมล็ดมาเพาะเป็นต้นกล้าแล้วนำไปปลูกต่อไป
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFightbet98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย  เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์  ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
ลีลาวดี
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร  ลีลาวดี ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น  ลั่นทม , จำปาจีน , ลั่นทมแดง , ลั่นทมขาว , จำปาแดง , จำปาขาว (ทั่วไป),จาปาลาว (ภาคเหนือ) , จำปาขอม (ภาคใต้) , ไม้จีน (ยะลา) , จำไป (เขมร) , จงป่า (กะเหรี่ยง) , มอยอ , มลอ (มลายู) ชื่อวิทยาศาสตร์  Plumeriaobtuse Linn (พันธุ์ดอกสีขาว , ปลายใบกลม) Plumeriarubra Linn (พันธุ์ดอกหลากสี , ปลายใบแหลม) ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  PlumeriaAiton , (พันธุ์ปลายใบแหลม) , Plumeris Poir (พันธุ์ปลายใบแหลม) ชื่อสามัญ  Frangipani, Pagoda tree , Temple tree , West indian red วงศ์  APOCYNACEAE
Tumblr media
ลักษณะทั่วไปลีลาวดี
           ลีลาวดี จัดเป็นไม้พุ่มหรือยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูง 3-6เมตร แตกกิ่งแผ่กว้าง มีเรือนยอดเป็นรูปร่ม ลำต้นกลม เปลือกสีเทาหรือสีเขียวอมเทา เมื่อลำต้นมีอายุมาก จะเกิดตุ่มนูนทั่วลำต้น อันเนื่องมาจากแผลจากก้านใบที่หลุดร่วงและในทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาว  ส่วนใบและดอกรวมถึงผลจะมีลักษณะแตกต่างกันเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ Plumeria obtuse Lim ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบกิ่งและจะเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ กว้าง 3.5 – 7.7 ซม. ปลายใบกลม โคนใบมนหรือแหลม เนื้อใบหนาและเหนียวคล้ายเป็นแผ่นหนัง มีเส้นใบแบบขนนกเมื่อพลิกดูใต้ใบจะเห็นเป็นเส้นนูนเด่นชัด  ดอกออกเป็นแบบช่อกระจุกออกที่ปลายยอด กลีบดอกมีสีขาว
Tumblr media
           ตรงกลางสีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายดอกแยกเป็น 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ปลายมนมีกลิ่นหอม ส่วนผลออกเป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก แบนเล็กน้อยกว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 17-18 ซม. เมล็ดเป็นเมล็ดแบนมีปีกสีขาว ยาวประมาณ 2 ซม. Plumeria rubra Lim ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบกิ่ง และเป็นกระจุกตรงปลายกิ่ง ใบมีลักษณะเป็นรูปวงรี กว้าง 6-8 ซม. ยาว 14-34 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปปลิมหรือแหลม มีเส้นใบใต้ใบเป็นเส้นนูนแบบขนนกเห็นได้เด่นชัด ก้านใบยาวได้ถึง 7 ซม. ดอกออกเป็นช่อกระจุกออกที่ปลายกิ่ง กลีบมีหลากสี เช่น ดอกสีขาว ชมพู แดงหรือเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายผายออกเป็นรูปกรวย มี 5 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ มีกลิ่นหอม และผลออกเป็นฝักคู่ กว้าง 2-3 ซม. ยาว 10-16 ซม. เมล็ดลักษณะแบน ยาว 1-1.5 ซม. มีปีกสีขาว ยาว 1.6-2.8 ซม.
Tumblr media
ประโยชน์ของต้นลีลาวดี
           ดอกลีลาวดีใช้ผสมกับพลู ทำเป็นยาแก้ไข้และไข้มาลาเรีย (ดอกลีลาวดี, เปลือกต้น) ช่วยรักษาไข้หวัด (ราก) ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไอ (เนื้อไม้) ช่วยถ่ายเสมหะและโลหิต (ยางและแก่น) ช่วยขับเหงื่อ แก้ร้อนใน (ราก) ช่วยรักษาโรคหืดหอบ ด้วยการใช้ใบลีลาวดีแห้งนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม (ใบแห้ง) ยางจากต้นลีลาวดีใช้ผสมกับไม้จันทร์และการบูรทำเป็นยาแก้อาการปวดฟัน (ยางจากต้น) มีการนำมาใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า (ต้น) ใช้ปรุงเป็นยาถ่าย (เนื้อไม้, ยางจากต้น, เปลือกราก, เปลือกต้น) ช่วยขับลมในกระเพาะ (เปลือกราก) ใช้เปลือกต้นผสมกับน้ำมันมะพร้าว มันเนย และข้าว ทำเป็นยาแก้ท้องเดิน(เปลือกต้น) ใช้เปลือกต้นผสมกับน้ำมันมะพร้าว มันเนย และข้าว ทำเป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือกต้น) ฝักนำมาฝนเพื่อนำมาใช้ทาแก้ริดสีดวงทวารได้ (ฝัก)
Tumblr media
การขยายพันธุ์ลีลาวดี
           โดยมีวิธีการดังนี้ เลือกกิ่งจากต้นที่มีอายุ 1-2 ปี ที่มีความสมบูรณ์ ลักษณะเนื้อไม้แข็งแรง โดยให้ตัดตรงตำแหน่งที่ต่ำกว่าส่วนยอดอ่อน และควรมีความยาวของกิ่งที่จะนำไปปักชำประมาณ 2 ฟุต ซึ่งควรตัดกิ่งให้อยู่ในมุมที่สูงกว่ารอยแผลของก้านใบเก่าที่ร่วงไป (Growth Tips) เพื่อที่จะให้กิ่งเดิมที่ถูกตัดสามารถแตกกิ่งอ่อนได้จาก Growth Tips ที่เปลี่ยนตาแล้วใช้ปูนขาวป้ายที่แผลรอยตัด จากนั้นนำมาเก็บไว้ที่ร่มประมาณ 4 วัน ให้แผลแห้งก่อนนำมาเพาะชำและเมื่อจะนำไปชำในโรงเพาะชำควรนำ โคนกิ่งที่ตัดไว้จุ่มในน้ำยาเรียกราก หลังจากนั้นจึงนำกิ่งไปชำในกระถางที่มีดินที่มีฮิวมัสสูงให้โคนกิ่งลึก 2-3 นิ้ว และรอยที่จุ่มน้ำยาควรจะสูงกว่าระดับเหนือดิน 1 นิ้ว จากนั้นคอยรดน้ำให้ชุ่ม และเมื่อถึงพันธุ์ที่รากงอกหรือมีใบจริงผลิออกมา 2-3 คู่ ก็สามารถนำไปปลูกในบริเวณที่ต้องการได้
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดลีลาวดี 
           ลีลาวดีเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิด ในทวีปอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ซึ่งได้สำรวจพบครั้งแรกโดย ชาลส์ ปลูมีเย นักสำรวจพรรณไม้ และนักเขียนชาวฝรั่งเศส โดยในปัจจุบันสามารถแบ่งประเภทของลีลาวดีได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ Plumeria rubra (พันธุ์ดอกหลากสี ปลายใบแหลม)และ  Plumeria obtusa (พันธุ์ดอกสีขาวปลายใบมน) สำหรับประวัติของลีลาวดีในประเทศไทยนั้น  มีการพบหลักฐานการจดบันทึก ประวัติพ่อขุนผาเมืองที่รวบรวมไว้โดยเจ้าอาวาสวัดตาล อ. หล่มสัก จ. เพชรบูรณ์ ที่มีบันทึกว่า พ่อขุนผาเมืองที่ขณะนั้นได้รวบรวมกองทัพขับไล่ขอมที่เรืองอำนาจได้สำเร็จ
Tumblr media
           เมื่อความทราบถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ทรงเกรงว่าพ่อขุนผาเมืองจะกลายเป็นเสี้ยนหนามที่สำคัญ จึงยกพระธิดาให้เป็นพระชายา ซึ่งทั้งสองพระองค์ได้ปลูกต้นจำปาขอมสองต้นเพื่อบูชาพระธาตุขึ้น ปัจจุบันก็คือ พระธาตุพ่อขุนผาเมือง อ. หล่มสัก จ. เพชรบูรณ์  และในจดหมายเหตุลาลูแบร์ กล่าวถึงลีลาวดีในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า เป็นไม้ที่ไม่ค่อยนิยมปลูกมากนัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง แต่พบลีลาวดีขาว (Plumeria obtusa)ในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ และในบริเวณวัดระศรีรัตนมหาธาตุ จ. ลพบุรี จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นต้นลั่นทมที่มาจาก��ารเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เช่น ฮอลันดา และฝรั่งเศส
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFightbet98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย สล็อตฟรี ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
พุดซ้อน
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร  พุดซ้อน ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น  เก็ดถวา,เค็ดถวา (ภาคเหนือ),พุดจีน,พุดจีบ,พุดใหญ่,พุดสวน,พุด(ภาคกลาง),อินถวา(ภาคอีสาน),พุดป่า(ลำปาง),พุทธรักษา(ราชบุรี),ซัวอึ้งกี่,ซัวกี่,จุยเจียฮวย(จีน)Bunga cina (มาเลเซีย) ชื่อวิทยาศาสตร์   Gardenia augusta (L.) Merr. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์   Gardenia jasminoides J.Ellis ชื่อสามัญ  Gerdenia, Cape jasmine วงศ์   RUBIACEAE
Tumblr media
ลักษณะของพุดซ้อน
           ต้นพุดซ้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บ้างก็ว่าจัดเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมของบ้านเรานี่เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันที่ว่าพุดซ้อนจะไม่มีสีขาวอยู่ในต้นและใบเหมือนพุดจีบ ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีเขียว ใบขึ้นดกหนาทึบ ส่วนรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ต้องการแสงแดดจัดและความชื้นสูง หากปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก และการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยมักพบขึ้นในป่าดงดิบทางภาคเหนือ ใบพุดซ้อน พุดซ้อนเป็นไม้ที่ออกใบหนาแน่น ทำให้ดูทึบ
Tumblr media
           โดยใบจะเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามหรือประกอบเป็นใบ 3 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ เป็นขอบสีขาว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบมันเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น มีหูใบ 2 อันอยู่ระหว่างก้านใบด้านละอัน ลักษณะของใบทั่วไปคล้ายใบพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ไม่มียางสีขาวเท่านั้น ดอกพุดซ้อน โดยมากแล้วจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกพุดจีบ ดอกของพุดซ้อนจะเป็นสีขาวและมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น โคนกลีบแหลม ปลายกลีบมนรี
Tumblr media
            มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร เนื้อนุ่มและมีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 ก้านรูปแถบ ติดที่ปลายหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย ก้านเกสรยาว ยอดเกสรเป็นกระจุกแน่น รังไข่จะอยู่ใต้ฐานรองดอก ส่วนกลีบเลี้ยงมีประมาณ 5-8 แฉก ก้านดอกสั้นหรือไม่มีก้านดอก ผลพุดซ้อน ผลมีลักษณะกลมเป็นรูปไข่ ออกแบบหัวทิ่มลง ผลอ่อนเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองหรือเป็นสีส้มถึงแดง ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร เปลือกผลมีเหลี่ยมตามยาว ประมาณ 5-7 เหลี่ยม ภายในมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-6 เมล็ด เมล็ดจะมีเนื้อเยื่อหุ้มเป็นสีแดง
Tumblr media
สรรพคุณของพุดซ้อน
           รากและผลมีรสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยแก้อาการร้อนใน ขับน้ำชื้น ทำให้เลือดเย็น แก้ตัวร้อน มีไข้สูง (ราก, ผล) เนื้อไม้เป็นยาเย็น ช่วยลดพิษไข้ (เนื้อไม้) เปลือกต้นและรากเป็นยาแก้ไข้ (เปลือกต้น, ราก) ช่วยกระจายเลือดที่อุดตัน (ผล) ช่วยแก้อาการกระสับกระส่ายนอนไม่หลับ (ผล) ช่วยแก้ตาอักเสบ (ผล) ช่วยแก้เลือดกำเดา (ผล) ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะได้ (ใบ) ช่วยแก้อาการเหงือกบวม ปวดฟัน (ผล) ช่วยรักษาปากและลิ้นเป็นแผล (ผล) ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (ผล) รากช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ (ราก) เปลือกต้นเป็นยาแก้บิด แก้ปวดท้อง (เปลือกต้น)
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดพุดซ้อน 
           พุดซ้อนเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบริเวณจีนตอนใต้และในประเทศญี่ปุ่น จากนั้นจึงได้แพร่กระจายพันธุ์ไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก เช่นใน เวียดนาม พม่า ไทย ลาว มาเลเซีย อินเดีย รวมถึงในทวีปแอฟริกา สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ตามภาคต่างๆ แต่ทางภาคต่างๆ แต่ทางภาคใต้จะไม่ค่อยพบเห็นมากนัก ทั้งนี้ในปัจจุบันมักจะพบพุดซ้อนได้ตามบริเวณบ้านเรือน หรือสวยหย่อมสวนสาธารณะต่างๆ ส่วนในธรรมชาตินั้นจะพบตามป่าดงดิบแถบภาคเหนือเท่านั้น
Tumblr media
การขยายพันธุ์พุดซ้อน 
           พุดซ้อนสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำ แต่ในปัจจุบันวิธีที่เป็นที่นิยมกันมาก คือ การตอนกิ่ง เพราะมีเปอร์เซ็นต์การรอดสูง ประหยัดเวลาและทำได้ง่าย โดยมีวิธีการคือ เลือกกิ่งแก่ที่เป็นสีน้ำตาลหรือขาวเทาและมีความสมบูรณ์ของกิ่งสูงมาทำการตอนกิ่ง (เหมือนวิธีการตอนกิ่งไม้พุ่มทั่วๆไป) หลังจากนั้น 3-4 สัปดาห์จะเริ่มออกราก พอรากเดินพอประมาณแล้วจึงตัดลงปลูกได้ โดยการปลูกจะต้องเตรียมหลุมขนาด 50x50x50 เซนติเมตร จากนั้นใช้ปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมัก ดินร่วนใน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก และควรปลูกให้มีระยะที่โดยการปลูกจะต้องเตรียมหลุมที่เหมาะสม เพราะพุดเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่ ต้องการแสงแดดจัด และต้องการปริมาณน้ำปานกลาง
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFightbet98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย บอลน้ำดี ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
หมากผู้หมากเมีย
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร  หมากผู้หมากเมีย ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น  หมากปู๊ , ปู๊หมาก , หมากผู้ (ภาคเหนือ) , มะผู้มะเมีย (ภาคกลาง) , ทิฉิ่งเฮี้ยะ , เที่ยชู (จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์  Cordyline fruticosa (L.) A.Chev ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์    Cordyline fruticosa L. , alodracon terminalis (L.)  Kunth  Aletris chinensis Lam.,Calodracon heliconiifolia (Otto & A.Dietr.) Planch., Cordyline fruticosa L. ชื่อสามัญ  Cabbage palm , Good luck plant , Palmm lily , Red dracaena , Polynesian , Ti plant วงศ์  Asparagaceae
Tumblr media
ลักษณะของหมากผู้หมากเมีย
           ต้นหมากผู้หมากเมีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่มีกิ่งก้านสาขามากนัก จัดเป็นพรรณไม้��ลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการตอน การปักชำลำต้น การปักชำยอด การปักชำเหง้า และการแยกลำต้น เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกประเภท ชอบดินร่วนซุย ความชื้นปานกลาง และแสงแดดปานกลางถึงรำไร มักขึ้นใกล้แหล่งน้ำ ที่มีความชุ่มชื้น หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีแสงแดดรำไร ใบหมากผู้หมากเมีย ใบออกเป็นวงสลับกันบริเวณส่วนยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 นิ้ว และยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตร ใบเป็นสีแดงเขียวหรือสีแดงม่วง ทั้งนี้ ลักษณะของใบและสีของใบก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูกด้วยครับ เพราะบางพันธุ์ใบจะเป็นรูปใบหอกปลายแหลม
Tumblr media
           บางพันธุ์ใบเป็นรูปใบพาย หรือเป็นรูปเรียวแหลมแคบเป็นรูปเข็ม หรือใบแคบเรียวยาวแตกกิ่ง ใบที่เป็นเหมือนใบอ้อยก็มี ซึ่งแผ่นใบจะยาวเรียวแหลมมาก เป็นต้น ดอกหมากผู้หมากเมีย ออกดอกเป็นช่อ ยาวประมาณ 12 นิ้ว โดยจะออกบริเวณยอดลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 6 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปทรงกระยอก ดอกเป็นสีม่วงแดงหรือสีชมพูสลับด้วยสีเหลืองอ่อน ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน มีรังไข่ 3 ห้อง ในแต่ละห้องจะมีผลอ่อน 4-6 ผล ดอกย่อยมีขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมต ผลหมากผู้หมากเมีย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร ผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-3 เมล็ด
Tumblr media
สรรพคุณของหมากผู้หมากเมีย
           รากมีสรรพคุณเป็นยาฟอกเลือด ด้วยการใช้รากสดครั้งละ 30-60 กรัม ถ้ารากแห้งให้ใช้เพียงครั้งละ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก) ใช้เป็นยาแก้พิษกาฬ (พิษที่เกิดจากการติดเชื้อ) หรือนำมาต้มหรือแช่น้ำอาบแก้ไข้หัว (ไข้ร่วมกับผื่นหรือตุ่ม เช่น หัด เหือด อีสุกอีใส) (ใบ) ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้หวัดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ไข้กำเดา ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัวต่าง ๆ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ (ใบ) ใบสดใช้ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไอ ไอเป็นเลือด หรือจะใช้ดอกแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้อาการไอเป็นเลือดก็ได้ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบสดประมาณ 60-100 กรัม หรือรากสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ,ดอก,ราก) ช่วยแก้โลหิตกำเดา ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-60 กรัม ถ้าแห้งใช้ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ใบ)
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดหมากผู้หมากเมีย 
           หมากผู้หมากเมียเป็นพรรณพืชที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย (น่าจะหมายถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้) แล้วมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆของโลก สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์หมากผู้หมากเมีย จนได้สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีลักษณะของสีและใบที่สวยงามแปลกตามากมาย เช่น พันธุ์เพชรชมพู พันธุ์เพชรเจ็ดสี , พันธุ์รัศมีเพชร เป็นต้น
Tumblr media
การขยายพันธุ์หมากผู้หมากเมีย
           หมากผู้หมากเมียสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การปักชำ ,การแยกเหง้า , การ��อน และการเพาะเมล็ด แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันคือ การปักชำเพราะเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็ว และได้ผลสูง โดยมีวิธีการง่ายๆ คือ ตัดส่วนของลำต้นหรือกิ่งแก่จากต้นที่มีเหง้ามากแล้วนำมาปักลงในแปลงหรือบริเวณที่ต้องการ หรืออาจนำไปเพาะไว้ในถุงเพาะชำรอให้รากออกก่อนปลูกในหลุมก็ได้ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม ทั้งนี้หมากผู้หมากเมียเป็นพืชที่ปลูกง่ายเจริญเติบโตได้ทุกสภาพดิน
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFightbet98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย สล็อตฟรี ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
หญ้าคา
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร หญ้าคา ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น  หญ้าหลวง , คา , แผกคา (ทั่วไป) , สาแล , ลาลาง (ปัตตานี,ยะลา) , เก้อฮี (กะเหรี่ยง) , ไป่เหมาเกิน เตียมเซาถึง (จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์ Imperata cylindrica (Linn.) Beauv. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Imperata cylindrica (Linn.) Rarusch, Imperata cylindrica Beauv. Var major (Neec) C.E.Hubb. ชื่อสามัญ   Cogon grass,blady grass ,Thatch Grass. วงศ์  Gramineae
Tumblr media
ลักษณะของหญ้าคา
           ต้นหญ้าคา จัดเป็นพืชจำพวกหญ้า มีลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นเส้นกลมสีขาวทอดยาว มีข้อชัดเจน ผิวเรียบ หรืออาจมีขนอยู่บ้างเล็กน้อย สามารถแตกกิ่งก้านสาขา เลื้อยแผ่และงอกไปเป็นกอใหม่ ๆ ได้มากมายหลายกอ โดยหญ้าคาจัดเป็นวัชพืชที่ชอบแสงแดดและมีความทนทานสูงมาก เผากำจัดหรือทำลายได้ยาก ยิ่งเผาทำลายก็เหมือนไปช่วยกระตุ้นให้มันงอกมากขึ้น ทำให้ออกดอกแพร่พันธุ์มากยิ่งขึ้นไปอีก จึงกลายเป็นวัชพืชที่ลุกลามไปตามท้องไร่หรือพื้นที่ต่าง ๆ และกำจัดได้ยากชนิดหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นวัชพืชที่แก่งแย่งธาตุอาหารและน้ำกับพืชที่ปลูก และยังปลดปล่อยสารธรรมชาติบางชนิดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งสามารถพบได้ตามท้องทุ่งทั่วไป ตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ตามหุบเขา และตามริมทางทั่วไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพืชชนิดนี้จะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด แต่ก็ยังสามารถขยายพันธุ์ด้วยลำต้นใต้ดินได้ด้วยเช่นกัน
Tumblr media
           ใบหญ้าคา ใบแตกออกมาจากลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของใบแบนเรียวยาว ใบมีความยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 5-9 มิลลิเมตร ตอนแตกใบอ่อนใหม่ ๆ จะมีปลอกหุ้มแหลมแข็งที่ยอดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรงอกแทงขึ้นมาจากดิน ดอกหญ้าคา ออกดอกเป็นช่อรูปทรงกระบอก มีความยาวประมาณ 5-20 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร มีดอกย่อยอยู่ติดกันแน่น เมื่อแก่จะเป็นขนฟูสีขาว และเมล็ดจะหลุดร่วงและปลิวไปตามสายลม และแพร่กระจายพันธุ์ไปได้ไกล ๆ โดยหญ้าคาที่ขึ้นอยู่ตามทุ่งหญ้า��ะออกดอกในช่วงฤดูร้อน ส่วนหญ้าคาที่ขึ้นตามที่ชื้นแฉะจะออกดอกในช่วงปลายฤดูร้อนหรือฤดูหนาว ผลหญ้าคา หรือ เมล็ดหญ้าคา เมล็ดเป็นผลแห้ง ไม่แตก มีลักษณะเป็นรูปรี เมล็ดมีสีเหลือง เมล็ดแก่จะหลุดปลิวไปตามลม สามารถแพร่ขยายพันธุ์ไปได้ไกล และในหนึ่งต้นสามารถผลิตเมล็ดได้มากถึง 3,000 เมล็ด
Tumblr media
สรรพคุณของหญ้าคา
           ในประเทศจีนใช้หญ้าคาเป็นยาบำรุงกำลังหลังจากการฟื้นไข้ และยังใช้เป็นยาห้ามเลือดและลดอาการไข้อีกด้วย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) สรรพคุณหญ้าคา ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง (ราก) ผลใช้กินเป็นยาสงบประสาท (ผล) รากใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยารักษาโรคตานขโมย (ราก) รากช่วยแก้ไข้ แก้อาการไอ (ราก) ส่วนดอกช่วยแก้อาการไอ (ดอก) ชาวซูลูใช้หญ้าคาเพื่อช่วยแก้อาการสะอึก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ช่วยแก้โรคมะเร็งคอ (ต้น) ช่วยแก้หอบ ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1 กำมือและเปลือกของต้นหม่อนอย่างละเท่ากัน ใส่ในน้ำ 2 ชามแล้วต้มจนเหลือ 1 ชาม แล้วเอาน้ำที่ได้มากิน (ราก)
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดหญ้าคา 
           หญ้าคาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบริเวณแนวชายฝังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แล้วได้แพร่กระจายพันธ์ไปยังเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลก ในปัจจุบันพบว่าหญ้าคาได้แพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วทุกทวีปที่มีภาวะอากาศแบบร้อนชื้น และยังถูกจัดให้เป็นวัชพืชที่สร้างปัญหาให้กับพื้นที่เพาะ��ลูกเป็นอย่างมาก สำหรับในประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะพื้นที่รกร้าง ตามภูเขาหินปูนและตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง รวมถึงตามริมทางทั่วๆไป
Tumblr media
การขยายพันธุ์หญ้าคา
           หญ้าคาสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด และการแยกเหง้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติมากกว่าถูกนำมาปลูก เพราะในประเทศไทยจัดให้หญ้าคาเป็นวัชพืชต่างถิ่นรุกรานที่สร้างปัญหาให้กับพื้นที่เพาะปลูกอย่างมาก สำหรับการขยายพันธุ์ทางธรรมชาตินั้นเกิดจากการที่เมล็ดแก่ถูกลมพัดพาไปตกยังบริเวณต่างๆ จึงทำให้หญ้าคางอกขึ้นมา นอกจากนี้เหง้าใต้ดินยังสามารถงอกขยายไปเป็นต้นใหม่ได้อีกด้วย จึงทำให้หญ้าคาเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นพืชที่ชอบแดด และทนแล้งได้เป็นอย่างดี แม้การเผาก็ยังไม่ทำให้เหง้าใต้ดินตายได้
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFightbet98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย เว็บสล็อต ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
มะลิ
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร  มะลิ ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น  มะลิลา,มะลิซ้อน(ทั่วไป),มะลิป้อม(ภาคเหนือ),มะลิหลวง(แม่ฮ่องส��น),มะลิขี้ไก่(เชียงใหม่),ข้าวแตก(ไทยใหญ่),บังหลีฮวย,เชียวหน้ำเคี้ยง(จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์  Jasminum Sambac (L.) Aiton.  ชื่อสามัญ   Arabian jasmine,  Jusmine , Grand Duke of Tuscany , Angel – hair jusmine , Angelnaing  jusmine, Star jusmine. วงศ์  OLEACEAE
Tumblr media
ลักษณะของต้นมะลิ
ต้นมะลิ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบประเทศเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม มีใบแน่น มีความสูงประมาณ 5 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ลำต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ (ในช่วงฤดูฝนเป็นวิธีการที่ดีที่สุด) และการตอนกิ่ง (เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี) เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดจัด การให้น้ำมากเกินไปจะทำให้ออกดอกน้อยลง และการตัดแต่งใบภายหลังการออกดอกชุดใหญ่จะทำให้การออกดอกดีขึ้น (ทั้งจำนวนและขนาดของดอก) ใบมะลิ ใบออกเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยใบเดียว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปมนป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร
Tumblr media
           แผ่นใบเรียบมันเป็นสีเขียวแก่ ที่ท้องใบเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นใบมีขนาดใหญ่ มีประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบมีขนาดสั้นมากและมีขน ดอกมะลิ ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ลักษณะของดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกไม่ซ้อน ดอกซ้อนเราจะเรียกว่า "มะลิซ้อน" ส่วนดอกที่ไม่ซ้อนจะเรียกว่า "มะลิลา" โดยทั้งสองชนิดจะเป็นดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม ซึ่งดอกมะลิลาจะมีกลิ่นหอมมากกว่าดอกมะลิซ้อน[1] ขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมะลิลาปลายแยกเป็น 5-8 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ส่วนปลายแยกเป็นเส้น มีเกสรเพศผู้ 2 ก้านติดกับกลีบดอกในหลอดสีขาว และมักไม่ติดผล
Tumblr media
สรรพคุณของมะลิ
           ดอกมะลิมีรสหอมเย็น มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ จิตใจชุมชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกำลัง (ดอก) ชาวโอรังอัสลี ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะใช้รากนำไปต้มแล้วดื่มน้ำเป็นยาแก้เบาหวาน (ราก) หากมีอาการนอนไม่หลับ ให้ใช้รากแห้งประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาฝนกับน้ำรับประทาน (ราก) ดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกขมับ จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้ (ดอก) หรือจะใช้รากสดประมาณ 1-1.5 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดศีรษะก็ได้ (ราก) ช่วยแก้เจ็บตา (ดอก) รากสดใช้ทำเป็นยาล้างตาแก้เยื่อตาอักเสบ (ราก) ใบและรากใช้ทำเป็นยาหยอดตา (ใบ, ราก) บ้างว่าใช้ดอกมะลิสดที่ล้างน้ำสะอาด นำมาต้มกับน้ำจนเดือดสักครู่ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ล้างตาแก้ตาแดง เยื่อตาขาวอักเสบ (ดอก) ช่วยแก้อาการเจ็บหู (ดอกและใบ) ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนำมาทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด (ราก) หากปวดฟันผุ ให้ใช้รากมะลิตากแห้งนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาที่เหนียวข้น ใช้ใส่ในรูฟันผุ (ราก)
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดมะลิ
           มะลิมีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้นในเอเชียและความสมุทรอารเบีย เช่น อินเดีย , ไทย , มาเลเซีย ,พม่า , คูเวต , โอมาน , ซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น แต่ในปัจจุบันสามารถพบได้  ทั้งในยุโรป เอเชีย อาฟริกา และแถบแปซิฟิค โดยพืชในสกุลนี้มีประมาณ 200 ชนิด ส่วนในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 45 ชนิด และสามารถพบเห็นได้ทั่วทุกภาคของประเทศ สำหรับมะลิที่เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของไทย มีอยู่ประมาณ 15 ชนิด ซึ่งมะลิที่พบเห็นกันมากในไทยได้แก่ มะลิลา มะลิลาซ้อน มะลิถอด มะลิพิกุลหรือมะลิฉัตร มะลิทะเล มะลิทะเล มะลิเลื้อย มะลิวัลย์ พุทธชาด ปันหยี เครือไส้ไก่ อ้อยแสนสวย และมะลิเขี้ยวงู  เป็นต้น ทั้งนี้แหล่งปลูกมะลิที่สำคัญของไทย ได้แก่ นครสวรรค์ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ชลบุรี  พิษณุโลก ลำพูน อุบลราชธานี ขอนแก่น และ หนองคาย
Tumblr media
การขยายพันธุ์มะลิ
           เมื่อชำเสร็จแล้วให้ใช้พลาสติกใสปิดกระบะให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ กึ่งมะลิจะออกรากประมาณร้อยละ 90 ของมะลิทั้งหมด เมื่อมะลิออกรากแล้ว ให้สังเกตดูความสมบูรณ์ของรากก่อนที่จะย้ายลงปลูกในถุงพลาสติก การปักชำวิธีนี้จะได้จำนวนต้นครั้งละมากๆ และเปอร์เซ็นต์การออกรากสูง แต่��ีข้อควรระวัง คือ การปักชำในกระบะซ้ำๆ กันหลา��ครั้งอาจเกิดโรคราขึ้นได้ ดังนั้นควรใช้สารเคมีป้องกันเชื้อราราด หรือฉีดพ่นลงในกระบะขณะปักชำด้วย  หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้นำไปเลี้ยงต่อในถุงขนาด 2x3 นิ้ว โดยใส่ดิน ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้ว จึงนำไปปลูกต่อไป สำหรับสรรพคุณทางยาของมะลินั้นตามตำรายาไทยระบุไว้ว่า การปลูกมะลิควรปลูกในฤดู
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFightbet98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย สล็อตแตกง่าย ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
ม้ากระทืบโรง
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร  ม้ากระทืบโรง ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น  เดื่อเครือ,บ่าบ่วย (ภาคเหนือ) , ม้ากระทืบโรง (ภาคอีสาน) , มาดพรายโรง (โคราช) ,หน่วยเลือด (ชัยภูมิ) พญานอนหลับ (นครสวรรค์) , ม้าคอกแตก , คอกม้าแตก , มันฤาษี (ระนอง) ชื่อวิทยาศาสตร์  Ficus foveolata Wall. วงศ์  Moraceae
Tumblr media
ลักษณะของม้ากระทืบโรง
           ต้นม้ากระทืบโรง จัดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เป็นไม้เถาขนาดใหญ่มักเลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้ชนิดอื่น มีความสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาลและสาก มีปุ่มขึ้นคล้าย ๆ หนาม เนื้อไม้สีขาวและมีน้ำยางสีขาว เถามีรสเย็น ส่วนทั้งต้นจะมีรสขมเล็กน้อย มักพบเกาะเลื้อยอยู่ตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตัดเถาม้ากระทืบโรงประมาณ 1 คืบแล้วนำมาปักชำ ใบม้ากระทืบโรง มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก หรือรูปไข่ หรือเป็นรูปขอบขนานแกมวงรี ก้านใบและผิวใบด้านล่าง รวมไปถึงฐานรองดอกอ่อนจะมีขน ใบกว้างประมาณ 7-9 เซติเมตร และยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร ดอกม้ากระทืบโรง ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ที่ฐานรองดอกเป็นรูปทรงกลม ผลม้ากระทืบโรง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกผลสีเขียว ภายในผลเนื้อมีสีแดง
Tumblr media
สรรพคุณของม้ากระทืบโรง
           เถามีรสเย็นขื่น ใช้ดองกับสุราหรือใช้ต้มดื่มช่วยบำรุงกำลัง หรือจะใช้เถาม้ากระทืบโรงที่ตากแห้งแล้วนำมาเข้าเครื่องยาผสมกับเปลือกต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำต้นฮ่อสะพายควาย ตานเหลือง มะตันขอ จะค่าน ข้าว แก่นฝาง หลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้��ะดูก และโด่ไม่รู้ลืม นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายก็ได้เช่นกัน (เถา, ลำต้น, ทั้งต้น) ใช้ผสมกับลำต้นคุย นำมาต้มดื่มใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ต้น)ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เถา, ทั้งต้น) ช่วยบำรุงร่างกาย (ต้น) ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ทั้งต้น) ช่วยบำรุงโลหิต ด้วยการใช้เถาต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ดองกับเหล้าก็ได้ (เถา) ช่วยแก้เลือดเสีย เลือดค้าง ซูบซีด (ต้น) ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (เนื้อไม้) ช่วยแก้อาการปวดฟัน (เถา) ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยขับน้ำย่อย ช่วยทำให้อาหารมีรส (เถา)
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดม้ากระทืบโรง 
           ม้ากระทืบโรง เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณป่าดงดิบ  ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้งในบริเวณ เขตร้อนชื้นของทวีปเอเชีย เช่น ในประเทศ อินเดีย , บังคลาเทศ , พม่า , ไทย ,ลาว , กัมพูชา เป็นต้น  สำหรับในประเทศไทย ถือว่าเป็นไม้ประจำถิ่นของภาคเหนือและภาคอีสาน เพราะมีการพบมาใน 2 ภาคดังกล่าว ทั้งนี้พืชในสกุล Ficus นี้มีมากถึง 800 สายพันธุ์เลยทีเดียว แต่สายพันธุ์ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ คือ สายพันธุ์ม้ากระทืบโรง (Ficus foveolata Woll) เท่านั้น
Tumblr media
การขยายพันธุ์ม้ากระทืบโรง
           ม้ากระทืบโรงเป็นพืชสมุนไพรมีการขยายพันธุ์โดยเมล็ดในธรรมชาติมากกว่าการขยายพันธุ์โดยมนุษย์ เนื่องจากการนำมาใช้ประโยชน์ยังมีน้อยจึงทำให้ยังไม่มีการนำมาขยายพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ ในการนำมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบันส่วนมากจะเป็นการเข้า��ปตัดมาใช้จากในแหล่งธรรมชาติมากกว่า สำหรับการขยายพันธุ์ม้ากระทืบโรคที่สามารถทำได้ง่ายและมีการเจริญเติบโตเร็ว คือ การปักชำ โดยการตัดเอาเถาม้ากระทืบโรงยาวประมาณ 1 คืบมาปักชำ ในวัสดุที่มีขี้เถ้าแกลบและขุยมะพร้าวผสมกันในอัตรา 1:1 แล้วรดน้ำให้ชุ่ม นำไปวางในที่ร่มรำไรจากนั้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ รากจะเริ่มงอก และจะเริ่มผลิใบใหม่ เมื่อมีใบจริงขึ้น 2-3 ใบ หรือระบบรากแข็งแรงแล้วจึงทำการย้ายลงปลูกต่อไป
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFightbet98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย สล็อตPGแตกง่าย ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
ว่านมหากาฬ
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร  ว่านมหากาฬ ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น  ดาวเรือง (ภาคกลาง),คำโคก(อีสาน,ขอนแก่น,เลย),หนาดแห้ง(โคราช),ผักกาดกบ(เพชรบูรณ์,เพชรบุรี),ผักกาดนกเขา(สุราษฎร์ธานี),หนิวเสอซันฉิ(จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์  Gynura pseudochina  (L.) DC. var. hispida Thwaites ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Gynura hispida Thw. ,Gynura bodinieri Levl. ชื่อสามัญ  - วงศ์  COMPOSITAE (ASTERACEAE)
Tumblr media
ลักษณะของว่านมหากาฬ
           ต้นว่านมหากาฬ จัดเป็นไม้ล้มลุก เลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดิน รากเนื้อนิ่มอ่อน เปลือกรากเป็นสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เนื้อในเป็นสีขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและวิธีการแยกหน่อ ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีอาการอุดมสมบูรณ์ ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง ควรรดน้ำเช้าและเย็น และหมั่นดูแลความชุ่มชื้น (แต่อย่าให้แฉะ เพราะจำทำให้ใบเน่าได้) ส่วนปุ๋ยให้ใส่เพียงเดือนละครั้ง พรรณไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด คือ สีเขียวล้วน สีแดงเข้ม และสีแดงเรื่อ ๆ
Tumblr media
           ใบว่านมหากาฬ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลัก ลักษณะของงใบเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-30 เซนติเมตร ใบแผ่ออกอยู่บนพื้นดิน แผ่นใบหนาและแข็ง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียว ส่วนใบอ่อนเป็นสีม่วงแก่ ส่วนก้านใบสั้น���มื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว ดอกว่านมหากาฬ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอก��าวประมาณ 30 เซนติเมตร แทงขึ้นมาจากพื้นดิน ดอกย่อยเป็นสีส้มเหลืองมีหนามเล็ก ดอกเป็นรูปทรงกระบอก ลักษณะเป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง แต่มีมีขนาดเล็ก ผลว่านมหากาฬ ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดล่อน ปลายมีขน
Tumblr media
สรรพคุณของว่านมหากาฬ
           ทั้งต้นและรากมีรสขม เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เซื่องซึมระส่ำระสาย ทำให้เลือดเย็น และช่วยฟอกเลือด (ทั้งต้นและราก) หัวมีรสเย็น ใช้กินเป็นยาดับพิษร้อน พิษกาฬ พิษอักเสบ พิษเซื่องซึม แก้ไข้ ระส่ำระสาย หรือกระสับกระส่าย (หัว) ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้ไข้ โดยนำมาต้มกับน้ำดื่มเรื่อย ๆ ต่างน้ำชา อาการไข้จะทุเลาและหายไปในที่สุด (ราก,หัว) ใบนำมาคั้นเอาน้ำกินแก้คอเจ็บคอและอมกลั้วคอ (ใบ) ช่วยแก้เลือดกำเดา ด้วยการใช้ยาแห้งจากทั้งต้น รากบัวหลวง และหญ้าคา อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรวมกันรับประทาน (ทั้งต้น) ใช้เป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด (ทั้งต้นและราก)  หัวใช้เป็นยาแก้โรคบิด (หัว) หัวมีสรรพคุณเ���็นยารักษาแผลอักเสบและรักษามดลูกของสตรี ถ้านำมาบดให้เป็นผงชงกับชาให้สตรีหลังคลอดดื่ม จะช่วยขับประจำเดือนได้ด้วย (หัว) ช่วยขับระดูของสตรี (ใบ) ใช้เป็นยาห้ามเลือดจากบาดแผลได้ดี (ใบ,หัว,ทั้งต้น)
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดว่านมหากาฬ
           สำหรับถิ่นกำเนิดของว่านมหากาฬนั้นยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าว่านมหากาฬ มีถิ่นกำเนิดในแถบอินโดจีน เช่นในประเทศ อินโดนีเซีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย เพราะมีการพบว่าว่านมหากาฬครั้งแรกบริเวณภูมิภาคนี้ และยังสามารถพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณในภูมิภาคนี้อีกด้วย สำหรับในประเทศไทยพบว่านมหากาฬได้ทั่วทุกภาคของประเทศแต่จะพบมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี และมักจะพบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-500เมตร โดยพบในที่ร่มใต้ร่มไม้หรือที่โล่ง ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดล่อน ปลายมีขน
Tumblr media
การขยายพันธุ์ว่านมหากาฬ
           ว่านมหากาฬสามารถขยายพันธุ์ตามธรรมชาติด้วยการงอกกอใหม่บริเวณรากที่แผ่ไปตามพื้นดิน หรือขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อใหม่จากโคนต้นเดิม สำหรับการปลูกนิยมใช้ส่วนหัวหรือเหง้าใหม่แบ่งปลูก และถึงการนำส่วนต้นอ่อนมาปักชำ สำหรับดินที่ใช้ควรเป็นดินร่วน หากเป็นดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดีอาจใช้เพียงดินเพียงส่วนเดียวก็ได้ แต่ก็ควรผสมปุ๋ยคอกหรือวัสดุการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ในอัตราส่วนดิน:วัสดุ ที่ 1:1หรือ 2:1หากเป็นดินชนิดอื่น ควรใช้อัตราส่วนที่ 1:1หรือ 1:2 สำหรับการปลูกควรปลูกในทีร่ม เช่น ใต้ร่มไม้ใหญ่ ใต้สแลน หรือปลูกในที่ร่มที่ได้รับแสงเพียงพอ แต่ไม่มากนัก จะช่วยให้ดินไม่แห้ง และรักษาความชื้นได้  หลังการปลูกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 1-2ครั้ง
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFightbet98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย เว็บตรงไม่ล็อกยูส ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
หนุมานประสานกาย
ชื่อสมุนไพร หนุมานประสานกาย ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น อ้อยช้าง(เลย),ชิดฮะลั้ง(จีน) ชื่อวิทยาศาสตร์  Schefflera leucantha R.Viguier. ชื่อสามัญ  Umbrella tree , Edible-stemed Vine วงศ์ ARALIACEAE
Tumblr media
ลักษณะของหนุมานประสานกาย
           ต้นหนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบหนุมานประสานกาย ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 7-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
Tumblr media
           ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร ดอกหนุมานประสานกาย ออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งยาวได้ประมาณ 3-5 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อยเป็นดอกสีเขียวหรือสีนวลและมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร ผลหนุมานประสานกาย ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ อวบน้ำ ขนาดของผลมีความกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่หรือสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด
Tumblr media
สรรพคุณของหนุมานประสานกาย
           ทั้งต้นมีรสหอมเผ็ดปร่า ขมฝาดเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดลมเดินสะดวก (ทั้งต้น) ใบมีรสหอมเผ็ดปร่า ขมฝาดเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคหอบหืด แพ้อากาศ เป็นภูมิแพ้ ด้วยการใช้ใบสดเล็ก ๆ 9 ใบ นำมาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เป็นเวลา 7 สัปดาห์ โรคหืดจะหาย (ใบ) ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดเล็ก ๆ 9 ใบ นำมาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เป็นเวลา 7 สัปดาห์ (ใบ) ช่วยรักษาวัณโรคปอด ด้วยการใช้ใบสดเล็ก ๆ 9 ใบ นำมาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ติดต่อกัน 60 วัน แล้ว x-ray ดู ปอดจะหาย และให้รับประทานต่อไปอีกระยะหนึ่ง (ใบ) ช่วยรักษาวัณโรค ด้วยการใช้ใบ 10 ช่อ และรากสดของพุดตาน 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ใบ)
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดหนุมานประสานกาย 
           หนุมานประสานกายมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนในแถบจีนตอนใต้ และตะวันออกเฉียงใต้  รวมถึงเวียดนามตอนเหนือ แล้วจึงมีการแพร่กระจายพันธุ์ลงมาเรื่องๆ สู่ประเทศลาว , พม่า , ไทย และกัมพูชา เป็นต้น ในประเทศไทยสามารถพบได้มากในทุกภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยถูกจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่มักพบขึ้นตามป่าหรือที่รกร้างที่มีความสูง 1200-1700 เมตรจากระดับน้ำทะเล
Tumblr media
ประโยชน์และสรรพคุณหนุมานประสานกาย
           หนุมานประสานกายเป็นไม้พุ่มที่มีทรงพุ่มกว้างเหมาะแก่การใช้แต่งสวน จึงมีการปลูกเป็นไม้ประดับ ตามอาคารบ้านเรือนต่างๆและยังมีการนำใบของหนุมานประสานกายมาทำเป็นยาทากันยุง ซึ่งสามารถกันยุงได้ถึง 7 ชั่วโมงเลยทีเดียว ส่วนสรรพคุณทางยาของหนุมานประสานกายนั้น ตามตำรายาไทยระบุไว้ว่า ทั้งต้น มีรสหอมเผ็ดปร่า ขมฝาดเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยท้าให้เลือดลมเดินสะดวก แก้อัมพฤกษ์ แก้ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
Tumblr media
           ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารและล้าไส้ ใบรสหอมปร่า ขมฝาดเล็กน้อย ที่เกิดตามเขาจะมีรสแรงกว่า  สรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ช่วยบรรเทาหวัด ลดอาการไอ แก้ร้อนใน แก้เจ็บคอและคออักเสบ ใช้แก้เส้นเลือดฝอยในสมองแตกท้าให้เป็นอัมพาต ช่วยกระจายเลือดลมที่จับกันเป็นก้อนหรือคั่งภายใน ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด แก้หืด ภูมิแพ้ แก้ช้ำในใช้สมานแผลห้ามเลือด แก้อักเสบบวม ยาง ใช้ใส่แผลสด จะช่วยท้าให้แผลแห้งเร็ว ช่วยแก้อาการอักเสบบวม
Tumblr media
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
แววมยุรา
Tumblr media
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maranta Leuconeura วงศ์ : MARANTACEAE
ชื่อสามัญ : Wishbone flower, Bluewings, Toreni
Tumblr media
ลักษณะทั่วไป
ต้น ไม้ดอกล้มลุก ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านมาก ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปไข่ถึงรูปรีแคบ กว้าง 1.5–4.5 เซนติเมตร ยาว 5–7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบาง สีเขียว เส้นใบเป็นร่อง ดอก สีแดง ชมพู ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน โคนกลีบสีขาวกลีบล่างอาจมีแต้มสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5–2.5 เซนติเมตร ฝัก/ผล ผลแห้งแตก รูปรีหรือทรงกระบอก มีเมล็ดจำนวนมาก อุปกรณ์ในการเพาะเมล็ดดอกไม้ ถาดเพาะ หรือ ตะกร้าเพาะ วัสดุเพาะ เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ ป้ายชื่อพันธุ์ดอกไม้ บัวรดน้ำแบบฝอยละเอียด
Tumblr media
การเพาะเมล็ด
           ทำการผสมพีทมอสกับสารเคมีกันเชื้อรา Propamocarb hydrochloride (อัตรา 0.4 ซี.ซี ต่อน้ำ 1 ลิตร) คลุกเคล้าให้เข้ากันสังเกตวัสดุเพาะจับตัวเป็นก้อนและมีน้ำซึมตามร่องนิ้วเล็กน้อย ใส่วัสดุเพาะลงในตะกร้าหนาประมาณครึ่งนิ้ว ปาดผิวหน้าวัสดุเพาะให้เรียบ พ่นน้ำให้ชุ่ม ใช้ไม้บรรทัดเกลี่ยผิววัสดุให้เรียบ ทำร่องรูปตัววีลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างร่อ��ประมาณ 3 เซนติเมตร ทำการหว่านในตะกร้าให้กระจายอย่าให้ติดกันเป็นกระจุกเพราะจะยากต่อการย้ายลงถาดเพาะ ย้ายไปไว้ในทีพรางแสง 80–90% พ่นน้ำฝอยละเอียด และอย่าปล่อยให้วัสดุแห้งจะทำให้เมล็ดไม่งอกได้ ในระยะนี้จะใช้เวลประมาณ 4–5 วันในการงอก เมื่อต้นกล้ามีใบเลี้ยง 1 คู่แล้วซึ่งจะใช้ระยเวลาประมาณ 7–8วัน จึงทำการย้ายต้นกล้าลงถาดเพาะต่อไป
Tumblr media
การย้ายปลูก
           หลังจากย้ายลงถาดเพาะได้ประมาณ 12–15 วัน หรือต้นกล้ามีใบจริง 2 คู่ใบขึ้นไป หรือให้สังเกตดูปริมาณรากว่าหุ้มกับวัสดุเพาะดีแล้ว ควรย้ายปลูกในช่วงเย็น ( แดดอ่อนๆ) เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำของต้นกล้าส่งผลให้ต้นกล้ามีการตั้งตัวได้ดีหลังการย้ายปลูก ดึงต้นกล้าเบา ๆ พร้อมดินหุ้มรากให้มากที่สุด ตุ้มไม่แตก เพื่อรากจะได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด นำต้นกล้าลงในถุงพลาสติก หรือกระถาง โดยการเจาะหลุมดินให้ลึกและกว้างพอกับดินที่หุ้มรากมา ปลูกในหลุมที่กว้างพอดีกับดินที่หุ้มรากมา และควรปลูกให้ใบจริงอยู่ใกล้ระดับดินมากที่สุด 6. ดูแลการให้น้ำ และ��ดน้ำให้ชุ่ม
Tumblr media
ดินปลูกสำหรับปลูกลงแปลง
           ไถพรวนและพลิกหน้าดินตากไว้ประมาณ 7–10 วัน เพื่อกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นให้ทำการไถคราดเพื่อกำจัดวัชพืชออกให้หมดและทำให้ดินร่วนซุย ให้รากพืชเดินได้สะดวกเหมาะสำหรับการปลูก ถ้าดินมีปัญหาโดยมีค่าความเป็นกรด ด่าง น้อยกว่า 6. 5 ควรเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพ pH ของดิน อัตรา 100–300 กก./ไร่ ในขณะใส่ปูนขาวดินควรมีความชื้นเพื่อให้ปูนทำปฏิกิริยากับดินได้ดียิ่งขึ้น และปล่อยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ ผสมปุ๋ยสูตร 15–15–15 รองพื้น ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และเพิ่มแร่ธาตุในดิน
Tumblr media
การดูแลรักษา
           การให้น้ำ ควรรดน้ำทุกวันในตอนเช้าหรือเย็น หากรดน้ำในเวลาเย็นควรให้น้ำ ที่ค้างอยู่บนใบแห้งก่อนพระอาทิตย์ตกดิน และเมื่อมีดอกบาน อย่ารดน้ำให้ถูกดอกเพราะอาจทำให้ดอกช้ำหรือเน่าได้ การให้น้ำควรให้สภาพดินชุ่มสลับแห้ง ไม่ควรให้ชุ่มตลอดเวลา เพราะอาจเป็นสาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า และทำให้ระบบรากไม่พัฒนา ส่งผลให้ต้นแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์ สามารถสังเกตสีของดินหรือวัสดุเพาะ หากมีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม แสดงว่าดินยังชุ่ม��รือมีน้ำอยู่ เมื่อดินเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลอ่อน แห้งแข็ง แสดงว่าดินขาดน้ำ
Tumblr media
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
สารภ���
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร สารภี ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น สารภีแนน,สารปี (ภาคเหนือ),สร้อยภี(ภาคใต้),ทรพี(ภาคตะวันออก,จันทบุรี) ชื่อวิทยาศาสตร์  Mammea siamensis (Miq.) T. Anderson ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Calysaccion siamense Miq. ชื่อสามัญ  Negkassar วงศ์  CALOPHYLLACEAE
Tumblr media
ลักษณะของต้นสารภี
           ต้นสารภี จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางไม่ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือก��ำต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาลถึงดำ แตกล่อนเป็นสะเก็ดตลอดทั่วลำต้น เปลือกในเป็นสีน้ำตาลแดง มียางสีครีมหรือสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย ส่วนเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนแดง เนื้อละเอียด เสี้ยนตรง ถี่และสม่ำเสมอ แข็ง และค่อนข้างทนทาน สามารถเลื่อย ผ่า และไสกบตบแต่งได้ง่าย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง ปลูกได้ดีทั้งในที่ร่มรำไรและที่กลางแจ้ง ปลูกได้ในดินทุกสภาพ ชอบดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดงดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 20-400 เมตร ใบสารภี มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับหรือเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนกว้าง ๆ บางทีอาจมีติ่งสั้น ๆ หรือหยักเว้าแบบตื้น ๆ โคนใบสอบเรียว
Tumblr media
           ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีความกว้างประมาณ 2.5-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7.5-25 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเกลี้ยงสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบจะสีอ่อนกว่า เนื้อใบหนาและค่อนข้างเรียบ เส้นแขนงของใบไม่มี แต่เห็นเส้นใบย่อยเป็นแบบเส้นร่างแหชัดทั้งสองด้าน และมีก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ดอกสารภี ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ดอกมีกลีบดอก 4 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก รังไข่มี 2 ช่อง ในแต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวน 2 ปลาย หลอดรังไข่แยกเป็นแฉก 3 แฉก โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ผลสารภี ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวยหรือกลมรี ขนาดประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองอมส้ม เนื้อผลนิ่ม ผลเมื่อแก่จะแตกออกได้ และมีเมล็ดเดียว โดยจะเป็นผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
Tumblr media
ประโยชน์ของสารภี
           ผลสารภีมีรสหวาน ใช้รับประทานเป็นผลไม้ และยังเป็นอาหารของนกได้อีกด้วย นอกจากจะใช้ผลรับประทานเป็นผลไม้แล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ เช่น ทำน้ำผลไม้ การทำไวน์ ทำแยม เป็นต้น ดอกตูมของสารภีใช้สกัดทำสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีแดง ต้นสารภีมีเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ ใช้ปลูกเพื่อให้ร่มเงาและบังลมได้ อีกทั้งยังมีดอกและพุ่มใบที่สวยงาม จึงใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ด้วยคนไทยโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นสารภีไว้ประจำบ้านจะส่งผลให้มีอายุยืนยาวเหมือนเช่นต้นสารภี เพื่อความเป็นสิริมงคลผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ (โบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาคุณให้ปลูกในวันเสาร์) และควรปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อจะช่วยป้องกันเสนียด���ัญไร ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ผู้ปลูกควรเป็นสุภาพสตรี เนื่องจากสารภีเป็นชื่อที่เหมาะสำหรับสตรีดอกแห้งใช้ทำเป็นน้ำหอม โดยเพิ่มดอกคำฝอย ส้มป่อยเผา นำมาแช่ในน้ำจะได้น้ำหอมสำหรับไว้ใช้เป็นน้ำสรงพระในเทศกาลสงกรานต์
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดสารภี
           สารภีจัดเป็นไม้ประจำถิ่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศต่างๆในแถบนี้ เช่น พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยมักพบได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศแต่ส่วนมาก มักจะพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดงดิบทางภาคเหนือ ป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง ทางภาคตะวันออก ส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้มักจะพบที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 20-400 เมตร 
Tumblr media
การขยายพันธุ์สารภี
           สารภีสามารถขยายพันธ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง โดยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่งสามารถทำได้เหมือนการเพาะเมล็ดและตอนกิ่งพืชทั่วๆไป เมื่อได้ต้นกล้าหรือกิ่งตอนที่พร้อมปลูกแล้วให้ปลูกในขนาดระยะ 50x50x50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดินร่วน ในอัตรา 1:3 ผสมดินปลูก ทั้งนี้สารภีเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบดินร่วนซุยและต้องการปริมาณน้ำปานกลาง และต้องการแสงแดดอ่อนๆ ดังนั้นควรให้น้ำ 4-5 วัน/ครั้ง และควรปลูกในที่ร่มรำไร หรือที่ ๆ แดดไม่จัดมาก
Tumblr media
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
สะเดา
ชื่อสมุนไพร สะเดา ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น สะเดาบ้าน (ภาคกลาง),สะเลียม (ภาคเหนือ),ต้นกะเดา (ภาคอีสาน) , เดา , กระเดา (ภาคใต้) , ตะหม่าเหมาะ (กะเหรี่ยง) , ผักสะเลม (ไทยลื้อ) ชื่อวิทยาศาสตร์  Azadirachta indica A. Juss. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์   Azadirachta indica A. Juss. Var. Siamensis Valeton,Azadirachta indica var. siamensis Valeton, Melia azadirachta L. ชื่อสามัญ  Neem,Margosa,Neem tree, Indian margosa วงศ์ MELIACEAE
Tumblr media
ลักษณะของสะเดา
           ต้นสะเดา เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-25 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบตลอดปี มีรากที่แข็งแรง กว้างขวาง และหยั่งลึก เปลือกของลำต้นค่อนข้างหนา มีสีน้ำตาลเทาหรือสีเทาปนดำ ผิวเปลือกแตกเป็นร่องตื้น ๆ หรือเป็นสะเก็ดยาว ๆ เยื้องสลับกันไปตามความยาวของละต้น ส่วนเปลือกของกิ่งมีลักษณะค่อนข้างเรียบ และเนื้อไม้มีสีแดงเข้มปนสีน้ำตาล เสี้ยนค่อนข้างสับสนเป็นริ้ว ๆ แคบ เนื้อหยาบ เป็นมันเลื่อม มีความแข็งแรงทนทาน ส่วนแกนไม้มีสีน้ำตาลแดง มีความแข็งแรงและทนทานมาก ใบสะเดา ใบมีสีเขียวเข้มหนาทึบ เมื่ออ่อนมีสีแดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาวประมาณ 15-35 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 4-7 คู่ ใบย่อยติดตรงข้ามหรือกิ่งตรงข้าม ลักษณะใบเป็นรูปใบหอกกึ่งรูปเคียวโค้ง กว้างประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยวเห็นชัดเจน
Tumblr media
           ส่วนปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ขอบใบเป็นจักคล้ายฟันเลื่อย ค่อนข้างเกลี้ยง มีเส้นใบอยู่ประมาณ 15 คู่ ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ใบที่อยู่ปลายช่อจะใหญ่สุด ส่วนก้านใบยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร ผิวก้านค่อนข้างเกลี้ยง มีต่อม 1 คู่ที่โคนก้านใบ[4] ในพื้นที่แล้งจัด ต้นจะทิ้งใบเฉพาะส่วนล่าง ๆ ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม และใบใหม่จะผลิขึ้นมาในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน ซึ่งช่วงนี้ต้นสะเดาจะแทงยอดอ่อนพุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เมล็ดสะเดา เมล็ดมีลักษณะกลมรี ผิวเมล็ดค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามยาวสีเหลืองซีดหรือเป็นสีน้ำตาล ในน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จะมีเมล็ดประมาณ 4,000 เมล็ด ซึ่งในเมล็ดจะมีน้ำมันอยู่ประมาณ 45%[1] (ในเมล็ดมีน้ำมันขม Margosic acid 45% หรือเรียกว่า Nim oil และมีสารขม Nimbin)
Tumblr media
           ดอกสะเดา ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ตามง่ามใบหรือตามมุมที่ร่วงหลุดไปและที่ปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือสีเทา ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ แกนกลางของช่อมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ลักษณะค่อนข้างเกลี้ยง แตกกิ่งกางออกเป็น 2-3 ชั้น ที่ปลายเป็นช่อกระจุกอยู่ 1-3 ดอก มีขนคล้ายไหม มีใบประดับและใบประดับย่อยเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร มีขนนุ่มและสั้น ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนนุ่มสั้นเช่นกัน ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นรูปทรงแจกัน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปลายเป็นพู 5 พูกลม พูซ้อนเหลื่อมกัน กลีบดอกมี 5 กลีบแยกออกจากกัน ลักษณะเป็นรูปช้อนแคบ ยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร มีขนนุ่มสั้นขึ้นทั้งสองด้าน
Tumblr media
           ท่อเกสรตัวผู้เกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม มีสัน 10 สัน ขอบบนเป็นพูกลม 10 พู มีอับเรณู 10 อัน ยาวประมาณ 0.8 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปรีแคบ ส่วนรังไข่เกลี้ยงหรือมีขนนุ่มสั้น[4] มักจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม[1] (ในช่อดอกมีสารจำพวกไกลโคไซด์ Nimbasterin 0.005% และมีน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5% นอกจากนี้ยังพบว่ามีสาร Nimbecetin, Nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม ผลสะเดา ลักษณะของผลจะคล้ายผลองุ่น ผลมีลักษณะกลมรี ขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว มีรสหวานเล็กน้อย ผลจะสุกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะสุกเร็วกว่าภาคกลาง เป็นต้น
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดสะเดา
           ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของสะเดาอยู่ในบริเวณประเทศพม่าและประเทศอินเดียแล้วมีการกระจายพันธุ์ไปในป่าแล้งแถบในประเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย สำหรับในประเทศไทยมีเขตการกระจายตามธรรมชาติเป็นป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วประเทศ  ทั้งนี้ในสภาพธรรมชาติไม้สะเดายังสามารถเจริญงอกงามในท้องถิ่นที่ มีอากาศร้อนชื้น ที่มีอุณหภูมิสูงได้ถึง 44 องศาเซลเซียส ที่ระดับความสูง 50 – 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล และสามารถขึ้นได้ในสภาพดินที่มีความแห้งแล้งดินหิน และดินเหนียว
Tumblr media
การขยายพันธุ์สะเดา
           การขยายพันธุ์ของไม้สะเดาสามารถทำได้ 2 วิธีคือ แบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศดังนี้ การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ  เป็นการขุดหน่อที่แตกจากรากต้นสะเดามาชำในแปลงเพาะจนตั้งตัวได้แล้วนำลงชำในถุงพลาสติกที่ได้เตรียมดินไว้แล้ว  หรือทำโดยการตัดรากที่ขุดจากแม่ไม้สะเดาเป็นท่อนๆ  ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร มีขนาดโตของเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.3 ถึง 0.5 เซนติเมตร ชำลงในแปลงเพาะชำและรดน้ำให้ชุ่มประมาณ 1 เดือน เมื่อหน่อแตกออกมาแล้วย้ายชำลงในถุงพลาสติก ก็จะได้กล้าไม้ที่โตได้ขนาดเพื่อนำไปปลูกในพื้นที่
Tumblr media
           การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ เป็นการเตรียมกล้าไม้โดยการเพาะเมล็ด  ซึ่งเมล็ดสะเดาไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน  ดังนั้นเมื่อเก็บเมล็ดมาแล้วควรรีบเพาะทันที่  เพราะถ้าเก็บไว้นานจะสูญเสียเปอร์เซ็นต์การงอกไป การปลูก  ควรปลูกโดยวิธีจัดเตรียมกล้าไม้ในเรือนเพาะชำแล้วย้ายไปปลูก  สำหรับขนาดของกล้าไม้ที่เหมาะในการย้ายปลูกต้องมีอายุประมาณ  4-5 เดือน หรือ  สูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร และควรเลือกปลูกหลังจากวันที่ฝนตกหนัก โดยเว้นระยะปลูก 2x4 หรือ 4x4 ก็ได้
Tumblr media
สรรพคุณของสะเดา
           ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก, ใบ, ผล) ช่วยบำรุงธาตุไฟ ขับน้ำย่อยอาหารทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น (ใบ, แก่น) ช่วยบำรุงโลหิต (ใบ, แก่น) น้ำตาลที่ได้จากการหมักน้ำจากลำต้นมีแร่ธาตุ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ลำต้น) ช่วยบำรุงและรักษาสายตา โดยพบว่าผู้ที่รับประทานยอดสะเดาตั้งแต่เด็ก เมื่ออายุ 90 กว่า สายตายังดีมาก (ยอดอ่อน) ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ด้วยการใช้ช่อดอกนำมาลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวานหรือน้ำพริก หรือจะใช้เปลือกสดประมาณ 1 ฝ่ามือนำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว
Tumblr media
           ใช้รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว (ผลอ่อน, ลำต้น, เปลือกต้น, เปลือกราก, ราก, ใบอ่อน, ดอก) ช่วยแก้กษัยหรือโรคซูบผอม ผอมแห้งแรงน้อย (เปลือกต้น) ช่วยรักษาโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเอดส์ เนื่องจากการรับประทานใบสะเดาเป็นอาหารจะช่วยทำให้เจริญอาหาร ลดอาการเบื่ออาหารหรือกินอาหารได้น้อยแล้วทำให้ซูบผอมจนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน (ใบ) ช่วยลดความเครียด โดยมีผลการทดลองในหนู ระหว่างกลุ่มที่ได้รับน้ำใบสะเดาคั้นและกลุ่มที่รับยา Diazepam (valium) ซึ่งเป็นยาลดความกังวล ผลการทดลองพบว่าสะเดาส่งผลได้ดีเท่ากับหรือดีกว่ายา diazepam (valium) (ใบ)
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
มะม่วงหาว มะนาวโห่
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร  มะม่วงหาวมะนาวโห่ ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น  มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ , มะนาวไม่รู้โห่ , หนามแดง (ภาคกลาง) , หนามขี้แฮด (เชียงใหม่) , มะนาวโห่ (ภาคใต้) ชื่อวิทยาศาสตร์    Carissa carandas L. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Carissa congesta Wight. ชื่อสามัญ  Karanda, Carunda ,Christ’s thorn , Bengal Currants. วงศ์  APOCYNACEAE
Tumblr media
ลักษณะทั่วไปมะม่วงหาว มะนาวโห่
           มีลักษณะเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ต้นขนาดเล็ก เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีสีเขียวตลอดปี มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คือ ลำต้น : สูง 2-3 เมตร แต่อาจสูงถึง 5 เมตร มียางขาว เปลือกมีสีเทาอ่อน กิ่ง: มีกิ่งจำนวนมาก กิ่งมีลักษณะแข็ง และกระจายไปทั่วต้น การแตกกิ่งจะแตกออกเป็น 2 กิ่งตรงคู่กัน มีหนามทั้งแบบหนามเดี่ยว หรือเป็นคู่ อาจยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร หนามจะพบบริเวณมุมใบ หรือตามข้อของกิ่ง กิ่งแขนงมักจะมีหนามที่แข็งและคม ใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปไข่ ไม่มีหูใบ กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายมน หรือเว้าบุ๋ม มีก้านในเดี่ยว เส้นใบเป็นแบบร่างแห ผิวใบเรียบ เป็นมัน มีสีเขียวเข้ม หรือสีเขียวอมเทา
Tumblr media
           ช่อดอก: ออกเป็นช่อตามซอกใบ มีลักษณะเรียงเป็นแบบช่อเชิงหลั่นเป็นกระจุกกันอยู่ ใบประดับตรง ดอก: ดอกมีกลิ่นหอม (คล้ายดอกมะลิ) ขนาด ยาวประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว หรือสีชมพู รวมกันเป็นช่อ 2-3 ดอก ไม่มีใบประดับย่อยมีก้านดอกย่อย เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกสมมาตรตามรัศมี มีกลับดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กมีลักษณะเป็นขน โคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 16-21.5 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีขนสั้นขนาดเล็ก วงกลีบดอก: กลีบดอกเชื่อมกัน 5 กลีบเป็นวง เป็นรูปใบหอก สีขาว มีขนสั้นขนาดเล็กนุ่ม หลอดมีลักษณะยาว และขยายตรงฐานรองดอก มีขนสั้นนุ่มเช่นเดียวกัน เกสรตัวผู้: มีละอองเกสรตัวผู้จำนวนมากปลายยอดเกสรตัวผู้มีรยางค์ อับเรณูติดอยู่ตรงฐานมีลักษณะหันเข้า อับเรณูแตกทางยาว เกสรตัวเมีย:มี 1 อัน
Tumblr media
           รังไข่มีลักษณะกลมรี มีวงเกสรตัวเมีย 2 วงเชื่อมกันอยู่ รังไข่เป็น syncarpous มีหลาย locule placenta อยู่ที่แกนกลาง (axis) ของรังไข่ มี carpel และ locule 2 อัน ยอดเกสรตัวเมียมีลักษณะเป็นเส้นใยปลายแยกเป็น 2 แฉก ผล: ผลไม้ที่มีเนื้อสด (fleshy fruit) มี pericarp เป็นเนื้อนุ่มรับประทานได้ ผลเป็นแบบ drupe (ผลไม้ที่มีเมล็ดแข็ง) ลักษณะรูปไข่ ขนาดกว้าง 12-17 มิลลิเมตร ยาว 15-23 มิลลิเมตร ผลเป็นผลเดี่ยวออกรวมกันเป็นช่อ ผลอ่อนจะมีสีชมพูอ่อนๆ และค่อยๆเข้มขึ้นเป็นสีแดง กระทั่งสุกจึงกลายเป็นสีดำ มีรสชาติเปรี้ยวคล้ายมะนาว เมล็ด: เมื่อผลสุกจะมี 2-4 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน รูปไข่ เอนโดสเปิร์มเป็นแบบเนื้อ (fleshy endosperm) มีลักษณะเว้า
Tumblr media
ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่
           มะม่วงหาวมะนาวโห่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอย (ผล) ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (แก่น) แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้) เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย (ผล) ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก) มีส่วนช่วยลดความอ้วน (ผล) ช่วยขยายหลอดเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล) มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล) ธาตุเหล็กในผลมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล) มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล) ช่วยรักษาโรคปอด (ผล) ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ได้ดีมาก (ผล) ช่วยรักษาโรคไต (ผล) บรรเทาอาการของโรคตับ อย่างโรคตับแข็ง (ผล) ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
Tumblr media
           ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไทรอยด์ (ผล) ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล) ในบังคลาเทศใช้ใบรักษาโรคลมชัก (ใบ) มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มือเท้าชา (ผล) ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้) ช่วยบำรุงธาตุ (ราก, แก่น, เนื้อไม้) ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น, เนื้อไม้) ช่วยแก้ไข้ รวมถึงไข้มาลาเลีย (ราก, ใบ) ช่วยดับพิษร้อน (ราก) ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ (ผล) ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ผล) ช่วยขับเสมหะ (ผล) มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน แก้อาการเจ็บคอ เจ็บในปาก (ใบ)
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดมะม่วงหาวมะนาวโห่
           มะม่วงหาว มะนาวโห่เป็นผลไม้ในกลุ่มเบอร์รี่ชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดอยู่แถบ Himalayas แต่นักพฤกษศาสตร์บางท่านบอกว่ามีถิ่นกำเนิดแถบ Java มะนาวโห่มีการกระจายตัวตั้งแต่เนปาลไปจนถึงอัฟกานิสถาน และพบได้ในหลายๆ พื้นที่ในประเทศอินเดีย มีการกระจายตัวในเขตอบอุ่นของประเทศอินเดีย และศรีลังกา  โดยธรรมชาติเจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 300 ถึง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล รวมไปถึง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกา พม่า จีน และไทย  ส่วนในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ส่วนในปัจจุบันค่อนข้างหามารับประทานได้ยาก เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้มีหนาม หลายคนไม่รู้สรรพคุณจึงฟันทิ้งกันไปมาก นอกจากคนที่รู้เท่านั้นที่นำมาปลูกไว้ สำหรับคนโบราณแล้วผลไม้ชนิดนี้ถือว่ามีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณที่หลากหลาย
Tumblr media
0 notes
blockk44 · 3 years ago
Text
ผักเชียงดา
Tumblr media
ชื่อสมุนไพร  ผักเชียงดา ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น  ผักเชียงดา ผักเซ่งดา  ผักเจียงดา (ภาคเหนือ) ผักจินดา (ภาคกลาง) ผักว้น  ผักม้วนไก่  ผักเซ็ง  เครือจันปา (ภาคอื่น ๆ ) ชื่อวิทยาศาสตร์   Gymnema inodorum (Lour.) Decnr. ชื่อสามัญ  Gymnema วงศ์   Asclepiadaceae
Tumblr media
ลักษณะของผักเชียงดา
           ต้นผักเชียงดา จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา นิยมปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อนำยอดไปประกอบอาหาร[1],[2],[3] ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน และแอฟริกา ใบผักเชียงดา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปกลมรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-11 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14.5-18.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า ผิวใบเรียบไม่มีขน ก้านใบยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร ดอกผักเชียงดา ออกดอกเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผลผักเชียงดา ออกผลเป็นฝัก
Tumblr media
การขยายพันธุ์ผักเชียงดา
           ผักเชียงดาขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและปักชำแต่นิยมขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง มากกว่าผักเชียงดาเจริญเติบโตได้ในดินร่วนที่มีการระบายน้ำได้ดี โดยในฤดูฝนจะให้ผลผลิตมากกว่าฤดูอื่นๆ ส่วนวิธีการขยายพันธุ์ผักเชียงดามีดังนี้ การเตรียมต้นกล้าที่จะทำการขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งคู่ใบที่ 4 - 5 ขึ้นไป สีของกิ่งเป็นสีเขียวมีความยาวกิ่งประมาณ 2 - 4 นิ้ว ใช้ 1 – 2 ข้อต่อ 1 ต้น นำมาแช่ในน้ำยาเพิ่มรากและยากันราประมาณ 5 นาที และผึ่งทิ้งไว้ให้หมาด ๆ แล้วปักลงในกระถาง หรือถุงดำขนาด 8 x 12 นิ้ว หรือในแปลงพ่นหมอกที่มีวัสดุชำ คือ ถ่านแกลบ ผสมทราย หรือถ่านแกลบอย่างเดียว ปักชำทิ้งไว้ประมาณ 45 วัน เมื่อมีรากขึ้นย้ายลงถุงชำที่ใส่ดินขนาด 4 x 7 นิ้ว นำไปไว้ในเรือนเพาะชำอีกประมาณ 45 วัน จึงย้ายกล้าลงปลูกในแปลงใหญ่ต่อไป การเตรียมดิน การเตรียมดินเป็นการช่วยกำจัดวัชพืช และถือเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกผักเชียงดาเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง การเตรียมดินที่ดีควรมีการไถดะ และทิ้งตากดินไว้ 5-7 วัน ๆ จากนั้นจึงไถแปร 1 – 2 ครั้ง เพื่อย่อยดินให้แตกละเอียดไม่เป็นก้อนใหญ่ ก่อนการทำร่องหรือแถวปลูกควรมีการหว่านปุ๋ยคอก
Tumblr media
           อัตราประมาณ 1 ตันต่อไร่ก่อนการไถแปร เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นสามารถอุ้มน้ำได้นานขึ้น และยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน ถ้าดินมีค่าความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5 ให้หว่านปูนขาวอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ การปลูก เตรียมแปลงปลูกขนาด 1 x 1.5 เมตร (ความยาวแล้วแต่พื้���ที่) ใช้ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น จ้านวนต้นต่อไร่ประมาณ 4,200 ต้น ปลูกเป็นแถวคู่ ให้น้ำ 3 – 5 วันต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและความชื้นในดิน ควรรองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักอัดเม็ดประมาณครึ่งกระป๋องนมข้น คลุกดินก่อนท้าการปลูกและหลังจากปลูกเสร็จ ให้ใช้วัสดุคลุมดิน ซึ่งวัสดุที่ใช้สำหรับคลุมดิน สามารถน้��เอาวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตรเช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว แกลบดิบ มาใช้ได้ นอกจากจะเป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินแล้วดินยังช่วยรักษาความชื้นของดิน ป้องกันวัชพืช และยังสลายกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินอีกด้วย
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดผักเชียงดา
           ผักเชียงดาเป็นพืชที่พบได้ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น อินเดีย พม่า ศรีลักา และทางภาคเหนือของไทย สำหรับประเทศไทยผักเชียงดาจะพบได้ในบริเวณภาคเหนือ ที่มีอากาศหนาว ซึ่งมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่พบมากก็คือ ผักเชียงดาในสายพันธุ์Gymnema inodorum ซึ่งในภาคเหนือนั้นผักเชียงดา เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา นิยมปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อนำยอดไปประกอบอาหาร  ส่วนในต่างประเทศมีรายงานว่าพบผักเชียงดาในประเทศที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน และแอฟริกา
Tumblr media
สรรพคุณของผักเชียงดา
           ผักเชียงดามีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง และการเสียของ DNA ข้ออักเสบรูมาตอยด์และเกาต์ ผักเชียงดามีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ และชาวบ้านยังนิยมกินผักเชียงดาหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายอีกด้วย หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดจะใช้ผักเชียงดาเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการทำงาน ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย
Tumblr media
           ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนำผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทานจากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้ หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน
Tumblr media
1 note · View note