#กสทโทรคมนาคม
Explore tagged Tumblr posts
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
my by CAT ขยายเวลา เน็ตไม่อั้น 8 Mbps วันละ 19 บาท
Tumblr media
my by CAT บริการโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต 4G และ 3Gจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำกระแสตอบรับแพ็กเกจ “เน็ตไม่อั้น” เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่สายโซเชียลให้เล่นอินเทอร์ เน็ตไม่อั้น ทั้งวัน ไม่ลดสปีด ด้วยการต่ออายุแพ็กเกจเสริมให้สมัครใช้งานกันได้ยาวๆ โดยมีสปีดความเร็ว แรง ให้เลือกใช้ตามต้องการตั้งแต่ 1 Mbps ในราคาเริ่มต้นเพียงวันละ 19 บาท, 4 Mbpsราคา 25 บาทต่อวัน, 6 Mbps ราคา 29 บาทต่อวัน และโปรโมชั่นสุดคุ้มกับความเร็ว 8 Mbps ในราคาเพียง 35 บาทต่อวัน นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกได้ทั้งแบบรายสัปดาห์ รายเดือน และเหมาจ่าย 6 เดือนอีกด้วย ลูกค้า my สามารถสมัครใช้บริการได้ทั้งแบบเติมเงินและรายเดือน ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 เมษายน2562 ลิงค์​ที่​เกี่ยวข้อง​ กสท โทรคมนาคม Read the full article
1 note · View note
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
CAT นำเสนอศักยภาพการให้บริการโครงข่ายระหว่างประเทศ
Tumblr media
พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ร่วมงานสัมมนาผู้บริหารสูงสุดรัฐวิสาหกิจ (SOE CEO Forum) ครั้งที่ 3 ประจำปี 2562 โดยมี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนา��กรัฐมนตรี เป็นประธาน ทั้งนี้ CAT ได้ร่วมนำเสนอโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ กิจกรรมที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ สู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศสามารถก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางอินเทอร์เน็ตของภูมิภาคอาเซียนได้อย่างเต็มศักยภาพ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT Read the full article
1 note · View note
thereporterasiastuff-blog · 5 years ago
Text
CAT รีแบรนด์ใหม่ใส่ใจตั้งแต่ดีเอ็นเอของ พนักงาน
Tumblr media
CAT ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ครั้งใหญ่ผ่านแท็กไลน์ Catalyse Achievement through Technology มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยียุคใหม่ ช่วยเสริมศักยภาพการทำงานของ พนักงาน ตอบสนองผู้ใช้บริการให้ประสบความสำเร็จ สามารถดำเนินธุรกิจได้รวดเร็ว ยืดหยุ่น และน่าเชื่อถือ พร้อมก้าวสู่การให้บริการในรูปแบบ B2B2C เพื่อนำเทคโนโลยีให้บริการกับลูกค้าทั่วไปได้มากยิ่งขึ้น ประเดิมด้วยการเปลี่ยนยูนิฟอร์ม พนักงาน ใหม่ ควบคู่กับการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และได้ดำเนินการปรับภาพลักษณ์องค์กรครั้งแรกในปี 2551 ซึ่งการปรับภาพลักษณ์องค์กรใหม่ครั้งล่าสุดนี้เพื่อให้สอดรับกับทิศทางการดำเนินธุรกิจและการให้บริการ โดยสะท้อนได้จากแบรนด์แท็กไลน์ใหม่คือ ขับเคลื่อนทุกความสำเร็จด้วยเทคโนโลยีหรือ Catalyse Achievement through Technology ที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปเป็นส่วนสำคัญในการช่วยผลักดันธุรกิจของผู้ใช้บริการและพันธมิตรธุรกิจให้มีศักยภาพในการแข่งขันและการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น "การปรับภาพลักษณ์แบรนด์ในครั้งนี้ CAT ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่กลางปี 2561 ที่ผ่านมา ด้วยกระบวนการรับฟังเสียงจากภายนอก ทั้งจากลูกค้าทั่วไป หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน พันธมิตรในธุรกิจ สื่อมวลชน และบุคลากรภายในเองทำให้ CAT ปรับสู่การสร้างความเป็นแบรนด์ไปยังทุกคนในองค์กรให้แสดงออกและสื่อสารแบรนด์ออกไปยังจุด Touch Point ต่าง ๆ ในธุรกิจมากขึ้น โดยปลูกฝัง DNA ให้ทุกคนเป็น C-A-T-A-L-Y-S-T ซึ่งแต่ละตัวอักษรมีความหมาย" ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและบริการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า ที่ผ่านมา CAT เป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำของชาติที่มีภาพของความมั่นคง ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมด้วยบริการโครงสร้างพื้นฐานอย่างเคเบิลใต้น้ำรายเดียวในประเทศที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปยังทั่วโลกได้ แต่ในความเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งภาพรวมอาจจะยังคงดูไม่คล่องตัวในสายตาลูกค้ามากนัก โดยเฉพาะในเรื่องการให้บริการเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการเอกชน ในวันนี้การสร้างแบรนด์ไม่ใช่แค่การปรับเปลี่ยนองค์ประกอบเกี่ยวกับโลโก้หรือภาพลักษณ์ภายนอกเท่านั้น แต่เราทำตั้งแต่การสร้างแบรนด์ดีเอ็นเอ���ห้กับพนักงานทุกคน ปรับเปลี่ยนวิธีคิดจากการทำแต่ Product Branding ไปเป็นการสร้าง Customer Branding ด้วย เพื่อให้การเข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มมากขึ้น เราเห็นว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ได้สนใจสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ อาจไม่ได้ต้องการรับรู้ว่าใครอยู่เบื้องหลังการใช้งานบนเบราว์เซอร์หรือแอปพลิเคชันบนมือถือ แต่ลูกค้าจะเน้นไปที่การใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้นดีขึ้น และช่วยให้สิ่งที่ต้องการทำประสบความสำเร็จตามต้องการ ทั้งนี้ CAT ได้สร้าง Commitment ความเป็น CATALYST ร่วมกันและจะถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ประกอบไปด้วยภาพที่ลูกค้าจะมองเห็น CAT ได้แก่ C คือ Customer Centric ที่หมายถึงการมุ่งความสำเร็จของลูกค้าเป็นสำคัญ, A หรือ Agility หมายถึงความพร้อมปรับเปลี่ยนและให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว, T แทน Trustworthy คือการรักษาคำพูด การสร้างความน่าเชื่อถือขององค์กร ส่วนสิ่งที่เราจะมุ่งปฏิบัติเพื่อให้บุคคลภายนอกรับรู้ได้ว่าเป็นเรา ได้แก่ A หรือ Advocacy ความทุ่มเทให้กับองค์กรและการให้บริการลูกค้า, L มาจาก Leadership ที่เน้นการกล้าสอนกล้านำให้ทีมสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่, Y บ่งบอกถึง Young at Heart ที่จะต้องมีความพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ, S แทน Skill การสร้างประสบการณ์ความรู้เพื่อความเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ และ T ก็คือTeamworkการทำงานเป็นทีมที่ผสมผสานให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า ดร.ดนันท์ กล่าวว่า ด้วยความเป็นผู้ให้บริการในกลุ่มลูกค้าภาครัฐ ภาคธุรกิจเป็นกลุ่มหลัก ทำให้เราต้องพยายามเชื่อมโยงไปสู่ผู้บริโภคด้วยการตลาดแบบ B2B2C โดยเน้นการนำเทคโนโลยีที่จะส่งต่อไปถึงลูกค้าของผู้ประกอบการที่ใช้บริการของเราอีกต่อหนึ่ง และสิ่งที่ประชาชนทั่วไปจะได้สัมผัสมากขึ้นในช่วงต่อจากนี้คือการใช้บริการหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐที่จะมีการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและภาคเอกชนมากขึ้น โดยการให้บริการต่างๆเหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงระบบไอทีอยู่บนเครือข่าย Cloud ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงของ CAT ตามโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ หรือ Government Data Center and Cloud Service ที่เริ่มรู้จักกันในชื่อ GDCC อีกทั้งเรายังมีการจัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อนำเสนอเทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามากขึ้น อย่างในเดือนกันยายนนี้เราจะมีจัดงานวิ่งมินิมาราธอน CAT 10K Thailand Championship 2019 ซึ่งจะมีการนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในกิจกรรมส่วนต่าง ๆ ทำให้ผู้ร่วมงานได้รับประสบการณ์ที่สนุกสนานแปลกใหม่ในแ��บดิจิทัลไลฟ์สไตล์ "สำหรับช่องทางในการสื่อสารแบรนด์ออกไปสู่ภายนอก พนักงานจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการผลักดันและสื่อสารแบรนด์ผ่านจุด Touch Point ต่าง ๆ ทั้งเรื่องของการพบปะ ติดต่อ ประสานงาน ให้บริการแก่ลูกค้า พันธมิตรธุรกิจ หรือแม้แต่การแสดงออกต่อผู้พบเห็นทั่วไป ซึ่งจากการสร้างแบรนด์ดีเอ็นเอ CATALYST จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมและรูปแบบในการทำงานแบบใหม่ ที่พร้อมจะขับเคลื่อนและแสดงภาพลักษณ์ที่ดีออกไปสู่ภายนอก" นอกจากนี้ยังได้เปลี่ยนชุดยูนิฟอร์มของพนักงานใหม่ เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสิ่งแวดล้อมแบบใหม่ หลังจากก่อนหน้านี้ได้ย้ายอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันมากขึ้น มีความทันสมัย และทำให้คนรุ่นใหม่มองว่าเป็นองค์กรที่น่าร่วมงาน สำหรับการเปลี่ยนยูนิฟอร์มยังนำไปสู่การเป็น Customer Centric เนื่องจาก CAT เล็งเห็นว่าก่อนที่จะไปถึงลูกค้านั้น ต้องเริ่มจาก Employee Centric ก่อน ดร.ดนันท์กล่าวว่า สมัยก่อนชุดเอกลักษณ์เหมือนกันหมด แต่คนที่ใส่ต่างกัน จะทำอย่างไรพนักงานยังคงมีความเป็นเอกลักษณ์ แต่สวย ดูดี และยังเป็นตัวของตัวเอง เราจึงออกแบบชุดเอกลักษณ์ใหม่ให้มีความหลากหลาย เหมาะสมกับอายุและรูปร่างที่แตกต่างกัน พร้อมกับสะท้อนให้คนในองค์กรเห็นว่าการทำให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางนั้น ต้องสร้างบริการให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนและไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ซึ่ง CAT จะเปิดตัวยูนิฟอร์มใหม่ในเดือนสิงหาคมนี้ การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามเทคโนโลยีเปลี่ยนไป โดย CAT มีการประเมินสถานการณ์ ความต้องการของผู้บริโภค พันธมิตรธุรกิจ สภาพการแข่งขันโดยตลอด เพื่อปรับกลยุทธ์ให้สามารถขับเคลื่อนความสุขให้กับลูกค้าได้ ทั้งนี้ภาพการเป็นหน่วยงานภาครัฐในอดีตอาจจะไม่คล่องตัวในบางเรื่อง ด้วยเงื่อนไขหลายอย่างทั้งระบบระเบียบในการดำเนินงาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลากหลาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหน่วยงานภาครัฐจะให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วไม่ได้ในยุคนี้ "ภาพลักษณ์ใหม่ของ CAT จะต้องแสดงให้เห็นว่า CAT ไม่ใช่แค่องค์กรที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่เป็นองค์กรที่มีส่วนร่วมในการผลักดันธ��รกิจของผู้ใช้บริการ และพร้อมที่จะขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลและไทยแลนด์ 4.0 ในรูปแบบที่ผู้ใช้บริการสัมผัสได้ โดยปีนี้เรามีความภูมิใจที่ได้รับรางวัล 2019 Thailand Public Sector Digital Infrastructure Services Provider of the Year จาก Frost and Sullivan ซึ่งเป็นองค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกที่ได้พิจารณาว่า CAT เป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลที่มีความเข้าถึงความต้องการของลูกค้า และมีผลประกอบการที่ดี" ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 5 years ago
Text
CAT เดินหน้าสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำ 3 โครงการ
Tumblr media
CAT เดินหน้าสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำอย่างต่อเนื่องหลังได้รับมอบหมายจากกระทรวงดีอีให้ดำเนินการใน 3 โครงการย่อย ทั้งการขยายความจุโครงข่ายภายในประเทศเชื่อมโยงไปยังชายแดน ขยายความจุระบบโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ และโครงการใหม่การลงทุนก่อสร้างเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศระบบใหม่ เผยหากการดำเนินการเสร็จสิ้นทั้งระบบไทยจะเป็น ASEAN Digital Hub ตอนบน ด้านดีอีเผยกำลังดำเนินการปรับเงื่อนไขการบริหารพื้นที่ใน Digital Park Thailand ใหม่ หลังเงื่อนไขเก่าเอกชนไม่สนใจ พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า ความคืบหน้าโครงการยก��ะดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้รับมอบหมายจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ให้เป็นผู้ดำเนินการใน 3 โครงการย่อย ประกอบด้วย การขยายความจุโครงข่ายภายในประเทศเชื่อมโยงไปยังชายแดน เพื่อเชื่อมต่อประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมา ใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท รวมความจุที่ขยายเพิ่ม 2300 Gbps อยู่ระหว่างการทดสอบและติดตั้งอุปกรณ์ใน 151 สถานีทั่วประเทศ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ย.2562 การขยายความจุระบบโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศที่มีอยู่ในเส้นทางสิงคโปร์ จีน (ฮ่องกง) และสหรัฐอเมริกา ใช้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยรวมความจุที่ขยายเพิ่ม 1,770 Gbps ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ปลายปี 2561 และสามารถรองรับปริมาณทราฟิกทั้งประเทศ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 7,512 Gbps การลงทุนก่อสร้างเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศระบบใหม่เพื่อเชื่อมโยงไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไทย จีน เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ซึ่งเตรียมที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบและอยู่ในระหว่างดำเนินการ ภายใต้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีการลงนามในเอกสารข้อตกลงระหว่างภาคีสมาชิกภายในเดือน ก.ค.2562 และลงนามสัญญาจ้างภายในเดือน ส.ค.2562 ซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี และจะทดสอบระบบรวมถึงส่งมอบสิทธิการใช้งานให้กระทรวงดีอี ภายในปี 2564 โดยรวมความจุที่ขยายเพิ่ม 19 เทราไบต์ มีความจุเริ่มต้นที่ 200 Gbps พ.อ.สรรพชัย กล่าวว่า หลังจากการก่อสร้างระบบเคเบิลระบบใหม่แล้วเสร็จจะเพิ่มเสถียรภาพความมั่นคงในการเชื่อมต่อของภูมิภาคอาเซียนและมีส่วนช่วยสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนของไทย ซึ่งการเพิ่มความจุและจัดสร้างเคเบิลใต้น้ำระบบใหม่ดังกล่าว เป็นการเชื่อมโยงกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบน (ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา) ซึ่งเป็นประเทศเหล่านี้มีการเติบโตของอินเทอร์เน็ตทราฟิกสูง กับประเทศจีน (ฮ่องกง) ทั้งทางบกและทางทะเล ซึ่งจะยกระดับประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจสำคัญของภูมิภาค นอกจากนี้เคเบิลระบบใหม่ได้ออกแบบให้มีจุดเชื่อมต่อกับประเทศไทยที่สถานีเคเบิลใต้น้ำชลี 3 ศรีราชา ซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่โครงการ Digital Park Thailand ซึ่งจากจุดเชื่อมต่อนี้สามารถเชื่อมต่อตรง (Direct Route) จากไทยไปยังฮ่องกงและสิงคโปร์ ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ประกอบกิจการคอนเทนต์ (Content Provider) รายใหญ่ให้มาตั้งฐานข้อมูลในประเทศไทย ใช้งานผ่านโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำที่ได้ขยายความจุไว้พร้อมรองรับ อันจะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาศักยภาพก้าวสู่การเป็น ASEAN Digital Hub ตอนบนได้อย่างมั่นคง ด้านนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวว่า หลังจากเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2562 ที่ผ่านมา ได้เปิดให้���อกชนที่สนใจเข้าร่วมบริหารพื้นที่โครงการยื่นซองประมูลโครงการ Digital Park Thailand แต่ไม่มีผู้สนใจยื่นซอง ทางกระทรวงดิจิทัลฯ จึงได้ดำเนินการปรับเงื่อนไขใหม่ โดยได้นำร่างเงื่อนไขสัญญาเปิดเวทีให้เอกชนรับฟังอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2562 ที่ผ่านมา จากนั้นจะรวบรวมความเห็นและออกร่างสัญญาใหม่ภายในต้นเดือน ก.ค.2562 เพื่อให้สามารถเปิดขายซองภายในเดือน ส.ค.2562 และเริ่มประมูลช่วงเดือน ต.ค.2562 และได้ผู้ชนะภายในไตรมาส 4/2562     Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
CAT สร้าง 'เสาต้นไม้' เพิ่มการสื่อสารในอุทยานแห่งชาติ
Tumblr media
CAT เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ด้วยการสร้าง เสาสัญญาโทรคมนาคมในรูปแบบ เสาต้นไม้ เน้นกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม พร้อมเปิดให้โอเปอเรเตอร์ทุกค่ายติดตั้งอุปกรณ์ให้บริการลูกค้าบนเสาเดียวกัน เผยจุดเด่นแข็งแรงทนทานรับน้ำหนักอุปกรณ์เชื่อมต่อสื่อสารได้ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G, 4G, 5G อินเทอร์เน็ต และ LoRaWAN เพื่อการใช้งานกับ IoT ตั้งเป้าติดตั้ง 100 เสาภายในปี 2562 ก่อนขยายเพิ่มจำนวนเสาใน 154 อุทยานฯทั่วประเทศ เสาต้นไม้ ที่ CAT ดำเนินการติดตั้งในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ ถือเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่จำเป็นตามแนวทางที่ กสทช.กำหนด เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการโทรคมนาคมรองรับความต้องการในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ให้นักท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่อุทยานฯ และชุมชนในพื้นที่สามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวกยิ่งขึ้นด้วยสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันมากขึ้น พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า CAT หน่วยงานโทรคมนาคมของรัฐได้รับอนุญาตให้สร้างเสาโทรคมนาคมในรูปแบบเสาต้นไม้ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ โดย CAT มีความพร้อมที่จะเป็นองค์กรกลางในการดำเนินการสร้างเสาดังกล่าวสำหรับกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้งานร่วมกัน เพื่อลดจำนวนเสาที่มากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ได้เริ่มดำเนินการติดตั้งเสาต้นไม้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2561 ขณะนี้ติดตั้งแล้วเสร็จพร้อมใช้งาน 25 ต้น และตั้งเป้าหมายขยายให้ได้ถึง 100 ต้นในปี 2562 จากจำนวนอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ 154 แห่ง โดยการติดตั้งเสาต้นไม้ในอุทยานฯ แต่ละแห่งจะอยู่ในพื้นที่ที่รองรับความต้องการร่วมกันของโอเปอเรเตอร์และมีปริมาณการใช้งานของประชาชนจำนวนมาก และล่าสุดเสาต้นไม้เปิดใช้งานแล้วที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย จ.สระบุรี “เสาที่ติดตั้งแล้วทั้ง 25 ต้นได้เปิดให้โอเปอเรเตอร์ทุกรายติดตั้งอุปกรณ์ให้บริการสัญญาณเครือข่ายของตนอย่างเท่าเทียมกันและถูกต้องตามกฎระเบียบกรมอุทยานฯ ทดแทนการใช้เสาสัญญาณเดิมในพื้นที่ที่ไม่ได้รับอนุญาตซึ่งต่อไปจะต้องรื้อถอนออก โดยขณะนี้ทรูและดีแทคได้เริ่มติดตั้งอุปกรณ์บนเสาต้นไม้ดังกล่าวบ้างแล้ว ” สำหรับการออกแบบเสาโทรคมนาคมต้นไม้ให้กลมกลืนกับทัศนียภาพแหล่งท่องเที่ยวจะตกแต่งตามสภาพป่าธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติโดยมี 3 รูปแบบคือ ต้นยางนา ต้นสน และต้นปาล์ม โดยเสามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร ความสูง 32 และ 45 เมตร ตัวเสาเป็นโครงสร้างเหล็กหุ้มเปลือกลำต้นด้วยไฟเบอร์มีความแข็งแกร่งทนต่อสภาพอากาศ ด้านระบบสื่อสัญญาณของเสาต้นไม้ CAT ได้ติดตั้งทั้งระบบไฟเบอร์ออปติก และระบบไมโครเวฟ พร้อมใช้ระบบ��ลังงานไฮบริดทั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าและโซลาร์เซลล์ “เสาต้นไม้หนึ่งต้นจะสามารถติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อสื่อสารได้ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G, 4G, 5G อินเทอร์เน็ต, ระบบวิทยุสื่อสาร Trunked รวมไปถึงระบบ LoRaWAN เพื่อการเชื่อมต่อ IoT ทั้งหมดนี้ทำให้อุทยานฯ จะได้ใช้ประโยชน์ไม่เพียงแต่เครือข่ายมือถือ แต่รวมถึงเครือข่ายสื่อสารอื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ สามารถต่อยอดใช้ IoT ในการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวด้วยริสต์แบนด์และระบบแทร็กกิ้งผ่านโครงข่าย LoRaWAN ในการค้นหาตำแหน่งนักท่องเที่ยว หรือสามารถใช้งานเครือข่ายวิทยุสื่อสาร Trunked เพื่อติดต่อสื่อสารการเดินเรือได้ในส่วนของอุทยานแห่งชาติในภาคใต้ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ ซึ่งในอนาคต CAT ยังมีแผนจะติดตั้งเสาต้นไม้ขนาดเล็กเพื่อเสริมในพื้นที่อับสัญญาณให้ครอบคลุมมากขึ้นอีกด้วย” พันเอก สรรพชัย กล่าวว่า ปัจจุบันมีเสาสัญญาณทั้งหมดในประเทศรวมเกือบ 50,000 ต้น ซึ่งต่างคนต่างใช้งานเฉพาะตัวเองทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งค่าเช่าที่และค่าดูแลเสา การใช้เสากลางร่วมกันจึงช่วยลดต้นทุนของผู้ให้บริการในส่วนนี้ รวมทั้งจะส่งผลดีต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งในความเป็นจริงเสาโทรคมนาคม 30,000 ต้นก็เพียงพอสำหรับประเทศไทยที่จะใช้ในการให้บริการได้อย่างครอบคลุม ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ติดตามข่าวเทคโนโลยีผ่านเฟซบุ๊ก TheReporter.Asia โดยการกด Like ได้ที่ลิงค์ด้านล่างค่ะ Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
ดีแทค ดึงทีโอทีและแคท ร่วมผลักดัน 5G ให้เร็วขึ้น
Tumblr media
ดีแทค เดินหน้ากระตุ้นการจัดสรรคลื่นความถี่จากกสทช.อีกครั้ง รอบนี้แนะให้กสทช.จัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งย่านสูง-กลาง-ต่ำ และระบุช่วงเวลาจัดสรรชัดเจน รวมไปถึงการแผนปรับปรุงคลื่นความถี่ เพื่อพัฒนาสู่ 5G อย่างยั่งยืน และหาความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ โดย ดีแทค มองว่าความถี่คือสิ่งสำคัญยิ่งในการปูพื้นฐานสู่ 5G เพราะการใช้งานและการทดสอบบริการต่างๆ จะทำให้เห็นถึงความต้องการใช้คลื่นความถี่ที่กว้างขึ้น ซึ่งประเทศไทยควรทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ให้ดีก่อนการจัดสรรคลื่นครั้งต่อไป รวมถึงการออกแบบการประมูลที่ดีจะทำให้กำหนดราคาคลื่นความถี่ที่ยุติธรรมในการทำตลาด และป้องกันราคาประมูลที่สูงเกินจริง ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดแผนและการนำคลื่นย่านความถี่ต่างๆ ที่ชัดเจนมาใช้งาน เพราะการจะให้บริการ 5G ได้นั้นต้องมีคลื่นความถี่ที่เพียงพออย่างน้อย 100 MHz ต่อราย และจะต้องมีการกำหนดราคามูลค่าคลื่นความถี่ที่เหมาะสมและยืดหยุ่นในการลงทุน รวมไปถึงภาครัฐต้องสนับสนุนแนวทางกำกับดูแลในการขยายโครงข่าย 5G ในเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน หรือจัดทำหน่วยงานกลางรับผิดชอบในรูปแบบ Infrastructure Company โดยจะต้องสนับสนุนให้ใช้ภาคเอกชนลงทุนได้มีประสิทธิภาพสูงสุดและขยายโครงข่ายได้รวดเร็ว ซึ่งดีแทคพร้อมที่จะประสานงานและสนับสนุนภาครัฐทุกหน่วยงาน ล่าสุด ดีแทค ได้นำพันธมิตรอย่างแคทและทีโอที เข้ามาร่วมนำเสนอความเป็นไปได้ของการใช้งานคลื่นความถี่ ด้วยการทำการทดสอบรูปแบบใช้งาน 5G ที่เหมาะกับประเทศไทย ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในส่วนของการพัฒนา 5G ที่จะมีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งอุปกรณ์โครงข่ายและคลื่นความถี่ต่างๆ รวมไปถึงจะเป็นการนำความรู้ความเชี่ยวชาญโทรคมนาคมของแต่ละฝ่ายมาแบ่งปันและต่อยอดการทดสอบร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน ทำให้แต่ละฝ่ายไม่ต้องเริ่มต้นใหม่แต่สามารถนำประสบการณ์ที่ได้มารวมกันเพื่อพัฒนาไปข้างหน้า รวมถึงศึกษาถึงข้อจำกัดและอุปสรรคทั้งในด้านเทคโนโลยีและระเบียบข้อกฎหมายต่างๆ โดยที่ผ่านมาดีแทคได้ยื่นดำเนินการขอนุญาตทดสอบ 5G ต่อ กสทช เป็นที่เรียบร้อย ทั้งข้อเสนอในการใช้คลื่นความถี่ และการทดสอบทั้งแบบ Standalone (SA) ซึ่งเป็นการทดสอบโดยใช้เฉพาะคลื่น 5G และ Non-Standalone (NSA) หรือการทดสอบการทำงานของเทคโนโลยี 5G ร่วมกับ 4G โดยดีแทคจะทดสอบทั้ง การทดสอบในห้องปฎิบัติการ ก่อนนำสู่การทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง และการทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง เช่น พื้นที่บริเวณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ เป็นต้น และรวมถึงการทดสอบทางไกล เป็นการทดสอบโดยเชื่อมต่อสถานีฐาน 5G จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปยังโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หลักต่างพื้นที่ ในโครงการทดสอบ 5G EEC ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อใช้ทดสอบกรณีใช้คลื่น 5G ต่างพื้นที่ร่วมกัน ตัวอย่างเช่นการรักษาผ่านทางไกล หรือสมาร์ทเฮลธ์แคร์ เป็นต้น นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า กระทรวงฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมในการทดสอบ 5G ร่วมกัน และจัดทำแผนสู่ 5G (5G Road map) พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับ กสทช. เพื่อกำหนดอนาคต 5G และแผนการทดสอบร่วมกัน โดยภายในเดือนเมษายนการทดลองทดสอบการใช้งานจริง (Use case) จะเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ว่าจะใช้การทดลองทดสอบในกรณีไหน นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ความร่วมมือคือหลักการสำคัญที่จะพัฒนา 5G รวมทั้งการทดลองและทดสอบจะต้องร่วมประสานกันระหว่างภาครัฐและอุตสาหกรรม และการที่ภาครัฐจะต้องเข้ามาร่วมส่งเสริมการใช้ 5G ให้ขยายออกไป และรวมถึงการเริ่มต้องสมาร์ทซิตี้ และการใช้ 5G สำหรับสาธารณะ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นและสามารถพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน ดังนั้นการทำ 5G ในเมืองไทยให้ประสบความสำเร็จจึงต้องเริ่มต้นที่การสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างภาครัฐบาล กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ใช้งาน และการทดสอบโครงการธุรกิจตามการใช้งานจริงร่วมกัน เพื่อนำสู่การวิเคราะห์ภาพรวมทั้งเทคโนโลยี และข้อกฎหมายสู่บริการเพื่อผู้ใช้งาน และหาจุดสมดุลย์ของความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อน 5G ทั้งระบบนิเวศ ดีแทคได้จัดทำโซลูชัน “���าร์มแม่นยำ” เพื่อเตรียมพร้อมสู่ 5G ที่สามารถปลดล็อกมูลค่ามหาศาลให้แก่เกษตรกรของประเทศไทยได้ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการทำเกษตรกรรมยุคใหม่จะต้องใช้ประโยชน์ของดิจิทัลและความสามารถของ 5G มาต่อยอดเพื่อทำรายได้เพิ่มมากขึ้น และยังเตรียมยกระดับสู่โซลูชันฟาร์มแม่นยำ (Precision Farming) แบบเรียลไทม์ด้วยการใช้โดรน 5G ต่อไป ดร.มนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที (จำกัด) มหาชน กล่าวว่า เราเห็นความร่วมมือกันมากขึ้นสำหรับการใช้งานเครือข่าย 5G ซึ่งรวมถึงภาครัฐที่ต้องมาจัดการเรื่องมาตรฐานในการสร้างโครงข่ายที่สามารถใช้ร่วมกัน ต้องแฟร์ต้องเหมาะสมสำหรับทุกคน เพราะไทยมีความจำเป็นต้องมีโครงข่าย 5G อย่างน้อยต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งทีโอที มีศักยภาพความพร้อมที่จะเป็นหน่วยงานกลางในการพัฒนาโครงข่าย 5G ของประเทศ ทั้งด้านเงินทุน ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และบุคลากรที่มีประสบการณ์ที่พร้อมจะร่วมเป็นกลไกหลักของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G "ความร่วมมือการทดสอบ 5G เป็นสิ่งสำคัญในอุตสาหกรรมเพื่อหาข้อสรุปและแนวทางก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ สำหรับทีโอทีมองว่าปัจจัยที่สำคัญต้องมีหน่วยงานกลางที่ดูแลเสาอัจฉริยะ (Smart pole) ซึ่งเป็นเสาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลยุค 5G ที่ออกแบบให้ใช้งานโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure sharing) ซึ่งจะทำให้การขยายสัญญาณ 5G และโครงสร้างพื้นฐานดิ���ิทัลของประเทศไทยเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เปิดโอกาสส่งเสริมผู้ให้บริการรายใหม่ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่สามารถเข้าสู่ตลาดได้อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมได้มากขึ้น รวมถึงเป็นการลดต้นทุนและเวลาของประเทศในการติดตั้งซ้ำซ้อน ที่สำคัญสามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น" ด้านพันเอก ดร. สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การทดสอบร่วมกันถือเป็นก้าวสำคัญของไทยในการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ซึ่งความร่วมมือจะเป็นของทุกภาคส่วนที่จะได้ประโยชน์ร่วมกัน โดย CAT ได้ร่วมมือทดสอบ 5G โดยนำโครงการ “PM2.5 Sensor for All” เข้าร่วม โดยข้อมูลของคุณภาพอากาศที่ได้ จะจัดเก็บไว้แบบเรียลไทม์ด้วยระบบคลาวด์ ผ่านเซ็นเซอร์ในพื้นที่แต่ละแห่ง ในอนาคตเมื่อใช้งานบนโครงข่าย 5G แล้ว จะสามารถยกระดับจาก IoT สู่ massive IoT โดยการติดตั้งเซ็นเซอร์จำนวนมากได้เพิ่มขึ้นและแม่นยำยิ่งขึ้น และยังสามารถนำมาออกแบบสู่แหล่งข้อมูลกลาง ที่เก็บค่าดัชนีคุณภาพอากาศจากทุกพื้นที่ นำมาประมวลผลร่วมกัน (Calibrate) เป็นบิ๊กดาต้า (Big Data) บนคลาวด์ที่มีค���าดัชนีคุณภาพอากาศของไทยมาตรฐานกว่าที่เคยมีรายงานมาก่อน ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
สมัครแพคเสริม my by CAT ผ่าน wePAY รับส่วนลด 4%
Tumblr media
my by CAT บริการโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต 4G และ 3G จากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) อำนวยความสะดวกสบายให้ลูกค้ายิ่งขึ้น ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ไลฟ์สไตล์ดิจิทัล เพียงสมัครแพ็กเกจเสริม my แบบเติมเงิน ผ่านแอปพลิเคชั่น wePAY รับส่วนลดทันที 4% มีให้เลือกหลากหลายแพ็กเกจตามสไตล์การใช้งาน เช่น แพ็กเกจอินเทอร์เน็ต 4G ไม่จำกัด ไม่ลดสปีด ตั้งแต่ความเร็ว 1, 4, 6 และสู���สุดถึง 8 Mbps เลือกได้ทั้งแบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือเลือกสมัครแบบจ่ายเงินครั้งเดียว 600 บาท ใช้งานได้นาน 6 เดือน สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น wePAY ฟรีได้แล้วตั้งแต่วันนี้ทั้ง App Store และ Google Play สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ my Call Center 02-401-2222 หรือ wePAY Call Center 02-965-5553 ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง my by CAT Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
ดีอีชมสนามทดสอบ 5G ของ CAT ใน ม.เกษตร ศรีราชา
Tumblr media
ดร.พิเช�� ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมการเปิดสนามทดสอบ 5G (5G Testbed) เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในอนาคต โดย พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ให้การต้อนรับและนำเสนอศักยภาพความพร้อมทั้งในด้านโครงข่ายและการให้บริการ 5G ของ CAT ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่พร้อมจะสนับสนุนภารกิจของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น Weather Station, Environmental Sensors ฯลฯ ณ อาคารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
จับตาดีแทค!!! หลังสลัดคราบยุ่งเหยิง รุกสร้างความเชื่อมั่น
Tumblr media
ความร่วมมือกับ บมจ.ทีโอที ในการให้บริการไร้สายบนคลื่น 2300 MHz พร้อมทั้งการชนะการประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ในปีที่แล้ว และคลื่น 2100 MHz ที่มีอยู่แล้ว ทำให้ปัจจุบันดีแทคมีจำนวนคลื่นความถี่ที่แข็งแกร่งและสามารถแข่งขันกับผู้ให้บริการรายอื่นได้ ขณะที่คลื่นความถี่ในระบบสัมปทานของดีแทคได้สิ้นสุดลงโดยสมบูรณ์ หลังการเยียวยาได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ดีแทคยังมีแบนด์วิดท์สำหรับดาวน์ลิงก์ที่กว้างที่สุดในตลาด สัญญาเช่าที่ตกลงกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือ CAT ทำให้ดีแทคสามารถเข้าใช้เสาสัญญาณ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโครงข่ายได้ในระยะยาว นอกจากนี้ การลงทุนขยายโครงข่าย 2100 MHz และการให้บริการบนคลื่น 2300 MHz ที่โรมมิ่งกับ บมจ. ทีโอที ได้ช่วยเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมการให้บริการ และความจุของโครงข่าย และยังช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ช่วยลดความไม่แน่นอนของการดำเนินธุรกิจ และยังเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับดีแทคในการกลับมาเติบโตในปี 2562 นอกเหนือจากนี้ ความเสี่ยงทางกฎหมายของดีแทคที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงสัมปทานได้ลดลงอย่างมากจากการบรรลุข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทที่กำลังรอการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญประจำปีซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4 เมษายน 2562 ฐานลูกค้ายังแข็งแกร่ง ณ สิ้นสุดปี 2561 จำนวนฐานลูกค้าอยู่ที่ 21.2 ล้านราย ซึ่งทั้งหมดได้ลงทะเบียนภายใต้ดีแทค ไตรเน็ต (DTN) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของดีแทคที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการคลื่นความถี่ 2100 MHz 1800 MHz และ 900 MHz นอกเหนือจากนั้น การให้บริการดีแทค เทอร์โบ ‘dtac Turbo’ ได้คืบหน้ากว่าแผนที่วางไว้ โดยในปี 2561 มีจำนวนสถานีฐานที่ติดตั้งเสร็จสมบูรณ์แล้วประมาณ 12,700 สถานี การพัฒนาโครงข่าย 2100 MHz ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพื้นที่การครอบคลุมสัญญาณ และความจุของโครงข่าย โดยโครงข่ายโดยรวมของดีแทคสามารถครอบคลุม 94% ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ รายได้หดตัวจากความไม่แน่นอนของสัมปทาน ตัวเลขผลประกอบการที่สำคัญสอดคล้องกับการคาดการณ์ผลประกอบการรายปี โดยรายได้จากการให้บริการไม่รวม IC สำหรับปี 2561 ลดลง 2.8% ขณะที่ EBITDA margin และ CAPEX อยู่ที่ 37.9% และ 1.95 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ การลดลงของรายได้จากการให้บริการมีผลมา��ากความไม่แน่นอนในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากการสิ้นสุดระบบสัมปทาน การลดลงของรายได้จากบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ (IDD) การจัดระเบียบการให้บริการ CPA เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง นอกจากนี้ EBITDA (ก่อนรายการอื่นๆ) ลดลง 6.7% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก OPEX ของโครงข่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากการขยายโครงข่าย และการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างต้นทุนหลังการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน อาทิเช่น ค่าโรมมิ่งของโครงข่าย 2300 MHz ที่ทำกับทีโอที ค่ามาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ เป็นการชั่วคราวระหว่างวันที่ 16 กันยายน ถึง 15 ธันวาคม 2561 และค่าเช่าเสาสัญญาณ และโครงสร้างโครงข่ายพื้นฐานจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้บางส่วนได้ถูกชดเชย จากการลดลงของค่าใช้จ่ายในการขาย การตลาด และการบริหารงานทั่วไป จากผลของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากการบรรลุข้อตกลงระงับข้อพิพาทกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม จำนวน 9.5 พันล้านบาท ได้ถูกชดเชยบางส่วนจากค่าใช้จ่ายจากการเสื่อมราคาและการตัดจำหน่ายที่ลดลงหลังการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ทำให้ผลประกอบการประจำปี 2561 มีผลขาดทุนจำนวน 4.4 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม กระแสเงินสดจากการดำเนินการ (EBITDA – CAPEX) ยังคงแข็งแกร่งโดยมีจำนวนอยู่ที่ 8.9 พันล้านบาทท่ามกลางการลงทุนอย่างมากในโครงข่าย นอกจากนี้ ฐานะทางการเงินยังคงแข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA ที่ 1.2x และมีเงินสดอยู่ที่ 1.41 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้ากระแสเงินสด ปี '62 ราว 1.3 – 1.5 หมื่นล้านบาท นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ด้วยระบบสัมปทานที่สิ้นสุดลง และปีประวัติศาสตร์แห่งการลงทุนด้านโครงข่ายในการขยายพื้นที่การครอบคลุมสัญญาณ และความจุของโครงข่ายทั้งบนคลื่น 2100 MHz และ 2300 MHz ที่ผ่านมา เราได้วางรากฐานที่ดีสำหรับการเติบโตในอนาคต และมีความมุ่งมั่นที่จะกลับไปสู่การเติบโตในปี 2562 โดยยังคงมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เราจะทำการปรับปรุงโครงข่าย และประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ดีแทคอย่างต่อเนื่อง” นายดิลิป ปาล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการเงินของดีแทค กล่าวว่า “โครงสร้างต้นทุนของดีแทคได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ หลังการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นค่าใช้จ่ายชั่วคราว นั่นคือค่าใช้จ่ายจากมาตรการ���ุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 16 กันยายน ถึง 15 ธันวาคม 2561 ค่าธรรมเนียมและต้นทุนการดำเนินงาน Regulatory costs ได้ลดลงอย่างมากเนื่องจากการที่ไม่ต้องจ่ายค่าส่วนแบ่งรายได้ให้กับ บมจ.กสท โทรคมนาคม อีกต่อไป นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการโรมมิ่งโครงข่ายบนคลื่น 2300 MHz ของบมจ.ทีโอที และค่าเช่าเสาสัญญาณ และโครงสร้างโครงข่ายพื้นฐานจาก CAT ได้เริ่มต้นในเดือนเมษายน และกันยายน 2561 ตามลำดับ ค่าตัดจำหน่ายของสิทธิในการใช้ทรัพย์สินภายใต้สัมปทานได้สิ้นสุดลงแล้วเช่นกันนับจากเดือนกันยายน 2561 แต่บางส่วนได้ถูกแทนที่ด้วยค่าตัดจำหน่ายของใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ในเดือนธันวาคม 2561 การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลเล็กน้อยต่อผลการดำเนินงานของดีแทคในปี 2561 และจะมีผลเ��็มที่ในปี 2562 นี้ นอกเหนือจากนั้น เราต้องการเวลาในการประเมินศักยภาพสำหรับการกลับไปเติบโตอีกครั้งในปี 2562 และเราจะให้รายละเอียดการคาดการณ์ผลประกอบการสำหรับปี 2562 ในไตรมาสที่สองของปีนี้” ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง ดีแทค Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
ดีแทค และ CAT ทำสัญญาระงับข้อพิพาทร่วมกัน
Tumblr media
บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค และ บมจ. กสท โทรคมนาคม แจ้งการลงนามในสัญญาร่วมกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ส่วนใหญ่ และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งหมดที่เกี่ยวกับสัญญาสัมปทาน คิดเป็นมูลค่า 9.51 พันล้านบาท สัญญาระงับข้อพิพาทระหว่าง ดีแทค และ กสท ถือเป็นความสำคัญเหตุการณ์หนึ่งจากตลอดระยะเวลาในการร่วมงานกันมายาวนานของทั้งสองฝ่าย พร้อมทั้งเป็นโอกาสสู่การเริ่มต้นใหม่ในการเป็นพันธมิตรดูแลโครงข่าย หรือโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน สัญญาดังกล่าวยังมีนัยสำคัญในทางลดความเสี่ยงทางธุรกิจ อันเกิดจากความไม่แน่นอนในผลของคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ และคำพิพากษา อนึ่ง สัญญาระงับข้อพิพาทฉบับนี้ ไม่รวมข้อพิพาทเรื่องส่วนแบ่งรายได้ที่เกี่ยวกับภาษีสรรพสามิต และข้อพิพาทเรื่องส่วนแบ่งรายได้ที่เกี่ยวกับค่าเชื่อมต่อโครงข่าย ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง ดีแทค กสท โทรคมนาคม Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
CAT หนุน TESA จัดแข่งพัฒนาสมองกลฝังตัวบน LoRaWAN
Tumblr media
CAT นำโครงข่าย LoRaWAN และระบบ CLOUD Computing ร่วมสนับสนุน TESA จัดแข่งขัน TESA Top Gun Rally 2019 หนุนสร้างนักพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานแห่งชาติ ดร.ณัฎฐวิทย์ สุฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มขายและผลิตภัณฑ์สื่อสารไร้สาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่า CAT ได้ร่วมสนับสนุนการจัดประชันทักษะสมองกลฝังตัวชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 13 (TESA Top Gun Rally 2019) ซึ่งจัดโดยสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA) ร่วมกับกรมศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ และหน่วยงานต่าง ๆ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม การแข่งขัน TESA Top Gun Rally 2019 ในครั้งนี้กำหนดจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ ‘ระบบการจัดการโบราณสถานแห่งชาติ 4.0’ (Smart National Historic Site 4.0 : Art & Cultural Conservation & Tourism Information System) ระหว่างวันที่ 6 - 12 มกราคม 2562 ในบริเวณพื้นที่พระราชวังสนามจันทร์และใกล้เคียงในจังหวัดนครปฐม เพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยการผสานความรู้ด้านสมองกลฝังตัวเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับช่วยอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีนี้มีนิสิต นักศึกษา นักเรียน และคณาจารย์ในวงการ Embeded System and IoT ของประเทศไทยกว่า 300 คนจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 30 แห่งเข้ามารวมตัวกันสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการจัดการโบราณสถานแห่งชาติ 4.0
Tumblr media
ดร.ณัฎฐวิทย์ สุฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มขายและผลิตภัณฑ์สื่อสารไร้สาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ในการแข่งขันครั้งนี้ นิสิต นักศึกษา และนักเรียนที่เข้าร่วมจะได้เรียนรู้องค์ความรู้และเทคโนโลยีของระบบสมองกลฝังตัวจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ อาทิ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการจัดการโบราณสถาน การบริหารโครงการ การสร้างระบบฮาร์ดแวร์ ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่าย LoRaWAN และระบบ CLOUD Computing ประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนา แก้ไขปัญหาตามโจทย์ที่กำหนดขึ้นในแต่ละวันบนหลักการของ Problem-Based Learning สำหรับรูปแบบของการดำเนินแข่งขันในโครงการจะจัดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งในระหว่างการแข่งขันจะมีคณะกรรมการประเมินคะแนนสะสมตามหัวข้อและเกณฑ์ที่กำหนด โดยที��ที่มีคะแนนสะสมสูงสุด 4 ลำดับแรกจะได้รับรางวัลเงินสดรวมมูลค่ากว่า 100,000 บาทพร้อมโล่รางวัล “CAT เข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่ให้บริการด้านดิจิทัลและระบบสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ โดยได้ติดตั้งโครงข่ายสื่อสาร LoRaWAN หรือ Long Range Wide Area Network ซึ่งเป็นโครงข่ายที่มีคุณสมบัติสำคัญคือสามารถรับส่งสัญญาณได้ในระยะไกล ใช้พลังงานต่ำ เหมาะกับการรับส่งข้อมูลเพื่อตรวจวัดค่าต่าง ๆ และสนับสนุนอุปกรณ์ LoRa Developer Kit สำหรับการแข่งขัน พร้อมทั้งระบบ IRIS ClOUD สำหรับการเก็บและประมวลผลข้อมูล รวมถึงการโปรแกรมระบบเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันได้สัมผัส เรียนรู้ และทดลองใช้งานจริงตามโจทย์ของการแข่งขัน และยังเป็นการเปิดโอกาสและเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านดิจิทัลให้กับนิสิต นักศึกษา และนักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขัน” ดร.ณัฏฐวิทย์ กล่าวในที่สุด ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง CAT LoRaWAN Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
CAT ดันภูเก็ตต้นแบบ 'สมาร์ทแทร็กกิ้ง' ดูแลนักท่องเที่ยว
Tumblr media
นายศุภกิจ ยอดแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานบริการลูกค้าเขตใต้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำทีมงานร่วมกับพันธมิตร นำเสนอโครงการบริหารจัดการแบบ Command Center เพื่อจัดระเบียบรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวทั้งทางบกและทางทะเลในฝั่งอันดามันให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยการบริหารจัดการความปลอดภัยนักท่องเที่ยวแบบ Command Center มุ่งเน้นใช้อุปกรณ์ IoTระบบแทรกกิ้งอัจฉริยะ โดยสื่อสารผ่านโครงข่าย LoRa ในรูปของริสต์แบนด์และเสื้อชูชีพ ทำงานร่วมกับระบบซอฟต์แวร์กลางที่บูรณาการข้อมูลและความร่วมมือทุกภาคส่วน เช่น ระบบลงทะเบียนนักท่องเที่ยวโดยสแกนหนังสือเดินทางบันทึกข้อมูลในอุปกรณ์ริสต์แบนด์, การตรวจสอบนักท่องเที่ยวก่อนเดินทางทางทะเลด้วยริสต์แบนด์และกล้อง CCTV, การติดตามในทะเลด้วยเสื้อชูชีพ LoRa Life Jacket ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารข้อมูลกับนักท่องเที่ยวและติดตามอำนวยความสะดวก พร้อมประสานความช่วยเหลือได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ กลุ่มเอกชนและภาคส่วนต่างๆ ได้ตื่นตัวกับปัญหาด้านความปลอดภัยที่ส่งผลกระทบจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงและเชื่อว่าการใช้ระบบ Command Center ดังกล่าวจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาอย่างตรงจุดและฟื้นความมั่นใจการท่องเที่ยวได้ โดยเตรียมผลักดันเป็นเป็นรูปธรรมและขยายผลใช้งานเพื่อความปลอดภัยให้ทั่วถึงทั้งพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและทะเลบริเวณอ่าวพังงาทั้งหมด เกาะยาว เกาะพีพี เกาะราชา ทั้งอุทยานทางทะเลอีกหลายแห่ง และคาดว่าจะสามารถเริ่มต้นระบบที่จังหวัดภูเก็ตและกระบี่ก่อนขยายผลใช้งานให้ครบทั้งกลุ่ม 6 จังหวัดอันดามันต่อไป ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
สามารถเทลคอม คว้างาน AMR กฟภ. มูลค่า 585 ล้านบาท
Tumblr media
สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในสัญญาโครงการจ้างบำรุงรักษามิเตอร์และอุปกรณ์ประกอบในโครงการพัฒนาการอ่านหน่วยด้วยระบบอัตโนมัติ ระยะที่ 2 กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งมีมูลค่าโครงการ 585.9 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการตามสัญญารวม 3 ปี โดยบริษัทฯจะดำเนินการเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้แก่ 1. เพื่อบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ซอฟต์แวร์ต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายของศูนย์ AMR Data Center และระบบสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการทำงานของศูนย์ AMR Data Center (Facility System) ณ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ เพื่อบำรุงรักษามิเตอร์แบบอ่านหน่วยไฟฟ้า��ัตโนโมัติ (AMR) พร้อมอุปกรณ์ประกอบที่ติดตั้งให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ทั่วประเทศ จำนวน 59,310 ชุด ให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 3. เพื่อจัดเจ้าหน้าที่ดูแลระบบฯที่ส่วนกลาง(Help Desk) 4. เพื่อให้บริการในส่วนของการรับ-ส่งข้อมูล (Air Time), วงจรเช่า Lease Line และ Internet ของเดิมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้งานอยู่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับโครงการ AMR ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนี้ เป็นโครงการอ่านหน่วยด้วยระบบอัตโนมัติ และจะช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่สามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้ไฟฟ้าผ่าน Internet ได้ตลอดเวลา สามารถเก็บ ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ของตนเองผ่านทาง www.amr.pea.co.th เพื่อบริหารจัดการ การใช้ไฟฟ้าภายในกิจการของตนเองได้ ลดข้อผิดพลาดในเรื่องการจดหน่วยและข้อผิดพลาดของมาตรฐานเวลาในตัวมิเตอร์ จึงทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ กลุ่มสามารถเทลคอมมีงานในมือแล้วกว่า 8,000 ล้านบาท โดยในช่วงไตรมาส 3 สามารถคว้างานโครงการมาได้ประมาณ 470 ล้านบาท อาทิ โครงการจ้างบำรุงรักษามิเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบในโครงการพัฒนาการอ่านหน่วยด้วยระบบอัตโนมัติ ระยะที่ 1 กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่ากว่า 360 ล้านบาท และ โครงการบำรุงรักษาระบบ Real Time Charging ของ กสท.โทรคมนาคม มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท ส่งผลให้ไตรมาส 3 มีรายได้รวม 1,846 ล้านบาท ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
CAT ภูมิใจภารกิจวางระบบเทคโนโลยีสื่อสารโครงการ “อุ่นไอรัก
Read the full article
0 notes
thereporterasiastuff-blog · 6 years ago
Text
CAT จับมือพัมธมิตร จัดป���ะกวด Ai เพื่อโบราณสถาน 4.0
Tumblr media
ผนึกกำลัง TESA กรมศิลป์ มศก. และ CAT เผยความร่วมมือในการจัดประชันทักษะทางด้านสมองกลฝังตัวชิงแชมป์ประเทศไทย เพื่อพัฒนาระบบจัดการโบราณสถานแห่งชาติ 4.0 ภายใต้ชื่อการแข่งขัน “TESA Top Gun Rally 2019” ณ เรือนรับรองกระจก พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ดร.ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์ อุปนายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะสร้างความเข้มแข็งพื้นฐานในด้านเทคโนโลยีของประเทศวันนี้มุ่งไปที่ IoT “IoT หรือ Internet of Things หมายถึงการนำความอัจฉริยะไปไว้ในทุกสิ่งทุกอย่าง หัวใจของ Things ต้องใช้สมองกล ความอัจฉริยะจะดีแค่ไหนล้วนสร้างด้วยคนซึ่งต้องเป็นคนที่มีความสามารถทางเทคโนโลยี ประเทศไทยต้องสร้างคนเหล่านี้ โดยปีนี้การประชันทักษะสมองกลครั้งที่ 13 อาศัยความร่วมมือจากภาคการศึกษาคือ ม.ศิลปากร ภาครัฐคือกรมศิลปากร และ CAT ที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่โดยใช้ LoRaWAN ถ้าไม่มีความร่วมมือไม่มีกิจกรรมนี้ เราจะไม่มีนักศึกษาที่เก่งเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศ” TESA Top Gun Rally นับเป็นเวทีสำหรับการค้นหาสุดยอดฝีมือทางด้านระบบสมองกลฝังตัวของประเทศไทยที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ที่มีโอกาสได้เป็นตัวแทนของแต่ละสถาบันการศึกษาเพื่อเข้าร่วมประชันทักษะ จะผ่านการคัดเลือก ทดสอบ และสัมภาษณ์จากคณะกรรมการของแต่ละสถาบันมาเป็นอย่างดี ทั้งทางด้านวิชาการ ทัศนคติและสังคม สำหรับรูปแบบของการดำเนินแข่งขันในโครงการจะจัดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ สำหรับ TESA Top Gun Rally 2019 มีนิสิต นักศึกษา และนักเรียน ซึ่งจะเป็นนักพัฒนาผู้เป็นอนาคตของประเทศและคณาจารย์ในวงการ Embeded System and IoT ของประเทศไทยกว่า 300 คนจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 30 แห่ง เข้ามารวมตัวกันสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการจัดการโบราณสถานแห่งชาติ 4.0 อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยศิลปากร เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยสยาม เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิค (นำร่อง) และโรงเรียนมัธยมจุฬาภรณ์ (นำร่อง) โดยในการแข่งขันครั้งนี้ นิสิต นักศึกษา และนักเรียนที่เข้าร่วมจะได้เรียนรู้องค์ความรู้และเทคโนโลยีของระบบสมองกลฝังตัวจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ อาทิ การบริหารโครงการ การสร้างระบบฮาร์ดแวร์ ARTBox ที่ใช้ในการตรวจจับค่าต่าง ๆ ตามที่กำหนด การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสื่อสารไร้��าย LoRaWAN (Long Range Wide Area Network) ที่มีคุณสมบัติในการรับส่งสัญญาณได้ในระยะไกลโดยใช้พลังงานต่ำ ซึ่งจะมีการติดตั้งชุดอุปกรณ์ LoRa IoT by CAT เพื่อระบุตำแหน่ง การโปรแกรมระบบเซิร์ฟเวอร์และประมวลผลข้อมูลบนระบบ IRIS ClOUD เพื่อแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังจะได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนา แก้ไขปัญหาที่กำหนดในแต่ละวันบนหลักการของ Problem-Based Learning รวมถึงได้รับความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการจัดการโบราณสถานอีกด้วย โดยในระหว่างการเข้าร่วมแข่งขันจะมีคณะกรรมการประเมินคะแนนสะสมตามหัวข้อและเกณฑ์ที่กำหนด
Tumblr media
ซึ่งทีมที่มีคะแนนสะสมสูงสุด 4 ลำดับแรกจะได้รับรางวัลเงินสดรวมมูลค่ากว่า 100,000 บาทพร้อมโล่รางวัล รวมถึงโอกาสการต่อยอดพัฒนาผลงานสู่การใช้งานจริงเพื่อสนับสนุนงานอนุรักษ์โบราณสถานของกรมศิลปากร ด้านนายสถาพร เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการกองโบราณคดี กรมศิลปากร กล่าวว่าปัจจุบันกรมศิลปากรได้ใช้เทคโนโลยีกับงานโบราณคดีหลายด้าน เช่น การสำรวจพื้นที่ทางอากาศด้วยโดรน การวิเคราะห์โบราณวัตถุที่ขุดพบด้วยแสงซิงโครตรอน การพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลสำหรับพิพิธภัณฑ์โบราณสถานแห่งชาติ “กรมศิลปากรมีเป้าหมายที่จะใช้เทคโนโลยีเกิดประโยชน์กับงานเต็มที่ตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 โดยในการอนุรักษ์โบราณสถานโดยเฉพาะพระราชวังสนามจันทร์ที่เป็นอาคารไม้นั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและยังต้องการเทคโนโลยีที่จะมาช่วย เช่น การวิเคราะห์เรื่องการรับน้ำหนักนักท่องเที่ยวที่มาพร้อม ๆ กัน ผลกระทบจากการจุดพลุในโอกาสต่าง ๆ การตรวจจับแมลงเช่นปลวก เพื่อตรวจตราและปกป้องจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ทันการณ์ ผมเชื่อมั่นว่ากิจกรรม TESA โบราณสถาน 4.0 จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง การระดมความรู้ การคิดแก้ไขตอบโจทย์จะสามารถจุดประกายเพื่อทางกรมฯ จะสามารถนำไปต่อยอดในการใช้งานจริงได้ต่อไป” ผศ.ดร.ปาเจรา พัฒนถาบุตร ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดี พระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า “ม.ศิลปากร มีความแข็งแกร่งคือเรื่องศิลปะและการออกแบบ เราพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีผสมผสานกับจุดแข็งนี้ โดยเปิดโจทย์ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ เพื่อเชื่อมโยงสองโบราณสถานสำคัญของจังหวัดนครปฐมทั้งพระปฐมเจดีย์ และพระราชวังสนามจันทร์ ที่เป็นพระตำหนักไม้เก่าแก่อายุกว่า 111 ปี หวังว่ากิจกรรมครั้งนี้จะจุดประกายการพัฒนาสมองกลในแนวทางที่ช่วยอนุรักษ์การท่องเที่ยวโบราณสถาน เช่น การใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงเพื่อความสะดวกในการให้ข้อมูลความรู้ หรือการติดต่อกับนักท่องเที่ยวผ่านมือถือ” ด้านพันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กสท โทรคมนาคม (CAT) กล่าวถึงความร่วมมือของ CAT กับ TESA ��นปีนี้กับโจทย์โบราณสถานแห่งชาติ 4.0 ว่า “CAT สามารถนำเทคโนโลยีมาตอบโจทย์สนับสนุนการพัฒนา IoT ในทุกๆภาคส่วน โดยเราวางโครงสร้างพื้นฐาน IoT LoRaWAN เพื่อรองรับการเชื่อมสัญญาณและระบบ IRIS Cloud เพื่อการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เราอยากเห็นภาพนักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวพร้อมกับใช้โทรศัพท์มือถือช่วยเพิ่มความสะดวกได้ เช่น รู้จุดได้ทันทีว่ามีอะไรอยู่ตรงไหนจากโลเคชันเบส หรือใช้แอปพลิเคชันส่องไปที่โบราณวัตถุแล้วสามารถเชื่อมต่อกับ VR หรือ AR ทำให้เห็นภาพย้อนไปในยุคสมัยต่างๆ ซึ่ง CAT พร้อมสนับสนุนเทคโนโลยีที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในครั้งนี้และในอนาคตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการต่อยอดของเทคโนโลยีและพัฒนาบุคลากร สามารถป้อนนวัตกรรมเข้าสู่ระบบการใช้งานจริงในทุกภาคส่วนและสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศได้” ทั้งนี้ การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ นอกจากจะได้รับความรู้และทักษะในด้านสมองกลฝังตัวแล้ว คุณค่าและความสวยงามของการเข้าร่วมแข่งขัน TESA TOP GUN Rally อีกประการหนึ่งที่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะได้รับก็คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิทยากรและระหว่างผู้เข้าแข่งขันจากต่างสถาบันด้วยความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อ โอบอ้อมอารีต่อกัน แต่จะไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาและอุปสรรค ทั้งนี้การแข่งขัน TESA Top Gun Rally จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 13 โดยกำหนดหัวข้อ “ระบบการจัดการโบราณสถานแห่งชาติ 4.0” (Smart National Historic Site 4.0 : Art & Cultural Conservation & Tourism Information System) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-12 มกราคม 2562 ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จากความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ที่เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยการผสานความรู้ด้านสมองกลฝังตัว (Embeded System) เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างนวัตกรรมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดตามการแข่งขัน TESA TOP GUN Rally 2019 ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ TESA Top Gun Rally ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง บมจ. กสท โทรคมนาคม (CAT) Read the full article
0 notes